วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๓-๖

Royal Thai Air Force's Dornier Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23 Udorn Thani.(Unknow Photo Source)

Royal Thai Air Force's Fairchild AU-23A Peacemaker 501st Squadron, Wing 5.(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/permalink/4207262125958479/)

Royal Thai Air Force's Pilatus PC-9 Flying Training School Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom province.(https://www.facebook.com/people/Krit-Surisukh/100004264301835)

Royal Thai Air Force's Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai.(Unknow Photo Source)

Thailand is preparing to set up its first defence industry estate, with the aim to support local programmes such as the upgrade of Royal Thai Air Force Northrop F-5 fighter aircraft (pictured).(Thanawat Wongsaprom)

 

Clip: Royal Thai Air Force, Smart Air Force with Purchase and Development Technology.
Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Thai Air Force Academy (NKRAFA) developing education and research defense weapons and equipments.
การพัฒนาระบบการศึกษาและการวิจัยยุทโธปกรณ์ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ New S-CURVE 11 เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรฐกิจ เป็นการค้นคว้าวิจัย เเละพัฒนาระบบโดยใช้บุคลากรจากในประเทศ เพื่อลดการพึงพาจากต่างประเทศ เเละยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาระบบการศึกษา พัฒนาคน เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือ New S-CURVE 12

วิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ที่กองทัพอากาศไทยได้เผยแพร่ทางสื่อสังคม Online ของตนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ได้เเปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการพัฒนา, ปรับปรุงความทันสมัย และจัดหาตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development หลายโครงการ
นอกจากโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานีเป็นมาตรฐาน F-5TH Super Tigris และโครงการพัฒนาอากาศยานรบไร้คนขับ RTAF U1-M แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html)
ยังรวมถึงการปรับปรุงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ๑๔เครื่อง และเครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A ฝูงบิน๕๐๑ กองบิน๕ ประจวบคีรีขันธ์ ๑๔เครื่องด้วยระบบ Avionic ห้องนักบิน Glass Cockpit และ Datalink Link-T โดยบริษัท อาร์ RV Connex ไทย

ตามแผนสมุดปกขาว RTAF White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ในปี ๒๕๖๓ นี้กองทัพอากาศจะเริ่มต้นโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ ๑๒ เครื่องทดแทน บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 โรงเรียนการบินกำแพงแสนที่จะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
โดยมีสามบริษัทคือ บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีที่น่าจะเสนอเครื่องบินฝึก KT-1, บริษัท Pilatus Aircraft สวิตเซอร์แลนด์ที่น่าจะเสนอเครื่องบินฝึก PC-21 และบริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯที่จะเสนอเครื่องบินฝึก Beechcraft T-6C Texan II
นอกจากที่จะต้องสนับสนุนการผลิตอากาศยานในไทยแล้ว เครื่องบินฝึกใหม่ยังจะต้องมีความเข้ากันได้ Common Fleet กับโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบาใหม่ ๑๒เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ด้วยครับ

Thailand’s CHO THAVEE PLC (CTV CHO) and Defence Technology Institute (DTI) and Bangkok Dock have teamed up to offer the Philippines a 90 m offshore patrol vessel (OPV), with a design similar to the Royal Thai Navy’s HTMS Krabi.


Austal Philippine Navy OPV, a design delivering the required capability and flexibility to meet future operational needs of the Philippine Navy.

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริหารโครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 
ระหว่าง พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) 
เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบบริหารโครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 6 ลำ ของกองทัพเรือประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อน 1 ใน 8 โครงการนำร่องอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ในปี 2563 
โดยมีพลเรือตรี เอก สารสาส กรรมการผู้จัดการบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เมื่อวันที่ 26 พ.ค.63

