วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๒-๘

Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel was formal launching ceremony at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi in 2 August 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/blog-post_3.html

Thailand conducts ceremonial launch for second Krabi-class OPV
https://www.janes.com/article/90271/thailand-conducts-ceremonial-launch-for-second-krabi-class-opv

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ลงน้ำเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่กองทัพเรือไทย
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์คาดว่าจะมีพิธีขึ้นระวางประจำการได้ในราวปลายเดือนกันยายน ๒๕๖๒ นี้ ทำให้กองทัพเรือไทยจะมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรวมเป็น ๔ลำคือ ชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส และชุดเรือหลวงกระบี่ ๒ลำคือ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์
ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ จะเข้าประจำการใน หมวดเรือที่๑ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ทั้งนี้ในความต้องการทดแทนเรือฟริเกตเก่าและเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงปราบปรปักษ์และชุดเรือหลวงราชฤทธิ์ที่ปลดไปก่อนหน้า คาดว่ากองทัพเรือไทยจะต้องการเรือ ตกก.เพิ่มอีก ๒ลำครับ







Royal Thai Navy has completed modernization of two Bangrajun-class Minehunter Coastal include MHC-631 HTMS Bangrajun(II) and MHC-632 HTMS Nong Sarai(II) by United Kingdom company's Thales UK and now ready for Operation.

เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ รมว.กห. อนุมัติจ้างปรับปรุงเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ชุด ร.ล.บางระจัน ผูกพันงบประมาณ ๓ ปี โดย ทร. ได้ลงนามในสัญญาจ้างปรับปรุงเรือฯ กับ บริษัท Thales UK limited กำหนดแล้วเสร็จภายใน ๑,๑๗๐ วัน 
ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เรือ ลทฝ. ชุด ร.ล.บางระจัน มีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจต่อต้านทุ่นระเบิด การสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางยุทธการด้านสงครามทุ่นระเบิดบริเวรช่องทางเข้า - ออก 
และพื้นที่จอดเรือของฐานทัพและท่าเรือสำคัญของประเทศทั้ง ๒ ฝั่งทะเล ได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพได้อีกอย่างน้อย ๑๕ ปี ปัจจุบันการดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงแล้ว เรือ ลทฝ. ทั้ง ๒ ลำพร้อมปฏิบัติราชการ 
ทั้งนี้ ระบบที่ปรับปรุงถือว่าเป็นระบบที่ทันสมัยและล้ำหน้า ทันต่อเทคโนโลยีด้านสงครามทุ่นระเบิดทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต สมกับวิสัยทัศน์ "เป็นกำลังรบที่มีขีดสมรรถนะสูง สู่ความเป็นสากลด้านสงครามทุ่นระเบิด"

ใน ๒๑ ส.ค.๖๒ เวลา ๑๕๐๐ พลเรือตรี ธนันท์ชัย บุณยรัตน์กัญริน ผบ.กทบ.กร. เป็นประธานในพิธีส่งหมู่เรือสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางยุทธการ วงรอบที่ ๙ งป.๖๒ บริเวณท่าเทียบเรือหมายเลข ๗ อจปร.อร. 
โดย ร.ล.บางระจัน และ ร.ล.หนองสาหร่าย เป็นกำลังหลักในการปฏิบัติราชการในครั้งนี้ พร้อมด้วยชุดต่อต้านทุ่นระเบิดเคลื่อนที่

เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งชุดเรือหลวงบางระจันทั้งสองลำคือ ร.ล.บางระจัน และ ร.ล.หนองสาหร่าย มีพื้นฐานจากแบบเรือ M48 สร้างโดยอู่เรือบริษัท Friedrich Lurssen Werft เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ปัจจุบันเรือ ลทฝ. ชุด ร.ล.บางระจัน มีอายุการใช้งานแล้วกว่า ๓๒ปี 
และการปรับปรุงความทันสมัยโดยบริษัท Thales UK สหราชอาณาจักร วงเงินราว ๒,๗๕๐ล้านบาท($89,315,875) จะทำให้เรือชุดนี้สามารถประจำการต่อไปได้อีก ๑๕ปีจนถึงราวปี พ.ศ.๒๕๗๗(2034) เลยทีเดียว ซึ่งเรือชุดนี้ก็ได้ออกปฏิบัติการในชุดต่อต้านทุ่นระเบิดเคลื่อนที่แล้วครับ

Indonesian Navy (TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) KRI Bung Tomo (357) the Bung Tomo class corvette and KRI Frans Kaisiepo (368) the Diponegoro class corvette at Sattahip naval base, Royal Thai Navy, Thailand.


