วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567

หน่วยรบพิเศษไทย-สหรัฐฯ-อังกฤษร่วมการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ C-MEX 2024 เป็นครั้งแรก




















Counter Terrorism Operations Center (CTOC), Royal Thai Armed Forces (RTARF) hold to coducted Crisis Management Exercise 2024 (C-MEX 24) at Chiang Rai Province, Thailand on 20-23 August 2024.
The exercise has participated with Thai Government and civilian agencies, and Military and Enforcement Special Forces and Special Operation Forces operators included:
Special Warfare Command, Royal Thai Army (RTA);
Naval Special Warfare Command (NSWC), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) (also known as "RTN SEAL") and first time for Reconnaissance Battalion, Royal Thai Marine Corps (RTMC);
Special Operations Regiment (SOR), Security Force Command (SFC), Royal Thai Air Force (RTAF);
and Naresuan 261 Special Operation Unit and Police Aerial Reinforcement Unit (PARU), Border Patrol Police (BPP), and Arintaraj 26, Special Operations Division, Metropolitan Police Bureau (MPB), Royal Thai Police (RTP).
1st Special Forces Group (Airborne), US Army and Royal Marines Commandos, Joint Counter Terrorist Training and Advisory Team, UK Special Forces also participated Crisis Management Exercise 2024 in Thailand for first time. (Royal Thai Armed Forces)











ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล จัดการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปี 2567 (Crisis Management Exercise 2024 : C – MEX 24 ) ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
กองบัญชาการกองทัพไทย  โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล จัดฝึกการทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย  ภายใต้กรอบการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปี 2567 ( Crisis Management Exercise : C – MEX 24 ) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 
เพื่อเป็นการทดสอบความพร้อมของนโยบาย แผน กลไก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการก่อการร้ายเพื่อสร้างความเข้าใจบทบาท หน้าที่ ความพร้อมในการปฏิบัติการขั้นป้องกัน (Prevention) การตอบโต้ (Countering) การก่อการร้าย ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบการบริหารเหตุการณ์และการติดต่อสื่อสาร (C4I) ในการแก้ไขภาวะวิกฤติระดับชาติ 
และทดสอบการเคลื่อนย้ายเข้าแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ในพื้นที่ห่างไกล ระหว่างวันที่ 19 ถึง 23 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย  จังหวัดเชียงราย  
สำหรับการฝึกในครั้งนี้ ได้มีการกำหนดสถานการณ์การฝึกผ่านการบูรณาการประเด็นการฝึกร่วมกัน ภายใต้กรอบการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ  ประจำปี 2567 มีการกำหนดสถานการณ์ เหตุการณ์ก่อการร้ายขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  และมีสารเคมีรั่วไหลในพื้นที่  รวมถึงแทรกสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้  เพื่อให้หน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับภารกิจได้ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน 
ทั้งในด้านขั้นตอนป้องกัน  ขั้นตอนตอบโต้ และขั้นตอนการฟื้นฟู เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกเข้าใจบทบาท หน้าที่ สามารถแก้ไขปัญหาตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก รวมทั้งการปฏิบัติของหน่วยงานในพื้นที่เชียงราย กลไกการส่งมอบพื้นที่ในการบริหารสถานการณ์ตั้งแต่หน่วยงานระดับจังหวัด ไปจนถึงการยกระดับมาถึงหน่วยงานส่วนกลางจนถึงระดับชาติ 
รวมทั้งประสานสอดคล้องการปฏิบัติ ระหว่างฝ่ายอำนวยการ และส่วนปฏิบัติการทางยุทธวิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
ทั้งนี้ การฝึก C – MEX 24 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการยกระดับการบริหารจัดการภัยคุกคามความมั่นคง ตั้งแต่ในภาวะปกติจนถึงภาวะวิกฤต รวมถึงเป็นการฝึกทดสอบการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทดสอบศักยภาพของหน่วยงานในการรับมือกับความตื่นตระหนกของสังคมโดยใช้กลยุทธ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤต  
นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกซ้อมการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการบริหารจัดการสถานการณ์ตามแผนเผชิญเหตุและระบบบัญชาการเหตุการณ์ โดยสอดคล้องกับแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติและแผนบริหารวิกฤตการณ์ (พ.ศ. 2566-2570) และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกได้มีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทของภัยคุกคามความมั่นคงในปัจจุบันและอนาคต

