วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๐-๖

NORINCO VN1 8x8 Armoured Personnel Carrier model at Defense & Security 2015(My Own Photo)

Thailand confirms order of VN-1 APCs from China
http://www.janes.com/article/71459/thailand-confirms-order-of-vn-1-apcs-from-china

จากรายงานโดยสื่อหลักของไทยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง ระยะที่๒ แบบ VN1 จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีนวงเงินราว ๒,๓๐๐ล้านบาท ซึ่งมีการชี้แจงข้อมูลส่วนหนึ่งโดยท่านผู้บัญชาการทหารบก พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท นั้น
โดยข้อมูลที่มีออกมาเพิ่มเติมโครงการจัดหานี้เป็นไปตามแผนการพัฒนากำลังกองทัพบกในช่วงปีงบประมาณผูกพัน พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔(2017-2021) ในส่วนของเหล่าทหารม้าเพื่อทดแทนยานเกราะล้อยาง V-150 และรถสายพานลำเลียง M113 ที่มีอายุการใช้งานมานานเกือบ ๕๐ปี
หน่วยที่จะได้รับมอบยานเกราะล้อยาง VN1 นั้นคาดว่าเป็นกองพันทหารม้าลาดตระเวนหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เพื่อทดแทน V-150 คือ กองพันทหารม้าที่๑๐ และ กองพันทหารม้าที่๗ ส่วนกองพันทหารม้าที่๑๒ นั้นคาดว่าจะมีการจัดหาในระยะต่อไป

Gunner Station of 1man Turret inside VN1 8x8 Bolivarian Marine Infantry(Venezuelan Marine Corps) Bolivarian Navy of Venezuela(Navy of Venezuela)

ซึ่งนอกจากข้อมูลสมรรถนะเบื้องต้นของรถที่มีการรายงานจากสื่อหลักบางแห่งนั้น ระบุว่ายานเกราะล้อยาง VN1 ของกองทัพไทยจะติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง และเครื่องยิงระเบิดอัตโนมัติขนาด 35mm นั้นเป็นที่น่าสงสัยว่าถ้าข้อมูลไม่คาดเคลื่อนจะเป็นไปได้ตามนี้หรือไม่
(การจัดหาระบบอาวุธของยานเกราะล้อยาง VN1 กองทัพบกไทยที่เปิดเผยออกมามีเพียง ปืนใหญ่กล 30mm ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และกระสุนเท่านั้น)
เพราะข้อมูลก่อนหน้านั้นยานเกราะล้อยาง ZBL-09 ที่กองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีนใช้ซึ่งเป็นรุ่นเป็นพื้นฐานของ VN1 ที่เป็นรุ่นส่งออกนั้นก็ไม่ได้มีเครื่องยิงลูกระเบิด 35mm โดยป้อมปืนแบบใช้พลประจำ ๒นาย, ๑นาย และป้อมแบบไร้คนบังคับ Remote Weapon Station อย่าง UW4A
อีกทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง HJ-73 อย่างที่ส่งออกให้ VN1 นาวิกโยธินกองทัพเรือเวเนซุเอลานั้นก็นับว่าล้าสมัยมาก ซึ่งป้อมปืนแบบมีพลประจำของจีนและวเนซุเอลา ก็ใช้พื้นที่ภายในมากเกินกว่าจะบรรทุกพลประจำรถได้ ๑๓นาย(พลประจำรถ ๓นาย+ทหารราบ ๑๐นาย)

Ukranian BTR-3E1 delivered to 10th Cavalry Battalion, 2nd Cavalry Regiment, 1st Cavalry Division, Royal Thai Army

