วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

ภาพเปิดเผยเกาหลีใต้สร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD Mottama กองทัพเรือพม่า


Photos which claim that taken at Daesun Shipbuilding & Engineering shipyard in Busan, Republic of Korea have showed launched Makassar-class Landing Platform Dock (LPD) with Pennant 1501 and ship name plate "Mottama" for Myanmar Navy.
https://www.facebook.com/ROKArmedForces

ภาพที่เปิดเผยในสื่อสังคม Online ทางทหารได้แสดงภาพถึงเรืออู่ยกพลขึ้นบก (LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Makassar หนึ่งลำที่อยู่ระหว่างการสร้างโดยถูกปล่อยลงน้ำแล้วที่ถูกอ้างว่าถูกถ่าย ณ อู่เรือบริษัท Daesun Shipbuilding & Engineering ใน Busan สาธารณรัฐเกาหลี
เรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ชั้น Makassar ลำในภาพมีหมายเลขตัวเรือคือ 1501 และมีป้ายชื่อเรือที่ติดข้างกราบขวาของสะพานเดินเรือคือ "Mottama"(เมืองหรืออ่าวเมาะตะมะ, Gulf of Martaban) ถูกระบุว่าอ้างว่าเป็นเรือของกองทัพเรือพม่า(MN: Myanmar Navy, Tatmadaw Yei)

โดยการกำหนดหมายเลขเรือ(15xx) สำหรับประเภทเรือ LPD นั้น สอดคล้องกับกลุ่มประเภทเรือยกพลขึ้นบกของกองทัพเรือพม่า เช่น เรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU: Landing Craft Utility) ขนาด 56m(16xx) และเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) ขนาด 29m(17xx)
ที่พม่าสร้างเองในประเทศเป็นจำนวนมาก(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/ums-inlay-opv.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/12/stealth.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/01/blog-post_25.html)

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Makassar เป็นแบบเรือ LPD สำหรับส่งออกของ Daesun สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) เป็นลูกค้าส่งออกรายแรกที่มีการลงนามสัญญาแรกวงเงินราว $150 ในเดือนธันวาคม 2004
เรือ LPD ชั้น Makassar กองทัพเรืออินโดนีเซีย 2ลำแรกคือ KRI Makassar(590) และ KRI Surabaya(591) ถูกสร้างที่อู่เรือ Daesun เกาหลีใต้ขณะที่เรือ 3ลำหลังคือ KRI Banjarmasin(592), KRI Banda Aceh(593) และ KRI Semarang(594) ถูกสร้างโดยอู่เรือ PT PAL ใน Surabaya อินโดนีเซีย

PT PAL รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของอินโดนีเซียยังประสบความสำเร็จในการสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบก SSV(Strategic Sealift Vessel) 2ลำแก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์(Philippine Navy) คือ LD-601 BRP Tarlac และ LD-602 BRP Davao del Sur(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/ssv-3.html)
Daesun สาธารณรัฐเกาหลียังได้ส่งออกแบบเรือ LPD ของตนแก่ SIMA รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือขอเปรู โดยกองทัพเรือเปรู(Peruvian Navy) ได้สั่งจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Pisco 2ลำคือ AMP-156 BAP Pisco และ AMP-157 BAP Paita ที่สร้างโดยอู่เรือ SIMA ใน Callao เปรู

เรือ LPD ชั้น Makassar ที่แต่ละประเทศจัดหาจะมีคุณสมบัติแบบเรือแตกต่างกันตามความต้องการ โดยตัวเรือมีความยาว 122m, 123m หรือ 125m ระวางขับน้ำเต็มที่ราว 11,394-11,583tons ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล CODAD(Combined diesel and diesel) ทำความเร็วได้สูงสุด 16knots
เรือมีอู่ลอย(Well Deck) ท้ายเรือรองรับเรือ LCU หรือ LCM ได้ 2ลำ, มีหลัก Davits ข้างเรือรองรับเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP: Landing Craft Vehicle Personnel) หรือเรือยางท้องแบน(RHIB) ได้ 2ลำ มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.ขนาดกลางได้พร้อมกัน 2เครื่อง

ระบบอาวุธของเรือนั้นเรือ LPD ชั้น Makassar ของอินโดนีเซียและเรือ LPD ชั้น Pisco ของเปรูจะติดปืนใหญ่กล DARDO Bofors 40mm/L70 แฝดสอง ขณะที่เรือ SSV ชั้น Tarlac ของฟิลิปปินส์ติดปืนกลหนัก Browning M2 .50caliber รวม 6กระบอก
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Mottama ซึ่งน่าจะเป็นเรือลำแรกที่กองทัพเรือพม่าจัดหาจากสาธารณรัฐเกาหลีนี้ ยังไม่มีข้อมูลใดๆปรากฎออกมาถึงรายละเอียดการลงนามสัญญาจัดหา เช่น วงเงิน คุณสมบัติเรือ ระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่จะติดตั้ง รวมถึงวันที่ปล่อยเรือลงน้ำและกำหนดส่งมอบเรือ

เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพเรือพม่ามีความต้องการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ใหม่อย่างน้อย 2ลำ เพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกเก่า เช่น เรือ LCU หมายเลข 603 จากสหรัฐฯที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1960s เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถการปฏิบัติการสะเทินสะเทินบกของกองทัพพม่า
แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการที่ไม่มีข้อมูลทางการใดๆออกมาจากทั้งพม่าและเกาหลีใต้ น่าจะมีเหตุผลเพราะรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ต้องการจะให้เกิดประเด็นข้อถกเถียงในการขายอาวุธแก่ประเทศที่มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีความสัมพันธ์ทางทหารกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีครับ