UK, Japan, Italy launch Global Combat Air Programme
An artist's impression of the manned fighter – that will be developed by the UK, Italy, and Japan under the Global Combat Air Programme – shows it flying over the UK Houses of Parliament, the Colosseum of Italy and the Mount Fuji of Japan.
The fighter will still be known as Tempest in the UK, although Italy and Japan have yet to give it a name. (Crown Copyright)
สหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น และอิตาลี ได้ผสานความพยายามพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตของพวกตนด้วยโครงการการรบทางอากาศทั่วโลก (GCAP: Global Combat Air Programme) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2022
(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/f-x-fcas.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/07/tempest.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/05/bae-systems-f-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/12/tempest-f-x.html)
การควบรวมของโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต Tempest สหราชอาณาจักร-อิตาลี ที่ตั้งเป็นแกนหลักของระบบการรบทางอากาศยุคอนาคต(FCAS: Future Combat Air System) และเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X ของญี่ปุ่น
ได้รับการประกาศโดยนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร Rishi Sunak ณ ที่ตั้งของกำลังรบเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ที่ Coningsby
การแถลงการณ์ร่วมโดยนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น และอิตาลีทั้งสามประเทศกล่าวว่า การควบรวมมีประโยชน์ของการแบ่งปันค่าใช้จ่ายของการลงทุนในบุคลากรและวิทยาการต่างๆ โดยความตั้งใจที่จะวางกำลังเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ภายในปี 2035
"ที่สำคัญโครงการจะสนับสนุนขีดความสามารถด้านอธิปไตยของทั้งสามประเทศที่จะออกแบบ, ส่งมอบ และปรับปรุงขีดความสามารถการรบทางอากาศล้ำยุคสู่อนาคตได้เป็นอย่างดี" แถลงการณ์ร่วมกล่าว
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร Sunak กล่าวว่าการควบรวมจะทำให้สหราชอาณาจักร "ยังคงอยู่ในความล้ำหน้าของความก้าวหน้าในวิทยาการกลาโหม แซงหน้าและคล่องแคล่วเหนือกว่าเหล่าผู้ที่แสวงหาการจะทำอันตรายต่อเรา
เครื่องบินรบยุคอนาคตที่เราออกแบบจะปกป้องเราและพันธมิตรของเรารอบโลกโดยการความควบคุมกำกับความแข็งแกร่งของการเอาชนะอุตสาหกรรมกลาโหมของโลกของเรา" เขาเสริม
ขณะที่สหราชอาณาจักรนำความพยายามโครงการเครื่องบินขับไล่ Tempest โครงการการรบทางอากาศทั่วโลก GCAP จะเป็นความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน
บริษัท BAE Systems เป็นหัวหน้านำการพัฒนาสำหรับสหราชอาณาจักร โดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) สำหรับญี่ปุ่น และบริษัท Leonardo สำหรับอิตาลี
Janes เข้าใจว่าระบบเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ในโครงการ GCAP ยังเป็นที่รู้จักในชื่อเครื่องบินขับไล่ Tempest ในสหราชอาณาจักร แม้ว่าอิตาลีและญี่ปุ่นยังไม่ได้ตั้งชื่อเครื่องบินขับไล่ของตนตอนนี้
แม้ว่าสวีเดนเป็นหุ้นส่วนกับสหราชอาณาจักรและอิตาลีในโครงการ FCAS ที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ในปี 2019 อย่างไรก็ตามสวีเดนยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมโครงการ GCAP หรือไม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/saab.html)