ตามที่ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ว่า กองพันทหารม้าที่๑๐ นั้นได้รับมอบยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ไปก่อนแล้วนั้น มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการโอนย้าย BTR-3E1 ไปหน่วยขึ้นตรงของ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ที่กำลังอยู่ระหว่างการแปรสภาพให้เป็นหน่วยทหารราบยานเกราะ
คือ กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์ ที่กองพันทหารราบหน่วยขึ้นตรงของสองกรมนี้ได้รับมอบ BTR-3E1 ประจำการไปแล้ว เพื่อให้มีจำนวนรถมากเพียงพอความต้องการในหน่วยเดียวกัน
ทั้งนี้นอกจาก กองพันทหารราบที่๑ รักษาพระองค์ ร.๒ รอ.และ กองพันทหารราบที่๑ รักษาพระองค์ ร.๒๑ รอ. แล้ว พัน.ร.ที่เหลือสองกองพันของทั้ง ร.๒ รอ. และ ร.๒๑ รอ.ก็ยังอยู่ระหว่างการรับมอบ BTR-3E1 ให้ครบทั้งกรมตามที่ได้สั่งจัดหาไปครับ

DTI Black Widow Spider 8x8 Prototype for Royal Thai Army at Defense & Security 2015 (My Own Photo)

สำหรับการที่มีสื่อกระแสหลักและในสังคม Online ตั้งคำถามที่ว่าทำไมกองทัพบกไทยจึงไม่จัดหายานเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider 8x8 ที่พัฒนาโดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(Defence Technology Institute) ของไทยเองนั้น
ทางโฆษกกองทัพบกไทย พันเอก วินธัย สุวารี ให้คำตอบว่าเนื่องจากยานเกราะล้อยาง Black Widow Spider นั้นยังมีสถานะเพียงรถต้นแบบ ถ้าจะให้สมบูรณ์ก็ต้องมีขั้นตอนการรับรองแบบยุทโธปกรณ์ โดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบก กมย.ทบ ก่อน 
โดยจะต้องมีการทดสอบ แก้ไข ปรับปรุงสมรรถนะต่อไป จนตรงความต้องการจึงจะอนุมัติให้เข้าสู่สายการผลิตได้ ซึ่งที่กล่าวมานั้นต้องใช้อีกหลายปี จึงไม่ตรงกับแผนความต้องการในการพัฒนาของกองทัพบกในปัจจุบัน

Chaiseri's First Win Infantry Fighting Vehicle for Malaysian Army as DEFTECH AV4 at Defense & Security 2015(My Own Photo)

Chaiseri developed First Win II 4x4 for Internal Security Operations Command(based on First Win IFV)

ส่วนรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win 4x4 ของบริษัท Chaiseri ทางกองทัพบกชี้แจงว่าคุณสมบัติของรถที่เป็นรถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด(MRAP: Mine Resistant Ambush Protected) ไม่ตรงกับความต้องการของรถรบทหารราบ(IFV: Infantry Fighting Vehicle)สำหรับสงครามตามแบบในการทดแทนรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 4x4 
อย่างไรก็ตามจากที่กองทัพบกไทยและหน่วยงานอื่นๆมีการจัดหาไปใช้งานจำนวนหนึ่งที่ชายแดนภาคใต้นั้นผู้ใช้งานมีความพอใจในสมรรถนะของรถเกราะล้อยาง Firt Win มาก ในส่วนของ ตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย นั้นต้องการ First Win มาแทน V-150
ซึ่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กอ.รมน.จะมีการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 รุ่นใหม่จำนวน ๑๓คันจาก Chaiseri ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐(เห็นว่ามีพื้นฐานมาจากรุ่น AV4 ที่ส่งออกให้กองทัพบกมาเลเซีย) มาใช้ที่ชายแดนภาคใต้ครับ

(แต่ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ได้ทดสอบการใช้งานรถหุ้มเกราะ First Win ส่วนหนึ่งกลับบอกว่ารถแย่ไม่มีความปลอดภัยพอ ซึ่งดูเหมือนรถเกราะป้องกันทุ่นระเบิดที่มีใช้งานหลายแบบของไทยจะมีปัญหา
เช่น รถหุ้มเกราะล้อยาง REVA 4x4 แอฟริกาใต้ที่มีปัญหาหม้อน้ำรั่วกับสายไฟฟ้าลัดวงจร หรือ รถเกราะ NAVARA ดัดแปลง ก็มีสมรรถนะต่ำขาดความคล่องตัวและไม่ปลอดภัยในการป้องกันจริง)

