Long Live The King.
18 January 2020, All branches of Royal Thai Armed Forces, Royal Thai Army, Royal Thai Navy, Royal Thai Air Force and Royal Thai Police conduct military parade at Cavalry Center, Fort Adisorn, Saraburi province as part of Royal Grand Coronation ceremony.
https://www.facebook.com/AirlineWeek/posts/2524406214323467
พิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร-ตำรวจเนื่องในวันกองทัพไทย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) เวลา ๑๖๐๐นาฬิกา ณ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร ถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
กำลังสวนสนามมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๙กองพัน(๖,๘๑๒นาย) ประกอบด้วย กรมเดินเท้าสวนสนาม ๗กรม กรมละ ๔กองพัน รวม ๒๘กองพัน กรมวิ่งสวนสนาม ๑กรม ๔กองพัน กองพันทหารม้ารักษาพระองค์ ๑กองพัน กรมยานยนต์ ๒กรม กรมละ ๓กองพัน รวม ๖กองพัน กำลังทางอากาศ ๓๗เครื่อง
ได้ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒(2019) โดย องค์จอมทัพไทย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเป็นองค์ประธานตรวจพลสวนสนาม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันที่สุดมิได้แก่กำลังพลทหาร-ตำรวจทั้งสี่เหล่าทัพอย่างยิ่ง
China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand
China State Shipbuilding Corporation (CSSC) was displayed model of 22,000 tons landing platform dock (LPD) at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photos)
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-marsun-cssc-csoc.html
BMT, the leading international design, engineering and risk management consultancy, has been awarded a contract to support the Royal Thai Navy’s (RTN) new midget submarine programme from its offices in Bath, UK.
https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bmt.html
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-dti-d-iron-ugv.html
โครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จีน ๓ลำ ยังคงเป็นประเด็นที่กองทัพเรือถูกผู้ไม่หวังต่อชาติใช้โจมตีกองทัพเรือไทย โดยผ่านกระบวนขั้นตอนทางกฎหมายในการอภิปรายการพิจารณางบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้ยกเลิกการจัดหาเรือดำน้ำลงทั้งหมด
ตลอดถึงโครงการจัดหาที่เกี่ยวข้องเช่น เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E รุ่นส่งออกที่มีกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกของจีนที่ลงนามสัญญาจัดหาเมื่อเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๒(2019) ที่จะใช้ในการสนับสนุนเรือดำน้ำ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)
ก็ถูกโจมตีว่าสิ้นเปลืองป้องกันตัวเองไม่ได้เป็นเป้านิ่งขนาดใหญ่ให้โดยยิงจม ทั้งที่ความจริงเรือสนับสนุนการรบจะไม่ออกปฏิบัติการเพียงลำเดียวในยามสงครามต้องมีเรือรบคุ้มกัน และนอกจากการทดแทนเรือยกพลขึ้นบกเก่าหลายลำที่ปลดไปแล้ว ยังใช้ในภารกิจช่วยประชาชนจากภัยพิบัติต่างๆด้วย
ความเคลื่อนไหวในการต่อต้านการมีเรือดำน้ำทุกรูปแบบของกองทัพเรือไทย มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบจากสื่อไร้จรรยาบรรณเพื่อชักจูงประชาชนให้เชื่อข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่หวังประโยชน์ให้เกิดความอ่อนแอต่อขีดความสามารถการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทย
ยังรวมถึงความพยายามตัดงบประมาณกลาโหมลงร้อยละ๕๐ โดยเฉพาะด้านการวิจัยภายในประเทศ เช่นในส่วนโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) ของ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. โดยอ้างว่าไม่มีความจำเป็นและไม่มีประโยชน์ใดๆ
อีกทั้งยังมีการต่อต้าน สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) กระทรวงกลาโหมว่ามีแต่งานวิจัยพัฒนาที่ไม่มีประโยชน์เปลืองงบประมาณ ทั้งที่ความจริงหลายโครงการได้มีสายการผลิตและถูกนำไปใช้งานในหน่วยผู้ปฏิบัติการเป็นจำนวนมากมาหลายปีแล้วครับ
Royal Thai Navy's hand-over ceremony of new second Panyi-class Tugboat HTMS Lipe (858) at Laem Thian Pier, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Thailand in 23 January 2020.