Indonesian Marine Corps (Korps Marinir) was joint conduct execise SEA GARUDA 2019 with Royal Thai Marine Corps include Marine Reconnaissance Battalion in 15-21 August 2019.

การฝึกผสมทางเรือ Sea Garuda 2019 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรืออินโดนีเซียระหว่างวันที่ ๑๕-๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมาเป็นการฝึกครั้งที่๒๐ที่ทางไทยเป็นเจ้าภาพ โดยเป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือไทยได้นำเรือฟริเกตสมรรถนสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชมาฝึกกับอินโดนีเซีย
ส่วนทางกองทัพเรืออินโดนีเซียได้นำเรือคอร์เวตชั้น Bung Tomo คือ KRI Bung Tomo(357) และเรือคอร์เวตชั้น Diponegoro(SIGMA 9113) คือ KRI Frans Kaisiepo(368) เข้าร่วมการฝึก ทั้งนี้การฝึก Sea Garuda ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปี 2021 โดยทางอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพครับ

Royal Thai Navy Naval Research & Development Office's Wing in Ground Effect 8-12 seats programme

สวพ.ทร. จัดประชุมโครงการวิจัยจัดสร้างยานบินเบาะอากาศ (Wing in Ground Effect) ขนาด 8 -12 ที่นั่ง ด้วยวัสดุคอมพอสิต Composite Material เมื่อ วันที่ ๕ ส.ค.๖๒ โดยมี พล.ร.ต.วรพล ทองปรีชา ผอ.สวพ.ทร. เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม สวพ.ทร. ชั้น ๕


โครงการวิจัยจัดสร้างยานบินเบาะอากาศ(Wing in Ground Effect) ขนาด ๘-๑๒ ที่นั่ง โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. เป็นโครงการพัฒนายานพาหนะทางน้ำใหม่อีกโครงการต่อจากโครงการสร้างเครื่องบินทะเลที่มีมาก่อนหน้านี้
โดยเครื่องบินทะเล NAX ที่ สวพ.ทร.ได้พัฒนามาก่อนหน้าได้มีการสร้างออกมาหลายเครื่องจนถึงเครื่องบินทะเล NAX-4 แล้วและผ่านการทดลองทดสอบการใช้งานจริงมาแล้วหลายปี ก็ต้องติดตามต่อไปว่ายานบินเบาะอากาศ WGE ที่กองทัพเรือจะสร้างขึ้นมานั้นจะมีรูปแบบอย่างไรครับ

Thai company TOP Engineering Corporation's Falcon-V FUVEC (Fixed wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) at Ship Technology for the Next Decade (Ship Tech.III) Exibition 3-4 March 2016
https://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html

ประกาศราคากลาง ซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAV) จำนวน ๑ ระบบ 

๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019)  สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(Naval Acquisition Management Office) ได้ออกเอกสารประกาศราคากลางสำหรับโครงการจัดซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) จำนวน ๑ระบบวงเงิน ๒๘๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($9,061,384)
แหล่งที่มาราคากลางประกอบด้วย บริษัท Power Solution Technologies PUBLIC COMPANY LIMITED, บริษัท Thai Advance Innovation และบริษัท United Global Agencies (Thailand) ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดว่าเป็นระบบ UAV แบบใดที่พัฒนาในไทยหรือมีพื้นฐานจากต่างประเทศครับ

concept art of two men crew Underwater Propulsion Vehicle for Special Operation Diver
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/eod.html

ยานขับเคลื่อนใต้น้ำ(Underwater Propulsion Vehicle) จำนวน ๑เครื่องที่กรมสรรพาวุธทหารเรือ สพ.ทร.จะจัดหาสำหรับกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กปถ.ภายในวงเงิน ๑๒,๙๙๐๐,๐๐๐บาท($420,298) นั้นระบบลักษณะนี้ก็ไม่ใช่ของใหม่สำหรับกองทัพเรือไทยแต่อย่างใด
อย่างกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ สพ.ทร.ก็เห็นมียานขับเคลื่อนใต้น้ำขนาดเล็กสำหรับนักประดาน้ำ ๑นายใช้สองมือจับถือใต้น้ำเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขณะดำน้ำ
หรือเก่ากว่านั้น หน่วยบัญชาสงครามพิเศษทางเรือ นสร.ก็เห็นมียานขับเคลื่อนใต้น้ำแบบมีนักประดาน้ำนั่งบังคับใต้น้ำ ๒นาย(Chariot Manned Torpedoes) ที่ปลดประจำการแล้วมาจอดตั้งแสดงในพื้นที่ทหารเรือเหมือนปืนใหญ่เก่ากับปืนต่อสู้อากาศยานเก่า

