วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียยืนยันแผนการจัดหาเครื่องบินลำเลียง Airbus A400M ที่ถูกตัดลดสายการผลิต

Indonesia confirms A400M acquisition plan
An A400M of the Royal Malaysian Air Force. Indonesia looks to set to join its regional neighbour in fielding the airlifter with confirmation of plans to buy two aircraft. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/78428/indonesia-confirms-a400m-acquisition-plan

Airbus to cut A400M production
From 2020, Airbus is to turn out just eight A400Ms a year as it looks to re-baseline the programme that is costing it billions of Euros a year in penalties. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/78453/airbus-to-cut-a400m-production

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ได้ยืนยันแผนการจัดหาเครื่องบินลำเลียงหนัก Airbus Defence and Space A400M Atlas ตามที่ได้ประกาศในวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมาว่า
กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะจัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M จำนวน 2เครื่องเพื่อสนับสนุนรัฐบาลพลเรือนอินโดนีเซียในการขนส่งกำลังบำรุงระหว่างภาคตะวันตกและภาคตะวันออกของประเทศ โดยไม่มีรายละเอียดในเรื่องของระยะเวลาและวงเงินสัญญาเปิดเผยออกมา

Jane's ได้รายงานไปก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคม 2017 ว่าอินโดนีเซียแสดงความสนใจเครื่องบินลำเลียง Airbus A400M(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/airbus-a400m-5.html)
ณ เวลานั้นแหล่งข่าวในรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมกล่าวว่าอินโดนีเซียต้องการจัดหา A400M จำนวน 5เครื่องและมีการตั้งวงเงินงบประมาณจัดหาที่ $2 billion

รายงานที่มีตามมาในเดือนเมษายน 2017 โดยสื่อกล่าวว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเตรียมการเข้าสู่การเจรจาหารือการลงนามสัญญากับบริษัท Airbus DS เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดหา
กองทัพอากาศอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่สองในกลุ่ม ASEAN ต่อจากกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ที่จัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M จำนวน 4เครื่อง ซึ่งเข้าประจำการครบทุกเครื่องในเดือนมีนาคม 2017

กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและเพิ่มขยายขีดความสามารถด้านกำลังเครื่องบินลำเลียงปีกตรึง ที่ปัจจุบันมีเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใบพัดสี่เครื่องยนต์ Lockheed Martin C-130B, C-130H และ L-100(รุ่นพลเรือน) Hercules รวม 19เครื่อง
เครื่องบินลำเลียงขนาดเบาสองเครื่องยนต์ใบพัด Airbus DS-PTDI C212 7เครื่อง, เครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ใบพัด Airbus DS-PTDI CN235 6เครื่อง และ C295 9เครื่อง ซึ่งมีสิทธิบัตรการผลิตในประเทศโดย PT Dirgantara รัฐวิสาหกิจอากาศยานของอินโดนีเซีย

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมากองทัพอากาศอินโดนีเซียได้สูญเสียเครื่องบินลำเลียง C-130/L-100 จากอุบัติเหตุตกต่างๆรวม 5 เครื่องแล้ว
Jane's เข้าใจว่ากองทัพอากาศอินโดนีเซียจะนำเครื่องบินลำเลียง A400M เข้าประจำการในฝูงบิน31(Skadron Udara 31) และฝูงบิน32(Skadron Udara 32) ซึ่งมีที่ตั้งใน Halim Perdanakusuma และ Abdul Rachman Saleh ตามลำดับ

Airbus A400M เป็นเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ใบพัด สามารถบรรทุกได้หนัก 37tons ขณะที่อินโดนีเซียจัดหามาเพื่อขนส่งสิ่งของข้ามทั่วประเทศแล้ว
เครื่องบินลำเลียง A400M ยังถูกออกแบบสำหรับการใช้งานทางทหารและสามารถดำเนินการลำเลียงอุปกรณ์ทางทหารได้หลากหลายประเภทด้วย

บริษัท Airbus กำลังตัดลดสายการผลิตของเครื่องบินลำเลียง A400M ให้เหลือเพียง 8เครื่องต่อปีในปี 2020 ในฐานะส่วนหนึ่งของหลายๆการขับเคลื่อนการปรับพื้นฐานใหม่ของโครงการที่เผชิญกับความล่าช้าและการค้างการชำระค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
ความเคลื่อนไหวนี้ได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา จะเห็นได้สายการประกอบสุดท้าย(FAL: Final Assembly Line) ที่ Seville ในสเปนว่าเหลือเครื่องน้อยกว่าหนึ่งในสามจาก 30เครื่องต่อปีที่ควรจะเปิดตัวในขั้นนี้ของโครงการเร่งสายการผลิตที่ประกาศในเดือนเมษายน 2015

"Airbus ขณะนี้กำลังเข้าสู่กระบวนการทางสังคมอย่างเป็นทางการ โดยมีคณะตัวแทนในระดับยุโรปและนานาชาติเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่เป็นไปได้สำหรับแรงงานของบริษัทและเริ่มการบรรเทาผลกระทบร่วมกัน"
ข้อความนี้ถูกกล่าวในการแถลงการปรับลดอัตราสายการผลิตของเครื่องบินโดยสารสายการบินเรือธงของบริษัทคือ Airbus A380

ตั้งแต่ที่ลูกค้ารายแรกของ A400M เริ่มเปิดตัวเครื่องจากสายการผลิต FAL ในปี 2013 Airbus DS ได้ดิ้นรนเพื่อที่จะให้ตรงตามเป้าหมาย โดยบริษัทสามารถส่งมอบเครื่องได้เพียง 2เครื่องจาก 4เครื่องในปี 2013 และล้มเหลวเป้าหมายในปี 2014 โดยส่งมอบเครื่องได้เพียง 8เครื่องจาก 13เครื่อง
ในปี 2015 Andreas Thürnagel หัวหน้าฝ่ายการผลิตของ A400M กล่าวกับนิตยสารภายในของบริษัท On Air ว่าอัตราสายการผลิตควรจะเพิ่มจาก 1.25เครื่องเป็น 2.5เครื่องต่อเดือน ในความพยายามจะจัดการการส่งมอบที่ค้างอยู่ที่เกิดจากผลกระทบที่บริษัทเรียกว่า "ปัญหาของผู้จัดส่ง"

"มันเป็นเวลาที่ต้องเปลี่ยน Gear และแล่นเข้าเข้าสู่ Mode ทางวิ่งกระโดด เราจำเป็นต้องเร่งความเร็วสายการผลิตและการส่งมอบขณะที่กำลังพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มเติมตามความต้องการของลูกค้าเรา นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย" Thürnagel กล่าว
ทั้งนี้  Airbus DS มีแผนที่จะพยายามหาลูกค้ารายใหม่เพื่อเปิดสายการผลิตให้ได้นานที่สุดก่อนจะต้องปลดคนงานกว่า 3,700อัตราใน สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และสเปนออกไปครับ