https://aagth1.blogspot.com/2020/01/blog-post_24.html
ขณะที่กองทัพเรือไทยกำลังเตรียมการหลายด้านเพื่อรองรับการเข้าประจำการของเรือดำน้ำ S26T เช่น พิธีรับมอบเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยีลำที่สอง เรือหลวงหลีเป๊ะ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ปรับปรุงออกแบบเรือให้สามารถลากจูงเรือดำน้ำได้ดีมากขึ้น
หรือการศึกษาและจัดทำโครงการระบบสื่อสารความถี่ต่ำมาก VLF(Very Low Frequency) บริเวณพื้นที่โยธะกา หรือพื้นที่อำเภอบางพระ-หนองขาม หรืออ่าวท้องเนียน หรือป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และการเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเรือดำน้ำในพื้นที่ฝั่งอันดามัน
แต่ผลจากการเสียบบัตรแทนกันระหว่างลงมติพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไร้ความรับผิดชอบต่อประชาชนที่เลือกเข้ามาทำงาน meให้มีความล่าช้าในการใช้จ่าย งป.๒๕๖๓(Government Shutdown) ถ้ามติเป็นโฆษะและต้องเข้าสู่ขั้นตอนเริ่มต้นใหม่
และการระบาดของ coronavirus ที่ Wuhan จีนที่ตั้งของอู่เรือ Wuchang Shipbuilding สถานที่ที่สร้างเรือดำน้ำ S26T ลำแรกที่วางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019 จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งคณะกรรมการตรวจการจ้างสร้างเรือดำน้ำของกองทัพเรือที่ Wuhan จีนทั้ง ๒๐นายได้รับการดูแลทางสุขอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทางจีนยืนยันว่าการปรับแผนงานตามมาตรการป้องกันทางสาธารสุขไม่ส่งผลผลกระทบต่อแผนงานรวมทั้งโครงการรวมไปถึงการส่งมอบแต่ประการใด
คณะกรรมการฯได้เดินทางกลับถึงไทยโดยทุกนายผ่านการตรวจสุขภาพแล้ว ทำให้การส่งมอบเรือลำแรกน่าจะเป็นภายในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ตามเดิมอยู่ อย่างไรก็ตามจากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันน่าจะส่งผลให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำรวม ๓ลำของกองทัพเรือดูจะยังมีปัญหาติดขัดต่อไปครับ
MAN 175D Selected for Royal Thai Navy Newbuildings
https://www.man-es.com/company/press-releases/press-details/2020/01/23/man-175d-selected-for-royal-thai-navy-newbuildings
บริษัท MAN Energy Solutions ของเยอรมนีได้รับสัญญาจัดหาเครื่องยนต์ให้กับเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือไทย จำนวน 2 ลำ
เมื่อ 23 ม.ค. 63 บริษัท MAN Energy Solutions ของเยอรมนีประกาศว่า ได้รับสัญญาจัดหาเครื่องยนต์หลักให้กับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลำใหม่ของกองทัพเรือไทย จำนวน 2 ลำ
โดยเรือแต่ละลำจะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ MAN 16V175D-MM, IMO Tier II engines ให้พลังงาน 2,960 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงที่ 1,900 รอบต่อนาที จำนวน 2 เครื่อง
ทั้งนี้ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งดังกล่าว ถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือ Marsun ในประเทศไทย มีกำหนดการส่งมอบให้กับกองทัพเรือไทยภายในเดือนสิงหาคม 2563 เมื่อเข้าประจำการจะเป็นเรือลำที่ 4 และ 5 ของชุดเรือ ต.994 จะใช้หมายเลข ต.997 และ ต.998
โดยเรือมีคุณลักษณะดังนี้ มีความยาว 41.44 ม. ความกว้าง 7.2 ม. ระวางขับน้ำเต็มที่ 215 ตัน มีความเร็วสูงสุด 28 นอต รองรับลูกเรือได้ 33 คน สามารถปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่อง 7 วัน
บริษัท MAN Energy Solutions พัฒนาเครื่องยนต์ MAN 175D แบบ 12, 16 และ 20 สูบ มีกำลัง 1,500 ถึง 4,000 กิโลวัตต์ สามารถติดตั้งในเรือหลายประเภท ได้แก่ เรือข้ามฟาก เรือตรวจการณ์นอกชายฝั่ง เรือลากจูง และอื่น ๆ
อีกทั้งถูกออกแบบให้เป็นเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ระบบกำจัดไอเสียแบบ SCR System สอดคล้องกับข้อกำหนดของการปล่อยไอเสีย ขนาดของเครื่องยนต์มีความกะทัดรัดช่วยให้สามารถปรับพื้นที่บนเรือได้อย่างเหมาะสม
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/1460394084120587
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ที่ประกอบด้วยเรือ ต.997 และเรือ ต.998 ซึ่งมีพิธีวางกระดูงูเรือเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/997-998.html) กำหนดส่งมอบเรือในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นั้น
นอกจากจะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ MAN 16V175D-MM, IMO Tier II จากบริษัท MAN Energy Solutions เยอรมนี ซึ่งมีความน่าเชื่อถือและถูกใช้ในเรือหลายลำของกองทัพเรือไทยที่สร้างในประเทศมาแล้วนั้น
เรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.997 ยังเป็นเรือรบผิวน้ำแบบแรกของกองทัพเรือไทยที่สร้างในประเทศที่จะติดตั้งระบบอาวุธจากรัสเซียคือปืนเรือแบบปืนกล AK-306 ขนาด 30mm ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html)