การกำหนดคุณสมบัติของยานขับเคลื่อนใต้น้ำเป็นแบบที่สามารถใช้กับท่อ Torpedo ของเรือดำน้ำได้ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจมาก เพราะค่อนข้างจะชัดเจนว่าน่าจะถูกใช้ในการขนส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษใต้น้ำลักษณะเดียวกับยาน SDV(Swimmer Delivery Vehicle or SEAL Delivery Vehicle)
ซึ่ง กปถ.สพ.ทร.ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบงานปฏิบัติการพิเศษโดยตรงเหมือน นสร.หรือกองพันลาดตระเวนนาวิกโยธิน แต่จะเป็นงานสนับสนุน เช่น กู้เรือที่จม ซ่อมทำตัวเรือใต้น้ำ สำรวจสาย cable ใต้น้ำ หรือถอดทำลายทุ่นระเบิด
ที่จัดหามา ๑ เครื่องไม่แน่ใจว่าจะจัดหามาเพียงเพื่อการทดลองศึกษาการใช้งานหรือไม่ เพราะ กปถ.สพ.ทร.ก็ได้ถูกเพิ่มภารกิจในการศึกษาการปฏิบัติงานใต้น้ำร่วมกับเรือดำน้ำ S26T ที่จะจัดหาในอนาคต เช่น การกู้ภัยเรือดำน้ำครับ

ซื้อพร้อมติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ ของ นป.สอ.รฝ.๖๒๑ 
ผู้ได้รับการคัดเลือก บริษัท THALES LAS FRANCES SAS สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราคาที่เสนอ 89,354,875.03 บาท เหตุผลที่ได้รับการคัดเลือก เป็นผู้เสนอ เอกสารหลักฐาน เงื่อนไข รายละเอียด ครบถ้วน ถูกต้อง และได้คะแนนคุณสมบัติทางเทคนิค สูงสุด

กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ(Naval Electronics Department) กองทัพเรือไทยได้ประกาศผู้ชนะโครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้ง Radar ตรวจการณ์ทางอากาศของ หน่วยปฏิบัติการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง(Naval Air and Coastal Defence) นป.สอ.รฝ.๖๒๑ ที่เกาะ** นครศรีธรรมราช จำนวน ๑ระบบ
ผู้ชนะคือบริษัท บริษัท THALES LAS FRANCES SAS ฝรั่งเศส โดยเสนอราคาเป็นเงิน 2,557,300 Euros(๘๙,๓๕๔,๘๗๕.๐๓บาท) ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่า THALES ฝรั่งเศสเสนอระบบ Radar แบบใดให้ สอ.รฝ.กองทัพเรือไทยครับ






 Defence Technology Institute(DTI) hand on domestic Explosive Ordnance Disposal Unmanned Ground Vehicle (UGV) D-EMPIR V.2.1 to Internal Security Operations Command Region 4 at Sirinthron Camp, Pattani province in 25 July 2019

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) โดย พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. พร้อมด้วยผู้บริหาร นักวิจัยและ จนท. สทป. ดำเนินการส่งมอบต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด 
โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด D-EMPIR V.2.1 จำนวน 6 ระบบเพื่อทดสอบทดลองใช้ตามกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ 
โดยได้รับเกียรติจาก พล.ท.จตุพร กลัมพสุต รอง ผอ.รมน.ภาค 4 สน.(1) ผู้แทน ผอ.รมน.ภาค 4 เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องประชุม 1 บก.กอ.รมน.ภาค 4 สน. ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 62




 Defence Technology Institute(DTI) hand on domestic Unmanned Ground Vehicle (UGV) at New S-Curve exibition in 17 August 2019

