วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๖




Royal Thail Air Force (RTAF) inspected Final Reassembly Program of Beechcraft AT-6TH Wolverine serial "41101" and "41102" light atack aircraft at Thai Aviation Industries (TAI) in Takhli District, Nakhon Sawan Province, on 19 June 2024.
First of two AT-6TH Wolverine delivered to 411 Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base in June 2024. (Royal Thai Air Force) 



กองบิน ๔ ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก กนิษฐ์  ชัยสาร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ และคณะ
นาวาอากาศเอก ชาคริต  ศักดิ์ชัยศรี ผู้บังคับการกองบิน ๔ ให้การต้อนรับพลอากาศเอก กนิษฐ์  ชัยสาร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ และคณะ ในโอกาสเดินทางมาติดตามความก้าวหน้าการทดสอบเพื่อตรวจรับของโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ณ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗

บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทย ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ใกล้กับ กองบิน๔ ตาคลี กองทัพอากาศไทย ได้เริ่มต้นโครงการประกอบขั้นสุดท้าย(Final Reassembly Program) ของเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ AT-6TH Wolverine ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
เครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH สองเครื่องแรกหมายเลข "41101" และ "41102" ที่ถูกจัดส่งชิ้นส่วนทางเรือมาทำการประกอบใหม่ในไทยที่โรงงานอากาศยานของ TAI ในตาคลี ได้ทำการบินออกจากกองบิน๔ ตาคลี ไปยังฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เพื่อเข้าประจำการในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/at-6th-wolverine.html)
กองทัพอากาศไทยกำลังอยู่ระหว่างการรับมอบเครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH จำนวน ๘เครื่องพร้อการถ่ายทอดวิทยาการให้แก่ภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย วงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยฝูงบิน๔๑๑ จะได้รับมอบครบ ๘เครื่องภายในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ครับ




Royal Thail Air Force's Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani (pictured) to be participated the exercise Pitch Black 2024 at Royal Australian Air Force (RAAF) Base Darwin, Australia from 12 July to 2 August 2024. (Royal Thai Air Force)



Exercise Pitch Black 24 is coming!
We are ready

ผู้บัญชาการทหารอากาศให้โอวาทแก่กำลังพลที่จะเข้าร่วมการฝึกผสม PITCH BLACK 2024
วันนี้ (วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567) เวลา 09.00 น. พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับการฝึกผสม PITCH BLACK 2024 ก่อนเดินทางไปเข้าร่วมการฝึก โดยมี นาวาอากาศเอก อานนท์  จารุสมบัติ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังทางอากาศ PITCH BLACK 2024 เป็นหัวหน้าคณะฯ 
ณ ห้องรับรองจักรพงษ์ กองบัญชาการกองทัพอากาศ จากนั้นเจ้าหน้าที่กองกำลังทางอากาศฯ ได้ทำการสักการะพระอนุสาวรีย์จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ ณ บริเวณลานหน้าพระอนุสาวรีย์ฯ กองบัญชาการกองทัพอากาศ 
และต่อมาได้เข้ารับฟังการปฐมนิเทศจาก พลอากาศโท วชิระพล  เมืองน้อย เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ถึงคำแนะนำรวมไปถึงข้อควรปฏิบัติแก่กำลังพลที่จะเดินทางไปร่วมการฝึกผสม PITCH BLACK 2024 ณ ห้องประชุม หอสมุดกองทัพอากาศ
การฝึกผสม PITCH BLACK 2024 เป็นการฝึกปฏิบัติการทางอากาศผสมด้วยกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ประสบการณ์และความรู้ในการปฏิบัติการทางอากาศผสม เรียนรู้เทคโนโลยี ยุทธวิธีการรบ กับ ทอ.มิตรประเทศ อีกทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ทอ.มิตรประเทศ
โดยมีกำหนดการฝึก ระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม 2567 และกำหนดพิธีเปิดการฝึกในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ณ ฐานทัพอากาศ Darwin เครือรัฐออสเตรเลีย

กองทัพอากาศไทยมีกำหนดจะส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2024 ณ ฐานทัพอากาศ Darwin กองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ในออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ถึง ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗
การฝึกผสม Pitch Black 2024 มีหลายชาติที่เข้าร่วมส่งอากาศยานของตนมาฝึกรวมถึง เครื่องบินขับไล่ Rafale กองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, AAE: Armée de l'Air et de l'Espace), เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon กองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe), เครื่องบินขับไล่ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force),
เครื่องบินขับไล่ F-16A/B/C/D กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara), เครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II และเครื่องบินขับไล่ Typhoon กองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, AMI: Aeronautica Militare Italiana) เครื่องบินขับไล่ F-35B Lightning II และเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II+ กองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, Marina Militare),

เครื่องบินขับไล่ F-2A/B กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force), เครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia), เครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50PH Golden Eagle กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force),
เครื่องบินขับไล่ F-15K Slam Eagle กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force), เครื่องบินขับไล่ F-16C/D และเครื่องบินขับไล่ F-15SG กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force), เครื่องบินขับไล่ Typhoon กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force), เครื่องบินขับไล่ Typhoon กองทัพอากาศสเปน(Spanish Air Force, EdAE: Ejercito del Aire Espanol),
เครื่องบินขับไล่ F-22A Raptor กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) และเครื่องบินขับไล่ F-35A เครื่องบินขับไล่ F/A-18F Super Hornet และเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ EA-18G Growler กองทัพอากาศออสเตรเลียเจ้าภาพ นับเป็นการฝึกขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2024 นี้ ที่มีเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ จากหลายชาติเข้าร่วมการฝึกเป็นจำนวนมากที่สุดครั้งหนึ่งครับ




