Kuala Lumpur is studying options for replacing its Sukhoi Su-30MKM fighters, but its poor acquisition record suggests a long process.
https://www.flightglobal.com/news/articles/kl-studying-possible-su-30mkm-replacement-460736/
กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) กำลังศึกษาทางเลือกสำหรับการทดแทนเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM ของตน แต่ทว่าประวัติการจัดหาที่ย่ำแย่ก่อนหน้านั้นทำให้มีข้อสังเกตว่านี่จะเป็นกระบวนการที่ยาวนาน
สื่อได้อ้างคำกล่าวของรัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu ว่าการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ใหม่กำลังดำเนินการโดยมองที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียด้วยเครื่องใหม่ Sabu ไม่ได้ให้รายละเอียดเจาะจงว่าเป็นเครื่องบินขับไล่แบบใด
อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu เน้นย้ำว่าราคาจะเป็นปัจจัยหลักของการพิจารณา นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Mahathir Mohamad ยังได้ถูกอ้างคำกล่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่ามาเลเซียจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงงบประมาณของตนเองในการพิจารณาจัดหาเครื่องบินรบใหม่
เครื่องบินขับไล่ Su-30MKM เป็นฝูงบินกำลังหลักหนึ่งของกองทัพอากาศมาเลเซีย โดยมีข้อมูลแสดงว่ามีประจำการ ณ ฝูงบินที่11 ฐานทัพอากาศ Gong Kedak รัฐ Kelantan จำนวน 18เครื่อง โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 11.3ปี
ขณะที่ฝูงบิน Su-30MKM ของมาเลเซียมีอายุการใช้งานค่อนข้างน้อยแต่นั่นก็มีคำถามถึงสภาพความพร้อมมาตลอด ในเดือนสิงหาคม 2018 รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Sabu ได้กล่าวต่อรัฐสภามาเลเซียว่ามี Su-30MKM เพียง 4เครื่องจาก 18เครื่องเท่านั้นที่อยู่ในสภาพทำการบินได้
อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม 2019 เครื่องบินขับไล่ Su30MKM หลายเครื่องได้ปรากฎตัวทำการแสดงการบินในงานแสดงการบินและทางทะเลนานาชาติ LIMA 2019 ที่ Langkawi มาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html)
แผนการจัดหาเครื่องบินรบปีกตรึงใหม่ของมาเลเซียอยู่ในสภาพร่อแร่มาหลายปีแล้ว โครงการเครื่องบินรบพหุภารกิจ MRCA(Multirole Combat Aircraft) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-29N ที่เหลือ 13เครื่องได้ถูกพักไปนานแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_9.html)
แม้ว่าโครงการ MRCA ของมาเลเซียนี้จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจจาก บริษัท Boeing สหรัฐฯ, บริษัท Saab สวีเดน, บริษัท Dassault ฝรั่งเศส และกลุ่มบริษัท Eurofighter สหราชอาณาจักร-เยอรมนี-อิตาลี-สเปน ก็ตาม
ก่อนหน้าในปีนี้ มาเลเซียได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) สำหรับโครงการเครื่องบินรบเบา LCA(Light Combat Aircraft) ความต้องการนี้ได้สร้างความสนใจต่อหลายกลุ่มผู้ผลิตอากาศยาน เช่น เครื่องขับไล่ Tejas ของ Hindustan Aeronautics Limited(HAL) อินเดีย,
เครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 ของ Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/fa-50.html), เครื่องฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/yak-130-asean.html)
และเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ของ Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/blog-post_24.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)
บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรยังผลักดันแนวคิดการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น Hawk 208 กองทัพอากาศมาเลเซียจำนวน 13เครื่องซึ่งถูกใช้ในภารกิจโจมตีภาคพื้นดินด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/bae-systems-hawk.html)
นอกเหนือจากตัวเครื่องบินขับไล่แล้ว เรื่องอื่นที่กดดันความต้องการจัดหายังรวมถึงการระงับโครงการต่างๆของรัฐบาลมาเลเซีย อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Najib Razak ได้เคยอนุมัติงบประมาณสำหรับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล MPA(Maritime Patrol Aircraft)
ซึ่งทำให้กองทัพอากาศมาเลเซียสามารถดำเนินการประเมินค่าอากาศยานแบบต่างๆได้(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html) ทว่าหลังการเลือกตั้งในปี 2018 รัฐบาลมาเลเซียชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี Mahathir ได้ยกเลิกโครงการ MPA ลงครับ