Northlux Co.,Ltd. Thai coordinator company for RHEINMETALL Defence AG was demonstrated fire power of Royal Thai Army's Oerlikon GDF-007 35mm twin cannon Anti-Aircraft Artillery with AHEAD smart ammunition
Skyguard 3 fire control radar and Oerlikon GDF-007 35mm Air Defence Systems was delivered in late March 2018 and tested by Royal Thai Army Air Defense Command at Artillery Firing Range, Artillery Center, Fort Phaholyothin(Phahonyothin), Lopburi Province.
สาธิตการยิงทดสอบระบบอาวุธ ปตอ.ขนาด ๓๕ มม.
การสาธิตการยิงทดสอบระบบอาวุธ ปตอ. ขนาด ๓๕ มม. (ประเภทลำกล้อง) พร้อมเครื่องควบคุมการยิง ของบริษัท นอร์ธลักซ์ จำกัด ในนามผู้ประสานงานประจำประเทศไทยของบริษัท ไรน์เมทาล แอร์ดีเฟนส์ เอจี ณ สนามยิงปืน ศป. (พลับพลาเขาพุโลน)
https://artycenter.rta.mi.th/index.php/activity/57-สาธิตการยิงทดสอบระบบอาวุธ-ปตอ-ขนาด-๓๕-มม.html
จากที่กองทัพบกไทยได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานลากจูง Oerlikon GDF-007 35mm แฝดสอง และ Radar ควบคุมการยิง Skyguard 3 จากบริษัท Rheinmetall Defence เยอรมนี-สวิตเซอร์แลนด์
ที่น่าจะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๔ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศที่๒ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/skyguard-3-oerlikon-gdf-007.html)
ก็มีรายงานภาพการสาธิตยิงทดสอบระบบในข้างต้น ซึ่งกระสุนแบบตั้งค่าการยิงได้ AHEAD สามารถทำลายเครื่องบินบังคับวิทยุที่บริษัทนำมาใช้เป็นเป้าบินอย่างรวดเร็วและแม่นยำตามภาพที่ปรากฎ
แต่ทั้งนี้มีผู้เขียนข้อบกพร่องบางประการที่จะขออภัยท่านผู้อ่านจากบทความก่อนหน้าหลายครั้ง เช่น เรื่องการปรับอัตราจัดของเหล่าทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศนั้นได้มีการแก้ไขแล้วว่ายังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
โดย พล.ปตอ.ยังคงมี สองกรม ปตอ.คือ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศที่๑ และ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศที่๒ มี๗ พัน.ปตอ.ประกอบด้วย กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๑ รักษาพระองค์, กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒, กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๓, กองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน๔, กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๕, กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๖, และกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๗
โดยแต่ละ พัน.ปตอ.จะมี ๔กองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ๑ร้อย.ปตอ.มี ๑๒ระบบ ปตอ.ลากจูง หรือ ปตอ.อัตตาจร(น่าจะคงไม่ผิดแล้วนะ)
ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ้างโดยสาเหตุที่ผู้เขียนเองไม่ได้ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้นานมากพอ หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มีความเคลื่อนไหวใหม่ๆตามกาลเวลา เช่น เมื่อ๕ปีที่แล้วมีแผนการอย่างหนึ่ง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแผนไปเป็นอีกอย่างเป็นต้น
จะเห็นได้จากข้อมูลใน Blog นี้ที่บางครั้งหัวข้อที่เกี่ยวข้องกันในบทความเก่าจะมีจุดที่ไม่สอดคล้องกับบทความใหม่ล่าสุดในหัวข้อเดียวกันเป็นต้น ซึ่งผู้เขียนก็ต้องขออภัยในการความผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นมา ณ ที่นี้อีกครั้งครับ