5 Oplot-T Main Battle Tanks arrival from Sattahip Naval Base to 2nd Cavalry Battalion, 2nd Infantry Division, Queen's Guard, Royal Thai Army on November 2016

ชุดภาพการขนส่งรถถังหลัก Oplot-T จำนวน ๕คัน จากยูเครนทางเรือสินค้าที่ท่าเรือ ฐานทัพเรือสัตหีบ กองทัพเรือไทย ขนส่งโดยรถพ่วงชานต่ำ มาถึง กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ กองทัพบกไทย
ที่ถูกระบุว่าเป็นชุดภาพการส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ชุดใหม่จำนวน ๕คันในช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้ ซึ่งถ้าเป็นความจริง กองพันทหารม้าที่๒ ก็ได้รับมอบ ถ.หลัก Oplot แล้ว ๒๕คัน เหลืออีก ๒๔คันที่รอการส่งมอบจากยูเครน
แต่ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ว่าชุดภาพในข้างต้นน่าจะเป็นน่าจะเป็นภาพเก่าตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว(2016)มากกว่า ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่มีการนำภาพการส่งมอบครั้งก่อนมาแสดงว่าเป็นภาพการส่งมอบรถชุดล่าสุด 
โดยชุดภาพสายการผลิตที่โรงงาน Malyshev ที่ยูเครนล่าสุดที่ได้นำเสนอไปนั้นก็ยังทำให้เห็นว่ายูเครนยังคงผลิตรถถัง Oplot ให้ไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง(aagth1.blogspot.com/2017/06/oplot-t.html)
อย่างไรก็ตามค่อนข้างจะเป็นที่ชัดเจนว่าทางยูเครนจะไม่สามารถส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ที่เหลืออีก ๒๔คันให้กองทัพบกไทยได้ครบในปีนี้ โดยจะส่งมอบให้ครบได้ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ที่เป็นการเลื่อนระยะเวลาไปอีกปีมาหลายครั้งแล้วครับ

AgustaWestland AW139 Serial Number 31525 and 31520 of Department of Army Transportation, Royal Thai Army

อีกข่าวเท็จที่ถูกนำเสนอโดยสื่อกระแสหลักคือกรณีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ๑๓๙ ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ๒เครื่องแรกที่เข้าประจำการใน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก กบบ.ขส.ทบ. ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ซึ่งปัจจุบันคือ กองการบิน ศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก ศคย.ทบ.
ที่จัดหาจาก Leonardo(AgustaWestland ในเครือบริษัท Finmeccanica เดิม) อิตาลี ที่มีการเสนอข่าวเท็จว่ามีปัญหาต้องทำการงดบินมานานถึง ๑ปี เนื่องจากการที่บริษัทเอกชนที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายมีความล่าช้าในการจัดส่งอะไหล่ตามระยะตรวจซ่อมบำรุง ๓๐๐ชั่วโมงบิน
ประกอบด้วย ฮ.ท.๑๓๙ AW139 หมายเลข 31525 ขาดอะไหล่ ๒๑รายการ และหมายเลข 31520 ขาดอะไหล่ ๑๗รายการ รวม ๓๘รายการ อีก ๒เครื่องคือ AW139 หมายเลข 41399 และหมายเลข 41413 จัดหามาในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) รวม ๔เครื่องของ กบบ.ศคย.ทบ.
ส่วน ฮ.ท.๑๓๙ AW139 หมายเลข 41520 41521 41522 41523 41524 และ 41525 รวม ๖เครื่องประจำการใน กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ซึ่งเริ่มรับมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) 