Directorate of Operations, Royal Thai Air Force announced to procure Helicopter Bucket for its EC725 (Airbus Helicopters H225M) of 203rd Squadron Wing 2 Lopburi to support firefighting missison for 108,000,000 Baht ($2,945,669); building ammunition depot and procure addtional Diehl IRIS-T air-to-air missiles for 256,552,000 Baht ($6,996,237); modification of Basler BT-67 of 461st Squadron Wing 46 Phitsanulok to support Royal Rainmaking operations for 470,000,000 Baht ($12,816,148) on 10 June 2024; and modernization phase 3 programme for Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang for for 2,820,000,000 Baht ($76,895,84) on 12 June 2024. (Royal Thai Air Force)
Royal Thai Air Force not yet decided for new 12-14 fighter aircraft to replaced F-16A/B of Wing 1 Korat between Saab Gripen E/F or Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 until at least in July to August 2024.

โครงการจัดหา ฮ.ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (ระยะที่ ๕) (Helicopter Bucket) 10 มิถุนายน 2567

โครงการสร้างคลังอาวุธและจัดหาอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดวิกฤติของกองทัพอากาศ (IRIS-T) 10 มิถุนายน 2567

โครงการดัดแปลง บ.ปฏิบัติภารกิจฝนหลวง 10 มิถุนายน 2567

โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียง แบบที่ ๘ (C-130H) ระยะที่ ๓ 12 มิถุนายน 2567

กรมยุทธการทหารอากาศ(DO: Directorate of Operations) กองทัพอากาศไทยได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ถึงโครงการจัดหาตระกร้าเฮลิคอปเตอร์(Helicopter Bucket) สำหรับเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม เพื่อภารกิจดับเพลิง วงเงิน ๑๐๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($2,945,669) แหล่งที่มาราคากลางบริษัท TAI ไทยและบริษัท Five Wisdom ไทย
โครงสร้างสร้างคลังอาวุธและจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เพิ่มเติม วงเงิน ๒๕๖,๕๕๒,๐๐๐บาท($6,996,237) ซึ่งเป็นอาวุธที่ติดตั้งในเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี
โครงการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ก BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก เพื่อปฏิบัติภารกิจฝนหลวง วงเงิน ๔๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($12,816,148) แหล่งที่มาราคากลาง บริษัท Asian Aerospace Services ไทย, บริษัท TAI ไทย และบริษัท RV Connex ไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดหาและดำเนินการโดยภาคอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศของไทย

และประกาศเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ถึงโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ระยะที่๓ วงเงิน ๒,๘๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($76,895,84) แหล่งที่มาราคากลาง บริษัท StandardAero แคนาดา, บริษัท Industria de Aviacao E Servicos S/A(IAS) บราซิล, บริษัท Turbopower สหรัฐฯ, บริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลี,
บริษัท Airod Techno Power SDN.BHD. มาเลเซีย และบริษัท TAI ไทย ซึ่งทำให้เห็นได้ว่ากองทัพอากาศไทยมีความตั้งใจที่จะดำเนินการยืดอายุการใช้งานและปรับปรุงความทันสมัยเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130 ของตนให้ใช้งานได้ต่อไปตามที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปในโครงการระยะที่๑ และระยะที่๒ แล้วก่อนหน้า ซึ่งในระยะที่๓ นี้มองทั้งแนวทางการปรับปรุงในไทย และข้อเสนอแนวทางปรับปรุงของต่างประเทศ
ด้านความคืบหน้าการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง ซึ่งระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องวงเงิน ๑๙,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) นั้น Saab สวีเดนที่เสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E และ Lockheed Martin สหรัฐฯที่เสนอเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 กำลังอยู่ระหว่างแข่งขันยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดแก่กองทัพอากาศไทย 

โดยที่กองทัพอากาศไทยต้องการข้อเสนอที่อยู่ในรูปแบบเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางไม่ใช่เพียงคำพูดปากเปล่าจากตัวแทนที่เข้ายื่นเสนอข้อมูลเท่านั้น ดังนั้นทั้ง Saab สวีเดน และ Lockheed Martin สหรัฐฯจึงกำลังชิงความได้เปรียบในการนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอต่างๆของตนแก่กองทัพอากาศไทย ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่จะต้องใช้เวลาในการพิจารณาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับไทย
ขณะที่เครื่องบินขับไล่ Gripen E สวีเดนเสนอข้อได้เปรียบด้านความเป็นอิสระของเครือข่าย Datalink ที่ใช้งานในกองทัพไทย และข้อเสนอชดเชย offset ที่รวมถึงการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย เครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70/72 สหรัฐฯที่จะจัดหาผ่านรูปแบบการขาย Foreign Military Sales(FMS) มีความพยายามที่จะให้ข้อเสนอเงินกู้ Foreign Military Financing(FMF) ดอกเบี้ยต่ำที่ร้อยละ๔.๕ ต่อปีในระยะยาว ๙-๑๒ปี ซึ่งกองทัพอากาศไทยดูจะไม่สนใจ
สหรัฐฯจึงได้มีความพยายามที่จะเสนอการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทยทั้งสิทธิในการใช้ Link-16 datalink และการผลิตในไทยเพื่อให้ตนมีความได้เปรียบสวีเดน การตัดสินใจเลือกแบบผู้ชนะสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ของกองทัพอากาศไทยจึงยังไม่สรุปผลจนกว่าจะถึงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๖๗ นี้เป็นอย่างน้อย ทั้งยังมีปัจจัยตัวแปรที่รัฐบาลไทยอาจจะตัดลดงบประมาณกลาโหมใน งป.๖๘ ลงด้วยครับ