Royal Netherlands Army's LGS Fennek 4x4 Light Armoured Reconnaissance Vehicle(wikipedia.org)
M1200 Armored Knight 4x4 FiST-V(Fire Support Team-Vehicle) of COLTs(Combat Observation and Lasing Teams) Georgia National Guard US Army(wikipedia.org)
กองทัพบกไทยมีการจัดตั้งโครงการจัดหายานเกราะล้อยางแบบ 4x4 สำหรับหมู่ตรวจการณ์หน้าและหมู่ยิงสนับสนุนเหล่าทหารปืนใหญ่ คุณลักษณะทั่วไปที่มีการกำหนดคือ
๑. ยานเกราะล้อยางแบบ 4x4 มาใช้ในกองทัพบก (สำหรับหมู่ตรวจการณ์หน้าและหมู่ยิงสนับสนุนเหล่าทหารปืนใหญ่)
๑.๑ มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ มีสมรรถนะสูง สามารถติดตั้งระบบยุทโธปกรณ์ที่มีขีดความสามารถในการค้นหาเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองการปฏิบัติภารกิจทางทหารของ ทบ.ได้
๑.๒ สามารถบรรทุกกำลังพลได้ไม่น้อยกว่า ๔นาย พร้อมยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับหมู่ตรวจการณ์หน้าและหมู่ยิงสนับสนุน พร้อมสัมภาระรบ
๑.๓ ปฏิบัติการภายใต้เกราะกำบังและกระจกกันกระสุน ที่สามารถป้องกันอันตรายจากสะเก็ด/แรงอัดของกระสุนปืนใหญ่แตกอากาศ หรือสนามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือการระดมยิงจากกระสุนเจาะเกราะขนาด 7.62mm ลงมาในระยะ 150m
และสามารถตรวจการณ์ภายนอกตัวรถได้โดยผ่านกระจกกันกระสุน
๑.๔ สมรรถนะ
๑.๔.๑ เครื่องยนดีเซลหรือสามารถใช้น้ำมันเชื่อเพลิงได้หลายประเภท(Multi-Fuel) กำลังไม่น้อยกว่า 300HP ทำความเร็วรอบไม่เกิน 2,800rpm
๑.๔.๒ ความเร็วสูงสุดบนถนน(น้ำหนักบรรทุกตามอัตราพิกัด) ได้ไม่น้อยกว่า 90km/h
๑.๔.๓ สามารถไต่ลาดชัน(น้ำหนักบรรทุกตามอัตราพิกัด) ได้ไม่น้อยกว่า 60%
๑.๔.๔ สามารถลุยน้ำ(โดยไม่ใช้ชุดประกอบการลุยน้ำ) ได้ลึกไม่น้อยกว่า 70cm
๑.๔.๕ ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 450km
๑.๕ ระบบไฟฟ้าของยานเกราะ 4x4 มีแรงเคลื่อน 24V และมีกระแสไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 100A
๑.๖ ติดตั้งระบบไฟพรางที่เป็นมาตรฐานทางทหาร และสามารถใช้งานได้ในสภาพพรางไฟ
๑.๗ ติดตั้งอุปกรณ์ระบบกว้านสำหรับช่วยตัวเองได้ รวมทั้งมีอุปกรณ์ในการลากจูงยุทโธปกรณ์ได้ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ และมีขอพ่วงที่แข็งแรงมั่นคง
๑.๘ สามารถติดตั้งระบบวิทยุที่มีประจำการใน ทบ.ได้ในทุกโหมดของระบบการติดต่อสื่อสาร
๑.๙ เป็นตระกูลรถที่ยังมีสายการผลิตและมีประจำการอยู่ในประเทศผู้ผลิต/หรือประเทศอื่นๆ รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ปี
๑.๑๐ สามารถรองรับการติดตั้งระบบกล้องตรวจการณ์(กล้องวัดระยะด้วยแสง Laser และตรวจจับรังสีความร้อน) ได้อย่างมั่นคง
๑.๑๑ มีคู่มือใช้งาน คู่มือส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อม และคู่มือซ่อมบำรุง ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
๒. ระบบกล้องตรวจการณ์ยานเกราะล้อยางแบบ 4x4 มาใช้ในกองทัพบก (สำหรับหมู่ตรวจการณ์หน้าและหมู่ยิงสนับสนุนเหล่าทหารปืนใหญ่)
๒.๑ ระบบกล้องตรวจการณ์ ประกอบด้วย กล้องวัดระยะด้วยแสง Laser กล้องตรวจจับรังสีความร้อน และกล้องตรวจการณ์(TV Camera) เมื่อติดตั้งแล้วสามารถควบคุมการตรวจการณ์และแสดงข้อมูลได้จากภายในตัวรถ
๒.๒ ระบบกล้องตรวจการณ์ต้องสามารถกำหนดพิกัดตนเองและพิกัดเป้าหมายได้ ทั้งในขณะเคลื่อนที่และอยู่กับที่
๒.๓ ระบบกล้องตรวจการณ์ต้องสามารถตรวจการณ์ได้ทั้งในเวลากลางวัน, กลางคืน และทุกสภาพอากาศ