โดยต่อมาทางโฆษกกองทัพบกไทย พันเอก วินธัย สุวารี ยืนยันว่า ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ที่จัดหามาทั้งหมดนั้นยังใช้ปฏิบัติราชการอยู่ตลอดทุกเครื่อง โดยไม่เคยมีการจอดหยุดใช้งานงดบิน เพื่อรอการเปลี่ยนอะไหล่ซ่อมบำรุงจากทางบริษัทผู้ขายแต่อย่างได
ทั้งนี้ ฮ.AW139 ทุกเครื่องมีการบำรุงตามระยะเวลาชั่วโมงบิน มีการหมุนเวียนตามวงรอบที่ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องปกติ เพราะมีชิ้นส่วนอะไหล่พร้อมดำเนินการในอัตราไม่ต้องสั่งหรือรอคอยการสั่งแต่อย่างใด เอกสารที่สื่อนำมาอ้างนั้นเป็นของเก่าปี 2015 ซึ่งไม่ได้มีเนื้อหาตามที่สื่อนำเสนอ
แต่กรณีข่าวเท็จดังกล่าวนี้กลับถูกผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพใช้ช่องทางผ่านสื่อมวลชนที่รายงานข้อมูลที่ผิดพลาดจากการตีความเอกสารราชการอย่างไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยไปขยายผลว่า "กองทัพซื้อ ฮ.VIP ราคาแพงแต่ใช้แป๊บเดียวเสียบินไม่ได้ เปลืองภาษีประชาชน" 
ซึ่งเป็นการใส้ร้ายป้ายสีบิดเบือนที่ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และให้สังคมเข้าใจผิดๆตามที่มีผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติที่ชักจูงไปในทางที่พวกตนต้องการเป็นอย่างมากครับ

Sikorsky UH-60M Black Hawk of 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army

Thailand proposes Black Hawk procurement
http://www.janes.com/article/71921/thailand-proposes-black-hawk-procurement

ทั้งนี้การเตรียมเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่ง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไทย ได้สั่งการให้กองทัพมีการจัดทำรายการการจัดซื้อที่ต้องการจากสหรัฐฯตามที่รายงานไปนั้น (aagth1.blogspot.com/2017/06/blog-post_28.html)
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน  พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ได้ให้ข้อมูลว่าสหรัฐฯได้อนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60M Blackhawk ให้ไทยจำนวน ๔เครื่อง
โดยการจัดหา ฮ.ท.๖๐ UH-60M นี้ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยไปตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ในรูปแบบ FMS(Foreign Military Sales) ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๑(2017-2018) โดยกำลังเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการตามช่องทางของรัฐบาลสหรัฐฯต่อไป
ปัจจุบันกองทัพบกไทยมี ฮ.ท.๖๐ UH-60L ๙เครื่อง(เดิมมี ๑๐เครื่อง แต่สูญเสียไป ๑เครื่อง) และ ฮ.ท.๖๐ UH-60M ๓เครื่อง รวม ๑๒เครื่องประจำการใน กองพันบินที่๙(กองบินปีกหมุนที่๙ ผสม เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
ซึ่งกองทัพบกมีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60M เพิ่มอีก ๔เครื่องให้ครบอัตราจัด ๑กองพันบิน ๑๖เครื่อง(แบ่งเป็น ๔หมวดบิน หมวดบินละ ๔เครื่อง หรือ ๒กองร้อยบิน กองร้อยบินละ ๘เครื่อง)

Sikorsky MH-60S Knighthawk of 2nd Squadron, Chakri Naruebet Wing,  Naval Air Division, Royal Thai Navy