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ร่วมกับ กองทัพเรือ โดย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ (นสร.กร.) จัดทำโครงการเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ตามความต้องการของ นสร.กร.
โดย สทป. ได้เสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการ สทป. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบและพิจารณาอนุมัติให้ สทป. วิจัยและพัฒนาสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ร่วมกับ นสร.กร.
และบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพภายในประเทศ และได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโครงการฯ 1-2 ปี จนแล้วเสร็จ พร้อมส่งมอบต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลให้ นสร.กร. เพื่อใช้ในภารกิจ 3 ด้าน ดังนี้
1.) ด้านความมั่นคงทางทหาร ได้แก่
1.1) สนับสนุนภารกิจหลักสูตรต่าง ๆ ของ (นสร.กร.) เช่น นักทำลายใต้น้ำจู่โจม, ปฏิบัติงานใต้น้ำ และลาดตระเวน 1.2) ขนส่งในพื้นที่ที่เรือใหญ่เข้าไม่ถึง (เข้าเกยหาด)
2.)ด้านความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเก็บขยะลอยน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และพื้นที่รับผิดชอบของ (นสร.กร.)
3.) ด้านความมั่นคงทางสังคม การมีส่วนร่วมตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะในทะเลให้แก่ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไป
ทั้งนี้เมื่อ สทป. สามารถสร้างต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลสำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพึ่งพาตนเองสามารถสนับสนุนกระทรวงกลาโหม ในการดำเนินกิจการด้านการวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง
รวมถึงต่อยอดผลการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงขั้นการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562
สทป. มีแผนที่จะนำองค์ความรู้ในการสร้างเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลดังกล่าว สู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
https://www.facebook.com/dtithailand
Royal Thai Air Force's RTAF U1 unmanned aerial vehicle (UAV) based-on RV Connex's Sky Scout was displayed at Defense and Security 2019.(My Own Photo)
https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-rv-connex-sky.html
นาวาอากาศเอก จุมพล จันทขัมมา ผู้บังคับการกองบิน ๒ ร่วมให้การต้อนรับ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พลเอก ณัฐพลนาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบกและคณะ
เยี่ยมชมการสาธิตการปฏิบัติงานของเครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์ฝึกแบบที่ ๑ (RTAF U1) พร้อมดำเนินการตรวจเยี่ยมฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม ๒๐๖ (วัฒนานคร)
ณ ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม ๒๐๖ (วัฒนานคร) สนามบินวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๓
https://www.facebook.com/wing2RTAF/posts/3004438749607012
Clip: กองทัพอากาศ สาธิตการปฏิบัติงานระบบอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/614072436071851/
หลังจากที่กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีประจำการระบบอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลาง RTAF U1 จำนวน ๑๗เครื่องที่พัฒนาร่วมกับบริษัท RV Connex ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)
อากาศยานไร้คนขับ RTAF U1 UAV ได้ถูกนำมาวางกำลัง ณ ฝูงบิน๒๐๖ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ซึ่งได้ปฏิบัติตรวจการณ์สภาพการจราจรทางอากาศในช่วงวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่ผ่านมา และมีการสาธิตการปฏิบัติการให้นายทหารระดับสูงของแต่ละเหล่าทัพและภาคอุตสาหกรรมไทยชม
ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีหน่วยบินหลักที่ประจำการด้วยอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ตาคลี ที่นอกจากจะมี RTAF U1 แล้วยังมี อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar, อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Orbiter II และอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง Dominator ครับ
Royal Thai Air Force's Pilatus PC-9 turboprop trainer aircraft from Flying Training School Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom province(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH serial 40107 and 40108, 401st Squadron, Wing 4 Takhli in Children's Day at Wing 4.(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/)
Thailand company's RV Connex unveiled Sky Scout-X unmanned combat aerial vehicle (UCAV) with two Thales's Freefall Lightweight Multirole Missiles (FFLMM) underwings for Royal Thai Air Force (RTAF) at Defense and Security 2019.
