วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

นาวิกโยธินไทยฝึกการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง CALFEX ร่วมกองทัพบกไทย-กองทัพอากาศไทย ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๗



VN16 AAV7






Oplot











BTR-3E1 8x8

HMMWV 4x4








F-16


H145


M Solar-X UAV



First Win II 4x4

ARTHUR MOD C mobile weapon locating system (WLS) radar

Royal Thai Marine Corps (RTMC) with Royal Thai Army (RTA) and Royal Thai Air Force (RTAF) conducted CALFEX (Combined Arms Live Fire Exercise) for Royal Thai Navy (RTN) annual exercise Fiscal Year 2024 at No.16 Firing Range in Ban Chan Krem, Chanthaburi Province on 31 May 2024.
The Live Fire exercise included RTMC's HMMWV 4x4 utillity trucks with TOW 2A RF anti-tank guided missile (ATGM) and Mk 19 40mm automatic grenade launcher (AGL), BTR-3E1 8x8 armored personnel carriers, AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles and VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles, H145M utillity helicopter and T-337 observation aircraft of Royal Thai Naval Air Division (RTNAD) with Oplot-T main battle tanks (MBTs) of 2nd Cavalry Squadron, 2nd Infantry Division Queen's Guard, RTA and RTAF F-16A/B fighter aircrafts. 
Royal Thai Navy also displayed its new equipments include Saab ARTHUR MOD-C mobile weapon locating system (WLS) radar and domestic and Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Thai Air Force Academy (NKRTAF) Research and Development team's M Solar X unmanned aerial vehicle (UAV) to senior officers of Royal Thai Armed Forces (RTARF) and Partner nations. (Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy)



ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมการฝึก การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567
วันนี้ (31 พฤษภาคม 2567) เวลา 09.40 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วยคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2567 ซึ่ง เป็นการฝึกปฏิบัติการจริงของหน่วยกำลังรบประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล โดยมีจุดประสงค์เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการและทดสอบความพร้อมทั้งด้านกำลังพลและยุทโธปกรณ์ 
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดในการจัดฝึกที่ว่า “ฝึกฝนให้ชำนาญ เพื่อพร้อมปกป้องอธิปไตยให้น่านน้ำไทย”
สำหรับการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง จะทำการเข้าตี ยึดครอง รักษาที่หมายและสถาปนาเส้นแนวหัวหาดพร้อมทั้งสนับสนุนการเข้าตีด้วยการยิงอาวุธสนับสนุน ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) รวมถึงร้องขอการโจมตีเป้าหมาย High Value Targets จากกองทัพอากาศ ซึ่งได้จำลองสถานการณ์และพื้นที่การฝึกมาที่สนามฝึก กองทัพเรือหมายเลข 16 
โดยมีกำลังพลเข้ารับการฝึกทั้งสิ้น 594 นาย  แยกเป็น กำลังนาวิกโยธินจำนวน 400 นาย  กำลังพลจาก กองการบินทหารเรือจำนวน 50 นาย  กำลังหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานรักษาฝั่ง 60 นาย กำลังพลในส่วนของกองทัพบก จาก กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จำนวน 72 นาย และกำลังพลจาก กรมปฏิบัติการพิเศษหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศ 12 นาย   
สำหรับอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการฝึก ในส่วนของกองทัพเรือประกอบด้วย ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบกAAV 6 คัน ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 3 คัน ยานเกราะล้อยาง BTR -3E1 จำนวน 5 คัน รถยนต์บรรทุกฮัมวี่ 4 คัน ปืนใหญ่สนามขนาด 155 มม. จากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยละ 2 กระบอก 
พร้อมด้วยระบบค้นหาเป้าหมายทางบก ซึ่งมีเรดาร์ตรวจการณ์ ARTHUR MOD – C  เป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ใช้ในการระบุตำแหน่งฐานยิงอาวุธของฝ่ายตรงข้ามและตรวจตำบลกระสุนตก BOR-A560 ปืนใหญ่สนามขนาด 105 มม. 2 กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 40/60 มม. 2 กระบอก อาวุธยิงสนับสนุนภายในอัตรากองพันทหารราบ 
ชุดแทรกซึมทางอากาศจากกองพันลาดตระเวน  กองพลนาวิกโยธิน อากาศยานไร้คนขับแบบM SOLAR-X 1 ระบบ อากาศยานที่ร่วมการฝึก ประกอบด้วยเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลดอร์เนียร์ ในการส่งชุดแทรกซึมทางอากาศ เครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้าแบบ T-337 ในการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด Close Air Support (CAS ) และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ EC-645 ในการส่งกลับสายแพทย์  
ในส่วนของกองทัพบกได้จัดรถถังหลักแบบ T-84 (OPLOT ) จำนวน 5 คัน เข้าร่วมการฝึกในการดำเนินกลยุทธ์เข้าตีและยึดครองที่หมาย ในขณะที่กองทัพอากาศจัดเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 เครื่องในการขัดขวางกำลังเพิ่มเติมของฝ่ายตรงข้าม โดยชุดควบคุมอากาศยานโจมตี Combat Control Team จากกรมปฏิบัติการพิเศษหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน แนะนำการติดต่ออากาศยานเข้าพื้นที่การรบ
สำหรับผลที่ได้รับจากการฝึกในครั้งนี้ นอกจากกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกจะได้รับความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้นจากการฝึกแล้ว ยังทำให้กองทัพเรือได้รับทราบถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของกำลังพลที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกันกับเหล่าทัพอื่น เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติภารกิจ โดยเฉพาะในการป้องกันประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โอกาสนี้  ผู้บัญชาการทหารเรือได้กล่าวให้โอวาทและให้กำลังใจแก่กำลังพลที่เข้ารับการฝึกโดยมีใจความสำคัญว่า  “ ทุกคนเหน็ดเหนื่อย ต้องฝึกให้เก่ง ภารกิจของของเรามีราคาแพงมาก คือคำว่าอธิปไตย เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งใจฝึกให้ดี ฝึกเน้นไปเรื่อยๆ กองทัพเรือจะดูแลซื้อ จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แล้วก็ดูแลสวัสดิการพวกเราให้ดี“ 
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ของนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข๑๖ บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ นั้น
นอกจากรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 นาวิกโยธินไทยที่ผลิตโดยบริษัท Chaiseri ไทย กองทัพเรือไทยได้จัดแสดงอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก M Solar-X UAV(Unmanned Aerial Vehicle) ที่พัฒนาโดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช(NKRTAFA: Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Thai Air Force Academy) กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ซึ่ง M Solar-X เป็นอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์แบบแรกที่วิจัยพัฒนาและสร้างในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-m-pseudo-sat.html) เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือไทยได้นำยุทโธปกรณ์ที่พัฒนาในประเทศและเป็นผลงงานของต่างเหล่าทัพนำมาใช้ในหน่วยของตน ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพเรือไทยเป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนายุทโธปกรณ์เพื่อพึ่งพาตนเองมาอย่างต่อเนื่อง

กองทัพเรือไทยยังได้เปิดตัว radar ตรวจการณ์ ARTHUR MOD-C เป็นครั้งแรก โดยกองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาระบบ radar ค้นหาที่ตั้งเป้าหมาย Arthur weapon locating system(WLS) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) แต่บริษัท Saab สวีเดนได้ให้ข้อมูลในงาน Defense & Security 2023 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ว่ากำลังจะส่งมอบให้ไทยในเร็วๆนี้ ภาพล่าสุดนี้จึงแสดงว่าระบบได้ถูกส่งมอบแล้ว
การฝึกยิงด้วยกระสุนจริงที่สนามฝึกบ้านจันทเขลม ที่เดียวกับการฝึกผสม Cobra Gold 2024 เมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/calfex-cobra-gold-2024.html) ยังได้เห็นการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ที่ส่งรถถังหลัก Oplot-T กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ เข้าร่วมกับยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8, 
ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS และรถยนต์บรรทุก HMMWV ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ Mk 19 ขนาด 40mm ของนาวิกโยธินไทย และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ กองทัพอากาศไทย ทำให้เห็นว่ารถรบจากยูเครนยังคงใช้งานได้แม้ประเทศผู้ผลิตจะอยู่ในภาวะสงครามมาสองปีแล้ว โดยมีนายทหารระดับสูงของไทยและมิตรประเทศทั่วโลกหลายชาติเป็นพยานรับชมการฝึกนี้ครับ