ทั้งนี้ยังอาจจะรวมถึงการจัดหาในส่วนของ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทยที่ยังต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงเพิ่มเติมอีกจากความต้องการรวมจำนวน ๔-๖เครื่อง
โดยปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ลล.๕ Sikorsky MH-60S Knighthawk ๒เครื่อง รวมกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-70B Seahawk ๖เครื่อง ประจำการใน ฝูงบินที่๒ หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร กองการบินทหารเรือ
กองทัพเรือจึงน่าจะมีความต้องการจัดหา ฮ.ลล.๕ MH-60S เพิ่มเติมอีกอย่างน้อย ๒เครื่อง เพื่อเสริมการใช้งาน ฮ.ที่มีอยู่ โดยเป็นไปได้ว่าจะจัดหาในรูปแบบ FMS ร่วมกับการจัดหา UH-60M ของกองทัพบกไทยก็เป็นได้
อีกทั้งยังมีกระแสข่าวลือว่าเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบใหม่ของกองทัพเรืออาจจะเป็น MH-60R หรือ S-92 รุ่นใช้งานทางทะเลรูปแบบเดียวกับ CH-148 Cyclone ของกองทัพอากาศแคนาดา หรือเป็น ฮ.Sikorsky แบบอื่นของกองทัพอากาศไทยหรือกองทัพบกไทยครับ

Keel laying Ceremony of HTMS Trang Royal Thai Navy second Krabi class Offshore Patrol Vessel at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard, 23 June 2017

ตามที่ได้รายงานพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่๒ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ คือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ลำที่๒ ที่ได้รับพระราชทานนมาว่า ร.ล.ตรัง เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ นั้น (aagth1.blogspot.com/2017/06/blog-post_23.html)
ก็ตามข้อมูลที่นำเสนอไปครับว่า กองทัพเรือไทยมีแผนที่จะต่อเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๓ ซึ่งยังคงเป็นแบบแผนเรือเดียวกัน โดยรอการบรรจุโครงการในแผนงานเพื่อให้มีการการอนุมัติงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้จากแผนของกองทัพเรือที่มีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพื่อทดแทนเรือเก่าที่ปลดประจำการไปนานแล้วหรือกำลังรอปลดประจำการ ๖ลำ ปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งประจำการแล้วสองชุดคือ 
ชุด ร.ล.ปัตตานี ๒ลำ ประกอบด้วย ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส และชุด ร.ล.กระบี่ คือ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ตรังในอนาคตที่คาดว่าจะมีการปล่อยเรือลงนำได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)

อย่างไรก็ตามมีข้อมูลบางส่วนออกมาว่ากองทัพเรือไทยอาจจะสั่งต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ รวม ๓ลำเท่านั้น ทำให้จะมีเรือ ตกก.ที่มีความต้องการเพิ่มอีกอย่างน้อย ๑ลำ
โดยก็ตามที่ได้เคยรายงานไปว่าบริษัทอู่กรุงเทพฯ(Bangkok Dock) ที่ซื้อสิทธิบัตรแบบเรือ 90m OPV จาก BAE Systems สหราชอาณาจักรนั้น กำลังศึกษาแบบเรือใหม่อยู่
ก็จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดใหม่เป็นแบบที่สามต่อจาก เรือ ตกก.ชุด ร.ล.ปัตตานี และชุด ร.ล.กระบี่ ในอนาคต
อย่างไรก็ตามกองทัพเรือไทยอาจจะมีการปรับโครงการไปเป็นการสร้างเรือคอร์เวตซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หรือเตรียมการเพื่อต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง คือเรือฟริเกตชุด ร.ล.ท่าจีน เป็นลำที่๒ ในไทยก็ได้ตามความเหมาะสมครับ

testing of HMV-150 prototype by Panus Assembly Co.,Ltd Thailand for upgrade Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy V-150 4x4 
รถเกราะล้อยาง 4X4 HMV-150 พัฒนาปรับปรุงใหม่โดยบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ขณะทำการการทดสอบสมรถนะและขีดความสามารถ ในสนามทดสอบยานพาหนะกองทัพบก จ.กาญจนบุรี ตามสถานีต่างๆ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 