๒.๔ ระบบกล้องตรวจการณ์ต้องสามารถวัดระยะได้ไม่น้อยกว่า 10km และสามารถส่งข้อมูลระยะไกลผ่านระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประจำการใน ทบ. ได้
๒.๕ ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปกับยานเกราะล้อยางแบบ 4x4 ในภูมิประเทศหรือตามความจำเป็นทางด้านยุทธวิธี ระบบกล้องตรวจการณ์ต้องสามารถถอดและขนย้ายด้วยกำลังพลอย่างน้อย ๓นาย เพื่อประจำจุดตรวจการณ์ให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่อง
๒.๖ มีคู่มือใช้งาน คู่มือส่งกำลังชิ้นส่วนซ่อม และคู่มือซ่อมบำรุงทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
๒.๗ เป็นระบบกล้องตรวจการณ์ ซึ่งมีสายการผลิตและมีประจำการอยู่ในประเทศผู้ผลิต/หรือประเทศอื่นๆ รวมทั้งสามารถให้การสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ปี
ระบบยานเกราะล้อยาง 4x4 ติดกล้องตรวจการณ์สำหรับหมู่ตรวจการณ์หน้าและหมู่ยิงสนับสนุนเหล่าทหารปืนใหญ่ ในกองทัพต่างประเทศก็มีอยู่หลายระบบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงตามข้อกำหนด
เช่น ยานเกราะล้อยางลาดตระเวนตรวจการณ์ Fennek 4x4 ที่ประจำการในกองทัพบกเยอรมนี(Heer, Bundeswehr) และกองทัพบกเนเธอร์แลนด์(Royal Netherlands Army, Koninklijke Landmacht)
หรือยานเกราะล้อยางชุดตรวจการณ์และชี้เป้ายิง M1200 Armored Knight 4x4 กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ซึ่งมีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง M1117 Guardian ในตระกูล Textron Commando 4x4
โดยในส่วนระบบกล้องตรวจการณ์เองก็ต้องมีการจัดหาจากต่างประเทศ ซึ่งต้องมีความเข้ากันได้กับระบบสื่อสารมาตรฐานของกองทัพบกไทยด้วย
Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy's HMV-150 upgraded of V-150 4x4 by Panus Assembly Co.,Ltd Thailand was transited for field test at Narathiwat in 29 September 2017
Chaiseri metal & rubber Co. Ltd delivered First Win II 4x4 to Royal Thai Marine Corps Division Headquarters for 60days trial evaluation, 3 July 2017
อย่างไรก็ตามสำหรับยานเกราะล้อยาง HMV-150 ของ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ ไทยซึ่งปรับปรุงจากยานเกราะล้อยาง V-150 4x4 ที่มีประจำการในกองทัพบกไทย, นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย, อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย และตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย นั้น
เนื่องจาก HMV-150 สายการผลิตเป็นการนำรถ V-150 ที่มีอยู่เดิมของ กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย มาปรับปรุงใหม่ จึงอาจจะไม่เข้าข้อกำหนดของโครงการที่ต้องการรถผลิตใหม่จากโรงงานที่ยังมีสายการผลิตอยู่
หรือรถหุ้มเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิด(MRAP: Mine-Resistant Ambush Protected) อย่าง First Win 4x4 ของบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย เองแม้จะเป็นรถใหม่ที่มีสายการผลิต แต่ก็อาจจะมีคุณสมบัติบางอย่างที่ไม่ตรงความต้องการ
ตรงนี้ส่วนตัวจึงมองว่ายานเกราะล้อยาง 4x4 ที่มีคุณสมบัติตามความต้องการน่าจะเป็นรถประเภทรถรบหุ้มเกราะ(AFV: Armoured Fighting Vehicle) มากกว่า แต่ทั้งนี้การตัดสินใจเลือกแบบรถจริงก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ครับ
Royal Thai Army's AgustaWestland AW149 Helicopter in operational flight, 23 MAY 2018.
