วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ตุรกีมองจะจัดหาเครื่องบินโจมตี Harrier ระหว่างรอเครื่องบินขับไล่ F-35B บนเรือ LHD TCG Anadolu

Turkey seeks to buy Harriers as an interim measure until F-35Bs are ready
http://www.janes.com/article/76200/turkey-seeks-to-buy-harriers-as-an-interim-measure-until-f-35bs-are-ready

An AV-8B US Marine Corps hovering during the 2012 Miramar Air Show(wikipedia.org)

Model of L408 TCG Anadolu Landing Helicopter Dock/Light Aircraft Carrier with F-35B STOVL by Sedef Shipbuilding for Turkish Navy at IDEF 2016(https://twitter.com/hkilichsword)

ตุรกีกำลังมองหาแนวทางการจัดซื้อเครื่องบินโจมตี Harrier ที่ยังไม่ทราบจำนวน เพื่อเป็นตัวอุดช่องว่างคั่นระยะจนกว่าเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) รุ่น STOVL(Short Take-Off/Vertical Landing) จะพร้อมเข้าประจำการในกองทัพตุรกี
ตามที่ Jane's ได้ทราบข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของตุรกีและประเทศตะวันตก จากรายงานก่อนหน้านี้ที่ตุรกีได้แสดงความสนใจต่อสหรัฐฯในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL ราว 19-20เครื่อง

การจัดหา F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่งนี้ เป็นการเพิ่มเติมจากที่ตุรกีได้มีแผนที่จะสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL(Conventional Take-Off and Landing) รุ่นขึ้นลงตามแบบสำหรับกองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force)ราว 100เครื่อง
ซึ่งตุรกีได้เข้าร่วมโครงการ JSF ในหุ้นส่วนระดับ3(Level 3 partner) ร่วมกับแคนาดา(ที่ถอนตัวไปแล้ว) ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ที่สองประเทศต่างได้รับมอบเครื่องชุดแรกแล้ว และเดนมาร์ก(มีแผนจัดหา 27เครื่อง)

เกี่ยวกับการจัดหา Harrier เริ่มแรกตุรกีได้เข้าหาสหราชอาณาจักรสำหรับการจัดหาเครื่องบินโจมตี Harrier GR9 แต่ภายหลังได้หันกลับมามองการจัดหาเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II จากสหรัฐฯแทน
เนื่องจากกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(Royal Air Force) ได้ปลดประจำการ Harrier GR9A ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2010 แล้วทำให้เหลือตัวเลือกเพียง AV-8B นาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps)มือสองที่เก็บไว้คลังเท่านั้น

เป็นที่เข้าใจว่าตุรกีจะนำเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง F-35B มาปฏิบัติการกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L408 TCG Anadolu LHD(Landing Helicopter Dock) ที่เริ่มการสร้างโดยอู่ต่อเรือบริษัท Sedef Shipbuilding, Inc. ตุรกีเมื่อ 30 เมษายน 2016
โดยเรือ LHD ชั้น Anadolu ตุรกีมีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน(Spanish Navy) ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท Navantia สเปน เช่นเดียวกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra ทั้ง 2ลำของกองทัพเรือออสเตรเลีย(Royal Australian Navy)

TCG Anadolu มีความยาวเรือ 232m ระวางขับน้ำสูงสุดประมาณ 27,000tons ความเร็วสูงสุด 21knot พิสัยทำการไกลสุด 9,000nmi มีโรงเก็บยานพาหนะรองรับรถถังหลัก 29คัน รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV 27คัน กับอู่ลอย(Well deck) รองรับเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM) 4ลำ และยานเบาะอากาศ(LCAC) 2ลำ
อากาศยานรองรับ F-35B 6เครื่อง เฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK 4เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป H215M Cougar หรือเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F 8เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60B Seahawk 2เครื่อง และอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) Anka หรือ Bayraktar 2เครื่อง

แผนเดิมของโครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD(Landing Platform Dock)/LHD ในโครงการ L400 นั้นกองทัพเรือตุรกี(Turkish Naval Forces) ต้องการเรือที่มีดาดฟ้าเรียบไม่มี Ski-Jump ที่หัวเรือสำหรับการปฏิบัติการด้วยเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น
แต่จากการเปลี่ยนความต้องการใหม่ที่จะนำเครื่องบินขับไล่ F-35B มาปฏิบัติการบนเรือซึ่งบินขึ้นจากเรือด้วย Ski-Jump นั้น ทำให้ L408 TCG Anadolu ที่คาดว่าจะปล่อยลงน้ำได้ในราวปี 2021 จะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเบาลำแรกของกองทัพเรือตุรกีครับ