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตรวจเยี่ยมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Crisis Management Exercise-24 : C-MEX 24) 
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม  2567 พลเอก ทรงวิทย์  หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นำคณะผู้บังคับบัญชา พร้อมผู้แทนหน่วยงานราชการ ภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดเชียงราย ตรวจเยี่ยมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Crisis Management Exercise-24 : C-MEX 24) 
โดยมีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการฝึกในครั้งนี้ ซึ่งจัดการฝึก ณ พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย
สำหรับการฝึกทดสอบแผนฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบการยกระดับการบริหารจัดการภัยคุกคามความมั่นคง ตั้งแต่ในภาวะปกติจนถึงภาวะวิกฤต รวมถึงเป็นการฝึกทดสอบการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทดสอบศักยภาพของหน่วยงานในการรับมือกับความตื่นตระหนกของสังคมโดยใช้กลยุทธ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤต 
นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกซ้อมการปฏิบัติภารกิจร่วมกัน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการบริหารจัดการสถานการณ์ตามแผนเผชิญเหตุและระบบบัญชาการเหตุการณ์ 
โดยสอดคล้องกับแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติและแผนบริหารวิกฤตการณ์ (พ.ศ. 2566-2570) และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกได้มีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทของภัยคุกคามความมั่นคงในปัจจุบันและอนาคต
โดยมีกำลังพลจากหน่วยที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย จาก 64 หน่วยงาน จำนวนกว่า 500 คน เข้าร่วมการฝึกฯ ประกอบด้วย กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยปฏิบัติการพิเศษเหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานสนับสนุน ชุดเจรจาต่อรอง ชุดประชาสัมพันธ์ ชุดตรวจค้นและทำลายวัตถุระเบิด ชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ชุดสนับสนุนทางยุทธวิธี 
ตลอดจนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  และหน่วยงานจากมิตรประเทศ ได้แก่  กรมรบพิเศษที่ 1  (1st Special Forces Group(Airborne)) กระทรวงพลังงาน สหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Energy) และทีมฝึกอบรมและที่ปรึกษาร่วมต่อต้านการก่อการร้ายของสหราชอาณาจักร (UK’s Joint Counter Terrorist Training and Advisory Team) เข้าร่วมการฝึก
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ ได้เยี่ยมชมการฝึกพร้อมพูดคุยให้กำลังใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสอบถามปัญหาข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรับชมการฝึกแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายตามสถานการณ์ ด้วยกระบวนการของฝ่ายอำนวยการ การเจรจาต่อรอง ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกเกิดความเข้าใจในยุทธศาสตร์ กลไก และระเบียบปฏิบัติประจำในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย 
รวมทั้งเข้าใจบทบาท หน้าที่ สามารถแก้ไขปัญหาตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก เพื่อให้เกิดการประสานสอดคล้องการปฏิบัติ ระหว่างฝ่ายอำนวยการ และส่วนปฏิบัติการทางยุทธวิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ซึ่งจะสร้างประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งประเทศ กองทัพไทย และมิตรประเทศ ทั้งในด้านความเข้าใจ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เข้าร่วมการฝึก ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามในสภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบในอนาคต

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รับชมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Crisis Management Exercise-24 : C-MEX 24) 
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รับชมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ภายใต้กรอบการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Crisis Management Exercise-24 : C-MEX 24) 
พร้อมด้วย Miss Lisa A Buzenas U.S. กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ร่วมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดเชียงราย ณ พื้นที่จัดการฝึก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้การฝึกฯ ดังกล่าว  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความพร้อมของนโยบาย แผน กลไก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการก่อการร้าย เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาท หน้าที่ ความพร้อมในการปฏิบัติการขั้นป้องกัน (Prevention) การตอบโต้ (Countering) การก่อการร้าย ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทดสอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ 
ตลอดจนการทดสอบระบบการบริหารเหตุการณ์และการติดต่อสื่อสาร (C4I) ในการแก้ไขภาวะวิกฤติระดับชาติ และการทดสอบการเคลื่อนย้ายเข้าแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ในพื้นที่ห่างไกลโดยมีกำลังพลจากหน่วยที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย จาก 64 หน่วยงาน จำนวนกว่า 500 คน เข้าร่วมการฝึกฯ 
ประกอบด้วย กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยปฏิบัติการพิเศษเหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานสนับสนุน ชุดเจรจาต่อรอง ชุดประชาสัมพันธ์ ชุดตรวจค้นและทำลายวัตถุระเบิด ชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ชุดสนับสนุนทางยุทธวิธี ตลอดจนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  
และหน่วยงานจากมิตรประเทศ ได้แก่ กรมรบพิเศษที่ 1 (1st Special Forces Group (Airborne)) กระทรวงพลังงาน สหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Energy) และทีมฝึกอบรมและที่ปรึกษาร่วมต่อต้านการก่อการร้ายของสหราชอาณาจักร (UK’s Joint Counter Terrorist Training and Advisory Team) เป็นต้น
สำหรับในวันนี้ เป็นการทดสอบความพร้อมของนโยบาย แผน กลไก และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการก่อการร้าย ด้วยกระบวนการของฝ่ายอำนวยการ การเจรจาต่อรอง และการปฏิบัติการทางยุทธวิธี ซึ่งนับเป็นการฝึกที่มีความครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง 
รวมทั้งได้ทดสอบขีดความสามารถทุกระดับ โดยเน้นการฝึกในเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน เพื่อให้ทราบขีดความสามารถและข้อจำกัด ทั้งด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และแผนการปฏิบัติ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะทำให้ผู้เข้าร่วมการฝึกฯ เกิดความเข้าใจในยุทธศาสตร์ กลไก ระเบียบปฏิบัติประจำและการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก 
พร้อมทั้งการดำเนินการตามขั้นของการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตั้งแต่ขั้นการป้องกัน การตอบโต้ และการฟื้นฟู ทั้งนี้ ข้อขัดข้องและข้อจำกัดที่ตรวจพบจากการฝึก จะถูกนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข และนำมาทบทวนในการฝึกครั้งต่อไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากองทัพจะเป็นหลักประกันความมั่นคงและความสงบสุขให้กับประเทศชาติและประชาชนสืบไป

การฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(C-MEX 24: Crisis Management Exercise 2024) ปีนี้ได้เห็นสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างรวมถึง การนำเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ทำบินสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกำลังมามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงรายเป็นครั้งแรก
การฝึก C-MEX 2024 ปีนี้ยังเป็นครั้งแรกที่กองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน พัน.ลว.นย.(Reconnaissance Battalion) นาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) เข้าร่วมการฝึกเป็นครั้งแรกนอกจากเจ้าภาพหลักศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก.(CTOC: Counter Terrorism Operations Center) กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) และหน่วยรบพิเศษและหน่วยปฏิบัติการพิเศษต่างๆ
ของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army), กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy), กองทัพอากาศไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(RTP: Royal Thai Police) ทั้งบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานของรัฐบาลและพลเรือน และเป็นครั้งที่ได้เห็นการมีส่วนร่วมจากกรมรบพิเศษที่๑ (1st Special Forces Group (Airborne)) กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) และ Royal Marines Commandos สหราชอาณาจักรครับ