กองทัพบกยืนยัน ฮ.AW 149 สามารถบินปฎิบัติภารกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
กรณี ฮ.AW 149 ที่ทางสำนักข่าวอิศรานำเสนอ เมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พบข้อมูลคลาดเคลื่อนอยู่หลายประเด็น
ประเด็น ๑ เสนอว่า กองทัพบก ลากเฮลิคอปเตอร์ AW 149 จากโรงเก็บเครื่องบินออกทดสอบยังบินไม่ขึ้น
ขอเรียนว่า การนำออกมาครั้งนั้นเพียงแค่การวอร์มเครื่องยนต์ ไม่ใช่การนำมาเพื่อจะทำการบินทดสอบ
ขอเรียนว่าเฮลิคอปเตอร์ ๒ ลำหลังนี้ ได้มีการจัดส่งมาที่สนามบินอู่ตะเภา และได้มีการประกอบจนเป็นลำที่สมบูรณ์ จากนั้นได้ทำการบินมายังโรงเก็บเครื่องบินที่จังหวัดลพบุรี จากนั้นก็ดำเนินขั้นตอนกรรมวิธีการตรวจรับอย่างละเอียด
โดยเฉพาะการบินทดสอบตามมาตรฐานสากล ด้วยคณะกรรมการตรวจรับทั้งในส่วนของกองทัพบกโดยกรมการขนส่งทหารบก และในส่วนหน่วยใช้โดยศูนย์การบินทหารบก จนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการรับมอบโอนกรรมสิทธิ์ให้กองทัพบก ตามขั้นตอนการจัดหาพัสดุหรือยุทโธปกรณ์ของทางราชการ
อีกทั้งในวันนี้ กองทัพบกโดยกรมการขนส่งทหารบกในฐานะหน่วยจัดหา ร่วมกับ ศูนย์การบินทหารบกโดยมีผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบกเป็นผู้ร่วมโดยสารในฐานะหน่วยใช้ ได้นำเฮลิคอปเตอร์ AW 149 2 ลำดังกล่าวขึ้นบิน เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพการใช้งาน
ซึ่งการบินเป็นด้วยความเรียบร้อย อากาศยานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิได้เป็นไปตามที่สำนักข่าวบางสำนักกล่าวอ้าง (มีภาพคลิปประกอบ)
Clip: Royal Thai Army AgustaWestland AW149 Helicopters are Flying
ประเด็นที่ ๒ กล่าวว่าคนในเผยว่าสวิทช์คอลโทรลขัดข้องต้องสั่งซื้อใหม่รอนานนับปี
ขอเรียนว่าในขั้นตอนการตรวจรับ อุปกรณ์ทุกชิ้นของ ฮ 149 อยู่ในสภาพสมบูรณ์ และขอเรียนเป็นข้อมูลเพิ่มเติมว่ากรณีจัดหาพัสดุหรือยุทโธปกรณ์ใหม่ให้ส่วนราชการ
ถ้ามีอุปกรณ์รายการใดไม่สมบูรณ์ ทางบริษัทคู่สัญญาจะต้องปรับปรุงให้เรียบร้อยก่อนตรวจรับส่งมอบ ภายในระยะเวลา ซึ่งเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว
ประเด็นที่ ๓ ที่กล่าวว่าคณะกรรมการของหน่วยบินไม่ยอมเซ็นต์รับ เนื่องจาก ฮ. บินไม่ได้นั้น
ขอเรียนว่า เป็นเรื่องคลาดเคลื่อน การตรวจรับดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนแจกจ่าย
ซึ่งล่าสุดแผนการแจกจ่ายให้กับหน่วยใช้ กองพันบินที่ ๑ ศูนย์การบินทหารบก ได้รับการอนุมัติแล้วในวันนี้ เข้าใจว่าขณะนี้ ฮ.ทั้ง ๒ ลำได้ทำการส่งมอบให้กับหน่วยใช้เรียบร้อยแล้ว
ขอความร่วมมือ การนำเสนอข้อมูลใดที่เกี่ยวข้องกับยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก โดยเฉพาะอากาศยาน ด้วยการอ้างแหล่งข่าวที่ไม่สามารถระบุที่มาได้อย่างชัดเจนเปิดเผย หรือมีที่มาจากผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจริง นำมาซึ่งรายละเอียดของข้อมูลที่คลาดเคลื่อน หรือข้อมูลที่เป็นเท็จ
จนไปกระทบภาพลักษณ์บุคคลหรือองค์กร ที่สำคัญอาจสุ่มเสี่ยงต่อบทบัญญัติทางกฎหมาย และเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากหากข้อมูลอันเป็นเท็จถูกเผยแพร่ไปในสื่อสังคมออนไลน์ เพราะจะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
ขอเรียนยืนยันว่ากองทัพบกดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการ รวมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์อย่างตรงไปตรงมาทุกโครงการ ผ่านระบบและกระบวนการตามระเบียบข้อบังคับตามกฎหมาย
