Royal Thai Air Force (RTAF)'s Saab Gripen C/D of 701st Squadron, Wing 7 Surat
Thani at Royal Australian Air Force (RAAF) base Darwin for Exercise Pitch
Black 2024 on 12 July to 8 August 2024. (Commonwealth of Australia)
Royal Thai Air Force's Lockheed Matin F-16A/B Block 15 OCU and F-16A/B Block
15 ADF of 103rd Squdron, Wing 1 Korat and F-16AM/BM of of 403rd Squdron, Wing
4 Takhli. (Royal Thai Air Force)
Royal Thai Air Force and Republic of Singapore Air Force (RSAF) concluded the
exercise AIR THAISING 2024 at Wing 1 Korat RTAF base, Thailand on 8-18 July
2024.
Saab Gripen E/F has been selected by the Royal Thai Air Force for its fighter
aircraft requirement to replace F-16A/B aircraft was operated by the 102nd
Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat in Nakhon Ratchasima province. but
the decision is subject to Thai government approvals.
Lockheed Martin's proposal of the F-16V Viper Block 70/72 aircraft to the
Royal Thai Air Force includes a highlight of the aircraft's extended service
life, extended range (due to conformal fuel tanks), and new avionics such as
the APG-83 AESA radar.
กองทัพอากาศไทยได้แสดงขีดความสามารถการวางกำลังรบอากาศยานของตนด้วยการทำการฝึกผสมทางอากาศสองการฝึกไปคู่ขนานกันทั้งในประเทศและนอกประเทศ
ทั้งการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2024 กับกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic
of Singapore Air Force) ณ กองบิน๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๘-๑๘
กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
และการฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2024 ที่ฐานทัพอากาศ Darwin
กองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) ระหว่างวันที่ ๑๒
กรกฎาคม ถึง ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก
Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน
๕เครื่องเดินทางข้ามทวีปข้ามหาสมุทรแวะพักที่สิงคโปร์และอินโดนีเซียไปจนถึงออสเตรเลีย
เช่นเดียวกับที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-15SG,
เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52 และเครื่องบินขับไล่ F-16D Block 52+
ฝึกกับเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓
กองบิน๑ และ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ในการฝึกผสม AIR
THAISING 2024 ในไทย พร้อมกันกับการฝึกผสม Pitch Black 2024 ที่ออสเตรเลียด้วย
ทว่าด้านความคืบหน้าของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่
บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(Fiscal Year
FY2025-2034) จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง ในระยะที่๑ ชุดแรกจำนวน
๔เครื่องที่กองทัพอากาศไทยมองได้รับการจัดสรรในงบประมาณกลาโหมปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ที่จะเริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ นั้น
แม้ว่าโฆษกกองทัพอากาศไทยจะได้ให้ข้อมูลกับสื่อว่า
คณะกรรมการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ของกองทัพอากาศไทยได้ให้คะแนนตัวเลือกระหว่างเครื่องบินขับไล่
Saab Gripen E/F สวีเดน และเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Viper Block
70/72 สหรัฐฯ โดยการพิจารณาทั้งแง่สมรรถนะ ขีดความสามารถ และข้อเสนอนโยบายชดเชย
offset ที่เป็นประโยชน์แก่กองทัพและภาคอุตสาหกรรมของไทย
ที่ได้ผลสรุปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ว่า กองทัพอากาศไทยได้แนะนำเครื่องบินขับไล่
Gripen E/F สวีเดนแก่กระทรวงกลาโหมไทยเพื่อให้รัฐบาลไทยพิจารณาตัดสินใจต่อไป
อย่างไรก็ตามท่าทีของรัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง และนายกรัฐมนตรีไทย เศรษฐา
ทวีสิน
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อตามมาว่าจะยังไม่ตัดสินใจในขณะนี้และให้กองทัพอากาศไทยทำการศึกษาข้อเสนอที่แต่ละบริษัทเสนอมาใหม่
ซึ่งอาจจะมีการตัดสินใจอีกทีในราววันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗
ทั้งบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯซึ่งทำตลาดเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 70/72
ของตนในฐานะเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการพิสูจน์ในการปฏิบัติจริงต่างๆด้วยสายการผลิตอันยาวนานที่ปี
2024 นี้ครบรอบ ๕๐ปีแล้ว
ข้อเสนอเสนอที่เป็นประโยชน์แก่ไทยทั้งการให้สิทธิการเข้าถึง LINK-16 datalink
การถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย อายุการใช้งานโครงสร้างอากาศยานยาวนานถึง
๑๒,๐๐๐ชั่วโมง(๖๐ปีถ้าทำการบินเฉลี่ยปีละ ๒๐๐ชั่วโมง)
และการเปลี่ยนผ่านที่ไร้รอยต่อ
ขณะที่ที่บริษัท Saab สวีเดนทำตลาดเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F
ของในฐานะตัวเลือกที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงแก่กองทัพอากาศไทยที่สามารถใช้
datalink ของตนเองอย่าง LINK TH
เชื่อมโยงเครือข่ายของกองทัพไทยทั้งสามเหล่าทัพได้
และข้อเสนอการถ่ายทอดวิทยาการและการชดเชยที่เป็นประโยชน์แก่กองทัพอากาศไทยและภาคอุตสาหกรรมการบินและป้องกันประเทศของไทยที่สมบูรณ์
Lockheed Martin สหรัฐฯกำลังอยู่ระหว่างการประชาสัมพันธ์ครบรอบ
๕๐ปีการบินครั้งแรกของเครื่องต้นแบบเครื่องบินขับไล่ F-16 ปี 1974-2024
ซึ่งได้มองไทยและฟิลิปปินส์เป็นลูกค้าในกลุ่มชาติ ASEAN
ที่จะทำให้สายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-16
ที่ปัจจุบันดำเนินงานที่โรงงานอากาศยาน Greenville ในมลรัฐ South Carolina
ได้รับคำสั่งซื้อถึงจำนวน ๓๐๐เครื่อง โดยจะผลิตส่งมอบให้ลูกค้าได้ภายใน