ภายในงาน สทป. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New S-Curve) 
โดยประชาสัมพันธ์หน่วยงาน นำผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริง (Simmulator UAV) และโครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD Robot) ร่วมจัดแสดง 
พร้อมทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ สทป. ร่วมให้ข้อมูล และWorkshop ให้แก่ ผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมบูธ ณ บูธ สทป.ตั้งอยู่บริเวณ Hall 6 เสาที่ 8 - 10 ภายในบูธกระทรวงกลาโหม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 25 ส.ค. 62 เวลา 9.00- 20.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและประชุมอิมแพ็ค (Hall 6)

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด D-EMPIR V.2.1 ที่พัฒนาโดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI จำนวน ๖ระบบได้ถูกส่งมอบให้กับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค๔ส่วนหน้า กอ.รมน.ภาค๔ สน. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ใช้งาน
เป็นการแสดงถึงการพัฒนาระบบอุปกรณ์ด้วยตนเองของไทยเพื่อตอบสนองการใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จริง แทนที่จะจัดหาระบบที่ถูกพัฒนาโดยนักเรียนนักศึกษาที่เมื่อถูกส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ไปใช้งานแล้วพอเสียก็ตามตัวคนทำไม่ได้เพราะเรียนจบไปแล้วสุดท้ายก็ไปกองอยู่ในห้องเก็บของครับ




 Defence Technology Institute(DTI) demonstrated domestic Unmanned Aerial Vehicle (UAV) D-EYES 01, D-EYES 02, D-EYES 03 and other research and development project in 31 July 2019



สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) จัดงาน DTI - Defence Industry and Innovation 2019 โดยได้รับเกียรติจาก พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. เป็นประธานเปิดงาน ให้แก่ หน่วยงานผู้ใช้ บุคคลผู้สนใจทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนกว่า 500 คน
ภายในงานจัดแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) 3 ระบบ ได้แก่ D-EYES 01, D-EYES 02, D-EYES 03 และผลงานวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ ของ สทป.
นอกจากนี้ยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ด้านอากาศยานไร้คนขับ ระหว่าง สทป. กับ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)? และจัดปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "มาตรฐานการบินอากาศยานไร้คนขับ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่" และจัดเสวนา "ก้าวต่อไปของภาคเอกชนกับบทบาทการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ" ณ แรนโชชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรี คลับ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 62

Thailand's Defence Technology Institute was completed a successful dymanic test firing domestic DTI-2 122mm wheeled self-propelled Multiple Launch Rocket System for 10 round range 40km at test range in Phang Nga Naval Base, Royal Thai Navy, 28 August 2019
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/dti-dti-2-122mm.html

โครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122mm ระยะยิง 40km ซึ่งรู้จักในชื่อ DTI-2 ที่ได้ทำการทดสอบยิงลงทะเลอันดามันจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ ๒๐ท่อยิง จำนวน ๑๐นัด ณ สนามทดสอบอาวุธ เขาหน้ายักษ์ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่๓ กองทัพเรือไทยไปนั้น
ก็เป็นอีกโครงการของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ที่พัฒฯามาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยมีระบบที่ติดตั้งบนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 กองทัพบกไทย เพื่อทดแทน จลก.๓๑ Type 82 ขนาด 130mm ๓๐ท่อยิงเก่าที่ล้าสมัยเป็นโครงการหลักหนึ่งครับ

US Air Force Boeing C-17A Globemaster III has landed at Wing 6 Don Muang Royal Thai Air Force Base, Thailand to delivering first two of former US Army M1126 Stryker Infantry Carrier Vehicle (ICV) 8x8 wheeled armored vehicles to Royal Thai Army.
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/stryker-icv.html

Royal Thai Army receives first batch of Stryker ICVs from US
https://www.janes.com/article/90741/royal-thai-army-receives-first-batch-of-stryker-icvs-from-us

Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd was tested its newest product R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV) prototype for Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy at Royal Thai Army's Vehicle Test Range in Kanchanaburi province, Thailand.
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/panus-r600-8x8.html

ตามที่สหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker Infantry Combat Vehicle(ICV) 8x8 จำนวน ๖๐คันในรูปแบบการขาย Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $175 million แก่ไทยเป็นรายแรกนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/stryker-icv.html)
มีรายงานว่ากองทัพไทยได้ส่งกำลังพลทั้งพลประจำรถและช่างซ่อมบำรุงไปทำการฝึกที่สหรัฐฯในระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม-๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ตามมาด้วยการส่งมอบรถ ๒คันมาถึงไทยโดยเครื่องบินลำเลียงหนัก Boeing C-17 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒
แม้ว่ายานเกราะล้อยาง M1126 Stryker ICV จะเป็นรถที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯมาก่อนแต่ก็มีอายุการใช้งานน้อยมากและผ่านการปรับสภาพใหม่(Refurbished)แล้ว โดยกองทัพบกไทยมีแผนจะจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker เพิ่มอีก ๘๐คันในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) รวมทั้งหมด ๑๔๐คัน