หากสื่อใด มีข้อสงสัยในโครงการใดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่หน่วยรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลของกองทัพบก ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ข้อมูลให้ข่าวสารในนามของกองทัพบกได้ และถือว่าเป็นแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือได้มากกว่า
ก่อนหน้านี้สำหรับสำนักข่าวที่เป็นสื่อที่ไร้จรรยาบรรณรายเดิมนี้ก็เคยรายงานข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ว่ารอสั่งอะไหล่ทำการบินไม่ได้มาก่อนหน้านี้แล้ว
ซึ่งการสร้างข่าวเท็จกรณีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๙ AW149 ล่าสุดนี้ ก็เป็นในรูปแบบเดิมๆอย่างเดียวกันแทบจะทุกประการ เห็นได้ชัดว่าสื่อรายนี้มีแหล่งข่าวรายเดียวหรือกลุ่มเดียวที่ให้ข้อมูลโจมตี ฮ.ของบริษัท Leonardo/AgustaWestland อิตาลี-สหราชอาณาจักร โดยเฉพาะ
แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาแท้จริงเราไม่สามารถจะหยุดยั้งสื่อไร้จรรยาบรรณและไร้ซึ่งความรับผิดชอบใดๆเหล่านี้ในการสร้างข่าวเท็จหลอกลวงประชาชนเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของกองทัพได้เสียทั้งหมดครับ
Royal Thai Air Force F-5F Super Tigris Prototype Roll Out Ceremony at 211st Squadron, Win21 Ubon Ratchathani, 23 May 2018
"เครื่องบินของเราเมื่อปรับปรุงแล้วจะมีขีดความสามารถที่เหนือกว่า F-5 รุ่นปรับปรุงของบราซิล และชิลี" (เสี้ยวหนึ่งในคำสัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง)
Royal Thai Air Force F-5ST Super Tigris SMART Weapons include IRIS-T, Python-5, Derby and LIZARD 3
พิธีเกียรติยศ ๔๐ปี เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ข/ค Northop F-5E/F-5F Tiger II และ พิธีส่งมอบเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ค F-5F ต้นแบบ ตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ F-5 SUPER TIGRIS ที่ได้รายงานไปนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
ก็เป็นก้าวย่างสำคัญของโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F กองทัพอากาศไทยที่มีการปรับปรุงหลักมาแล้วสามครั้งนับตั้งแต่ประจำการครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) จนถึงปัจจุบันที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี เป็นฝูงเดียวและเป็นฝูงสุดท้าย
ด้วยข้อจำกัดของบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับในแต่ละปี แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ของกองทัพอากาศไทยจะมีอายุการใช้งานมานาน แต่ก็ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเพื่อยืดอายุการใช้งานออกไปอีก ๑๕ปีคือถึงราวปี พ.ศ.๒๕๕๗๖-๒๕๗๘(2033-2035) อายุการใช้งานรวม ๕๐-๕๕ปี
ซึ่งการปรับปรุง F-5ST Super Trigris ทั้ง ๑๔เครื่องโดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย ล่าสุดนี้คงจะเป็นการปรับปรุงครั้งสุดท้ายของเครื่องแล้ว ก่อนที่จะถึงเวลาปลดประจำการ
การปรับปรุงแบบแผน F-5ST Super Tigris นี้นับว่ามีความทันสมัยที่สุดในโครงการปรับปรุง F-5E/F ทั่วโลก ซึ่งการปรับปรุง F-5E/F ระยะที่๑ ๑๐เครื่อง และระยะที่๒ ๔เครื่อง รวม ๑๔เครื่องจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
โดยนับตั้งแต่ที่ F-5E/F ถูกนำเข้าประจำการชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช สำหรับรุ่นหัวกลม(Round Nose) และชุดที่สองในปี พ.ศ.๒๕๒๔(1981) ณ ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี สำหรับรุ่นหัวแบน(Shark Nose)
ต่อมามuการโอนย้ายเครื่องจากฝูงบิน๑๐๒ ไปฝูงบิน๗๑๑ กองบิน๗๑ สุราษฏร์ธานี ที่ต่อมาเปลี่ยนามหน่วยเป็น ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗, ย้ายจากฝูงบิน๔๐๓ ไปฝูงบิน๒๑๑
และมีการจัดหาเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ๖เครื่องประจำการร่วมกับ บ.ข.๑๘/ก F-5A/B ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ระยะหนึ่ง ก่อนเครื่องที่เหลือทั้งหมดได้ย้ายรวมมาที่ฝูงบิน๒๑๑ นับเป็นอากาศยานที่มีความคุ้มค่าในการจัดหามากที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
ระบบอาวุธที่เครื่องบินขับไล่ F-5E/F SUPER TIGRIS รองรับหรือวางแผนให้รองรับนั้นมีทั้ง อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9 Sidewinder สหรัฐฯ, Rafael Python-5 อิสราเอล และ Diehl IRIS-T เยอรมนี
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางนอกระยะสายตา Rafael I-Derby อิสราเอล และระเบิดนำวิถี Laser แบบ Elbit LIZARD 3 อิสราเอล รวมถึงกระเปาะชี้เป้าหมาย Rafael Litening III และกระเปาะสงคราม Electronic แบบ Rafael Sky Shield อิสราเอล เป็นต้น
รวมถึงระบบที่ติดตั้งภายในเครื่อง เช่น Radar แบบ EL/M-2032 อิสราเอล, เครือข่ายทางยุทธวิธี Link-16, ระบบวิทยุ HAVE QUICK II, ระบบแจ้งเตือน Radar/จัดการเป้าลวง(Radar Warning Receiver/Countermeasures Dispenser System) และหมวกบินติดจอแสดงผล DASH IV เป็นต้น
โดยในส่วนระบบอาวุธและอุปกรณ์บ้างส่วนของ F-5 SUPER TIGRIS เป็นระบบที่ได้รับการจัดหามาใช้กับเครื่องแบบก่อนหน้าแล้ว ตามนโยบาย Common Fleet เพื่อลดความซ้ำซ้อนของแบบอาวุธและยุทโธปกรณ์ครับ
Royal Thai Air Force's Pilatus PC-9 serial 34/6 last flight with 3 PC-9 formation from Flying Training School Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom to Wing 6 Don Mueang
after decommissioned PC-9 34/6 to be displayed at Royal Thai Air Force Museum in June 2018.
"พิธีนำส่งมอบเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9) หมายเลข 6/34"
เครื่องบินฝึกแบบ PC-9 หมายเลข 6/34 บรรจุประจำการเมื่อปี 2534 จัดซื้อจากบริษัท PILATUS AIRCRAFT ประเทศสหพันธรัฐสวิส เป็น 1 ใน 20 เครื่องที่จัดซื้อในช่วงดังกล่าว
ปัจจุบันเครื่องบินเครื่องนี้ มีอายุการใช้งาน ครบ 10,000 ชั่วโมงบิน โดยทำการฝึกบินครั้งแรกกับศิษย์การบินนายทหารสัญญาบัตร รุ่น น.92 ตลอดระยะเวลา 26 ปี เคยใช้ฝึกศิษย์การบินมาแล้ว 48 รุ่น ทำการผลิตนักบินให้กองทัพอากาศ มากกว่า 1000 คน
และวันนี้ (24 พฤษภาคม 2561) จะเป็นภารกิจสุดท้ายของ PC-9 06 ที่ทำการบินจากโรงเรียนการบิน โดย พลอากาศตรี สุวรรณ ขำทอง ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ทำการบินส่งมอบด้วยตนเอง
เพื่อนำมาตั้งแสดงในหอเกรียติยศของกองทัพอากาศ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ โดยมี พลอากาศตรี นฤพล จักรกลม เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ เป็นผู้รับมอบ
ทั้งนี้พี่น้องประชาชนจะสามารถไปเยี่ยมชมเครื่องบินเครื่องนี้ได้ ในช่วงเดือนมิถุุนายน (ช่วงนี้จะทำการขนย้ายจากกองบิน 6 มาตั้งแสดงในโอกาสต่อไป)
ในที่สุดก็ถึงเวลาที่เครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์ หมายเลข 34/6 หนึ่งใน ๒๐เครื่องที่จัดหามาในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ถึงอายุการใช้งานครบ ๑๐,๐๐๐ชั่วโมงบินต้องปลดประจำการลง และจะถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศต่อไป
ปัจจุบัน บ.ฝ.๑๙ PC-9 ที่ประจำการในโรงเรียนการบิน กำแพงแสน ยังคงเป็นเครื่องบินฝึกศิษย์การบินขั้นมัธยม ที่ทำการบินต่อจากเครื่องบินฝึกแบบ บ.ฝ.๑๖ก CT-4E นิวซีแลนด์ ๒๔เครื่องที่จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๔๘(1999-2005) ซึ่งเป็นเครื่องบินฝึกศิษย์การบินขั้นประถม