๓-๔ปีหลังลงนามสัญญา
Saab สวีเดนเองก็มีความพยายามที่จะได้รับคำสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ Gripen
จากกองทัพอากาศไทยเป็นฝูงบินที่สองซึ่งยังมองโอกาสสำหรับ Gripen
ฝูงบินที่สามในอนาคตด้วย
ปัจจุบันนอกจากกองทัพสวีเดนและลูกค้าส่งออกรายเดียวคือบราซิลแล้ว Gripen E
ได้พ่ายแพ้ในการแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในหลายประเทศมาตลอด
ซึ่งถูกมองว่าเป็นผลของอิทธิพลการเมืองระหว่างประเทศจากคู่แข่งอย่างสหรัฐฯ
กองทัพอากาศไทยยังคงเดินหน้าโครงการที่มีอยู่ของตน
รวมถึงการรับมอบเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๔ จำนวน
๒เครื่องหมายเลข 40113 และ 40114 ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๗ และแผนการจัดหาเพิ่มเติมอีก
๒เครื่องในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ซึ่งจะทำให้ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลีมี บ.ขฝ.๒ T-50TH
รวมทั้งหมด ๑๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-t-50th.html)
แต่อย่างไรก็ตามจากแนวโน้มที่รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยที่กำลังอยู่ในสภาวะตกต่ำมากกว่าการจัดหาอาวุธใหม่ให้กองทัพ
ก็เช่นเดียวกับโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือไทยที่ถูกตัดออกไปจากงบประมาณกลาโหม
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของกองทัพอากาศไทยก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกตัดออกจากปีงบประมาณ
๒๕๖๘ ด้วยเช่นกันครับ
Royal Thai Air Force held welcome ceremony for first two of Beechcraft
AT-6TH Wolverine serial "41101" and "41102" light atack aircraft at 411th
Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base in Chiang Mai Province, Thailand on
16 July 2024. (Defense Info TH/Sukasom Hiranphan)
Thailand acquires first two AT-6TH Wolverines
Legacy ,New dawn of Lanna sky warriors has begun
จากล้านนา อัลบาทรอส สู่วูลฟ์เวอรีน ผู้พิทักษ์น่านฟ้าเวียงพิงค์แบบใหม่
เป็นเวลากว่า3ปีแล้วที่ฝูงบิน411 กองบิน41
ได้ว่างเว้นจากการมีอากาศยานรบอยู่ในประจำการ
หลังการปลดประจำการของเครื่องบินโจมตีแบบL-39 ZA/ART
แต่ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมากองทัพอากาศได้ดำเนินโครงการจัดหาอากาศยานทดแทนแบบใหม่
โดยมุ่งเน้นที่อากาศยานยุคใหม่ที่ทันสมัยและมีความคุ้มค่าในการปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลายภารกิจ
ซึ่งผลการคัดเลือก ได้แก่เครื่องบินโจมตีเบา แบบAT-6 TH
ที่วันนี้เครื่องบิน2ลำแรก
ได้ทำการบินเดินทางจากศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานของบริษัทอุตสาหกรรมการบิน(TAI)จังหวัดนครสวรรค์
มาทำการฝึกก่อนการบรรจุเข้าประจำการที่กองบิน41 จังหวัดเชียงใหม่แล้ว
16 กรกฎาคม 67 พื้นที่ลานจอดอากาศยาน ผู้บังคับการกองบิน41 นาวาอากาศเอก
ปรธร จีนะวัฒน์
ผู้บังคับการกองบิน41เป็นประธานในพิธีต้อนรับเครื่องบินโจมตีเบา (AT-6TH)
จำนวน 2 เครื่องแรก
พร้อมทั้งเปิดให้หน่วยงานต่างๆและสถานศึกษา ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ได้รับฟังการบรรยายสรุป และชมเครื่องบินโจมตีแบบใหม่ทั้งสองลำ
เพื่อสร้างเข้าใจที่ดีร่วมกันต่อบทบาทและภารกิจของอากาศยานแบบล่าสุดที่จะเริ่มทำการบินเหนือจังหวัดเชียงใหม่ในเร็วๆนี้
AT-6 TH เป็นเครื่องบินโจมตีแบบใหม่ล่าสุดที่ผลิตโดยบริษัท เท๊กซ์ตรอน
เอวิเอชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่พัฒนาจากพื้นฐานของAT-6E
ตามความต้องการใช้งานของกองทัพอากาศ
สามารถปรับเปลี่ยนภารกิจในการบินได้อย่างหลากหลาย
มีความเหมาะสมต่อรูปแบบของสถานการณ์ความมั่นคงของพื้นที่ชายแดนภาคเหนือ
ด้วยอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ทันสมัยสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลมากกว่า20กิโลเมตร
ในทุกสภาวะอากาศ ทั้งกลางวันและกลางคืน
พร้อมทั้งทำการชี้เป้าด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อการใช้อาวุธจากตัวเครื่อง หรือ
อากาศยานลำอื่น ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันได้แบบเรียลไทม์
ด้วยระบบลิ๊งค์ที่พัฒนาในประเทศ
AT-6 TH
จึงสามารถทำการเชื่อมต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
ให้รับรู้สถานการณ์ในเวลาจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกเหนือไปจากเทคโนโลยีการบินที่ทันสมัย
AT-6ยังเป็นเครื่องบินรบที่มีค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินที่ต่ำกว่าอากาศยานทางทหารแบบอื่นๆ
อีกทั้งยังสามารถบินปฏิบัติงานได้มากกว่า4ชั่วโมง
โดยยังไม่ได้ติดตั้งถังเชื้อเพลิงสำรอง จึงทำให้AT-6 TH
เป็นอากาศยานที่มีความคุ้มค่าในการใช้งาน
พร้อมกับคุณลักษณะของการเป็นอากาศยานที่ขับเคลื่อนแบบใบพัด
เทอร์โบพล็อป จึงมีระดับเสียงที่ต่ำกว่า
อันจะเป็นการลดผลกระทบด้านมลภาวะทางเสียงให้กับชุมชนในพื้นที่รอบกองบิน41อย่างเป็นรูปธรรม
กองทัพอากาศได้จัดหาAT-6 TH ในล็อตแรก จำนวน 8 เครื่อง
โดยอีก6เครื่องที่เหลือจะทยอยนำส่งมายังโรงประกอบของTAI ตาคลี
ก่อนทำการบินทดสอบ และดำเนินการส่งมอบจนครบ
เพื่อนำเข้าประจำการอย่างเป็นทางการทั้งหมดภายในต้นปี พ.ศ.2568
พิธีต้อนรับเครื่องบินโจมตีเบาแบบ Beechcraft AT-6TH Wolverine หมายเลข 41101
และ 41102 เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่
ที่เป็นสองเครื่องแรกที่เสร็จสิ้นจากโครงการประกอบขั้นสุดท้าย(Final Reassembly
Program) โดยโรงงานอากาศยานของ บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation
Industries) ไทย ใกล้กองบิน๔ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
นับเป็นเหตุการณ์สำคัญของโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒
AT-6TH(ยังไม่ทราบการกำหนดแบบจริงของกองทัพอากาศไทย) จำนวน ๘เครื่องในปี
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) พร้อมการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย
โดยมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan
II(T-6C) ของโรงเรียนการบินกำแพงแสน ที่ได้รับมอบครบจำนวน ๑๒เครื่องแล้วในปี
พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้สื่อและเยาวชนเข้าร่วมงานก็ตาม
แต่ก็ยังมีผู้ไม่หวังดีออกมาโจมตีว่ากองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินใบพัดมือสองสมัยสงครามโลกที่ล้าสมัย
ซึ่งในความเป็นเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6E
นั้นทันสมัยกว่าเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ปลดประจำการในปี
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เสียอีก(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)
ขณะที่ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน NATO โดย Elbit
อิสราเอลที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994)
มีห้องนักบินที่ใช้เครื่องวัดประการบินแบบ analog
และอาวุธที่ใช้ได้ก็จะมีลูกระเบิดทำลาย จรวดอากาศสู่พื้นไม่นำวิถี
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9P Sidweinder(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/l-39zaart.html)
เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ล่าสุดมีความทันสมัยอย่างมากด้วยด้วยห้องนักบิน
digital Glass Cockpit โดยมีจอดแสดงผลอเนกประสงค์สี และจอภาพตรงหน้า(HUD:
Head-Up Display) ใช้คันบังคับและคันเร่งแบบ HOTAS(Hands on
Throttle-and-Stick) เหมือนเครื่องบินขับไล่ F-16 ระบบ Avionic
และระบบควบคุมอาวุธเช่นเดียวกับที่ใช้เครื่องบินโจมตี A-10C
และขีดความสามารถการใช้ระบบอาวุธความแม่นยำสูงต่างๆ
รวมถึงระเบิดนำวิถี Laser Paveway II และ LIZARD III, จรวดอากาศสู่พื้นนำวิถี
APKWS และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire
รวมถึงจรวดนำวิถีที่จะพัฒนาในไทยและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T
เครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ยังมีระบบ datalink ถึงสามแบบทั้ง Video Downlink,
LINK TH และ AERONet(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/aeronet-at-6th.html) ด้วยครับ
(การโจมตีว่าเครื่องบินรบใบพัดทุกเครื่องเป็นเครื่องบินสมัยสงครามโลกนั้นทำให้กองทัพอากาศไทยเสียโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตนมาหลายครั้งแล้ว
ตัวอย่างหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๒๘(1985)
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโจมตีแผนการจัดซื้อเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ
E-2C Hawkeye AWACS ของกองทัพอากาศในรัฐสภาจนต้องยกเลิกโครงการไป
ซึ่งถ้าจัดหามาได้คงจะใช้งานจนปลดไปนานแล้ว)
Royal Thai Navy (RTN) and Republic of Singapore Navy (RSN) concluded the
exercise SINGSIAM 21/2024 in Gulf of Thailand on 9-16 July 2024. (Royal Thai
Navy)
Boatswain’s Mate 2nd Class Kayla Haugabrook directs a Royal Thai Navy SH-60B
Seahawk helicopter to land on the flight deck of Independence-variant
littoral combat ship LCS-10 USS Gabrielle Giffords as part of Cooperation
Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand 2024 while at sea in the Gulf
of Thailand, July 23, 2024.
The Independence-variant littoral combat ship USS Gabrielle Giffords (LCS
10) sails through the Gulf of Thailand during Cooperation Afloat Readiness
and Training (CARAT) Thailand 2024, July 25, 2024.
Royal Thai Navy (RTN), Republic of Singapore Navy (RSN) and US Navy (USN)
concluded the exercise Multilateral CARAT 2024 in in Gulf of Thailand on 14
July to 3 August 2024. (US Navy/Royal Thai Navy)
Royal Thai Navy FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided-missile and FFG-422
HTMS Taksin, the Naresuan-class guided-missile frigate successfully live
firing RIM-162 ESSM missiles from Mk 41 Vertical Launching System (VLS) to
drone aerial targets at 7nmi and 8.5nmi respectively for closing of Naval
Exercise Fiscal Year 2024 in Gulf of Thailand on 25 July 2024.
Thailand validates air-defence capabilities of frigates with ESSM
firing
กองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสิงคโปร์ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสม SINGSIAM 2024
ในอ่าวไทยระหว่างวันที่ ๙-๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งจัดขึ้นทุกสองปีตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๕๒๔(1981) ครั้งนี้เป็นครั้งที่๒๑
โดยไทยกับสิงคโปร์สลับกันเป็นเจ้าภาพซึ่งปีนี้ไทยเป็นเจ้าภาพโดยมี
กองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒ กองเรือยุทธการ กร.หน่วยรับผิดชอบหลักในการฝึก
โดยกองทัพเรือสิงคโปร์ได้ส่งเรือปฏิบัติภารกิจชายฝั่ง(LMV: Littoral Mission
Vessel) ชั้น Independence จำนวน ๑ลำ คือเรือปฏิบัติภารกิจชายฝั่ง RSS
Indomitable(19) และเรือคอร์เวตชั้น Victory จำนวน ๑ลำ คือเรือคอร์เวต RSS
Valiant(91) เข้าร่วมการฝึก ขณะที่ไทยมีเรือที่เข้าร่วมประกอบด้วยเช่น
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน
และเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
รวมถึง กองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑, กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.
และกองการบินทหารเรือ กบร. และ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย.
แสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารที่แน้นแฟ้นระหว่างไทยและสิงคโปร์
โดยต่อมากองทัพเรือสิงคโปร์และกองทัพเรือสหรัฐฯได้ร่วมกับกองทัพเรือไทยทำการฝึกผสมทางเรือ
CARAT 2024 ระหว่างวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ถึง ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ด้วย
การฝึกผสมนานาชาติ CARAT 2024
ปีนี้เป็นการฝึกผสมไตรภาคีระหว่างกองทัพเรือสามชาติในอ่าวไทย
โดยกองทัพเรือสหรัฐฯได้ส่งเรือปฏิบัติการใกล้ฝั่ง Littoral Combat Ship(LCS)
ชั้น Independence LCS-10 USS Gabrielle Giffords
เข้าร่วมโดยเดินทางมาถึงท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เมือวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยมีพิธีเปิดการฝึกในวันเดียวกัน
และปิดการฝึกในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗
เหตุการณ์สำคัญที่สุดระหว่างการฝึกผสม CARAT 2024 และการปิดการฝึกกองทัพเรือ
ประจำปี ๒๕๖๗ ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ คือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทำการฝึกยิงจริงของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM
จากแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 VLS เป็นครั้งแรกต่อเป้าอากาศแบบ Banshee ที่ระยะ 7nmi
ร่วมกับ เรือหลวงตากสิน ที่ทำการยิง ESSM เป็นครั้งแรกต่อที่ระยะ 8.5nmi ด้วย
นอกจากการฝึกผสม SINGSIAM 2024 และการฝึกผสม CARAT 2024 ในอ่าวไทย
กองทัพเรือไทยยังได้ส่งกำลังพลเข้าร่วมการฝึกผสมนานาชาติ RIMPAC 2024 ที่รัฐ
Hawaii สหรัฐฯ
ซึ่งแม้ว่าด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจะทำให้ปีนี้กองทัพเรือไทยยังไม่สามารถจัดเรือของตนเข้าร่วมการฝึก
RIMPAC เหมืองสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้
แต่การส่งกำลังพลไปร่วมก็ยังจะได้รับองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาต่อไปครับ
A model of the S26T submarine, which was originally ordered for the Royal
Thai Navy(RTN). (My Own Photos)
China State Shipbuilding Corporation (CSSC) make a presentation on the
S26T diesel-electric submarine (SSK), which was originally ordered for RTN
to Ministry of Defence of Indonesia for the Indonesian Navy's
requirements.
At second meeting with the Indonesian Ministry of Defense, CSSC also will
supply the Indonesian Navy with a Type 052D destroyer at a steeply
discounted price should Jakarta procure the S26T SSK.
CSSC เสนอขาย เรือดำน้ำ S-26ให้ทร.อินโดนีเซีย
ติดตั้งเครื่องยนต์จีน CHD 260 เช่นเดียวกับที่ขายให้ทร.ไทยและปากีสถาน
ไม่ได้ใช้เครื่อง MTU จากเยอรมัน
…ตามที่ได้มีการเสนอข่าวที่มาจากต่างประเทศที่ว่า CSSC ได้มีการเสนอขาย
เรือดำน้ำ S-26 ให้ทร.อินโดนีเซีย และสามารถติดเลือกตั้งเครื่องยนต์ MTU
จากเยอรมันได้นั้น ทางด้าน CSSC ได้ยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
โดยเรือดำน้ำ S-26 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกขายต่างประเทศจะติดตั้งเครื่องยนต์
CHD 260
ที่จีนพัฒนาและผลิตขึ้นเองและได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งจากกระทรวงกลาโหมจีนและจากต่างประเทศ
...สำหรับกองทัพเรือไทยนั้นได้ตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อไปเรื่องเรือดำน้ำ
S-26T ติดตั้งเครื่องยนต์ CHD 260 เป็นที่แน่นอนแล้ว
หลังจากที่ได้ใช้เวลาศึกษาอย่างรอบด้านเป็นเวลานาน
ซึ่งขณะนี้รอเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
อีกทั้งผบ.ทร.ก็ยืนยันอย่างหนักแน่นและขอให้เรื่องนี้จบโดยเร็วไว
...ส่วนข่าวในประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ได้มีการเปิดประเด็นดราม่าต่างๆ
นั้นก็เป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น
ไม่ได้มีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ...สรุปเรือดำน้ำของทร.ไทยคือ
S-26T ติดตั้งเครื่องยนต์ CHD 260 อย่างแน่นอน...
โฆษก ทร.โต้ข่าว กรณีจีนเสนอขายเรือดำน้ำ S26T กำลังสร้างสำหรับไทย
ให้กับอินโดนีเซีย นั้น ไม่เป็นความจริง กับเผยว่า ผู้บริหาร บริษัท CSOC
ของจีน ยืนยัน ไม่มีแนวคิดที่จะขายเรือดำน้ำสำหรับประเทศไทยให้กับประเทศใด
ๆ และในปัจจุบันโครงการมีความก้าวหน้าไปแล้วมากกว่าร้อยละ
60
พลเรือตรี วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า
ตามที่ปรากฎข่าวในเพจเฟซบุ๊ค กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567
ในประเด็น “จีนถอดใจ เสนอขายเรือดำน้ำ S26T
ที่กำลังสร้างสำหรับไทยให้กับอินโดนีเซีย” โดยอ้างถึงสำนักข่าว Janes
ที่ระบุว่า
ผู้แทนบริษัท CSSC ของจีนได้เดินทางไปอินโดนีเซียเพื่อเสนอขายเรือดำน้ำ
S26T ให้กับอินโดนีเซีย
โดยรายละเอียดเนื้อข่าวระบุว่าเป็นเรือดำน้ำที่สั่งซื้อไว้เดิมสำหรับ
ทร.ไทย นั้น
ล่าสุด ทางผู้บริหารระดับสูงของบริษัท CSOC ได้ออกมายืนยันว่า
จีนไม่มีความคิดที่จะขายเรือดำน้ำ S26T
ที่กำลังสร้างสำหรับไทยให้กับประเทศใด ๆ
ที่ผ่านมาจีนร่วมกับไทยในการผลักดันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างฉันทมิตรและตรงไปตรงมา
จนโครงการนี้มีความก้าวหน้าไปมากกว่าร้อยละ 60
และเกือบสำเร็จเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นทางจีนไม่มีเหตุผลใด ๆ เลย
ที่จะสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกับโครงการนี้
ที่ฝ่ายจีนได้ลงทุนลงแรงด้วยความตั้งใจอันดีมาโดยตลอด
สำหรับความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบัน
ทางกระทรวงกลาโหมได้เสนอเรื่องการแก้ไขข้อตกลงฯ ให้กับ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรียบร้อย ซึ่งเมื่อ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รับเรื่องแล้วก็จะพิจารณาส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นต่าง
ๆ เพื่อให้เกิดความรอบคอบก่อนที่ เสนอบรรจุเข้าเป็นวาระการประชุม
ครม.ต่อไป
ดังนั้น
จะเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการยังคงเป็นไปตามกระบวนการและมีทิศทางที่ดี
โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า "กองทัพเรือขอยืนยันต่อพี่น้องประชาชนอีกครั้ง
ว่างบประมาณที่กองทัพเรือได้รับจะถูกใช้อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำอาจจะมีอุปสรรคบ้างแต่ก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด
และขอยืนยันว่าทุกโครงการที่กองทัพเรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ
จีนชดเชยให้ โดยรับประกันเป็นมูลค่า 200 ล้านบาทเช่นการรับประกันอะไหล่
ให้ตอร์ปิโดฝึกและยังรับประกันความเสียหายเครื่องยนต์จากจีนจาก 2 ปีเป็น 8
ปี ขยายระยะเวลาการอบรมเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค... CHD 620 เป็นเครื่องของจีน
ซึ่งเครื่องยนต์รุ่นนี้ใช้ในเรือผิวน้ำอย่างแพร่หลายแล้ว
ของไทยมีใช้ในเรือหลวงช้าง 6 เครื่อง...
