วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๘




Lockheed Martin was displayed model of Royal Thai Air Force (RTAF) F-16V Block 72 Viper which upgrade from F-16A Block 15 OCU Fighting Falcon serial 10308 of 103rd Squadron, Wing 1 Korat at Defense and Security 2022.(My Own Photos)




Royal Australian Air Force (RAAF) Lockheed Martin F-35A Lightning II, German Air Force (Luftwaffe) Eurifighter Typhoon, Republic of Korea Air Force (RoKAF) Lockheed Martin KF-16D and Japan Air Self-Defense Force (JASDF) Mitsubishi F-2 have participated exercise Pitch Black 2022 for first time.




Chinese People's Liberation Army Air Force (PLAAF) J-10C, JH-7AII and KJ-500 AEW spotted over Wing 23 Udon Thani Royal Thai Air Force base in Thailand.
PLAAF's JH-7AII fighter-bombers have paticipated in Exercise Falcon Strike 2022 for first time during 14-25 August 2022 at Wing 23 RTAF base.



Commander in Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) was interviewed to Thailand local medias on 2 August 2022 for request appeal to Thai Parliament Committee on decided to cut RTAF's F-35A procument from Fiscal Year 2023 budget.
On 3 August 2022, Thailand Parliament Committee have final decision 45 yea, 22 nay and 1 abstain for approved 1st batch of 2 RTAF Lockheed Martin F-35A Lightning II, 
it reduce allocated on FY2023 budget to from $20.75 million to $10.2 million and if US Congress not grant sale, RTAF will be return its budget back to the Ministry of Finance of Thailand.

ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีนายวราเทพ รัตนากร รองประธาน กมธ.ทำหน้าที่ประธานได้พิจารณาในส่วนที่คณะอนุ กมธ.ครุภัณฑ์ และไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน 
ที่มีรายการพิจารณาการอุทธรณ์ของกองทัพอากาศ ที่ขออุทธรณ์งบประมาณ 369.1345 ล้านบาท จาก 738.2690 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 2 เครื่อง ระยะที่ 1 
โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับการอุทธรณ์ของ ทอ.ด้วยคะแนน 45 เสียง ต่อ 22 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง 
สรุปว่า กมธ.ชุดใหญ่อนุมัติให้จัดซื้อเครื่องบินโจมตี F-35A จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน 369.1345 ล้านบาทตามที่ ทอ.อุทธรณ์มา ...ขอแสดงความยินดีกับกองทัพอากาศด้วย..

หลังจากที่ในสิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) คณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ICT รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาไทยมีมติให้ตัดโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๒เครื่องออกจากงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
ต่อมากองทัพอากาศไทยได้ชี้แจงต่อสื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ และยื่นอุทธรณ์ในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ในที่สุดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ คณะกรรมาธิการงบประมาณ ๒๕๖๖ ก็มีมติเห็นชอบ๔๕เสียง ไม่เห็นชอบ๒๒เสียง และงดออกเสียง๑ ให้ผ่านโครงการจัดหา F-35A
โดยการจัดหา F-35A ระยะที่๑ ๒เครื่องผูกพันงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) ได้ถูกลดวงเงินในงบประมาณปี ๒๕๖๖ เหลือ ๓๖๙,๑๓๔,๕๐๐บาท($10.2 million) และถ้าสภา Congress สหรัฐฯไม่อนุมัติการขายให้ไทย กองทัพอากาศไทยจะคืนงบประมาณกลับให้กระทรวงการคลัง

นี่ยังไม่ใช่สัญญาณที่แสดงว่ากองทัพอากาศไทยจะสามารถจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ฝูงบิน๑๐๒(F-16A/B ADF) และฝูงบิน๑๐๓(F-16A/B Block 15 OCU) กองบิน๑ โคราข
แบ่งเป็น ระยะที่๑ งบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) จำนวน ๒เครื่อง วงเงิน ๗,๓๘๒,๐๐๐,๐๐๐บาท($203 million) ระยะที่๒ งบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๙-๒๕๗๑(2026-2028) จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๑๔,๖๒๘,๐๐๐,๐๐๐($403 million) 
และระยะที่๓ งบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๗๒-๒๕๗๕(2029-2032) จำนวน ๖เครื่อง วงเงิน ๒๑,๙๒๔,๐๐๐,๐๐๐บาท($604 million) รวมทั้งหมด ๔๓,๙๓๕,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,210 million) ได้สำเร็จแล้วแต่อย่างใด(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/f-35.html