ยานเกราะล้อยาง Stryker ชุดแรก ๑๐คัน ที่จะมีการจัดพิธีรับมอบในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒ ซึ่งจะเข้าประจำการ ณ กองร้อยยานเกราะประจำ กรมทหารราบที่๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ ฉะเชิงเทรา ทำให้ไทยนับเป็นประเทศแรกนอกจากสหรัฐฯที่มียานเกราะล้อยาง 8x8 รุ่นี้ใช้งาน
ตามแผนการปรับโครงสร้างกรมรบผสม(Combined Arms Regiment) ที่นำรูปแบบมาจากกองพลน้อยชุดรบ Stryker BCT(Brigade Combat Team) ของกองทัพบกสหรัฐฯ  ร.๑๑๒ พล.ร.๑๑ จะย้ายไปที่ตั้งใหม่ ณ ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
อย่างไรก็ตามการจัดหายานเกราะ Stryker จะไม่เกี่ยวข้องกับระบบยานเกราะล้อยาง 8x8 ที่พัฒนาในไทยทั้ง DTI Black Widow Spider สำหรับกองทัพบกไทย และ DTI AAPC สำหรับนาวิกโยธินกองทัพเรือไทย รวมถึงยานเกราะล้อยาง R600 ของบริษัท Panus ที่ยังเป็นเพียงรถต้นแบบครับ






Opening Ceremony of The Combined Exercise Chapel Gold 2019 with Royal Thai Army and Australian Army at RTA's Vibhavadirangsit Camp, Surat Thani province, Thailand in 1 August 2019.

เริ่มแล้ว..! การฝึกผสม CHAPEL GOLD 2019 ระหว่างกองทัพบกไทย-กองทัพบกออสเตรเลีย

พ.อ. อุทิศ อนันตนานนท์ รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 เป็นประธานฝ่ายกองทัพบกไทย และ พลจัตวา แอนดรูว์ ฮอคกิ้ง ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 7 ร่วมพิธีเปิดการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย-กองทัพบกออสเตรเลีย 
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่สนามหลังกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 25 ค่ายวิภาวดีรังสิต มณฑลทหารบกที่ 45 จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้รหัสการฝึก " CHAPEL GOLD 2019 " ห้วงการฝึกระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2562
เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ต่อกันของกองทัพบกไทยและกองทัพบกออสเตรเลีย ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์การฝึกให้กับหน่วยระดับกองพันทหารราบและพัฒนาเป็นทหารอาชีพสำหรับกำลังพลทุกระดับของทั้งสองฝ่าย
สำหรับการฝึกผสมระหว่างกองทัพบกไทย - กองทัพบกออสเตรเลียในครั้งนี้ จะใช้พื้นที่การฝึกภายในกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 25 ค่ายวิภาวดีรังสิต อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

โดยการฝึกผสมของกำลังทั้ง 2 ประเทศในครั้งนี้ มีการฝึกทั้งในภาคที่ตั้งและภาคสนาม สำหรับการฝึกในที่ตั้ง (CTX) จะใช้พื้นที่ฝึกภายในค่ายวิภาวดีรังสิต จำนวน 4 สถานี ประกอบด้วย
สถานีที่ 1 การตั้งฐานลาดตระเวนและการลาดตระเวนหาข่าว สถานีที่ 2 การลาดตระเวนโจมตีและการลาดตระเวนตีโฉบฉวย
สถานีที่ 3 การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และ
สถานีที่ 4 การปิดล้อมตรวจค้นและการรบในระยะประชิด / การแลกเปลี่ยนทักษะการใช้อาวุธ

ส่วนการฝึกภาคสนาม (FTx) จะใช้สถานการณ์สมมติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ ในพื้นที่การฝึกอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช โดยกำลังพลทั้ง 2 ประเทศ จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ พัฒนาความเป็นทหารอาชีพ 
และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองฝ่าย ผ่านกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ และการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของผู้ร่วมการฝึกเป็นรายบุคคลต่อไป
https://www.facebook.com/armyprcenter/posts/2345899625475736


