วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ภาพเปิดเผยความเป็นไปได้การออกแบบเรือบรรทุกเครื่องจีนลำที่สาม Type 003

Image emerges showing possible design of China’s third aircraft carrier
Computer-generated imagery emerged on 20 June showing what could be the design for the PLAN’s third aircraft carrier (centre). Source: Via China Daily
http://www.janes.com/article/81249/image-emerges-showing-possible-design-of-china-s-third-aircraft-carrier

ภาพ Computer Graphic ที่ปรากฎขึ้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้สำหรับการออกแบบเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
ที่รู้จักในชื่อเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 003 ซึ่งเป็นที่เชื่อว่ากำลังอยู่ระหว่างการสร้างโดยอู่เรือ Jiangnan Changxingdao ใน Shanghai สาธารณรัฐประชาชนจีน

ภาพที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ซึ่งถูกแสดงระหว่างการประชุมของผู้บริหารระดับสูงของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมการสร้างเรือของจีน แสดงภาพจำลองเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำ
ซึ่งสองลำเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยทางวิ่ง Ski-Jump และหนึ่งลำตรงกลางภาพเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ CATOBAR(Catapult-Assisted Take-Off But Arrested Recovery)

ภาพดังกล่าวซึ่งเริ่มแรกถูกแสดงใน page สื่อสังคม Online WeChat ของ CSIC จีนแต่ภายหลังได้ถูกลบออกไป น่าจะตีความได้ถึงการแสดงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Liaoning สองลำ และเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่หนึ่งลำ
คือเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก Type 001 CV-16 Liaoning เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Admiral Kuznetsov รัสเซียชื่อ Varyag ที่จีนซื้อจากยูเครนในสภาพที่สร้างไม่เสร็จ และจีนนำมาสร้างใหม่จนสมบูรณ์

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง Type 002 (เดิมรู้จักในชื่อ Type 001A ชื่อเรือ CV-17 Shandong) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่จีนสร้างเองในประเทศ ซึ่งได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลครั้งแรกที่เริ่มเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/type-002.html)
และเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สาม Type 003 ซึ่งเป็นที่คาดแล้วว่าจะมีดาดฟ้าบินแบบเรียบและติดตั้งรางดีดส่งอากาศขึ้นบินแบบแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Catapults) ค่อนข้างมากกว่าที่จะเป็นรางดีดส่งอากาศยานแบบพลังไอน้ำ

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามแสดงคุณสมบัติว่ามีราง catapult 3ระบบ และหอเรือแบบเดียวกับที่ปรากฎบนแบบจำลองเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเท่าของจีนบนบกที่ใกล้ Wuhan
แม้ว่ามันเป็นการยากที่จะทำการกำหนดจำแนกจากภาพว่าเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามนี้มีขนาดใหญ่มากกว่าเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำแรกหรือไม่

การเผยแพร่ภาพนี้มีขึ้นตามมาหลังจากที่สื่อจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 ได้อ้างถึงคำกล่าวของเจ้าหน้าที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนและอุตสาหรรมความมั่นคงจีนว่า
จีนกำลังระบบรางดีดส่งอากาศยาน catapult ที่พัฒนาในประเทศใช้กับเครื่องขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15 ที่พัฒนาโดย Shenyang Aircraft Corporation(SAC)

ที่รางดีดส่งอากาศยาน catapult ของจีนมีความคล้ายคลึงกับรางดีดแม่เหล็กไฟฟ้า EMALS(Electromagnetic Aircraft Launch System) ของบริษัท General Atomics สหรัฐฯ
ที่ติดตั้งกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Gerald R. Ford ใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/cvn-78-uss-gerald-r-ford.html)

อย่างไรก็ตามจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการไปจากที่กองทัพเรือสหรัฐฯทำการพัฒนารางดีดส่งอากาศยาน EMALS โดยแหล่งข่าวในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนยังได้อ้างในเวลานั้นว่า
ภาคอุตสาหกรรมจีนยังได้พัฒนา "การบูรณาการระบบขับเคลื่อนใหม่" ที่น่าจะทำให้รางดีดส่งอากาศยานของจีนสามารถปฏิบัติการได้โดยที่เรือบรรทุกเครื่องบินจีนไม่ได้ติดตั้งระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