โดย บ.ฝ.๑๙ PC-9 ได้ถูกใช้ทำการแสดงการบินผาดแผลงโดยหมู่บินผาดแผลง Blue Pheonix Aerobatic Team ที่กองทัพอากาศไทยเปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงการบิน ๑๐๐ปี บุพการีกองทัพอากาศไทยปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012)
ส่วนตัวผู้เขียนยังไม่ทราบว่ากองทัพอากาศไทยจะมีโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นมัธยม(Intermediate Trainer Aircraft) แบบใหม่ทดแทน PC-9 ในอนาคตหรือไม่
แต่สำหรับเครื่องบินฝึกขั้นประถม(Primary Trainer Aircraft) ในอนาคตอาจจะทดแทนด้วยเครื่องบินฝึกใบพัดที่สามารถพัฒนาสร้างเองในไทยได้ หรือร่วมมือกับบริษัทอากาศยานต่างประเทศในการถ่ายทอด Technology ให้กับไทย
โดยเครื่องบินกองทัพอากาศแบบที่๖ หรือ บ.ทอ.๖ RTAF.6 Domestic Basic Trainer Aircraft ที่เครื่องชุดแรกถูกนำเข้าประจำการแล้ว น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/blog-post_31.html)
Fleet of Royal Thai Air Force Lockheed Martin C-130H Hercules.(unknow photo source)
สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบใหม่ทดแทน บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ กองทัพอากาศไทยทั้ง ๑๒เครื่อง ซึ่งก็ใกล้จะครบรอบการเข้าประจำการปีที่ ๔๐ ในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) นั้้น
แม้ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยจะเคยให้สัมภาษณ์สื่อว่า กองทัพอากาศไทยยังไม่มีแผนจัดหาเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J Super Hercules สหรัฐฯเพราะมีราคาแพงมากไม่มีงบประมาณ
โดยจะมีการยืดอายุและปรับปรุง บ.ล.๘ C-130H/C-130H-30 ที่มีอยู่ให้ใช้งานต่อไปก็ตาม(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html) ซึ่งก็เป็นแนวทางเดียวกับกองทัพอากาศชาติตะวันตกหลายประเทศ
ทว่าถ้านับระยะเวลาการนำเข้าประจำการของ บ.ล.๘ C-130H ของกองทัพอากาศไทยทุกเครื่องตั้งแต่ ชุดแรก C-130H(ลำตัวสั้น) ๓เครื่อง หมายเลข 60101, 60102 และ 60103 ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๒๓(1980)
ชุดที่สอง C-130H-30(ลำตัวยาว) ๑เครื่อง หมายเลข 60104 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983) ชุดที่สาม C-130H-30 ๒เครื่อง หมายเลข 60105 และ 60106 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988)
ชุดที่สี่ C-130H-30 ๑เครื่อง หมายเลข 60107 และ C-130H ๑เครื่อง หมายเลข 60108 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) และชุดที่ห้า C-130H ๒เครื่อง หมายเลข 60109 และ 60110 และ C-130H-30 ๒เครื่อง หมายเลข 601011 และ 60112 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992)
จะเห็นได้ว่าเครื่องที่อายุการใช้งานมากที่สุดคือ C-130H หมายเลข 60101-60103 นั้นจะมีอายุการใช้งาน ๔๐ปีในปี พ.ศ.๒๕๖๓(1980) ซึ่งการจะยืดอายุการใช้งานโครงสร้างเครื่องออกไปเป็นอีก ๑๐-๑๕ปีสำหรับทุกเครื่อง เช่นการเปลี่ยน Wing Box นั้นอาจจะเป็นแนวทางที่ประหยัดค่าใช้จ่าย
แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้วสุดท้ายกองทัพอากาศก็คงจำเป็นต้องมีการพิจารณาการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ทดแทนอยู่ดี อย่างน้อย ๓เครื่องสำหรับทดแทน บ.ล.๘ C-130H ชุดแรกที่อาจจะมีอายุการใช้งานสูงสุดหลังผ่านปรับปรุงแล้วราว ๕๐ปี(พ.ศ.๒๕๗๓ 2030)