Thai Aviation Industries Co.,Ltd (TAI) signed a Memorandum Of Understanding (MOU) on developing business cooperation with Embraer Defense & Security.
Air Chief Marshal Phibun Worawanpreecha, Managing Director signed a memorandum of understanding on the development of business cooperation between TAI and Embraer on 2 April 2024 at Brazil to increase capabilities and develop skills to become Maintenance, Repair and Overhaul (MRO) center for aircraft manufactured by Embraer Defense & Security, include C-390 Millennium and ERJ 135/ERJ 145 transport aircrafts in the future.
Embraer Defense & Security also visited TAI facilities at Wing 4 Takhli Royal Thai Air Force Base in Nakhon Sawan Province, Thailand on 27 May 2024. (Thai Aviation Industries, Sukasom Hiranphan)

TAI ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ กับ Embraer Defense & Security
พลอากาศเอกพิบูลย์ วรวรรณปรีชา กรรมการผู้จัดการ ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ ระหว่าง บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) และ บริษัท Embraer Defense & Security เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ณ สาธารณรัฐบราซิล 
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาทักษะไปสู่การเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (MRO) สำหรับอากาศยานที่ผลิตโดยบริษัท Embraer Defense & Security แบบ C-390 และ ERJ-135/145 ในอนาคต
https://www.facebook.com/TAIThailand/posts/pfbid02kWZaqhF1xvPTAZEx1u7PM9ED4RMy8A7Em4trxP18pJKxRL7so4h9WK7k2tPPx9Ml

Embraer Defense & Security เยี่ยมชมศักยาภาพ TAI 
นาวาอากาศเอกวิถีชัย แสงโทโพธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ให้การต้อนรับบริษัท Embraer Defense & Security ในโอกาสที่มาเยี่ยมชมกิจการ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี กองบิน 4 นครสวรรค์

มีหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่เป็นผู้ใช้งานอากาศยานที่ผลิตโดยบริษัท Embraer บราซิลอยู่แล้วรวมถึง เครื่องบินใช้งานทั่วไป บ.ท.๑๓๕ ERJ 135 LR กองทัพบกไทย และเครื่องบินลำเลียงแบบที่๒ บ.ลล.๒ ERJ 135 LR ฝูงบิน๒๐๑ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) ในไทยจะเป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมการบินของไทยอย่างมาก
การลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum Of Understanding) เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ที่บราซิล และการเยี่ยมชมศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี กองบิน๔ ในจังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗ แสดงถึงการที่ Embraer บราซิลมองเห็นโอกาสของเครื่องบินลำเลียง C-390 Millennium ของตนกับกองทัพอากาศไทยด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/blog-post.html)
อย่างไรก็ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ ฉบับล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) ไม่ได้ให้รายละเอียดโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H อีกทั้งยังมีโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ล.๘ C-130H ระยะที่๓ ในข้างต้นด้วย ทำมองให้มองได้ว่ายังไม่มีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าจะมีการตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ในเร็วๆนี้ครับ








Royal Thai Air Force (RTAF) and U.S.Air Force (USAF) concluded the exercise BALANCE/TEAK TORCH 2024 between RTAF Special Operations Regiment (SOR), Security Force Command (SFC) and USAF Special Tactics Team 2111, 21st Special Tactics Team, 720th Special Tactics Group, Air Force Special Operations Command (AFSOC) in Lopburi, Thailand during 3-14 June 2024. (Royal Thai Air Force)

พิธีเปิดการฝึกผสม BALANCE / TEAK TORCH 2024
นาวาอากาศเอก สิทธิพล ป้อมตรี ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 2024 และ Capt.Aidan Moore, JCET Director (Joint Combined Exchange Training Director) USAF Special Tactics Team 2111 เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกผสม BALANCE / TEAK TORCH 2024 
โดยมีเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ และเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมพิธีฯ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ณ หอประชุมกานตรัตน์ กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี
สำหรับการฝึกผสม BALANCE/TEAK TORCH 2024 เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศไทย และหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยกําลังภาคพื้นในการป้องกันฐานบิน และการปฏิบัติการพิเศษ 
รวมถึงเพื่อเพิ่มพูนทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียน ในด้านยุทธวิธี การเรียนรู้เทคโนโลยี การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีประจําการในกองทัพอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภารกิจของกองทัพอากาศ และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
โดยกําหนดจัดการฝึกภาคสนาม FTX ระหว่างวันที่ 3 - 14 มิถุนายน 2567 ณ กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี

BALANCE/TEAK TORCH 2024 : Tactical Shooting 
การฝึกยิงปืนทางยุทธวิธี เป็นการฝึกทบทวนการใช้อาวุธประจำกายของหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับอาวุธ เรียนรู้เทคนิคในการใช้อาวุธได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และเพิ่มพูนทักษะในการยิงได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ อีกทั้งปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 
โดยมีการฝึก การเคลื่อนที่ประกอบการยิง  การบรรจุกระสุน(Reload) การยิงฉับพลัน(Rapid Fire) เทคนิคการยิงในรูปแบบต่างๆ และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วย 21st Special Tactics Squadron  ของ ทอ.สหรัฐอเมริกา ให้คำแนะนำวิธีการเพิ่มเติม

ผู้อํานวยการกองอํานวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 2024 เข้าสังเกตการณ์การฝึกปฏิบัติการทางยุทธวิธีในสถานการณ์จำลอง Full Mission Profile
นาวาอากาศเอก สิทธิพล ป้อมตรีผู้อํานวยการกองอํานวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 2024 เข้าสังเกตการณ์การฝึกปฏิบัติการทางยุทธวิธีในสถานการณ์จำลอง Full Mission Profile ณ สนามฝึกสุวรรณศิลป์กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์จังหวัดลพบุรี
การฝึกจำลองการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีเป็นหนึ่งในภารกิจการฝึกผสม ภายใต้รหัสการฝึกผสม Balance/Teak Torch 2024 ซึ่งภายในการฝึกในครั้งนี้มีการจำลองสถานการณ์การฝึกเข้าช่วยเหลือตัวประกันภายในอาคารการฝึกต่อสู้ระยะประชิด CQB (Close Quarters Battle) การโรยตัวด้วยเชือกจากอากาศยาน (Fast Rope) 
การเข้าตรวจค้นห้องภายในอาคาร ดำเนินกลยุทธ์ด้วยการสนธิกำลังของชุดปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศและกองทัพอากาศสหรัฐฯ ( 21st Special Tactics Team)
นอกเหนือจากการฝึกการปฏิบัติทางยุทธวิธียังมีการฝึกในเรื่องของการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ติดอยู่ในยานพาหนะด้วยอุปกรณ์กู้ภัย การปฐมพยาบาลเบื้องต้นบนอากาศยานโดยชุดปฏิบัติการ PJ (Pararescue Jumper)ของกองทัพอากาศและกองทัพอากาศสหรัฐฯ และการส่งกลับสายแพทย์โดยอากาศยานอีกด้วย

ผู้อํานวยการกองอํานวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 2024 เข้าสังเกตการณ์การฝึกปฏิบัติ การทางยุทธวิธีในสถานการณ์จําลอง Full Mission Profile 
นาวาอากาศเอก สิทธิพล ป้อมตรี ผู้อํานวยการกองอํานวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 2024 เข้า สังเกตการณ์การฝึกปฏิบัติการทางยุทธวิธีในสถานการณ์จําลอง Full Mission Profile ณ สนามฝึกใช้อาวุธทาง อากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี การฝึกจําลองการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธี เป็นหนึ่งในภารกิจการฝึกผสม ภายใต้รหัสการฝึกผสม Balance/ Teak Torch 2024 
ซึ่งภายในการฝึกในครั้งนี้มีการจําลองสถานการณ์การฝึกในเรื่องของอากาศยานประสบอุบัติเหตุ ในพื้นที่การรบโดยชุดปฏิบัติ PJ (Pararescue Jumper)ของกองทัพอากาศและกองทัพอากาศสหรัฐฯ การเข้า แทรกซึมเบื้องสูง Military Free Fall โดยเครื่องบินลําเลียงแบบที่ 8 C-130H เป็นการแทรกซึมเข้าพื้นการรบโดย การกระโดดร่มในรูปแบบของ HALO (High Altitude Low Open) 
การโรยตัวด้วยเชือกจากอากาศยาน (Fast Rope) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่การรบ โดยชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินกองทัพอากาศ (MERT, RTAF) ของ ศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ การลําเลียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยร่วมกับอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (EC-725) 
การบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support : CAS) ด้วยเครื่อง บินขับไล่แบบที่ 19 ก ( F-16 ) โดยการประสานงานด้วยชุดควบคุมการรบ CCT (Combat Control Team) และ การวางแนวป้องกันพื้นที่ โดยการฝึกในครั้งนี้ดําเนินกลยุทธ์ด้วยการสนธิกําลังของชุดปฏิบัติการพิเศษของกองทัพ อากาศและกองทัพอากาศสหรัฐฯ ( 21st Special Tactics Team)

พิธีปิดการฝึกผสม BALANCE / TEAK TORCH 2024
นาวาอากาศเอก  สิทธิพล ป้อมตรี ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 2024 และ Maj Cody Davis Flight Commander (Flt/CC)21st Special Tactics Sqaudron เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกผสม BALANCE / TEAK TORCH 2024 โดยมีเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ และเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมพิธีฯ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ณ ฝูงบิน 203 กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี 
สำหรับการฝึกผสม BALANCE/TEAK TORCH 2024 กำหนดการฝึกภาคสนามตั้งแต่วันที่ 3-14 มิถุนายน 2567 ณ กองบิน2 จังหวัดลพบุรี โดยเป็นการฝึกร่วมกันระหว่างหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศไทย และหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ในการฝึกภาคสนามในครั้งนี้ได้มีการจำลองสถานการณ์การฝึกในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ของภารกิจตลอดเวลา 
ทำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า การแลกเปลี่ยนความรู้เทคนิคและทักษะต่างๆ โดยตลอดระยะเวลาของการฝึกภาคสนาม ชุดปฏิบัติการพิเศษของกองทัพอากาศและ  USAF Special Tactics Team 2111 มีการสนธิกำลังในการปฏิบัติการทางด้านยุทธวิธี ทั้งในเรื่องของการวางแผนภารกิจ การร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จำลอง ภายใต้ความปลอดภัยสูงสุด 
อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีการนำเสนอในเรื่องของ Soft power ของประเทศไทยในเรื่องของวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวและอาหารไทยอีกด้วย




AH-6i 'Little Bird' light attack and reconnaissance helicopter. Thailand's Royal Thai Army (RTA) is set to become the type's second customer, with the first helicopters now in flight test at Boeing's Mesa production facility in Arizona. (Boeing)

ความคืบหน้าของโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i Little Bird จำนวน ๘เครื่องสำหรับกองทัพบกไทย มีขึ้นตามการพูดคุยของ Janes กับ Terry Jamison ผู้อำนวยการฝ่ายขายนานาชาติระบบอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง Vertical Lift international sales ของบริษัท Boeing สหรัฐฯ  เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ ในหลายๆเรื่องว่า
เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i ทั้ง ๘เครื่องของไทยกำลังออกมาจากสายการผลิต ณ โรงงานอากาศยาน Mesa ในมลรัฐ Arizona แล้ว โดยบางเครื่องรวมถึงเครื่องแรกได้ทำการบินทดสอบไปแล้ว ก่อนหน้าที่จะมีการส่งมอบตามมาในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ ซึ่งศูนย์การบินทหารบก ศบบ.(AAC: Army Aviation Center) กองทัพบกไทย กำลังจะส่งนักบินและช่างอากาศยานชุดรับมอบไปฝึกที่สหรัฐฯเร็วๆนี้
AH-6i มีความก้าวหน้ากว่าเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 Fennec(Airbus Helicopters H125M) ๘เครื่อง หรือแม้แต่เฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ๗เครื่องที่กองทัพบกไทยมีอยู่มาก ด้วยขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire และจรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี APKWS ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ah-6i-apkws.html)








The Multiple Launch Ground to Ground Guided Rocket System DTI-1G research and development project has been a collaboration between the Royal Thai Army (RTA) and the Defence Technology Institute (DTI) since 2555 B.E. The objective is to complete the development of the Multiple Launch Ground to Ground Guided Rocket System DTI-1G, 
and obtain certification of defence equipment standard, and to enter the deployment in the Royal Thai Army. This initiative aims to enhance the firepower capabilities of the Royal Thai Armed Forces emphasizing maximum self-reliance and minimal dependence on foreign technology.

The DTI-1G project is divided into two phases. Phase 1 involves the transfer of technology from PRC. Phase 2 leverages the knowledge gained in Phase 1 as a foundation to develop the domestic industry with the ability to design and develop rocket launcher vehicles, rocket carrier vehicles, command control vehicles, and logistics and maintenance systems. 
The design and develop is completed by DTI in collaboration with domestic industrial private sectors, emphasizing reliance on foreign technology partners only as necessary.

After a team of engineers from four organizations, comprising DTI and three Thai companies Cho Thavee Public Company Limited, Preechataworn Industry Company Limited, and Aero Fluid Company Limited—successfully developed a rocket launcher vehicle in Thailand and installed a Fire Control System (FCS) at the technology partner's factory in Chengdu, PRC, 
the project reached an important testing phase. This phase involves the Qualification Test to verify the system's quality level before proceeding to the Acceptance Test with the Army. The Acceptance Test, planned to be conducted with Phase 1's rocket launcher vehicles, conducted at the weapons testing range in PRC at a range of 150 kilometers during 23-27 April 2567 B.E.

The test firing results of the DTI-1G rocket system demonstrated that every guided rocket hit its target accurately at a distance of 150 kilometers.
The progress of the DTI-1G rocket system project, which has successfully passed the critical flight test, serves as a quality and performance indicator of the collaborative efforts between DTI and the Royal Thai Army in several aspects:
(1)  Confirms the operational efficiency of the DTI-1G rocket system, meeting the required standards. 
(2)  Verifies the capabilities of Thai engineers, the industry, and the related supply chain in Thailand, proving the readiness in design and develop a multiple launched guided rocket system in collaboration with international partners.
(3)  Verifies the capabilities of Thai engineers in maintaining and ensuring the continuous operability of the DTI-1G rocket system, including both the rocket launcher vehicles and the guided rockets, for a period of 10 years.
(4)  Verifies the effectiveness of the training programs for operating and maintaining the DTI-1G rocket system delivered to the Royal ThaiArmy. This includes classroom training, field exercises, computer-based training, and live-fire tests with guided rockets.
(5) Demonstrates the quality, reliability, and trustworthiness of the DTI-1G rocket system, which has been preserved for 10 years yet still performs efficiently according to military equipment standards. 
(6) Validates the proficiency of the Army personnel, demonstrating their knowledge and expertise in operating the DTI-1G multiple launch ground-to-ground guided rocket system through theoretical and field training, as well as operational rocket firing, ensuring readiness for national defence missions for deployment.

Driving the Project Forward to Achieve Ultimate Goals
Although the DTI-1G rocket system has successfully completed the critical test firings, there remain significant tasks ahead for the joint Army-DTI working committee to ensure the project's outcomes can be fully delivered to the Army for national defence missions. 
DTI and the Thai defence industry will provide scientific and technological support to the Royal Thai Armed Forces.