กองทัพอากาศไทยมีแผนที่จะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ จำนวน ๑๒เครื่อง วงเงิน ๕,๑๙๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($170,220,000) เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นมัธยม บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์
ปัจจุบันโรงเรียนการบินกำแพงแสน กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9 มากกว่า ๒๐เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ซึ่งบางเครื่องได้ถูกปลดประจำการแล้ว คาดว่าเครื่องบินฝึกแบบใหม่จะเป็นรูปร่างได้ราวปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ในงานแสดง Defense and Security 2019 ที่ผ่านมาก็มีหลายบริษัทสนใจเสนอเครื่องบินฝึกของตนแก่กองทัพอากาศไทย เช่น Leonardo M-346 อิตาลี, KAI KT-1 สาธารณรัฐเกาหลี และ Embraer EMB 314/A-29 Super Tucano บราซิล(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-pc-9.html)
รวมถึงโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น จำนวน ๒เครื่อง วงเงิน ๒,๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($80,190,000) ซึ่งน่าจะเป็นโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ระยะที่๓ จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี
โดยกองทัพอากาศไทยได้จัดหา บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี แล้ว ๑๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html) เมื่อรวมกับการจัดหาระยะที่๓ อีก ๒เครื่องจะเป็น ๑๔เครื่องอันเป็นจำนวนอัตราเครื่องบินในฝูงบินขับไล่โจมตีปัจจุบัน
ตรงนี้ทำให้เกิดข้อสังเกตว่ารายงานก่อนหน้าถึงโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙ F-16A/B วงเงิน ๕,๐๐๐ล้านบาท นั้นน่าจะเป็นการเข้าใจผิดที่สับสนกับ บ.ฝ.๑๙ PC-9 ตอกย้ำถึงความไม่น่าเชื่อถือของสื่อหลักของไทยที่ไม่รู้เรื่องทางทหารอะไรจริงๆเลยแต่ก็เอาไปเขียนเป็นตุเป็นตะ
ทั้งนี้ยังมีโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้น จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๒๒๓,๐๐๐,๐๐๐บาท($7,300,00), โครงการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศ จำนวน ๓เครื่อง พร้อมระบบสำรวจรังวัดความสูงภูมิประเทศแบบ LiDAR วงเงิน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($13,090,000)
ที่น่าจะเป็นอากาศยานรูปแบบเดียวกับเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๐ Diamond DA42 กับเครื่องบินตรวจการณ์และฝึก บ.ตฝ.๒๐ DA42 MPP(Multi Purpose Platform) ตามลำดับ และโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กติดอาวุธระยะที่๑ วงเงิน ๙,๐๐๙,๐๑๐บาท($294,605)
เข้าใจว่าน่าจะเป็นระบบอากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ทางยุทธวิธีแบบ Sky Scout-X UAS ของบริษัท RV Connex ไทยที่ติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ FreeFall Lightweight Multirole Missiles(FFLMM) ของบริษัท Thales Air Defence สหราชอาณาจักรครับ