Malaysia discloses line of aircraft shortlisted for maritime patrol requirements
The ATR 72MP, one of four options currently being evaluated by the Royal Malaysian Air Force for its maritime patrol aircraft requirement (Leonardo)
http://www.janes.com/article/76539/malaysia-discloses-line-of-aircraft-shortlisted-for-maritime-patrol-requirements
กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้เปิดเผยรายชื่อแบบอากาศยานที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาสำหรับความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft) ใหม่
ระหว่างการนำเสนอในการสัมมนาความมั่นคงทางทะเลที่สิงคโปร์ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการกองบัญชาการทางอากาศภาคที่1 กองทัพอากาศมาเลเซีย พลอากาศจัตตวา Yazid Bin Arshad ได้แสดงแผ่นภาพถึงเครื่องบิน 4แบบ
ตามที่ พล.อ.จ.Yazid หยุดอธิบายรายชื่อเครื่องบินในตัวเลือก Jane's ได้ระบุว่าทั้ง 4เครื่องมี Airbus C-295 สเปน, Leonardo ATR 72MP อิตาลี, Boeing P-8 Poseidon สหรัฐฯ และ CN-235
ซึ่งสำหรับ CN-235 นั้นเป็นไปได้ว่าจะจัดหามาจากเครื่องที่สร้างโดย PT Dirgantara รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียที่ Bandung
"สี่เครื่องเหล่านี่คือรายชื่อตัวเลือก อย่างไรก็ตามประตูยังคงไม่ปิดในตอนนี้" นายพลอากาศ Yazid กล่าว โดยเขาเสริมว่ากองทัพอากาศมาเลเซียยังคงเปิดให้มีการส่งข้อเสนอจากผู้ผลิตอากาศยานรายอื่นที่จะเติมเต็มความต้องการด้านการปฏิบัติการและงบประมาณได้
อย่างไรก็ตามสำหรับขณะนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้จัดตั้งทีมพิเศษเพื่อการประเมินแบบเครื่องบินทั้ง 4ตัวเลือกต่อไป วงเงินสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ 4เครื่องได้รับการอนุมัติในงบประมาณประจำปี 2018 ของรัฐบาลมาเลเซีย
"เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของเรา Beechcraft 200 มีอายุ 23ปีแล้ว และพวกมันมีขีดความสามารถที่จำกัด ดังนั้นนี่จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียในการพิจารณาไม่กี่ทางเลือกที่สามารถขยายขีดความสามารถในการตรวจการณ์ทางทะเลของเรา"
นายพลอากาศ Yazid เสริมในการอ้างถึงเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Beechcraft 200 ที่กองทัพอากาศมาเลเซียมีประจำการ 3เครื่อง
"กองทัพอากาศมาเลเซียต้องการทุ่มเทการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลที่มีขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวกรอง, การตรวจการณ์ และการลาดตระเวนด้วยขีดความสามารถจากระบบตรวจจับ Synthetic Aperture Radar
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลจำเป็นต้องสามารถทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ(Anti-Submarine Warfare), ค้นหาและกู้ภัย และรวมถึงข่าวกรอง electronic" นายพลอากาศ Yazid กล่าวในการบรรยายสรุปภาพรวมความต้องการโครงการ
ทั้งนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้เลือกที่จะระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เช่น MiG-29N ไปก่อน
และเลือกที่จะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค ASEAN ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html)