รายงานผลการยิงทดสอบ จรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น แบบ DTI-1G
โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น แบบ DTI-1G เป็น ความร่วมมือ ระหว่าง กองทัพบก (ทบ.) และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ DTI-1G ให้เสร็จสมบูรณ์ 
เพื่อนำเข้ารับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ และนำเข้าประจำการในกองทัพบก ต่อไป เพื่อเป็นศักย์สงครามที่สำคัญ ในด้าน Fire Power ของกองทัพไทย โดยเน้นการพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด และ พึ่งพาต่างประเทศเท่าที่จำเป็น 

โครงการฯ DTI-1G แบ่งเป็น 2 เฟส โดยใน เฟส 1 เป็นการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี จาก สปจ. และ เฟส 2 เป็นการนำความรู้ในเฟส 1 มาเป็นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ให้สามารถ ออกแบบและพัฒนา รถฐานยิงจรวด รถบรรทุกลูกจรวด รถควบคุมบังคับบัญชา และ ระบบส่งกำลังและซ่อมบำรุง 
โดย สทป. ร่วมกับเอกชนภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเน้นการพึ่งพาพันธมิตรหน่วยเจ้าของเทคโนโลยีต่างประเทศเท่าที่จำเป็น

หลังจากที่ ทีมวิศวกรจาก 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สทป. และเอกชนไทย 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท แอโรฟลูอิด จำกัด ได้ร่วมกันพัฒนารถฐานยิงจรวดในประเทศไทย จนสำเร็จ และส่งไปติดตั้งระบบควบคุมการยิง (Fire Control System: FCS) ที่โรงงานของพันธมิตรหน่วยเจ้าของเทคโนโลยีต่างประเทศ ณ เมืองเฉิงตู สปจ. แล้ว 
ก็มาถึง ขั้นการทดสอบที่สำคัญ คือ  การทดสอบในขั้นการรับรองคุณภาพของผู้ผลิต (Qualification Test) เพื่อพิสูจน์ยืนยันระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ก่อนทำการยิงทดสอบขั้นการตรวจรับ (Acceptance Test) ร่วมกับหน่วยผู้ใช้ ทบ. 
โดยในแผนการยิงทดสอบขั้นการตรวจรับในครั้งนี้ ได้นำรถฐานยิงจรวด ของโครงการเฟส 1 ไปร่วมการทดสอบด้วย ณ สนามทดสอบอาวุธ สปจ. ที่ระยะยิง 150 กิโลเมตร ในระหว่าง วันที่ 23-27 เม.ย. 67

ผลการยิงทดสอบ ระบบจรวด DTI-1G สามารถทำการยิงลูกจรวดนำวิถีเข้าสู่เป้าหมาย ทุกนัด โดย กระทบเป้าหมายที่ระยะ 150 กิโลเมตร ได้อย่างแม่นยำ

ความก้าวหน้าของโครงการ ระบบจรวด DTI-1G ที่ผ่านการยิงทดสอบ (Flight Test) ในขั้นตอนสำคัญนี้ คือ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการร่วมกันของ สทป. และ ทบ. ในหลายมิติ ดังนี้ 

(1)  ช่วยพิสูจน์ยืนยันประสิทธิภาพ ในการใช้งานระบบจรวด DTI-1G ที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
(2)  ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ขีดความสามารถ ของทีมวิศวกรไทย โรงงานอุตสาหกรรม และซัพพลายเชน (Supply Chain) ที่เกี่ยวเนื่อง ในประเทศไทย ว่ามีระดับความพร้อมในการออกแบบ พัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น ร่วมกับพันธมิตรต่างประเทศ 
(3)  ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ขีดความสามารถ ของทีมวิศวกรไทย ในการส่งกำลังและซ่อมบำรุง ระบบจรวด DTI-1G ทั้งรถฐานยิงจรวด และ ลูกจรวดนำวิถี ให้พร้อมใช้งานได้โดยต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี 
(4)  ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ประสิทธิภาพ ระบบการฝึกศึกษา ในหลักสูตรการใช้งานและหลักสูตรการปรนนิบัติบำรุงระบบจรวด DTI-1G ที่ได้ส่งมอบให้แก่ กองทัพบก ทั้งการอบรมในห้องเรียน การฝึกภาคสนาม การศึกษาโดยใช้ระบบ Computer based Training และการยิงทดสอบด้วยลูกจรวดจริง 
(5)  ช่วยพิสูจน์ยืนยัน คุณภาพ และ ระดับความน่าเชื่อถือ และ ความไว้วางใจได้ ในตัวระบบจรวด DTI-1G ที่มีอายุการเก็บรักษามาเป็นเวลา 10 ปี  แต่ยังคงมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานยุทโธปกรณ์ 
(6)  ช่วยพิสูจน์ยืนยัน ขีดความสามารถ ของกำลังพล กองทัพบก ว่ามีความรู้ ความชำนาญ ในการใช้งานระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ DTI-1G ผ่านการฝึกทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการยิงจรวดจริง จึงมีระดับความพร้อมเมื่อต้องปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ ในอนาคต   
.
การขับเคลื่อนโครงการในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  
ถึงแม้ ระบบจรวด DTI-1G จะผ่านการยิงทดสอบ ในขั้นตอนสำคัญมาแล้ว ยังคงมีงานสำคัญที่รออยู่ข้างหน้าอีกมาก ระหว่างคณะทำงานร่วม ทบ.-สทป. เพื่อให้สามารถนำผลผลิตโครงการ ส่งมอบให้แก่ กองทัพบก นำเข้าใช้งานในภารกิจป้องกันประเทศได้โดยสมบูรณ์ต่อไป โดยมี สทป. และ ภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เป็นกองหนุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่ กองทัพไทย

