Indonesia holds second meeting with CSSC on S26T submarine as China sweetens deal with destroyer
CSSC displayed model of its 6000 ton frigate, which based on the Type 052D destroyer, and the S26T submarine at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)
The People's Liberation Army Navy's Type 052D destroyer, Urumqi. China has offered to supply Indonesia with a warship of this type should Jakarta proceed to procure the S26T submarine. (Ministry of National Defense People's Republic of China)
เจ้าหน้าที่จาก China State Shipbuilding Corporation(CSSC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ถูกเชิญเข้าร่วมการประชุมครั้งที่สองกับกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย
เพื่อหารือข้อเสนอในครั้งก่อนหน้าของเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) แบบ S26T ซึ่งดั้งเดิมถูกสร้างสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/s26t.html)
เอกสารต่างๆที่ถูกมอบให้แก่ Janes โดยแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดต่อประเด็นนี้ระบุว่าการประชุมครั้งที่สองมีขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา ณ สำนักงานของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ที่ตั้งอยู่ใน Jalan Medan Merdeka Barat ในนครหลวง Jakarta
ในการประชุมได้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) แม้ว่าจะไม่เห็นได้ชัดเจนจากรายชื่อผู้ถูกเชิญเข้าประชุมว่ามีนายทหารระดับสูงนายใดจากกองทัพอินโดนีเซียบ้าง
Janes ยังได้ทราบว่า เจ้าหน้าที่ CSSC จีนขณะนี้ได้สร้างแรงจูงใจต่อข้อเสนอของพวกตนแก่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย และจะส่งมอบเรือพิฆาตชั้น Type 052D แก่กองทัพเรืออินโดนีเซีย
ด้วยข้อเสนอการลดราคาให้แบบหนักสุดๆ(at a steeply discounted price) ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียใน Jakatar จัดหาเรือดำน้ำ S26T(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/aman-youyi-2023.html)
Janes ได้รายงานครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ว่า จีนดูเหมือนว่ากำลังจะมองหาผู้ซื้อรายใหม่สำหรับเรือดำน้ำ S26T(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/s26t.html)
และ CSSC จีนได้ขยายการเชิญไปยังผู้บัญชาการกองทัพเรืออินโดนีเซีย พลเรือเอก Muhammad Ali มาเยือนอู่เรือ(ใน Wuhan จีน) ที่ซึ่งเรือดำน้ำ S26T กำลังได้รับการสร้าง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/hangor.html)
เนื่องจากว่าการเชิญเยี่ยมชมอู่สร้างเรือดำน้ำที่จีนไม่ได้รับการตอบรับ CSSC จีนได้รับการทำการนัดหมายเพื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
ซึ่งการนำเสนออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อเสนอเรือดำน้ำ S26T ได้มีขึ้นให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและนายทหารระดับสูงของกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อเสนอนี้ CSSC จีนได้เตรียมการชุดการดัดแปลงที่จะสามารถทำให้เรือดำน้ำ S26T สามารถที่จะติดตั้งและทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากท่อยิง torpedo ใต้น้ำแบบ YJ-18 ที่จีนสร้างได้
นอกเหนือจากนั้นเรือดำน้ำ S26T สำหรับอินโดนีเซียจะยังคุณลักษณะดั้งเดิมส่วนใหญ่ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือไทย รวมถึงระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) ของเรือด้วย
ไทยได้ลงนามสัญญาวงเงินราว ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($366.5 million) กับ China Shipbuilding & Offshore International Company(CSOC) สาธารณรัฐประชาชนจีน(ฝ่ายกิจการด้านการค้าและการส่งออกของ CSSC จีน)
สำหรับเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นรุ่นที่ปรับแต่งของเรือดำน้ำชั้น Type 039B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
ความเห็นวิเคราะห์
ในการตอบสนองต่อรายงานของ Janes ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือและประธานคณะกรรมการเรือดำน้ำกองทัพเรือไทยได้รายงานไปยังกระทรวงกลาโหมไทยเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ว่าจากการที่กองทัพเรือไทยได้สอบถามตัวแทน CSSC จีนบอกว่าเรื่องนี้ "ไม่เป็นความจริง"
ต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง ได้ยืนยันในเรื่องนี้จากในการตอบคำถามสื่อเรื่องความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐของโครงการเรือดำน้ำ S26T กองทัพเรือไทยได้ตัดสินใจที่จะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620 จีนแทนเครื่องยนต์ MTU 396 ที่เยอรมนีไม่อนุญาตส่งออกให้จีน(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html)
อย่างไรก็ตามการแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐสำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ที่สัญญาแรกหมดอายุไปเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) จะเป็นการขยายสัญญาออกไปอีก ๑,๒๑๗ วัน ที่ทำให้กองทัพเรือไทยจะได้รับมอบเรือลำแรกของตนที่ขณะนี้สร้างเสร็จไปแล้วร้อยละ๖๔(64%)ได้ในราวเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๗๑(2028) นั้น ตอนนี้ยังไม่มีการลงนามโดยรัฐมนตรีกลาโหมไทยเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีไทย
การพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหมไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) วงเงินราว ๒๐๐,๒๙๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($5,537,470,527) เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือไทยได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐสภาไทยว่า "หากไม่ได้เรือดำน้ำจะเป็นสิบปีที่สูญเปล่าของกองทัพเรือ เราจะตกอยู่อันดับสุดท้ายของ ASEAN ผมรอได้เพื่อให้ได้เรือดำน้ำหนึ่งลำ แม้จะทำให้กองทัพเรือไม่มีอะไรเลยก็ตาม" ครับ