ประเด็นหนึ่งที่การกล่าวถึงภายหลังโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ของกองทัพบกไทยคือ การทดสอบรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 4x4 พัฒนาปรับปรุงโดยบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ สำหรับนาวิกโยธินไทย ที่ถูกส่งไปทดสอบที่สนามทดสอบยานพาหนะกองทัพบก กาญจนบุรีนั้น
มีความเข้าใจคาดเคลื่อนไปมากว่า 'ทำไมกองทัพจึงไม่สนับสนุนผลงานของคนไทยแล้วซื้อแต่ของต่างประเทศ' ประเด็นที่จำเป็นต้องชี้แจงคือ

หนึ่งรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 นั้นเป็นการปรับปรุงมาจากรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 เดิมไม่ได้เป็นการสร้างใหม่ทั้งคัน โดยเป็นความต้องการในส่วน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน(ที่เดิมมาจาก กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน)
การที่จะนำรถเกราะ HMV-150 เข้าประจำการได้นั้นก็ต้องให้ทางนาวิกโยธินไทยตรวจสอบแล้วว่ามีสมรรถนะเป็นพอใจ จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อข้องบประมาณสำหรับการปรับปรุงรถหุ้มเกาะล้อยาง V-150 ที่มี ๒๔คันอยู่ให้เป็นมาตรฐาน HMV-150 ได้

สองรถเกราะล้อยาง HMV-150 นั้นจัดเป็นยานเกราะล้อยางขนาดเบาระบบ 4x4 ซึ่งขนาดและน้ำหนักบรรทุกน้อยกว่ายานเกราะล้อยาง VN1 8x8 มาก ซึ่ง VN1 นั้นเป็นความต้องการในส่วนของเหล่าทหารม้า กองทัพบกไทย ซึ่งมีหลักนิยมในการใช้งานต่างจาก V-150 ของนาวิกโยธินไทย
ดังนั้น HMV-150 กับ VN1 จึงเป็นรถหุ้มเกราะล้อยางที่ถูกใช้ในต่างภารกิจกันคือแบบหนึ่งเป็นยานเกราะเบาสำหรับภัยคุกคามระดับต่ำหรือใช้เป็นฉากกำบังหรือโจมตีโฉบฉวย กับอีกแบบเป็นยานเกราะหนักประเภทรถรบทหารราบสำหรับการปะทะโดยตรงสงครามตามแบบ

PHANTOM 380-X 4x4 by Panus Assembly Co.,Ltd Thailand of Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy at Narathiwat Province

ทั้งนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมสืบเนื่องจากการทดสอบรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 คือ รถหุ้มเกราะล้อยาง PHANTOM 380-X ซึ่งเป็นยานเกราะล้อยาง 4x4 ขนาดใหญ่หนัก 20tons ที่ลำเลียงพลได้มากที่เป็นผลงานของบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ เช่นกันนั้น
หลังจากที่นาวิกโยธินไทยได้สั่งจัดหาไปทดลองใช้จำนวน ๒คัน ซึ่งได้นำไปใช้งานที่ชายแดนภาคใต้แล้วนั้น ก็มีรายงานว่านาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยอาจจะสั่งจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง PHANTOM 380-X เพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งครับ

Royal Thai Navy Submarine Maintenance and Shipbuilding Facilities project at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard for support Chinese's S26T 
and to building second new Tachin class Frigate by Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering South Korea's technology transfer in Thailand
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1449072565144095

เรื่องหนึ่งที่มีการกล่าวถึงคือกรณีที่ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้สัมภาษณ์สื่อว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากสาธาณรัฐประชาชนจีนที่มีการลงนามจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๑ลำไปแล้วนั้น
มีการกล่าวถึงเรื่องที่กองทัพเรือจะสร้างเรือดำน้ำเองในประเทศด้วย ตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องที่สื่อกระแสหลักกับสื่อรองในสังคม Online ที่มีเจตนาไม่ดีแอบแฝงนำไปขยายผลมากเกินจริงไป
โดยก็ตามที่ได้รายงานไปว่าโครงการวิจัยพัฒนาของกองทัพเรือที่มีแผนอยู่นั้นได้รวมถึง โครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก ด้วย ซึ่งนั่นทำให้มีความสับสนกับการที่ว่ากองทัพเรือไทยจะต่อเรือดำน้ำจีนในประเทศที่ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องนัก