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ไทยได้ส่งมอบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีพื้นสู่พื้น DTI-1G ขนาด 302mm ให้แก่กองทัพบกไทยเข้าประจำการใน กองร้อยจรวด(Rocket Artillery Battery), กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑, กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑, กองพลทหารปืนใหญ่(711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regiment, Artillery Division) ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
การทดสอบยิงจริงจำนวน ๕นัด ซึ่งรวมการยิงแบบ Salvo ต่อเนื่อง ๒นัดและประสบความสำเร็จในการยิงถูกเป้าทั้ง ๕ครั้งของจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G กองทัพบกไทย ที่ Inner Mongolia สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ DTI ไทยได้เปิดเผยในต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๖๗ ที่ผ่านมาเป็นเหตุการณ์สำคัญของโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012)
โดยทั้งรถแคร่ฐานและตัวจรวดที่พัฒนาการผลิตและประกอบในไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการจากจีนที่มีอายุมาเกือบ ๑๐ปียังคงใช้งานดี ทั้งนี้ DTI ไทยยังมีโครงการพัฒนาจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ D11A(Elbit PULS) ที่มีความทันสมัยและอ่อนตัวกว่า ซึ่งคาดว่าจะมีการทดสอบยิงจรวดในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-dti-d11a.html




Danish company Terma partnered with Thai company United Defense Technology submitted proposal for new Combat Management System (CMS), Surveillance System (search radar), Fire Control System (FCS), Weapon Systems and Gyro system on LPD-792 HTMS Chang(III), the Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) for 920,000,000 Baht ($25,330,406) and new Combat Management System (CMS) and related systems on OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 OPV-512 HTMS Naratiwat, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV) for 2,829,554,000 Baht ($78,229,302). (United Defense Technology)

พรุ่งนี้แล้ว ขอลองดู..

วันนี้ยื่น...

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ บริษัท Terma เดนมาร์คได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท United Defense Technology ไทยในการยื่นข้อเสนอโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ทั้ง ๒ลำวงเงิน ๒,๘๒๙,๕๕๔,๐๐๐บาท($78,229,302)(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/opv.html)
และโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับการปฏิบัติการทางเรือของเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) เรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยชั้น Type 071ET LPD(Landing Platform Dock) วงเงิน ๙๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($25,330,406)(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/type-071et-lpd.html)
ซึ่งจากเอกสารประกาศของ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ สยป.ทร.(NAMO: Naval Acquisition Management Office) กองทัพเรือไทย ที่เผยแพร่ในพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมาได้มีการอ้างอิงแหล่งที่มาราคากลางจากหลายบริษัทจากต่างประเทศ เช่น บริษัท Leonardo อิตาลี, บริษัท Thales Nedeland เนเธอร์แลนด์, บริษัท Navantia สเปน, บริษัท ASELSAN ตุรกี และหลายบริษัทจากอิสราเอลเป็นต้น

การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส จะรวมถึงตรวจสอบ ถอดถอน ออกแบบ ปรับปรุง ติดตั้งใหม่ เชื่อมต่อ ทดสอบระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System), ระบบตรวจการณ์(Surveillance System), ระบบสงคราม electronic(EWS: Electronic Warfare System), ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), Tactical Data Link และระบบควบคุมเครื่องยนต์
ขณะที่การเพิ่มขีดความสามารถเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) จะรวมถึงการติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS), ระบบตรวจการณ์, ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบไยโร ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าจะเป็นระบบที่คล้ายคลึงกับที่ติดตั้งบนเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ที่ติดตั้งระบบต่างๆของ Terma เช่น radar ตรวจการณ์พื้นน้ำ-อากาศ Scanter 4100 C-Search และระบบอำนวยการรบ C-Flex 
ในส่วนอาวุธนั้นมีข้อมูลเพียงว่าจะติดตั้งปืนกลขนาด 30mm ที่น่าจะเป็นแบบเดียวกับ ร.ล.อ่างทอง คือปืนกล MSI SEAHAWK DS สหราชอาณาจักร หรือปืน 30mm แบบอื่นที่ใช้กระสุนขนาด 30x173mm ร่วมกัน ขณะที่อาวุธหลักอีกแบบคือปืนเรือขนาด 76mm ที่น่าจะเป็นปืนเรือตระกูล Leonardo 76/62 อิตาลีนั้นเข้าใจว่าจะต้องรอในการอนุมัติในครั้งถัดไปเนื่องจากงบประมาณที่ได้รับในปี ๒๕๖๗ นี้มีวงเงินที่จำกัดมากครับ












Submarine Squadron, Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) held Submarine Excape and Rescue Excercise (SMEREX) fiscal year 2024 on 17-28 June 2024, included Submarine Escape Immersion Equipment SEIE MK11, LPD-791 HTMS Angthong landing platform dock (LPD) and Airbus Helicopters H145M demonstrations. (Royal Thai Navy)
Submarine Squadron, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy personnels involved as observers on submarine search and rescue exercise KURTARAN 2024 in Turkey om 23-30 April 2024 with Turkish Navy, Azerbaijan, Bulgaria, Mozambique, U.S., Bangladesh, Malaysia, Pakistan, South Africa, Republic of Korea, Brazil, Oman, Morocco, Qatar, Saudi Arabia, and Bahrain.