พล.ร.อ. ชลธิศ นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะประธานคณะกรรมการจัดหาเรือดำน้ำบอกถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนกองทัพเรือว่า
ได้ลงนามโครงการเมื่อปี 2560
ข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐหรือจีทูจีระหว่างรัฐรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนการจ่ายเงินมีทั้งหมด
18 งวดได้จ่ายไปแล้ว 10 งวดหรือคิดเป็น 60% เป็นจำนวนเงิน 7,700
ล้านบาทและยังคงค้างจ่าย 40% หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 5,500
ล้านบาท
ปัจจุบันการสร้างเรือดำน้ำให้กับกองทัพเรือเสร็จสิ้นไปแล้ว 64%
ยืนยันว่าเรือดำน้ำมีมีความจำเป็นเพื่อรักษาธิปไตยทางทะเลและปกป้องทรัพยากรทางทะเลมูลค่า
24 ล้านล้านบาท รวมถึงเส้นทางคมนาคมทางทะเล
หลังจากกองทัพเรือได้ร้องขอให้ผู้มีอำนาจ
ในการแก้ไขเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำที่มีด้วยกันสองประเด็นคือ
กองทัพเรือขอแก้ไขข้อตกลงปัญหาโดยการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนกำเนิดไฟฟ้าจากรุ่น
MTU 396 เป็นเครื่องยนต์ CHD 620
ของจีนและขอขยายระยะเวลาการส่งมอบเรือดำน้ำตามโครงการออกไปเป็น 1,217
วันและหากมีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆนี้ขอให้มอบอำนาจให้กับกองทัพเรือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือไปลงนามในการแก้ไขข้อตกลง
ส่วนความเป็นห่วงเรื่องสัญญาที่เสียเปรียบ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องยนต์
กองทัพเรือทำสัญญาตั้งแต่ปี 2560 ปี จนถึงปี 2564
ทางจีนส่งหนังสือแจ้งว่าจีนไม่สามารถจัดหาเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนกำเนิดไฟฟ้าแบบ
MTU 396 มาติดตั้งในเรือดำน้ำตามสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายไทยได้
ซึ่งในการเซ็นสัญญากับจีนระบุแค่เพียงรหัสเครื่องยนต์แต่ไม่ได้บอกว่าเครื่องยนต์ต้องซื้อจากเยอรมนี
เราต้องการแค่เครื่องยนต์รหัสนี้
แต่ปี 2563 อียูปรับปรุงนโยบายและแซงชั่นจีนเพิ่มมากขึ้น กระทั่งปี 2564
จีนแจ้งไทยเกิดปัญหาใช้เครื่องเยอรมันไม่ได้จีนใช้เครื่อง CHD 620
แทนซึ่งเราพยามแก้ปัญหามาตั้งแต่ปี 2564
จนถึงปัจจุบันส่วนจีนรู้ก่อนหรือไม่ก่อนขายให้ไทยหรือเขาหลอกเราหรือเปล่าหรือเราเต็มใจให้หลอก
ซึ่งจีนก็ไม่ได้รู้มาก่อนเหมือนกัน
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกองทัพเรือพยามแก้ไขปัญหา
เราก็บอกว่าเรากับเยอรมนีมีความสัมพันธ์ที่ดีเราก็ไปซื้อเยอรมนีและจ้างจีนติดแต่เยอรมนีไม่ยอม
รัฐบาลพยามคุยแต่เยอรมนีมีนโยบายกีดกันการขยายความสามารถของจีน
ซึ่งไม่ใช่ไทยแต่ปากีสถานก็โดนทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2566
กองทัพเรือพยามไปศึกษาไปตรวจสอบไปดูและสุดท้ายถึงขั้นส่งทีมงาน 23
คนไปร่วมทดสอบเครื่อง 28 วันที่จีน
ไปดูว่าเครื่องที่จีนเสนอมามันใช้ได้หรือไม่มันได้มามาตรฐานหรือไม่มันมีคุณภาพหรือคุณสมบัติเท่ากับเครื่องที่เค้าเคยเสนอมาหรือไม่ดีกว่าหรือเท่าเทียมกันไหม
และผลการทดสอบปี 2566 ทีมของไทยทั้ง 23
คนได้ทำรายงานมาว่าเครื่องยนต์มีขีดสมรรถนะเทียบเท่าเป็นไปตามข้อตกลงกำหนดที่ไว้ในสัญญา
เช่นสัญญาระบุว่าต้องผลิตได้ออกมา 2,000
แรงม้าเครื่องนี้ทำได้ต้องมีความสั่นหรือเสียงไม่เกินเท่านี้ต้องมีความร้อนไม่เกินเท่านี้เครื่องนี้ทำได้เป็นไปตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาตั้งแต่ปี
2560 เครื่องนี้ทำได้หมด
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของเรายังได้ทำการทดสอบเครื่องยนต์ในบางรายการซ้ำ
เพื่อเรามั่นใจซึ่งทางเราบอกว่าเรายอมรับเครื่องนี้ได้
อย่างไรก็ตามจีนบอกไว้ถ้าคุณจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องที่จีนเสนอมันต้องขยายระยะเวลาออกไป
1,217 วันซึ่งเป็นเวลาที่ขอผลิตเครื่องยนต์ 365
วันส่วนวันที่เหลือเป็นวันที่ไปตามกำหนดการเดิม
กองทัพเรือในฐานะผู้ซื้อเห็นว่าเราได้เรือช้าไปจึงเจรจาต่อรองให้จีนหาอุปกรณ์มาชดเชยจากความเสียโอกาส
โดยทางจีนได้เพิ่มในส่วนของการรับประกันเป็นมูลค่า 200
ล้านบาทเช่นการรับประกันอะไหล่
ให้ตอร์ปิโดฝึกและยังรับประกันความเสียหายเครื่องยนต์จากจีนจาก 2 ปีเป็น 8
ปี ขยายระยะเวลาการอบรมเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค
ดังนั้นเครื่องยนต์เป็นเครื่องใหม่ที่ไปทดสอบมาในรุ่น CHD 620
เป็นเครื่องของจีน ซึ่งเครื่องยนต์รุ่นนี้ใช้ในเรือผิวน้ำอย่างแพร่หลายแล้ว
ของไทยมีใช้ในเรือหลวงช้าง 6 เครื่อง
เมื่อมีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำจีนจึงนำเครื่องรุ่นนี้มาพัฒนาเพื่อใช้กับเรือดำน้ำ
กองทัพเรือพิจารณาอย่างมืออาชีพและรอบคอบเพราะเราเป็นคนใช้เรือดำน้ำอยู่กับเราอย่างน้อย
40 ปีคนที่จะลงไปต้องปลอดภัย เราพิจารณาอย่างรอบคอบ
ส่วนเรื่องของการขยายเวลาก็ยอมรับได้การชดเชยได้ต่อรองจนถึงที่สุดก็อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
จึงคิดว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการดำเนินการโครงการต่อ
ส่วนที่ว่าจีนผิดสัญญาทำไมไม่ยกเลิกนั้น
มันเป็นความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เมื่อจีนไม่สามารถหาอุปกรณ์นี้ได้ ทั้งสองฝ่ายมาเจรจาแล้วหาทางออกด้วยกัน
เปรียบเหมือนเราสร้างบ้านแล้วเราไม่ได้หลังคารุ่นนี้
