วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรือมาเลเซียคัดค้านการเลือกระบบการรบและอาวุธบนเรือฟริเกต LCS ชั้น Maharaja Lela

Combat systems on Malaysian LCS were selected despite navy objections, says declassified report







The Royal Malaysian Navy's first-of-class littoral combat ship Maharaja Lela seen here at its launching ceremony in 2017. A parliamentary committee investigation that concluded in 2022 indicates that the vessel has yet to enter the water. (Royal Malaysian Navy)



ระบบอาวุธและระบบการรบหลายอย่างบนโครงการเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela ของมาเลเซียได้ถูกเลือกเพื่อสะท้อนข้อแนะนำที่มีขึ้นโดยผู้รับสัญญาหลักของโครงการ
แม้ว่าจะมีการคัดค้านจากกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) ก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/lcs-gowind-maharaja-lela.html)

ประเด็นนี้อยู่ในท่ามกลางการเปิดเผยหลายอย่างที่มีขึ้นในรายงานที่ถูกลดชั้นความลับที่เผยแพร่โดย website คณะกรรมาธิการบัญชีสาธารณะ(PAC: Public Accounts Committee) ของรัฐบาลมาเลเซียเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2022
รายงานได้ถูกเผยแพร่ในฐานะส่วนหนึ่งของการไต่สวนทางรัฐสภาสองฝ่ายทั้งพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านมาเลเซียไปยังโครงการเรือฟริเกต LCS จำนวน 6ลำ ซึ่งกำลังเผชิญความล่าช้าและค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกำหนดอย่างมหาศาล

รัฐบาลมาเลเซียได้ลงนามสัญญาวงเงิน 9 billion Malaysian Ringgit($2 billion) สำหรับเรือฟริเกต 6ลำกับผู้รับสัญญาหลักของโครงการ บริษัท Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซียในปี 2014
สัญญาได้รับการประกาศผ่านวิธีการเจรจาโดยตรงแทนผ่านการแข่งขันแบบเปิด และรัฐบาลมาเลเซียได้จ่ายเงินแก่บริษัท BNS ไปแล้วราว 6 billion Malaysian Ringgit

เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela มีการออกแบบพื้นฐานจากแบบเรือ Gowind 2500 ของบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(DCNS เดิม) ที่ได้ถูกเลือกสำหรับโครงการ LCS
เรือลำแรกของโครงการ LCS ซึ่งจะเข้าประจำการในชื่อเรือฟริเกต KD Maharaja Lela เมื่อขึ้นระวางประจำการ ได้มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำในเดือนสิงหาคม 2017

เรือฟริเกต KD Maharaja Lela ควรจะถูกส่งมอบให้กองทัพเรือมาเลเซียในเดือนเมษายน 2019 โดยเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela ลำที่6 ลำสุดท้ายมีกำหนดการส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2023
อย่างไรก็ตามเรือฟริเกต KD Maharaja Lela ที่เป็นเรือลำแรกของชั้นถูกสร้างเสร็จไปเพียงราวร้อยละ60 ขณะที่เรือลำที่6 และลำสุดท้ายเรือฟริเกต KD Mat Kilau ยังไม่ได้เริ่มงานการสร้างขึ้นเลย 

เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela ที่เหลือต่างอยู่ในสถานะการสร้างที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เรือลำที่2 ของชั้น เรือฟริเกต KD Sharif Mashor สร้างเสร็จไปแล้วราวร้อยละ48 จนถึง
เรือลำที่3 เรือฟริเกต KD Raja Mahadi สร้างเสร็จไปแล้วราวร้อยละ43, เรือลำที่4 เรือฟริเกต KD Mat Salleh สร้างเสร็จไปแล้วราวร้อยละ36 และเรือลำที่5 เรือฟริเกต KD Tok Janggut สร้างเสร็จไปแล้วราวร้อยละ22 ครับ