วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

จีนเสนอเรือดำน้ำ S26T ที่กองทัพเรือไทยจัดหาไปแล้วแก่อินโดนีเซีย

China again offers Thailand-ordered S26T submarine to Indonesia







A model of the S26T submarine, which was originally ordered for the Royal Thai Navy. (My Own Photos)



เจ้าหน้าที่จาก China State Shipbuilding Corporation(CSSC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เดินทางมาถึงนครหลวง Jakarta อินโดนีเซียเพื่อเสนอเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) แบบ S26T
ซึ่งดั้งเดิมถูกสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/s26t.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html) แก่อินโดนีเซียอีกครั้ง

Janes สามารถยืนยันได้ว่า เจ้าหน้าที่ CSSC จีนได้มาถึงสำนักงานของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เพื่อทำการนำเสนอเกี่ยวกับเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า S26T
และนำเสนอว่าเรือดำน้ำ S26T สามารถจะถูกปรับแต่งสำหรับความต้องการของกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้อย่างไร แม้ว่าเรือจะผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างแล้วก็ตาม

ในการประชุมทางกายภาพได้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเข้าร่วม ขณะที่ตัวแทนจากกองบัญชาการการปฏิบัติการเรือดำน้ำ(submarine operations command) ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย
และกองบัญชาการเรือดำน้ำของกองทัพเรือที่2(Armada II) ของกองทัพเรืออินโดนีเซียได้เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบถ่ายทอดวีดิทัศน์จากระยะไกล video link(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/pt-pal-mro.html)

ระหว่างการนำเสนอเจ้าหน้าที่ CSSC จีนได้สร้างความมั่นใจแก่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียว่า เรือดำน้ำ S26T ของตนที่เสนอแก่อินโดนีเซียจะไม่เผชิญกับประสบการณ์ข้อจำกัดการห้ามส่งออกแบบเดียวกันกับที่กองทัพเรือไทยผู้รับมอบเรือที่ตั้งใจไว้ได้รับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ CSSC จีนชี้ให้เห็นว่า เรือดำน้ำ S26T จะสามารถมีความเข้ากันได้กับเครื่องยนต์จากผู้ขายที่ถูกเลือก(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/naval-group-scorpene-evolved-2.html) รวมถึงการนำเครื่องยนต์ MTU เยอรมนีมาติดตั้งกับเรือดำน้ำ S26T

และในความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนเพื่อทำให้ข้อตกลงน่าดึงดูดใจมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอของ CSSC จีนสำหรับอินโดนีเซียรวมถึงชุดการดัดแปลงที่จะสามารถทำให้เรือดำน้ำ S26T จะติดตั้งและยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากท่อ torpedo ใต้น้ำแบบ YJ-18 ที่จีนสร้างได้
นอกเหนือจากนั้นเรือดำน้ำ S26T สำหรับอินโดนีเซียจะยังคุณลักษณะดั้งเดิมส่วนใหญ่ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือไทย รวมถึงระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) ของเรือ(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/scorpene-evolved-2.html)

ไทยได้ลงนามสัญญาวงเงินราว ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($366.5 million) กับ China Shipbuilding & Offshore International Company(CSOC) สาธารณรัฐประชาชนจีน(ฝ่ายกิจการการค้าและส่งออกของ CSSC จีน)
สำหรับเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นรุ่นที่ปรับแต่งของเรือดำน้ำชั้น Type 039B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)

ความเห็นวิเคราะห์
กองทัพเรือไทยมีความต้องการที่จะจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ และระยะที่๓ ลำที่สอง และลำที่สาม เพิ่มเติมรวมทั้งหมด ๓ลำเป็นวงเงินราว ๒๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($685 million) มานาน แต่ถูกขัดขวางจากการตัดลงงบประมาณกลาโหมลงอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
เยอรมนียังไม่อนุมัติการส่งออกสิทธิบัตรการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบ MTU 16V 396 SE84-GB31L แก่จีนสำหรับติดตั้งในเรือดำน้ำ S26T ของไทย หลังการเจรจามาหลายปีกองทัพเรือไทยได้ยอมรับการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบ CHD620V16H6 จีน แต่การแก้ไขสัญญาข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลยังอยู่ระหว่างการรอให้รัฐบาลไทยและรัฐสภาไทยดำเนินการครับ