Sea Venom / ANL completes first live firing
Image showing the first live firing of MBDA's new Sea Venom/ANL anti-ship missile at the DGA's Essais de Missiles centre at Île du Levant on 21 June. Source: MBDA
http://www.janes.com/article/72049/sea-venom-anl-completes-first-live-firing
MBDA บริษัทผู้ผลิตอาวุธปล่อยนำวิถียุโรปร่วมกับ DGA(Direction générale de l'armement) สำนักงานการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ฝรั่งเศสได้ดำเนินการทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเฮลิคอปเตอร์แบบ Sea Venom/ANL(Anti-Navire Léger) ครั้งแรก
การทดสอบยิงจริงซึ่งประสบความสำเร็จมีขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมาที่ศูนย์ทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีของ DGA Essais de Missiles centre ที่ Île du Levant ในทะเล Mediterranean เป็นการทดสอบครั้งแรกในชุดการทดสอบเพื่อรับรองคุณภาพการบินของ Sea Venom/ANL
Sea Venom/ANL เป็นโครงการร่วมระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 110kg ความเร็วต่ำกว่าเสียงสูง บินโคจรเรี่ยดผิวน้ำใช้ระบบค้นหาเป้าหมายแบบสร้างภาพความร้อน Infrared(IIR: Imaging Infrared) และมีพื้นที่และน้ำหนักเพิ่มสำหรับช่องนำวิถี Laser (SAL: Semi-Active Laser)
มี Datalink สองทางสำหรับการควบคุมผู้ปฏิบัติการในวงรอบ(operator-in-the-loop) ติดหัวรบระเบิดกึ่งเจาะกราะ/แตกสะเก็ด ขับเคลื่อนด้วยชุดดินส่ง/ดินขับโดยมีชุดดินเริ่มส่งติดตรึงท้ายจรวด(นำมาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone) มีชุดดินขับโครจรต่อเนื่องกลางตัวจรวด มีพิสัยยิงไกลสุดเกิน 20km
Sea Venom/ANL สามารถทำการบินโคจรเข้าหาเป้าหมายแบบ 'ยิงแล้วลืม' อัตโนมัติเต็มตัว ระบบควบคุม operator-in-the-loop ทำให้มีขีดความสามารถในการเปลี่ยนเป้าหมายได้ใหม่, ปรับความถูกต้อง/ความประณีตจุดเล็ง และยกเลิกการทำงานจรวดแบบปลอดภัยขณะทำการบิน
ระบบนำวิถี Laser SAL ถ้าใช้งานจะสามารถใช้อาวุธโจมตีเป้าหมายนอกเหนือจากที่เห็นในเส้นแนวเล็ง(line of sight) ซึ่งกำหนดเป้าให้ถูกต้องโดยใช้เครื่องชี้เป้า Laser จากแหล่งอื่นได้ สามารถทำลายเป้าหมายเรือผิวน้ำขนาดเรือเร็วโจมตีถึงเรือคอร์เวต และเป้าหมายบนบกใกล้ชายฝั่งได้
การยิงครั้งแรกของ Sea Venom/ANL ทำการยิงจากเฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters AS365 Dauphin(F-ZAGG) ซึ่งเป็นเครื่องทดสอบของ DGA ซึ่งเห็นอาวุธปล่อยนำวิถีบินไปยังสุดขอบระยะยิงไกลสุด การทดสอบไม่ได้รวมการจับเป้าหมายหรือการเปิดใช้ระบบค้นหาเป้า IIR ระยะสุดท้าย
"การยิงได้ดำเนินการที่ระดับความสูงปานกลางและมุ่งเป้าที่การตรวจสอบระบบขับเคลื่อน, การนำวิถีระยะขั้นกลาง และการควบคุมทางพลศาสตร์ของจรวด" โฆษก MBDA กล่าวกับ Jane's ทั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยเพดานบินและระยะยิงที่ทำได้
อาวุธปล่อยนำวิถี Sea Venom จะถูกนำมาแทนที่อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Sea Skua ที่ปลดประจำการไปแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/lynx-hma8-sea-skua.html)
โดย Sea Venom จะเป็นอาวุธสำหรับเฮลิคอปเตอร์ AW159 Wildcat กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) และการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ตระกูลตระกูล Lynx ที่ยังมีประจำการในหลายประเทศเช่น เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300 กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย
เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถี ANL แทนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ AS15TT สำหรับโครงการเฮลิคอปเตอร์ HIL(Hélicoptère Interarmées Léger) กองทัพเรือฝรั่งเศสซึ่งได้เลือกเฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters H160 ไปครับ
(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/airbus-helicopters-h160.html)