เราเลิกสร้างบ้านไม่ได้เราก็ไม่เลิก
เพียงแต่ว่าหลังคาใหม่เราต้องมาพิจารณาว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่
ดังนั้นว่าถ้าทางจีนเป็นฝ่ายผิดทำไมเราไม่เลิก
จึงไม่ใช่อย่างนั้น
อีกทั้งแต่เครื่องที่เขามาทดแทนไม่ได้เรื่องจริงๆเราก็ไม่รับ
หลังจากนี้เมื่อประกอบเสร็จก็จะมีการทดสอบที่โรงงานแล้วเอาไปติดตั้งในเรือเพื่อทำการทดสอบอีกครั้ง
ก่อนจะเอาเรือลงไปทดสอบใช้ในทะเลจริง ซึ่งต้องดำไปในใต้น้ำ 300
เมตรต้องผ่านขั้นตอนพวกนี้ให้เสร็จสิ้น เราถึงยอมรับ
ซึ่งขณะนี้สรุปแล้วเราจะได้เรือดำน้ำตามที่ ครม.อนุมัติ 1 ลำ
มีเครื่องทั้งหมด 3 เครื่อง สำรองทดแทน 2 เครื่องจากที่มีความต้องการ 3
เครื่อง
...ล่าสุดวันที่ 5 กรกฎาคม นาย สุทิน คลังแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมลงนามในหนังสือเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อขอแก้ไขข้อตกลงในการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เรือดำน้ำจีน
จากรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลรุ่น MTU 396 เป็นรุ่นรุ่น CHD 620
พร้อมขอขยายระยะเวลาการส่งมอบเรือดำน้ำออกไปอีก 1,217
วันจากเดิมระยะเวลาส่งมอบครบกำหนด 30 ธันวาคม 2566
รวมทั้งเสนอว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆหลังจากนี้
ขอมอบอำนาจให้กับกองทัพเรือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือไปลงนามในการแก้ไขข้อตกลง
ซึ่งอยากเร่งรัดดำเนินการให้เสร็จสิ้นในเดือนนี้
ส่วนการผลิตของจีนเราจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเมื่อเสร็จแต่ละงวดงาน
และเราก็จะจ่ายเงินตามงวดงาน คาดว่าเรือดำน้ำจะมาถึงไทยประมาณเดือนมกราคมปี
2571
พร้อมยืนยันว่าเรือดำน้ำด้วยเทคโนโลยีนั้นจีนก็ยังใช้เรือรุ่นนี้อยู่
ฉะนั้นมั่นใจว่าเรือรุ่นนี้มีคุณสมบัติและขีดความสามารถและด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันของเรือดำน้ำยังไม่ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด
เมื่อถามว่าช้าหรือไม่ที่เราได้รับ
ยอมรับว่าช้าแต่ถ้าถามว่ายังใช้ต่อได้อีก 30 ถึง 40 ปีได้หรือไม่
มั่นใจว่าใช้ได้
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าจีนจะเลิกขายเรือดำน้ำให้ไทยแล้วไปขายอินโดนีเซียแทนนั้น
พลเรือเอก ชลธิศ บอกว่าไม่ใช่ความจริง ได้ตรวจสอบกับบริษัท CSOC
ผู้แทนรัฐบาลจีนแล้ว ไม่มีความจริงเลยเป็นข่าวเท็จ
ส่วนที่พรรคก้าวไกลคัดค้านการซื้อเรือดำน้ำนั้นประเด็นอยู่ที่ความเข้าใจ
กองทัพเรือเป็นเครื่องมือของรัฐบาลเราเป็นมืออาชีพท่านมอบให้เราดูแลผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงทางทะเลเราก็ให้ข้อเสนอแนะตามสายวิชาชีพกับทางรัฐบาลโดยรัฐบาลเป็นผู้พิจารณาเองว่าอนุมัติหรือไม่และยืนยันว่าไม่เคยน้อยใจเราไม่ใช่คู่แข่งเป้าหมายของเราคือเพื่อความมั่นคงของประเทศ
...พล.ร.อ. ชลธิศ นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือกล่าวในที่สุด
...สรุปแล้วกองทัพเรือก็จะได้รับเรือดำน้ำ S-26T ในต้นปี 2571
ซึ่งขณะนี้ทร.ก็ได้มีเตรียมจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการรองรับเรือดำน้ำไว้
เช่น อู่เรือดำน้ำ เครื่องช่วยฝึกเรือดำน้ำ
เรือหลวงช้างสำหรับการสนับสนุนเรือดำน้ำ การเตรียมกำลังพลและอื่นๆ
...ส่วนการเรียกร้องให้ยกเลิกการจัดหาเรือดำน้ำจากจีนนั้นเป็นไปไม่ได้แล้ว
ขออย่าทำให้เกิดความสับสนกันดีกว่า
ขณะที่การเจรจาล่าสุดกับตัวแทน China Shipbuilding & Offshore
International Company(CSOC) จีนส่งกิจการการค้าและส่งออกของ China State
Shipbuilding Corporation(CSSC)
กลุ่มรัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือจีนเกี่ยวกับปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
MTU 16V 396 SE84-GB31L
ที่เยอรมนีไม่อนุญาตการส่งออกสิทธิบัตรให้จีนเพื่อติดตั้งในเรือดำน้ำ S26T
ของกองทัพเรือไทย
จะมีข้อสรุปสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
หลังจากยืดเยื้อมาหลายปีว่ากองทัพเรือไทยได้ยอมรับการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบ
CHD620V16H6 จีนแทนเช่นเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง
๘ลำของปากีสถาน:ซึ่ง ๔ลำแรกสร้างในจีน
และ๔ลำหลังกำลังสร้างในปากีสถานไปแล้วก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/hangor.html)
โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ รัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง
กล่าวว่ายังต้องรอให้คณะกฤษฎีกาตีความก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีไทยเพื่อแก้ไขและขยายสัญญาแบบรัฐต่อรัฐ
G-to-G โครงเรือดำน้ำ S26T ไปอีก ๑,๒๑๗วัน
ซึ่งจะทำให้ส่งมอบเรือลำแรกที่สร้างเสร็จไปแล้วร้อยละ๖๔ ได้ในราวเดือนมกราคม
พ.ศ.๒๕๗๑(2028)
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะเสร็จสิ้นก่อนที่ผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบันจะเกษียณอายุราชการในวันที่
๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ หรือไม่
แต่ประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นตามมาล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมาคือ CSSC
จีนได้เดินทางมายังสำนักงานของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในนครหลวง Jakarta
เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ เพื่อนำเสนอเรือดำน้ำ S26T
แบบเดียวกับที่กองทัพเรือไทยสั่งจัดหาไปแล้ว(ที่กำลังขั้นตอนการสร้างแล้ว?)แก่กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian
Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
CSSC จีนได้สร้างความมั่นใจแก่อินโดนีเซียว่าเรือดำน้ำ S26T
สามารถจะถูกปรับแต่งสำหรับความต้องการของกองทัพเรืออินโดนีเซีย
โดยจะไม่เผชิญกับข้อจำกัดการห้ามส่งออกแบบเดียวกับที่กองทัพเรือไทยเจอ
คงคุณลักษณะดั้งเดิมส่วนใหญ่ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือไทย
รวมถึงระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion)
และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากท่อ torpedo ใต้น้ำแบบ YJ-18
ต่อมาตัวแทน CSSC
จีนได้เดินทางมาเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและนายทหารของกองทัพเรืออินโดนีเซียที่
Jakarta เป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เพื่อเจรจาเพิ่มเติม
โดย CSSC จีนยังเสนอที่จะขายเรือพิฆาตชั้น Type 052D
(และเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย Type 071E
LPD?)แก่กองทัพเรืออินโดนีเซียด้วยข้อเสนอการลดราคาแบบสุดๆ
ถ้าอินโดนีเซียเลือกจัดหาเรือดำน้ำ S26T
ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซียมีประจำการด้วยเรือดำน้ำชั้น Cakra(Type
209/1300) ที่สร้างโดยเยอรมนีเข้าประจำการตั้งแต่ปี 1980 หนึ่งลำจากเดิม
๒ลำคือลำแรกเรือดำน้ำ KRI Cakra(401) ขณะที่ลำที่สองเรือดำน้ำ KRI
Nanggala(402) จมระหว่างการฝึกยิง torpedo ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
โดยเรือดำน้ำชั้น Cakra ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดย DSME(ปัจจุบัน Hawha
Ocean) สาธารณรัฐเกาหลีไปแล้ว
และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 209/1400) ๓ลำที่สร้างโดย DSME(Hawha Ocean)
สาธารณรัฐเกาหลี ลำแรกเรือดำน้ำ KRI Nagapasa(402) ลำที่สองเรือดำน้ำ KRI
Ardadedali(404) และลำที่สามเรือดำน้ำ KRI Alugoro(405)
ที่ประกอบสร้างโดยอู่เรือ PT PAL อินโดนีเซีย ซึ่งเดิมมีแผนจะจัดหาเรือชั้น
Nagapasa เพิ่มเติม ๓ลำที่จะประกอบสร้างในอินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/pt-pal-mro.html)
อินโดนีเซียยังกำลังจะจัดหาเรือดำน้ำ Scorpene Evolved จาก Naval Group
ฝรั่งเศส ๒ลำที่จะสร้างในประเทศโดย PT PAL อินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/naval-group-scorpene-evolved-2.html)
ทั้งนี้กองทัพเรืออินโดนีเซียยังมองแผนจัดหาเรือดำน้ำมือสองจากต่างประเทศเพื่อคั่นระยะเพิ่มจำนวนกองเรือดำน้ำของตนเป็นรวมจำนวน
๘ลำด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/1.html)
การที่ CSSC จีนเสนอเรือดำน้ำ S26T
ให้อินโดนีเซียอาจจะมองได้สองทางคืออินโดนีเซียอาจจะไม่สนใจก็ได้
เพราะแม้ว่าอินโดนีเซียจะจัดหาอาวุธจากจีนอยู่บ้างก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/c-705.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/04/ar-2-ch-4-uav.html) แต่ก็มีข้อพิพาทกับจีนในการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำในทะเลจีนใต้คือเกาะ
Natuna(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/natuna.html)
หรือจีนอาจกำลังมองจะตัดกองทัพเรือไทยออกจากการเป็น
"ลูกค้าที่สั่งซื้อไปแล้ว" ของตน
ตามที่อินโดนีเซียมีประสบการณ์ในการสร้างเรือดำน้ำและเรือรบต่างๆด้วยตนเองในประเทศอยู่แล้ว
การจัดส่งชิ้นเรือดำน้ำ S26T
ที่กำลังต่อให้ไทยเช่นเดียวกับการส่งมอบเรือพิฆาต Type 52D
มาติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ตามความต้องการมาประกอบในอินโดนีเซียแบบเดียวกับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย
ร.ล.ช้าง Type 071ET ที่ส่งออกให้ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/type-071et-lpd.html) อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้
อย่างไรก็ตามกองทัพเรือไทยได้ตอบสนองต่อรายงานนี้ โดย พลเรือเอก ชลธิศ
นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือและประธานคณะกรรมการเรือดำน้ำได้ตรวจสอบและรายงานมายังกระทรวงกลาโหมไทยว่า
CSSC จีนปฏิเสธว่าเรือดำน้ำ S26T
ที่เสนอให้อินโดนีเซียจะเป็นเรือสร้างใหม่ไม่ใช่เรือที่กำลังสร้างให้กับไทย
และติดตั้งเครื่องยนต์ CHD620
ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลและมาตรฐานทางทหารของจีนแล้วเช่นเดียวกับไทย
ไม่ใช่ ย.MTU ครับ
(ในฐานะที่ Blog
ของผู้เขียนถูกสื่อที่ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลหลายรายเคยเรียกว่าเป็น "blog แปล
Janes" ซึ่งน่าย้อนแย้งกับการกระทำของพวกตนที่บางรายก็ "ขโมย"
บทความของคนอื่นมาแล้วบอกว่าตนเองเป็นรายแรกและถูกต้องที่สุด
แล้วจะยังมาบอกอีกว่าสื่ออื่นๆอย่าง Janes
เป็นสื่อที่ไม่น่าเชื่อถืออีก
Janes Information Services เป็นแหล่งข้อมูลข่าวกรองเปิด(OSINT: Open-Source
Intelligence) ที่ให้ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยไม่มีอคติ bias
ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1898 กว่า ๑๒๖ปีแล้ว โดยหนังสือ Janes Fighting
Ships ที่ hard copy หนากว่า