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือล่าสุดระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) กับ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน)(CHO THAVEE PLC) ในการเสนอ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ แก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) 
เป็นคืบหน้าล่าสุดหลังจากที่ DTI ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock) ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๓(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/bangkok-dock-dti-opv.html) ที่เป็นการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทย
แต่อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือ ตกก.ใหม่จำนวน ๖ลำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ แบบเรือ BAE Systems 90m OPV สหราชอาณาจักที่ไทยจะเสนอจะต้องแข่งกับแบบเรือของบริษัท Austal ออสเตรเลีย ที่มีประสบการณ์ในตลาดการสร้างเรือมากกว่าและถูกคาดว่าจะเป็นผู้ชนะโครงการครับ

The example of interchangeable barrel bullpup bolt-action sniper rifle in chambers .375 Cheyenne Tactical and .50 BMG cartridges include Desert Tech HTI (Hard Target Interdiction).
Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy announced to acquire 15 interchangeable barrel .375 CheyTac and .50 BMG sniper rifles for RTN's Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet.

โครงการจัดซื้อปืนซุ่มยิงแบบเปลี่ยนลำกล้อง ขนาด .375 Cheyenne Tactical(9.5x77mm) และขนาด .50 BMG(12.7x99mm) ในกระบอกเดียวกัน จำนวน ๑๕กระบอก สำหรับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.กร. โดย กรมสรรพาวุธทหารเรือ นั้น
เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติภารกิจการซุ่มยิงกับเป้าหมายบุคคลระยะใกล้ถึงเป้าหมายวัตถุระยะไกล และเตรียมกำลังสำหรับการปฏิบัติการสงครามพิเศษทางเรือ รวมทั้งปฏิบัติภารกิจในด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของกองทัพเรือ (หน่วยปฎิบัติการพิเศษกองทัพเรือ นปพ.ทร)
ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการจัดหาตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอน มีการเปิดเผยข้อมูลและโปร่งใส เพื่อจะได้ปืนซุ่มยิงสมรรถนะสูงที่มีคุณสมบัติตรงความความต้องการของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ(Royal Thai Navy SEALs)  มีปืนซุ่มยิงหลายแบบใช้งานในแต่ละภารกิจครับ

Chaiseri was displayed upgraded RTMC's AAVP7A1 at Defense and Security Thailand 2019.(My Own Photo)

NORINCO was displayed model of its wide range products include VN16 tracked amphibious assault vehicle and VN18 tracked infantry fighting vehicle at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.(My Own Photo)

People's Liberation Army Navy Marine Corps's ZTD-05 amphibious light tank during exercise Blue Strike 2016 with Royal Thai Marine Corps, Royal Thau Navy in Thailand.



ทร.จะซื้อยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกจากจีน? ....มีข่าวเล็ดลอดมาว่ากองทัพเรือไทยจะได้รับงบประมาณราว 405 ล้านบาท เพื่อจัดหายานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก 3 คัน ในเร็วๆนี้ 
ได้มีการคาดหมายว่าจะเป็นงป.สำหรับการจัดหายานเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกจากจีน ในตระกูล Type 05 ซึ่งเป็นรถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกจู่โจมติดปืนใหญ่ขนาด 105 มม. ZTD 05A และ รถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกรุ่นลำเลียงพลติดปืนกลอัตโนมัติขนาด 30 มม. ZBD 05 
ซึ่งทร.ให้ความสนใจมานานแล้ว อีกทั้งยังได้เห็นสมรรถนะและขีดความสามารถในการฝึก Blue Strike ในการฝึกกับทร.ไทยในปี 2559 และเป็นที่น่าสังเกตว่าในการฝึกทร.ในแต่ละปีจะมีรูปและข้อมูลของรถรุ่นนี้แสดงให้เห็นตลอดมา ...
ยังมีการคาดหมายว่าทร.จะจัดหา ZTD 05 ที่เปรียบเสมือนรถถังเบา มาทดแทนรถถัง แบบ 69-II ที่ปลดประจำการไปแล้ว และยังสามารถบรรทุกไปกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่สั่งต่อใหม่จากจีน เช่นเดียวกับ ZBD 05 สำหรับทหารนาวิกโยธิน 
โดยรถทั้ง 2 รุ่นนี้มีความเร็วในน้ำถึง 25 กม./ชม. ซึ่งนับว่าเร็วมาก สามารถปล่อยออกจากเรือยกพลขึ้นบกที่ลอยลำอยู่ในทะเลได้เป็นอย่างดี ...หรือว่าเรื่องนี้จะเป็นจริง ? 
แต่ถ้าดูงป. ก้อนนี้แล้วราคาจะพอๆกับยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกล้อยางแบบ R 600 8X8 ที่สร้างโดยบริษัทพนัส แอสเซมบลีย์จำกัด ถ้ามีการจัดหารถประเภทนี้จริงๆ น่าจะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันระหว่างรถของต่างประเทศกับรถที่สร้างในประเทศ น่าจะดีไม่น้อย 
นอกจากนี้ยังมีรถ AAV-7A1 ซึ่งเป็นรถมือสองจากสหรัฐฯแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ได้พิจารณาอีกด้วย ...Photo Sompong Nondhasa

