Russia is interested in supplying Malaysia its Yak-130 trainer/light attack aircraft (pictured here in Laos air force colours). Source: Irkut
https://www.janes.com/article/87972/malaysia-looks-to-exchange-palm-oil-for-materiel
Malaysia confirms countertrade talks with suppliers
https://www.janes.com/article/88003/malaysia-confirms-countertrade-talks-with-suppliers
Chinese-Pakistan JF-17B twin-seat fighter in Myanmar air force colours.
Indian Air Force's Hindustan Aeronautics Limited (HAL) Tejas fighter in LIMA 2019.
มาเลเซียกำลังมองที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรน้ำปาล์มราคาแพงของตนเพื่อสนับสนุนโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงรัฐบาลมาเลเซียแถลง
Teresa Kok รัฐมนตรีอุตสาหกรรมหลักมาเลเซียกล่าวว่าการค้าต่างตอบแทนด้วยการแลกเปลี่ยนน้ำมันปาล์มกับยุทโธปกรณ์จะช่วยรักษางานในท้องถิ่น, สงวนงบประมาณภาครัฐ เช่นเดียวกับการเพิ่มขีดความสามารถทางทหารของประเทศ
"เรายินดีต้อนรับข้อตกลงการค้าชดเชยดังกล่าวอย่างที่สุด ซึ่งจะยังช่วยรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศของเรา ขณะที่เพิ่มการขายน้ำมันปาล์มของเรา" รัฐมนตรี Kok กล่าวมนความเห็นที่รายงานโดยสื่อมาเลเซียเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2019
น้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของมาเลเซีย คิดเป็นเกือบร้อยละ5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ของประเทศกับการส่งออกที่มีรางานในปี 2018 ว่ามีมูลค่า 62.7 billion Malaysian ringgit($15 billion)
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมมาเลเซีย Kok ได้ให้ความเห็นอ้างอิงต่อการเจรจาทางกลาโหมที่มีการวางแผนระหว่างมาเลเซียและรัสเซีย ระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu เดินทางเยือน Moscow เป็นเวลา 4วันตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2019
รัสเซียเป็นหนึ่งในลูกค้าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของน้ำมันปาล์มมาเลเซีย และล่าสุดได้แถลงถึงความเต็มใจที่จะยอมรับน้ำมันปาล์มของมาเลเซียในการแลกเปลี่ยนสำหรับยุทโธปกรณ์ทางทหาร
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมมาเลเซีย Kok กล่าวว่าประเทศอื่นที่เปิดข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนต่อน้ำมันปาล์มกับมาเลเซียเช่นเดียวกันรวมถึง จีน, อินเดีย, อิหร่าน, ปากีสถาน, ตุรกี และชาติในแอฟริกาและตะวันออกกลาง
การส่งออกน้ำมันปาล์มมาเลเซียไปกลุ่มประเทศยุโรปได้กล่าวเป็นการตัดสินใจที่ยุ่งยากในปี 2017 โดนรัฐสภายุโรปได้ระงับการใช้น้ำมันปาล์มในเชื้อเพลิงชีวภาพ biofuel ของยุโรปในปี 2020 ที่อ้างอิงจากข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม
ในแง่การค้ากลาโหม การแผ่ขยายสำหรับมาเลเซียได้ถูกเน้นโดยความเห็นในเดือนมีนาคม 2019 โดยนายรัฐมนตรีมาเลเซีย Mahathir Mohamad ที่บ่งชี้ว่าการระงับการน้ำเข้านำมันปาล์มของสหภาพยุโรป EU สามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจัดหา
"ถ้าพวกเขายังคงดำเนินการกระทำเช่นนี้ต่อเราอยู่ เราจะคิดเกี่ยวกับการซื้อเครื่องบินจากจีนหรือประเทศอื่นๆแทน" คำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ถูกอ้างถึงในสำนักข่าวทางการมาเลเซีย Bernama
การค้าต่างตอบแทนเป็นหนึ่งในหลายทางเลือกภายใต้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทางกลาโหมของมาเลเซียและกฎความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
วิธีการชำระค่าใช้จ่ายอยู่ในรายการผ่านทางฐานะหนึ่งในหลายกิจกรรม ซึ่งผู้ส่งออกกลาโหมสามารถเติมเต็มกาปฏิบัติตามพันธกรณีความร่วมมือทางอุตสาหกรรมได้
รัฐบาลมาเลเซียกำลังอยู่ระหว่างการหารือกับหลายประเทศรวมถึงรัสเซีย, จีน และปากีสถาน เกี่ยวกับข้อตกลงเพื่อการจัดหายุทโธปกรณ์กลาโหมในการแลกเปลี่ยนกับน้ำมันปาล์ม รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu แถลง
ตามรายงานโดยสำนักข่าวมาเลเซียเมื่อ 19 เมษายน 2019 รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียกล่าว่า ความเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เร่งด่วนของมาเลเซียในการนำสินค้าโภคภัณฑ์ของชาติมาใช้แทนงบประมาณภาครัฐ
"เราได้กำลังทำงานมุ่งหน้ากับระบบแลกเปลี่ยนและได้รับการตอบรับในเชิงบวก" Mohamad Sabu กล่าวว่าทั้งรัสเซีย, จีน และปากีสถานได้แสดงความเต็มใจที่จะยอมรับน้ำมันปาล์มมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการแลกเปลี่ยนอาวุธยุทโธปกรณ์ของตน
เขายังกล่าวอีกว่าเขามีแผนที่จะหารือข้อตกลงการค้าต่างตอบแทนดังกล่าวกับรัสเซีย ระหว่างการเดินทางเยือน Moscow เป็นเวลา 4วันในข้างต้น
งานแสดงการบิน LIMA 2019 ใน Langkawi มาเลเซียระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2019 บริษัท Irkut Corporation ในเครือของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซียยืนยันว่า เครื่องฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130 Mitten
ได้ถูกวางตำแหน่งในการแข่งขันสำหรับความต้องการจัดหาเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) หรือเครื่องบินขับไล่ฝึก FLIT(Fighter Lead-In Trainer) ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)
(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Tejas ของ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอินเดีย ที่ได้ส่งเครื่องมาแสดงการบินและจัดแสดงภาคพื้นดินในงาน LIMA 2019 ที่มาเลเซียเป็นครั้งแรก
ที่เป็นคู่แข่งกับเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)