Northrop Grumman positions for Japan’s F-2 replacement programme
Northrop Grumman has responded to a Japanese request for information in support of a programme to replace the Japan Air Self-Defense Force’s Mitsubishi F-2 fighters. Source: Japanese Air Self-Defense Force
http://www.janes.com/article/81703/northrop-grumman-positions-for-japan-s-f-2-replacement-programme
บริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯกำลังมองแนวทางเข้าร่วมของตนให้ตรงความต้องการของญี่ปุ่นในการจัดหาหรือพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้าเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-2 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: apan Air Self-Defense Force)
โฆษกของ Northrop Grumman ยืนยันกับ Jane's เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมว่าบริษัทได้ตอบรับต่อเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) ล่าสุดของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
ขณะที่ Northrop Grumman สหรัฐฯไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆในการตอบรับของตน แหล่งข่าวทางการที่ถูกอ้างโดยสื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นกล่าวว่า
Northrop Grumman สหรัฐฯได้เสนอวิทยาการการบินและอวกาศหลายรายการที่เป็นไปได้ที่จะสามารถนำมาบูรณาการเข้ากับเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของญี่ปุ่น
ในการสนับสนุนการแข่งขันในโครงการ Northrop Grumman สหรัฐฯยังน่าจะต้องเข้าหาบริษัทอุตหกรรมความมั่นคงภายในของญี่ปุ่นด้วยมุมมองเพื่อความร่วมมือด้านวิทยาการการบินและอวกาศ
แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องใดๆเกี่ยวกับการเข้ามามีส่วนร่วมกับบริษัทอุตหกรรมความมั่นคงญี่ปุ่นก็ตาม
นอกเหนือจาก Northrop Grumman แล้ว Jane's เข้าใจว่าญี่ปุ่นยังได้พิจารณาการตอบรับเอกสาร RFI จากอีกหลายบริษัท เช่น Lockheed Martin สหรัฐฯ, Boeing สหรัฐฯ และ BAE Systems สหราชอาณาจักร
สำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ออกเอกสาร RFI ล่าสุดสำหรับโครงการเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นครั้งที่สามนับตั้งแต่ปี 2016
ก่อนหน้านี้บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้ยืนยันกับ Jane's ว่าตนได้เสนอแบบแผน"เครื่องบินขับไล่ยุคที่5" ที่มีแหล่งที่มาทาง Technology จากเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าสองแบบของบริษัทตน
คือเครื่องบินขับไล่ F-22 Raptor และเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II แก่ญี่ปุ่น(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-2.html)
การตอบรับเอกสาร RFI ยังได้รับการยื่นโดยบริษัท Boeing สหรัฐฯที่น่าจะเป็นไปได้อย่างมากที่จะเสนอแบบแผนเครื่องบินขับไล่ที่มีพื้นฐานแหล่งมาทาง Technology จากเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet
เช่นเดียวกับบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรที่น่าจะเสนอแบบแผนเครื่องบินขับไล่ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ตามลำดับ
เจ้าหน้าที่ ATLA ญี่ปุ่นได้กล่าวกับ Jane's ล่าสุดว่ากำลังพิจารณาหลายแนวทางในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-2 ที่รวมถึงการร่วมพัฒนาการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่กับผู้ผลิตอากาศยานนานาชาติ,
การซื้อสิทธิบัตรการผลิตแบบแผนเครื่องบินขับไล่ที่มีอยู่แล้วของต่างประเทศผ่านช่องทางแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล, การพัฒนาแบบแผนเครื่องบินขับไล่ใหม่ภายในญี่ปุ่น หรือโครงการปรับปรุงและคืนสภาพใหม่เครื่องบินขับไล่ F-2 ที่บริษัท Mitsubishi ญี่ปุ่นปิดสายการผลิตในปี 2011 ครับ