Leonardo undertakes ship trials of AW609 tiltrotor
Production-standard AW609 test aircraft AC4 seen performing flight trials from
the ITS Cavour aircraft carrier. (Leonardo)
บริษัท Leonardo อิตาลีได้ดำเนินการทดลองบนเรือของอากาศยานใบพัดกระดก AW609
ของตนแล้ว บริษัทประกาศเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2024
เหตุการสำคัญซึ่งได้รับการบรรลุผลในความร่วมมือกับกองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy,
Marina Militare)
ได้เห็นอากาศยานใบพัดกระดก Leonardo AW609
มาตรฐานสายการผลิตทำการลงจอดและบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ITS Cavour(550)
ของกองทัพเรืออิตาลีที่แล่นเรือห่างจากชายฝั่ง 20nmi(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/f-35b-hms-queen-elizabeth.html)
"ระหว่างการสาธิต อากาศยานใบพัดกระดก AW609
ได้มอบโอกาสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะต่อเสริมความแข็งแกร่การหยั่งรู้เพิ่มเติมของ...ของข้อได้เปรียบอากาศยานใบพัดกระดกของ
Leonardo ในสภาพแวดล้อมทางทะเลโดยเฉพาะ
นี่เป็นพยานยืนยันว่าอากาศยานใบพัดกระดกเครื่องแรกของโลกถูกกำหนดให้บรรลุการรับรองทางพลเรือนตรงความต้องการมาตรฐานการปฏิบัติงานและความปลอดภัยอย่างไร
ดังนั้นมันได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ตรงความต้องการรูปแบบของหน่วยงานรัฐบาลและองค์สาธารณะในอิตาลีและทั่วโลก"
Leonardo กล่าว
ขั้นตอนการลงจอดและบินขึ้นบนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบิน ITS Cavour
กองทัพเรืออิตาลีของอากาศยานใบพัดกระดก AW609 ได้ถูกดำเนินการปฏิบัติในมากกว่า 15
สถานะการณ์ที่แตกต่างกัน
รวมถึง สภาพลมต่างๆ และคุณลักษณะการเข้าหาดาดฟ้าบินแบบตรง(straight-in)
และแบบด้านข้าง(lateral), การลงจอดทางดิ่ง(vertical landing),
การบินขึ้นทางดิ่ง(vertical take-off) และการบินออกจากเรือทางด้านข้าง
การทดสอบได้ถูกดำเนินการโดยอากาศยานใบพัดกระดก AW609 เครื่องทดสอบรหัส AC4
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลากหลายความพยายามของบริษัท Leonardo
ที่จะได้รับการรับรองจากองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐฯ(FAA: Federal Aviation
Administration) สำหรับ AW609
อากาศยานใบพัดกระดก AW609 ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ใบพัด turboshaft แบบ
Pratt & Whitney Canada PT6C-67A สองเครื่องให้กำลังเครื่องละ 1,445kW(1,938
shp) แต่ละเครื่องติดตั้งบนแต่ละด้านของปลายปีกเพื่อขับเคลื่อนใบพัดความยาว 7.92m
อากาศยานใบพัดกระดก AW609 มีนักบินประจำเครื่อง 2นาย
และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 9คนในรูปแบบอากาศยานมาตรฐาน
มีความเร็วสูงสุดที่ 275knots และระยะปฏิบัติการที่ 750nmi เพดานดินปฏิบัติการ
25,000feet(ด้วยห้องโดยสารปรับความดัน) และมีระยะเวลาปฏิบัติการนาน 3ชั่วโมง
Leonardo
อิตาลีได้ทำการบินครั้งแรกของเครื่องต้นแบบมาตรฐานสายการผลิตอากาศยานใบพัดกระดก
AW609 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2022 ด้วยเครื่องต้นแบบรหัส AC5
ทำการบินจากโรงงานอากาศยาน Philadelphia ของบริษัทในสหรัฐฯ
โดยมีลูกค้าที่ลงนามจัดหาคือ Bristow Group สหรัฐฯ-สหราชอาณาจักร และ
"ผู้ใช้งานที่ก่อตั้งมานานในยุโรปที่ไม่เปิดเผย"
ในแง่ของลูกค้าส่งออกเพื่อใช้งานทางทหาร
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding)
ในปี 2015 สำหรับ AW609 จำนวน
3เครื่องสำหรับใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยและส่งกลับทางายแพทย์
ซึ่งควรจะได้รับมอบในปี 2019 แต่จนถึงปัจจุบันสัญญาจัดหายังไม่ได้รับการลงนามจริง
กองทัพบกอิตาลี(Italian Army, EI: Esercito Italiano) ได้ออกสมุดปกขาวในปี 2015
ซึ่งรวมความต้องการอากาศยานใบพัดกระดกสำหรับการการขนส่งกำลังพลเคลื่อนที่เร็วและการส่งกลับทางสายแพทย์
ซึ่ง AW609 เป็นหนึ่งผู้เข้าแข่งขัน(ตัวเลือกอื่นมีแบบเดียวคืออากาศยานใบพัดกระดก
Bell Boeing V-22 Osprey ที่ขนาดใหญ่และแพงกว่า)(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/cmv-22b-osprey.html)
แต่สัญญาก็ยังไม่ได้รับการลงนามเช่นกัน
ในงานแสดงนิทรรศการทางเรือและการบินนานาชาติ Langkawi International Maritime and
Aerospace(LIMA) 2023 ระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2023 ที่มาเลเซีย บริษัท
Weststar Aviation Services มาเลเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU กับ Leonardo
อิตาลีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 เพื่อจะเป็นผู้ใช้งาน AW609 จำนวน 1เครื่อง
ก่อนหน้านี้ Weststar มาเลเซียได้ทำการเช่าเฮลิคอปเตอร์ Leonardo AW139 จำนวน
4เครื่องสำหรับกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM:
Tentera Udara Diraja Malaysia) ในปี 2021 เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ S-61 Nuri
ที่ปลดประจำการในปี 2020 บริษัท Weststar
กล่าวในขณะนั้นว่ากำลังพิจารณาถึงตัวแปรในการนำ AW609
มาใช้งานในกองทัพมาเลเซียครับ