ตรงนี้ส่วนตัวเข้าใจว่าถ้าดูจากรูปแบบการจัดหาอากาศยานของกองทัพอากาศในปัจจุบัน การจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่ก็น่าจะเป็นการทยอยจัดหาแบ่งเป็นระยะในปีงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ บ.ล.๘ C-130H/C-130H-30 ที่ใช้ระยะจัดหาต่อเนื่องในแต่ละชุดเป็นเวลา ๑๒ปีครับ
Royal Thai Air Force's L-39ZA/ART serial 40108, 411st Squadron, Wing 41 Chiang Mai was crash during training flight near Bhumibol Dam Tak province, one pilot killed and one pilot wounded, 22 May 2018
(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1914977448537026, https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1797624823598516)
โฆษกกองทัพอากาศ ชี้แจงกรณีเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39 ZA/ART) ของกองทัพอากาศประสบอุบัติเหตุขณะทำการฝึกบิน
พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลาประมาณ ๑๔.๕๐ น. เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39 ZA/ART) สังกัดฝูงบิน ๔๑๑ กองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่
ประสบอุบัติเหตุขณะทำการฝึกบินโจมตีทางยุทธวิธี บริเวณเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก โดยมีนักบินทำการบิน จำนวน ๒ คน คือ
๑. นาวาอากาศเอก จีระศักดิ์ นามวงศ์ศรี (ได้รับบาดเจ็บ)
๒. นาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ (เสียชีวิต)
โดยในขณะนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้รับรายงานแล้วและได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้สั่งการให้คณะกรรมการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุกองทัพอากาศ เดินทางลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจสอบต่อไป
*****ขอความกรุณางดแชร์ภาพที่ไม่เหมาะสม และร่วมไว้อาลัยแด่ทหารอากาศที่สละชีพด้วยครับ*****
จากกรณีอุบัติเหตุตกขณะทำการฝึกบินของเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART หมายเลข 40108 ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ซึ่งโอนย้ายจาก ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html)
ก็จะเห็นได้อีกครั้งว่าบรรดากลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองได้ลงมือกระทำการโจมตีนักบินที่บาดเจ็บและเสียชีวิตตลอดจนครอบครัวนักบินอย่างไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจปกติ โดยไม่มองว่านักบินกองทัพอากาศไทยที่ประสบอุบัติเหตุเป็น 'คน' เหมือนกับพวกตนด้วยซ้ำ
รวมถึงการโจมตีอย่างเป็นกระบวนการเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของอากาศยานและบุคลากรของกองทัพอากาศไทยต่อประชาชนทั่วไปให้ได้มากที่สุด โดยใช้ประเด็นเหตุการณ์ความสูญเสียต่างๆมาโจมตีทหารไทยและกองทัพในทุกรูปแบบ
เช่นการโจมตีว่ากองทัพอากาศมีแต่อากาศยานเก่าที่ไม่ยอมปลดประจำการทำให้นักบินเสียชีวิตบ่อยมาก หรือบิดเบือนข้อมูลว่าเครื่องที่ตกคือ KAI T-50TH ที่เพิ่งจัดหาจากเกาหลีใต้มาใหม่โดยชี้นำว่าเพราะเครื่องยนต์เสียอีกแล้วเป็นการจัดหาอาวุธที่สิ้นเปลืองภาษีประชาชน เป็นต้นครับ
(เราคงต้องยอมรับความจริงว่ากลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองเหล่านี้มีการกระทำเป็นขบวนการขนาดใหญ่พอสมควร โดยมีอุดมการณ์หรือมีผลประโยชน์ชักนำที่ต้องการจะบ่อนทำลายกองทัพไทยให้ได้มากที่สุด จนถึงการบรรลุจุดประสงค์ในการยกเลิกการมีกองทัพไทยและตำรวจไทยให้ได้
ซึ่งแนวคิดที่เป็นภัยความมั่นคงของชาติก็เผยตัวชัดเจนขึ้นทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวความคิดล้มล้างระบอบการปกครอง(เช่นพวกคอมมิวนิสต์ใหม่) ซึ่งการที่จะเข้ามายึดครองประเทศของกลุ่มเหล่านี้ก็จำเป็นจะต้องทำลายทหาร-ตำรวจที่ปกป้องประเทศให้ได้ก่อน)