๖๐๐หน้าก็เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงที่ถูกใช้โดยกองทัพเรือทั่วโลก
รวมถึงกองทัพเรือไทยซึ่งก็เคยเอามาแสดงในการแถลงการณ์โครงการจัดหาต่างๆตั้งแต่ปี
๒๕๖๐(2017) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html)
ดังนั้นการที่มีสื่อเกี่ยวกับทหารภาษาไทยใน facebook, X, Youtube และ
Tikotok ที่ตั้งขึ้นมาไม่ถึง ๑๐ปีมาตั้งข้อสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของ Janes
จึงดูเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น
หรือจะอ้างอิงสื่อในความควบคุมของรัฐบาลของประเทศที่มีข้อสงสัยด้านเสรีภาพและคุกคามสื่อและมีอคติเลือกข้างทางการเมืองระหว่างประเทศที่ชัดเจนก็ยิ่งฟังไม่ขึ้นเข้าไปใหญ่
เพราะสุดท้ายตนเองก็เป็นสื่อผู้มีอิทธิพลแต่น่าเชื่อถือจริงๆแบบ Janes
ไม่ได้)
The 13th edition of Joint Military Exercise MAITREE 2024 between Indian
Army & Royal Thail Army concluded today at Fort Vachiraprakan,
Tak Province in Thailand on 14 July 2024.
The joint training activities during MAITREE 2024 on 1-15 July 2024,
encompassed a wide range of tactical activities including weapon training,
day and night firing, rappelling, jungle survival techniques, navigation
training, communication exercises, combat first aid and casualty
evacuation drills among others.
These activities not only enhanced the tactical skills of the participants
but also deepened the enduring friendship between the armed forces of
India and Thailand.
Exercise MAITREE 2024 reaffirms the commitment of both nations to
collaborate closely in defence and security matters, further strengthening
the bilateral ties that exist between India and Thailand.
Special operation force operators from Counter Terrorism Operations Center
(CTOC), Royal Thai Armed Forces (RTARF) and Australian Defence Force (ADF)
held joint counter terrorists exercise Dawn Panther 2024 by opening
ceremony at CTOC Headquarters in Thailand on 9 July 2024. (Royal Thai
Armed Forces)
การฝึกแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายร่วมไทย - อต. รหัส Dawn Panther 24
เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 67 ผบ.ศตก. และ ผชท.อต. ประจำประเทศไทย
เป็นประธานเปิดการฝึกแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายร่วมไทย - อต. รหัส Dawn
Panther 24 ณ ลานรวม บก.ศตก. ทั้งนี้มีกำลังพลเข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน ๑๐๒
นาย
กองบัญชาการกองทัพไทย โดย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
จัดการฝึกแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายร่วมไทย-ออสเตรเลีย รหัส Dawn Panther
24
โดยมี พลโท ทนงศักดิ์ ตันนารัตน์
ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และ
ผู้ช่วยทูตทหารออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการฝึกฯ ณ
พื้นที่รวมพล ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
โดยมีกำลังพลจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษออสเตรเลีย
หน่วยปฏิบัติการพิเศษเหล่าทัพ และตำรวจ เข้าร่วมการฝึกฯ
โดยการฝึกฯ ดังกล่าวมีเนื้อหาการฝึกที่น่าสนใจ ได้แก่
การปฏิบัติการรบประชิดในอาคาร
และการปฏิบัติการภายใต้สภาวะพิเศษร่วมกับส่วนสนับสนุนทางยุทธวิธี
ทั้งนี้ ผลจากการฝึกฯ จะทำให้กำลังพลที่เข้ารับการฝึกมีความรู้ ความชำนาญ
สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งทำให้กำลังพลทั้งสองประเทศให้แลกเปลี่ยนความรู้กันในระดับมิตรประเทศ
เพื่อเป็นการสนับสนุนการฝึกในทุกระดับของกองทัพต่อไป
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ที่ผ่านมากองทัพไทยยังมีการฝึกร่วมกับมิตรประเทศอีกหลายชาติรวมถึง การฝึกผสม
MAITREE 2024 ระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกอินเดีย(Indian Army)
ระหว่างวันที่ ๑-๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยเป็นการฝึกครั้งที่๑๓
แล้วที่เว้นห่างจากการฝึกครั้งที่๑๒ การฝึกผสม MAITREE 2019 ไปกว่า
๔ปีเนื่องจากสถานการณ์ระบาด Covid-19
การฝึกผสม MAITREE 2024 ในปีนี้มีกองทัพบกไทยเป็นเจ้าภาพ
โดยจัดการฝึกในพื้นที่กองทัพภาคที่๓(3rd Army Area) ซึ่งมีพิธีปิดไป ณ
ค่ายวชิรปราการ จังหวัดตาก โดยจัดกำลังหลักจากกองพลทหารราบที่๔(4th Infantry
Division) ซึ่งการฝึกมีทั้งหัวข้อการใช้อาวุธ การดำรงชีพในป่า
จนถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศิลปะการต่อสู้มวยไทยและการต่อสู้ระยะประชิด
CQC(Close Quarters Combat) ของกองทัพบกอินเดีย
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก. กองทัพไทย
และกองทัพออสเตรเลียได้จัดการฝึกร่วม Dawn Panther 2024
ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในไทย
ซึ่งรวมหน่วยปฏิบัติการพิเศษจากทั้งกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย
ที่ยังทำการฝึกทดสอบขีดความสามารถด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ระหว่างวันที่
๑๕-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ด้วยครับ