วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Boeing สหรัฐฯมองเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7 รุ่นรบเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-5 และเครื่องบินโจมตี Alpha Jet

Boeing sees T-7 as combat replacement for Northrop F-5 and Dassault/Dornier Alpha Jet
Boeing T-7A


Dassault/Dornier Alpha Jet of the Royal Thai Air Force(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/permalink/4473608249323864/)



บริษัท Boeing สหรัฐฯเชื่อว่ารุ่นเครื่องบินโจมตีเบาของเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk ของตนจะสามารถทดแทนฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5 และเครื่องบินโจมตี Dassault/Dornier Alpha Jet ที่มีอายุการใช้งานมานานทั่วโลกได้
Boeing ได้ชี้ชวนการขายมายาวนานถึง "ศักยภาพการเติบโต" ของ T-7 โดยให้ข้อสังเกตว่าเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบนี้สามารถจะปรับแต่งให้ติดตั้งอาวุธเช่นอาวุธปล่อยนำวิถีหรือระเบิดเพื่อใช้งานในฐานะเครื่องบินรบ

Boeing สหรัฐฯได้กล่าวว่าตนเชื่อว่ามีโอกาสในตลาดนานาชาติสำหรับ T-7 จำนวน 2,600เครื่อง ในฐานะเครื่องบินฝึก, เครื่องบินโจมตีเบา และเครื่องบินข้าศึกสมมุติ

Boeing ซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ใน Chicago สหรัฐฯปฏิเสธที่จะกล่าวว่าประเทศใดบ้างที่จะเป็นผู้ซื้อ T-7 อย่างไรก็ตามบริษัทย้ำในการตอบสนองต่อคำถามจาก FlightGlobal ว่า
เครื่องบินรบขนาดเบาเช่น F-5 และ Alpha Jet จะเป็นตัวแทนที่ดีที่จะถูกทดแทนด้วย T-7 โดยอากาศยานทั้งสองแบบยังคงประจำการในฐานะเครื่องบินฝึกไอพ่นภายในหลายกองทัพอากาศทั่วโลก

มีเครื่องบินขับไล่ F-5 ราว 435เครื่องที่ยังประจำการทั่วโลกจากข้อมูลของ Cirium เครื่องบินขับไล่ขนาดเบานี้ถูกส่งมอบครั้งแรกในปี 1964 และยุติสายการผลิตในปี 1989 ตามข้อมูลจากบริษัท Northop Grumman สหรัฐฯ
ฝูงบิน F-5 ที่ยังคงประจำการทั่วโลกมีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ 41.4ปี โดยประจำการใน 17ประเทศรวมถึงบราซิล, เคนย่า, โมร็อกโก และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)

มีเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Alpha Jet ราว 174เครื่องที่ยังประจำการทั่วโลกตามที่ข้อมูลของ Cirium แสดง เครื่องบินไอพ่นขนาดเบาที่เป็นโครงการสร้างรวมกันของฝรั่งเศสและเยอรมนีทำการบินครั้งแรกในปี 1973 ตามข้อมูลจากบริษัท Dassault ฝรั่งเศส
ฝูงบิน Alpha Jet ที่ยังประจำการทั่วโลกมีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ 38ปี โดยประจำการใน 11ประเทศรวมถึงอียิปต์, ฝรั่งเศส, โมร็อกโก และกองทัพอากาศไทย

Boeing สหรัฐฯย้ำว่ามีโอกาสความเป็นไปได้สำหรับการขาย T-7 ในฐานะเครื่องบินฝึกหรือเครื่องบินรบที่น่าจะมาจากกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก "เราเห็นความสนใจอย่างแรงบางอย่างในภูมิภาคนี้"
Thomas Breckenridge รองประธานฝ่ายขายนานาชาติของแผนกธุรกิจระบบโจมตี, ตรวจการณ์ และความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่ของ Boeing กล่าว

Boeing และบริษัท Saab สวีเดนหุ้นส่วนโครงการได้รับสัญญาเพื่อสร้างเครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A Red Hawk จำนวน 351เครื่องสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) โดยเครื่องแรกมีกำหนดส่งมอบในปี 2023
เครื่องบินฝึกไอพ่น T-7A มีกำหนดจะบรรลุความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ในปี 2024 และความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operational Capability) ในปี 2034

การทดสอบ T-7A เครื่องต้นแบบ 2เครื่องกำลังดำเนินอยู่ โดยเสร็จสิ้นการบินมากกว่า 200เที่ยวบินแล้วในตอนนี้ Boeing ได้เริ่มต้นการสร้างเครื่องในรุ่น
การพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต (EMD: Engineering and Manufacturing Development) สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯแล้ว แต่ปฏิเสธว่าเมื่อไรที่เครื่องจะทำการบินครั้งแรก

เฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกลุ่มประเทศ ASEAN กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี จำนวน ๑๔เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเป็นมาตรฐาน F-5TH Super Tigris โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล 
ร่วมกับ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)

และกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ที่ ๑๔เครื่องจะได้รับการปรับปรุงความทันสมัยด้วยระบบ Avionic ห้องนักบิน Glass Cockpit และเครือข่าย Datalink Link-T โดยบริษัท RV Connex ไทย
ตามแผนสมุดปกขาว RTAF White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) กองทัพอากาศไทยมีแผนจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใหม่ ๑๒เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ครับ