Royal Thai Navy Small Submersible Vehicle developed by Naval Research & Development Office(NRDO) at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard(https://www.youtube.com/watch?v=EIHyrvpsMNE)

เพราะอย่างไรก็ตามเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) นั้นเป็นเรือดำน้ำคนแบบกับเรือดำน้ำโจมตีตามแบบ(Conventional Attack Submarine) ทั้งในด้านขนาด สมรรถนะ และพิสัยทำการ
ซึ่งนอกจากโครงการพัฒนายานใต้น้ำทีมีการดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วนั้น ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวการพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็กออกมา นั่นทำให้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าโครงการจจะออกมาในรูปแบบใด
แต่นั่นก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ครับ โดยการที่ไทยเราจะต่อเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบได้เองนั้นก็ใช้เวลาในการเตรียมการความพร้อมพอสมควร เหมือนที่กองทัพเรืออินโดนีเซียดำเนินการโครงการสร้างเรือดำน้ำในประเทศตนตามที่ได้รายงานไปครับ
(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/04/type-214.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html)




T-50TH Initial Cadre Training for Royal Thai Air Force Pilot at Republic of Korea 
http://kookbang.dema.mil.kr/kookbangWeb/m/view.do?ntt_writ_date=20170629&bbs_id=BBSMSTR_000000000006&parent_no=1
http://kaiwebzine.com/webzine_2017_06/4770

สำหรับการฝึกนักบินเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ชุดแรกของกองทัพอากาศไทยนั้นก็ได้เริ่มไปตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคมที่สาธารณรัฐเกาหลีแล้ว เป็นเวลาราว ๑๗สัปดาห์จนจบหลักสูตรราวสิ้นเดือนธันวาคมปีนี้
การฝึกเปลี่ยนแบบนักบิน T-50TH ในหลักสูตร Pilot Training ๖นาย และช่างอากาศยานในหลักสูตร System Engineering ๑๐นาย โดยยังรวมเจ้าหน้าที่จากบริษัทอุตสาหกรรมการบิน TAI(Thai Aviation Industries) รวม ๔๐นาย
ซึ่งวิศวกรการบินจาก TAI ๑๒นายการได้รับการฝึกการถ่ายทอด Technology จาก KAI(Korea Aerospace Industries) โดยนักบิน T-50TH ชุดแรกของกองทัพอากาศไทยจะทำการฝึกในที่ตั้ง ๓สัปดาห์ที่ KAI ที่ Sacheon
ก่อนทำการฝึกบินเปลี่ยนแบบกับ T-50 และ TA-50 ของกองทัพอากาศเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) ที่ฐานทัพอากาศ Kwangju และฝึกบินกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่ฐานทัพอากาศ Sichuan ครับ

Royal Thai Air Force new 4 of DIAMOND DA-42 TWIN STAR commission ceremony at Flying Training School 

พิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๐ (DIAMOND, DA-42) เข้าประจำการ ณ โรงเรียนการบิน
พลอากาศตรี สุวรรณ ขำทอง ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เป็นประธานในพิธีบรรจุเครื่องบินฝึกแบบที่ ๒๐(DIAMOND, DA-42) เข้าประจำการ ณ โรงเรียนการบิน จำนวน ๔ เครื่อง 
และเป็นประธานในพิธีแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสการบินปล่อยเดี่ยวกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๐ แก่ศิษย์การบินรุ่น น.๑๓๙-๕๙-๑ ณ ลานจอดอากาศยานโรงเรียนการบิน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐

บ.ฝ.๒๐ DIAMOND DA-42 ชุดใหม่ ๔เครื่องนี้ก็เป็นเครื่องบินฝึกใบพัดแบบล่าสุดที่เข้าประจำการใน โรงเรียนการบิน กำแพงแสน เมื่อ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
หลังจากที่ได้มีการโอน DA-42 จากฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖ ดอนเมือง ไปยัง ฝูงบินขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กำแพงแสน เมื่อ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
ซึ่งเดิมศิษย์การบินที่จะไปเป็นนักบินลำเลียงสองเครื่องยนต์จะเรียนที่ ฝูงบิน๖๐๔ แต่การย้าย บ.ฝ.๒๐ DA-42 มา โรงเรียนการบิน ก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแบบจาก ฝูงฝึกขั้นต้น ที่ใช้ บ.ฝ.๑๖/ก CT-4E ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเดินทางย้ายฝูงที่จะฝึกครับ

Thailand announces USD6.5 billion defence budget

งบประมาณกลาโหมของประเทศไทยนั้นถ้าเทียบประเทศในกลุ่ม ASEAN จะจัดอยู่ในระดับปานกลางใกล้เคียงกับมาเลเซียและอินโดนีเซียที่มีการจัดงบประมาณกลาโหมวงเงินไม่เกินร้อยละ๑.๕-๒ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(1.5%-2% per GDP)
ในประเทศกลุ่ม ASEAN เท่าที่ทราบมีพม่าที่เพิ่งเริ่มมีการลดงบประมาณกลาโหมของตนจากร้อยละ๔ ลงเป็นร้อยละ๓ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(3% per GDP) และเวียดนามที่มีงบประมาณกลาโหมคิดเป็นร้อยละ๒.๕ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(2.5% per GDP)
ถ้าเทียบกับงบประมาณกลาโหมประจำปี ๒๕๖๑(2018)ของไทยที่ยังคงคิดเป็นร้อยละ๑.๕ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 1.5% per GDP ราว ๒๒๒.๔พันล้านบาท($6.5 billion)คิดเป็นร้อยละ๗.๗(7%) ของงบประมาณภาครัฐทั้งหมด
ทั้งนี้ก็ตามที่ทราบว่างบประมาณกลาโหมที่จัดสรรให้กองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทยนั้น ไม่ได้ถูกใช้ในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมด แต่เป็นส่วนอื่นๆเช่นเงินเดือน ค่าบำรุงรักษาสิ่งอุปกรณ์และสถานที่ ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกันราคาอาวุธและสิ่งของในตลาดที่แพงขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มงบประมาณกลาโหมของไทยนั้นถูกนำมาใช้เป็นประเด็นโจมตีโดยผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติที่มีจุดประสงค์ร้ายแอบแฝงต่อบ้านเมืองไทยของเรา
รวมถึงสื่อมวลชนกระแสหลักและสื่อในสังคม Online ทั้ง Paage Facebook หรือ Youtube Channal ที่สร้างและรายงานข่าวปลอมที่ไม่เป็นความจริงเผยแพร่ต่อประชาชนที่ไม่มีความรู้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งข่าวปลอมเรื่อง AW139 กองทัพบกในข้างต้น และข่าวปลอมอื่นๆ เช่นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S400 รัสเซียในซีเรียยิง RQ-4 Global Hawk UAV และ F-16 สหรัฐฯตก ทั้งที่เหตุการทั้งหมดไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย(มี RQ-4 และ F-16 ตกที่สหรัฐฯไม่ใช่ซีเรีย)
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่กองทัพไทยควรจะพิจารณาให้แน่ชัดว่า ภัยคุกคามของประเทศไทยที่แท้จริงในยุคใหม่อาจจะไม่ใช่กองกำลังต่างชาติ หรือกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ หรือกลุ่มก่อความไม่สงบภายในประเทศ แต่เป็นภัยคุกคามจากสื่อที่ไร้จรรยาบรรณทั้งหมดเหล่านี้ครับ