Royal Thai Air Force and Indonesian Air Force conduct joint exercise Elang Thainesia XIX at Wing 1 Korat, Thailand in 30 July to 9 August 2019

พิธีปิดการฝึกผสม Elang Thainesia XIX
พลอากาศเอก ภานุพงศ์ เสยยงคะ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ ในฐานะ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พลอากาศเอก ยูยู ซูทิสนา ผู้บัญชาการทหารอากาศอินโดนีเซีย ( Air Chief Marshal Yuyu Sutisna, Chief of Staff of the Indonesian Air Force ) 
เป็นประธานร่วมในพิธีปิดการฝึกผสม Elang Thainesia XIX โดยมีกำลังพลผู้เข้าร่วมการฝึกในส่วนกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย เข้าร่วมพิธี เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๒
โดยมี นาวาอากาศเอก จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ผู้บังคับการกองบิน ๑ พร้อมด้วย นาวาอากาศเอก จักรพันธ์ สุขแสงดาว เสนาธิการกองบิน ๑ ให้การต้อนรับ ณ ลานจอดหน้าหอบังคับการบิน กองบิน ๑ ...

การฝึกผสม Elang Thainesia XIX ระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม-๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ณ กองบิน๑ โคราช
เป็นความร่วมมือทางทหารของมิตรประเทศกลุ่ม ASEAN ที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งทางกองทัพอากาศอินโดนีเซียได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16C Block 25 ของตนมาทำการฝึกกับ F-5E/F Tigris ฝูงบิน๒๑๑ และ F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ เป็นต้น ของกองกองทัพอากาศไทยครับ

Saab Gripen C 701st Squadron, Wing 7, Dornier Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23Royal Thai Air Force and Chengdu J-10C from 131st Air Brigade 'Red Eagle', People's Liberation Army Air Force was displayed in Wing 23 RTAFB for closing ceremony exersice Falcon Strike 2019, 30 August 2019.

พิธีปิดการฝึกผสม FALCON STRIKE 2019
พลอากาศตรีกนิษฐ์ ชัยสาร เสนาธิการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ และ พลอากาศตรี หลิว ตี ผู้บังคับการฐานทัพอากาศคุนหมิง กองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสม FALCON STRIKE 2019 ณ กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี
การฝึกผสม FALCON STRIKE 2019 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-30 สิงหาคม 2562 โดยได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ทางด้านการบิน การเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ และการจัดกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ 
ซึ่งตลอดระยะเวลาการฝึกเป็นไปด้วยมิตรภาพอันดีระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
https://www.facebook.com/rtafnews.mi.th/posts/1368212213355050
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/falcon-strike-2019.html
https://aagth1.blogspot.com/2019/08/falcon-strike-2019_25.html

การฝึกผสมทางอากาศ Falcon Strike 2019 ระหว่างกองทัพอากาศไทย กับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี ก็เป็นการฝึกที่มีมาต่อเนื่องเป็นครั้งที่สี่แล้วนับตั้งแต่ปี 2015, 2017 และ 2018
ซึ่งปีนี้เป็นครั้งแรกที่จีนได้นำเครื่องบินขับไล่ J-10C รุ่นล่าสุดจากกองพลน้อยบินที่131 Red Eagle ซึ่งเป็นหน่วยบินขับไล่ระดับหัวกะทิเช่นเดียวกับครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ KJ-500 AEW&C มาฝึกกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ครับ

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้อเรดาร์ป้องกันทางอากาศ พร้อมติดตั้งที่ สร.สมุย จำนวน ๑ ระบบ พร้อมเรโดมรวมถึงอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเป็น การฝึกอบรม โดยวิธีคัดเลือก (๒๓ ส.ค.๖๒)

กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ(Directorate of Communications and Electronics, RTAF) ประกาศผู้ชนะโครงการซื้อ Radar ป้องกันทางอากาศพร้อมติดตั้งที่ Radar Station สมุย จำนวน ๑ ระบบ
คือบริษัท Leonardo S.p.A. สาธารณรัฐอิตาลี เป็นเงินทั้งสิ้น ๖๘๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($22,375,018.10) ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าบริษัท Leonardo อิตาลีเสนอ Radar แบบใดแก่กองทัพอากาศไทยครับ