วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565

อินโดนีเซียจะไม่พัฒนาอากาศยานไร้คนขับ Elang Hitam UAV เป็นระบบทางทหารอีกต่อไป

Indonesia pulls plug on strike-capable military UAV programme



The Elang Hitam UAV seen here just before its first flight attempt. The programme has since been diverted for civil applications. (Source withheld)



อินโดนีเซียจะไม่พัฒนาโครงการอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude, Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Elang Hitam(Black Eagle 'อินทรีดำ') เป็นระบบทางทหารอีกต่อไป
ประธานสำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติอินโดนีเซีย(National Research and Innovation Agency,BRIN) Laksana Tri Handoko ยืนยันกับ Janes เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2022 ว่า

ทรัพยากรต่างๆจากโครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ Elang Hitam MALE UAV ซึ่งจะเป็นการติดอาวุธแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
ด้วยขีดความสามารถอากาศยานไร้คนขับโจมตีที่พัฒนาในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/uav.html) ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้งานในบทบาททางพลเรือนแทน

การยืนยันของเขาเป็นการยืนยันข้อมูลที่ได้ถูกส่งมอบให้ Janes โดยแหล่งข่าวภายในภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่กลางปี 2022 บ่งชี้ว่าอากาศยานไร้คนขับ Elang Hitam UAV อยู่ในความเสี่ยงที่จะเดินหน้าพัฒนาต่อในฐานะโครงการทางทหาร
ผลกระทบนี้ได้เป็นการยุติความปรารถนาของอินโดนีเซียในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน MALE UAV ภายในประเทศโดยประยุกต์ใช้งานทางทหาร 

ซึ่งโครงการ Elang Hitam MALE UAV มีรายชื่อเป็นหนึ่งใน 'โครงการทางยุทธศาสตร์' ของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย Joko Widodo ในฐานะเค้าโครงภายใต้คำสั่งประธานาธิบดีที่สาม(third Presidential Decree) ของปี 2016
กลุ่มกิจการค้าร่วมทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงการ Elang Hitam ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2017 นอกจากการเติมเต็มความต้องการที่มีมายาวนานของกองทัพอากาศอินโดนีเซียสำหรับอากายานไร้คนขับที่มีขีดความสามารถการโจมตีที่วางกำลังได้อย่างรวดเร็ว

อากาศยานไร้คนขับ Elang Hitam MALE UAV ยังเป็นระบบทดสอบสำหรับระบบควบคุมและทำการรบ(control-and-combat) อากาศยานไร้คนขับที่พัฒนาในอินโดนีเซียด้วย
กลุ่มกิจการค้าร่วมดังกล่าวประกอบด้วยกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย(Kemhan: Kementerian Pertahanan), กองทัพอากาศอินโดนีเซีย, PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซีย, 

PT Len Industri รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าอินโดนีเซีย, สถาบันการบินและอวกาศแห่งชาติอินโดนีเซีย(National Institute of Aeronautics and Space, LAPAN: Lembaga Penerbangan dan Antariksa Nasional),
สำนักงานการประเมินค่าและการประยุกต์ใช้วิทยาการอินโดนีเซีย(Agency for the Assessment and Application of Technology, BPPT: Badan Pengkajian Dan Penerapan Teknologi) และสถาบันเทคโนโลยี Bandung(Bandung Institute of Technology, ITB: Institut Teknologi Bandung) ครับ