ตามที่ Website ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง มีการประกาศถึงโครงการซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่๑ จำนวน ๓คัน โดย สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ กองทัพเรือไทย วงเงิน ๔๐๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($13,064,516) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓ นั้น
เป็นที่เข้าใจว่ายานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) จะถูกนำเข้าประจำการใน กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน ที่มีรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ประจำการอยู่แล้วราว ๒๔คัน ซึ่งมี ๓คันที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดย Chaiseri ไทย
อย่างไรก็ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ๒๕๖๓ ที่ต้องการยาน AAV รวม ๖คัน ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดใดๆว่าจะเป็นการจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 สหรัฐฯ หรือ KAAV สาธารณเกาหลี เสริมรถเดิม หรือเป็นยานเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกจู่โจม VN16 จีนที่มีการคาดเดากัน

การพัฒนากองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการเพื่อสนับสนุนหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินของกองทัพเรือไทยยังรวมถึงโครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E (LPD: Landing Platform Dock) ที่สมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register(LR) จะให้บริการการรับประกันและรับรอง
โดยสมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register สหราชอาณาจักรนั้นมีประวัติการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1760 ตั้งแต่สมัยเรือใบ มีความน่าเชื่อถือได้รับการยอมรับในวงการทางเรือระดับโลกรวมถึงกองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/lloyds-register-type-071e-lpd.html)
ซึ่งในนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ๒๕๖๓ ยังระบุถึงแผนการจัดหายานเบาะอากาศ(LCAC: Landing Craft Air Cushion) ๒ลำหรือยาน AAV ๖ยาน ที่ตามคุณสมบัติเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E รองรับยานเบาะอากาศ LCAC ในอู่ลอย(well-deck) ๔ลำด้วยครับ







Two of new three Sikorsky UH-60A Black Hawk (Refurbished) 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army during exercise Lightning Forge 2020 in Thailand.



ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากองทัพบกไทยได้มีการเผยแพร่ภาพของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60A Black Hawk(Refurbished) กองพันบินที่๙ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ถูกแนะนำให้กำลังพลของกองทัพรับชมและเข้าร่วมสนับสนุนการฝึก Lightning Forge 2020
โดย ฮ.ท.๖๐ UH-60A หมายเลข 3451, 3688 และ 3740 เป็น ๓เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงระบบเครื่องวัดที่มีการติดตั้งตามมาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) แล้ว ซึ่งจัดหามาตามโครงการแลกเปลี่ยนซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook จำนวน ๖เครื่อง
ฮ.ท.๖๐ UH-60A ในสีเขียวมะกอกอ่อนที่ยังไม่ได้ทำการเขียนอักษรหน่วยบินที่สังกัด น่าจะถูกนำมาเสริม ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60L จำนวน ๙เครื่อง และ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60M จำนวน ๓เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องสร้างใหม่จากโรงงานรวม ๑๒เครื่อง รวมเป็น ๑๕เครื่องใน กองพันบินที่๙ ครับ





Royal Thai Army's M41A3 light tanks include from 9th Cavalry Battalion, 4th Infantry Division transport to reserved at RTA Cavalry Center for decommissioning plan.