การฝึกค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ ประจำปี งบประมาณ 2567 (SMEREX67)
ในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2567 พลเรือโท อาภา ชพานนท์ ผู้อำนวยการฝึกค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ และ เสนาธิการ กองเรือยุทธการ กรุณาให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2567 บน เรือหลวงอ่างทอง จอดเรือเทียบท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
โดยมี พลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ ผู้บังคับหน่วยฝึกกู้ภัยเรือดำน้ำ และ ผู้บัญชาการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานการจัดการฝึก
การฝึกการค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ ประจำปี 2567  จัดให้มีขึ้นระหว่าง วันที่ 17 – 28 มิถุนายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ สร้างองค์ความรู้ด้านการกู้ภัยเรือดำน้ำให้หน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือที่เกี่ยวข้อง และ เพื่อเตรียมความพร้อมองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธีด้านการกู้ภัยเรือดำน้ำให้แก่กำลังพลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกำลังพลประจำเรือดำน้ำและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการฝึก เป็นการอบรม สัมมนา และฝึกปฏิบัติการกู้ภัยเรือดำน้ำ ในการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ แบ่งผู้เข้ารับการฝึกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มนายทหารฝ่ายเสนาธิการผู้ปฏิบัติหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในเรือดำน้ำ โดยมีการดำเนินการฝึก 3 ขั้นตอน ได้แก่ 
ขั้นที่ 1 การฝึกอบรมปรับพื้นฐานความรู้ ขั้นที่ 2 การฝึกอบรมในท่า และ ขั้นที่ 3 การฝึกในทะเล โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ ประกอบด้วย การอบรมระบบช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำนานาชาติและนายทหารประสานงานการช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ การฝึกการวางแผนการนำกำลังพลออกจากเรือดำน้ำ การฝึกซ้อมแผนการกู้ภัยบนโต๊ะ (Table Top Exercise) 
และ การฝึกการช่วยเหลือผู้ที่หนีภัยออกจากเรือดำน้ำ ขึ้นสู่เรือหลวงอ่างทอง การฝึกขั้นตอนการคัดแยกผู้ป่วยเข้าปฐมพยาบาล การรักษาตามอาการ การนำผู้ป่วยเข้าห้องปรับความดันบรรยากาศ และ การส่งกลับสายแพทย์  
กองทัพเรืออนุมัติให้จัดการฝึกการค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี เริ่มต้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 การฝึกในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นครั้งที่ 3 ของกองทัพเรือ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายการเตรียมความพร้อมองค์บุคคล องค์วัตถุ และ องค์ยุทธวิธี รองรับการมีเรือดำน้ำเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้นี้

ฝึก ฝึก ฝึก ให้เชี่ยวชาญเถิด.......จะเกิดผล 
"ความปลอดภัยต้องมาก่อน ,, 
วันพฤหัสบดี ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567 
พลเรือเอก ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้ให้เกียรติเดินทางมาตรวจเยี่ยมการฝึกภาคทะเล การฝึกค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ ประจำปี ๒๕๖๗ (SMEREX67) บนเรือหลวงอ่างทอง จอดเรือเทียบท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ 
ชมการสาธิตการฝึกการกางแพชูชีพส่วนบุคคลประกอบชุดหนีภัย แบบ SEIE MK11 การฝึกการช่วยเหลือผู้หนีภัยออกจากเรือดำน้ำด้วยเรือยางขึ้นเรือใหญ่ การฝึกสถานีปฏิบัติการแพทย์ภายในดาดฟ้ายานพาหนะ เรือหลวงอ่างทอง และ การฝึการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบที่ ๖ (EC645)
การฝึกการค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี เริ่มต้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 การฝึกในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นครั้งที่ 3 ของกองทัพเรือ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายการเตรียมความพร้อมองค์บุคคล องค์วัตถุ และ องค์ยุทธวิธี รองรับการมีเรือดำน้ำเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้นี้

กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทยได้กลับมาเผยแพร่กิจกรรมของตนอีกครั้งหลังจากไม่มีความเคลื่อนไหวมานานเป็นปีแม้ว่าจะมีการฝึกศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการส่งกำลังพลร่วมกับกรมแพทย์ทหารเรือ(Naval Medical Department) สังเกตการณ์การฝึกการค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำ KURTARAN 2024 กองทัพเรือตุรกี ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ตุรกี
ตามมาด้วยการฝึกค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗(SMEREX: Submarine Excape and Rescue Excercise) ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นครั้งที่สามตั้งแต่เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่รวมการฝึกใช้ชุดดำน้ำสำหรับหลบหนีจากเรือดำน้ำแบบ SEIE Mk11 สถานีปฏิบัติการแพทย์บนเรือหลวงอ่างทอง และการส่งกลับทางสายแพทย์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ H145M
อย่างไรก็ตามความคืบหน้าในการแก้ไขและขยายสัญญาแบบรัฐต่อรัฐ G-to-G สำหรับเรือดำน้ำ S26T กับจีนนั้น รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง กล่าวกับสื่อล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ ว่าจะพยายามทำให้เร็วที่สุดแต่ก็ต้องทำให้รอบคอบ ซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับช่วงเวลาสิ้นสุดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผู้บัญชาการทหารเรือจะเกษียณอายุราชการและมี ผบ.ทร.ท่านใหม่มาแทนครับ