ตามแผนการปรับโครงสร้างกำลังเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยล่าสุด ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ ได้มีการพบเห็นการเคลื่อนย้ายรถถังเบา M41A3 ที่ส่วนหนึ่งมาจาก กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ ทางรถไฟ และรถบรรทุกพ่วงชานต่ำบนถนน
เป็นไปตามแผนก่อนหน้าที่ ม.พัน.๙ จะได้รับมอบรถถังเบา ถ.เบา.๓๒ Stingray จากกองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ โดย ม.พัน.๖ กำลังได้รับมอบรถถังหลัก VT4 ขณะที่ กองพันทหารม้าที่๒๑ ม.๖ พล.ม.๓ กำลังได้รับมอบ ถ.หลัก VT4 แทนรถถังหลัก M48A5 เช่นกัน
ซึง กองพันทหารม้าที่๘ กรมทหารม้าที่๗ พล.ม.๓ ก็ได้รับมอบ ถ.หลัก M48A5 จาก กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ได้รับรถถังหลัก Oplot-T แทน ถ.เบา M41A3 ครบไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) เช่นกัน 

ทำให้เหลือ กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ ที่จะรับมอบ M48A5 จาก ม.พัน.๒๑ แทนที่ ถ.เบา M41A3 เป็นกองพันทหารม้ารถถังหน่วยสุดท้ายที่จะใช้งานรถถังเบา M41A3 ที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๕(1962) รุ่นนี้(M41A3 ส่วนหนึ่งจาก ม.พัน.๙ จะโอนย้ายไปรวมที่ ม.พัน.๑๖)
โดย ถ.เบา M41A3 ส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาเก็บสำรองสงครามไว้ที่ ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร สระบุรี และ กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ตามแผนการปลดประจำการที่จะมีในอนาคตอันใกล้ 
แต่อย่างไรก็ตามแผนการจัดหารถถังหลักใหม่ทดแทน ถ.เบา M41A3 จำนวน ๒๐๐คัน เช่นการจัดหารถถังหลัก VT4(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/vt4.html) จะไม่ได้เป็นการแทนที่แบบ 1:1 เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณโดยเฉพาะการตัด งป.กลาโหมจาก COVID-19 ครับ




Royal Thai Army's Cadillac Gage V-100 Commando 4x4 armored car fitted new Kongsberg PROTECTOR Dual Remote Weapons Station (RWS) with M2 .50 caliber (12.7x99mm) heavy machine gun and FN MAG 7.62x51mm machine gun
trials live firing at Royal Thai Army Artillery Center Range involved by 1st Ammunition Depot, Ordnance Ammunition Depot Division, Ordnance Department, RTA and Defence Technology Institute (DTI).

การทดลองติดตั้งป้อมปืนอัตโนมัติ Protector Remote Weapon Station บนรถเกราะ V-100 แล้วดำเนินการทดสอบยิงอาวุธกลด้วยกระสุนจริง การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามกรอบระยะเวลา ตามที่ กองทัพบกกำหนด 
เกิดจากความสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจ เสียสละ ทุ่มเทของกำลังพล คลังแสง 1ฯ ทุกท่าน ขอเป็นกำลังใจให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนะครับ

จากวีดิทัศน์ประสัมพันธ์การทดลองติดตั้งป้อมปืนอัตโนมัติแบบ Kongsberg PROTECTOR Dual Remote Weapons Station (RWS) นอร์เวย์ บนรถเกราะล้อยาง Cadillac Gage V-100 Commando 4x4 กองทัพไทย
ที่มีการทดสอบการยิงปืนกล ปก.๓๘ FN MAG ขนาด 7.62mm ,ปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 .50cal(12.7x99) และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ STK 40 AGL ขนาด 40x53mm ณ สนามยิงปืนใหญ่ เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี ช่วงวันที่ ๒๒-๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๓
ดำเนินการโดย คลังแสงที่๑ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI มีส่วนร่วมในโครงการด้วย การติดตั้ง ประกอบ และทดสอบยิงโดยคนไทยภายในไทยจะสร้างความชำนาญและนำไปประเมินค่าเพื่อไปติดตั้งกับยานเกราะล้อยาน Stryker ต่อไปครับ