ยังมีรายงานว่ากองทัพอากาศได้ร้องขอให้กองทัพอากาศสหรัฐฯส่งเครื่องบินขับไล่ F-35A เข้าร่วมการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2023 หรือการฝึกผสมไตรภาคี Cope Tiger 2023 กับสิงคโปร์ที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B คาดว่าจะมีการพิจารณาความเป็นไปได้ในราวเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ต่อจากนั้นทีมกองทัพอากาศสหรัฐฯมีกำหนดจะเดินทางมาเยือนไทยช่วงปลายปี ๒๕๖๕ ราวเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และรัฐบาลสหรัฐฯผ่านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯและสภา Congress สหรัฐฯคาดว่าจะพิจารณาอนุมัติความเป็นไปได้ในการขาย F-35 แก่ไทยราวเดือนมกราคม ๒๕๖๖
เป็นช่วงเวลาที่ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบัน พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของกองทัพอากาศผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใหม่จะดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆต่อไป

นับตั้งแต่ที่กองทัพอากาศไทยแสดงความปรารถนาของตนว่าต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เพื่อทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B โดยผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบันดำรงตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นักวิเคราะห์ตะวันตกจะมองตรงกันว่าเป็นไปไม่ได้ที่สหรัฐฯจะขายให้ไทย
เหตุผลก็ดูจะเป็นเช่นเดียวกับที่สหรัฐฯไม่ตอบสนองความต้องการของอินโดนีเซียที่แสดงความสนใจเครื่องบินขับไล่ F-35A และเสนอขายเครื่องบินขับไล่ F-15ID ให้แทน(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/f-15id.html) แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯอีกรายในภูมิภาค ASEAN
แต่อินโดนีเซียก็มีความสัมพันธ์ทางทหารและใช้อาวุธหลักจากรัสเซีย แม้ว่าอินโดนีเซียจะยกเลิกการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35SK รัสเซียเพื่อเลี่ยงการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/su-35.html) แต่นั้นก็ไม่เพียงพอที่สหรัฐฯจะอนุมัติการขาย F-35 ให้อยู่ดี

อินโดนีเซียเคยผ่านประสบการณ์ถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรกองทัพ แม้ว่าต่อมาจะมีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ อินโดนีเซียยังเลือกนโยบายที่จะจัดหาอาวุธจากหลายค่ายเพื่อลดความเสี่ยง เช่นเครื่องขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/rafale-6-2026.html)
รวมถึงการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-21 สาธารณรัฐเกาหลีซึ่งเป็นในรุ่น Block 2 จะเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ เต็มรูปแบบ แม้ว่าอินโดนีเซียจะมีปัญหาการจ่ายเงินทุนเพื่อเข้าร่วมโครงการมาระยะหนึ่งก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/kf-21.html)
นั่นทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าสหรัฐฯไม่ได้มองทั้งไทยและอินโดนีเซียเป็นพันธมิตรระดับเดียวกับสิงคโปร์ที่อนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35B ให้(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/rss-invincible-h225m-ch-47f-covid-19.html) ซึ่งเป็นสิ่งที่กองทัพอากาศไทยน่าจะทราบดีอยู่แล้ว

แม้ว่ากองทัพอากาศไทยจะมีกำลังรบเครื่องบินขับไล่โจมตีที่เป็นระบบตะวันตกล้วนทั้งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D รวมถึงการฝึกร่วมทางอากาศกับกลุ่มชาติตะวันตกทั้ง Cope Tiger กับสหรัฐฯและสิงคโปร์และ Pitch Black ที่ออสเตรเลีย
แต่กองทัพอากาศไทยก็มีการฝึกกับจีนเช่น Falcon Strike 2022 ล่าสุดที่กองบิน๒๓ ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนส่งเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7AII มาทำการฝึกในไทย แม้ว่าสหรัฐฯจะขอไม่ให้ไทยใช้ F-16 ฝึกกับจีนก็ตาม
โดยล่าสุดการฝึกผสมทางอากาศ Pitch Black 2022 ปีนี้กองทัพอากาศไทยดูเหมือนจะไม่ได้ส่งอากาศยานเข้าร่วมการฝึกเหมือนครั้งการฝึก Pitch Black 2016 ที่ส่ง บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ และการฝึก Pitch Black 2018 ที่ส่ง บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ ไปร่วมฝึก

เพราะการฝึก Pitch Black 2022 ปีนี้เป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศออสเตรเลียนำเครื่องบินขับไล่ F-35A ของตนเข้าร่วมการฝึก ขณะนาวิกโยธินสหรัฐฯก็ส่งเครื่องบินขับไล่ F-35B ร่วมฝึก เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon และเครื่องบินลำเลียง A400M กองทัพอากาศเยอรมนี 
เครื่องบินขับไล่ F-2 กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น และเครื่องบินขับไล่ KF-16C/D สาธารณรัฐเกาหลีที่เข้าร่วมการฝึกเป็นครั้งแรกด้วย ถ้าปีนี้กองทัพอากาศไทยไม่ได้ส่งอากาศยานร่วมฝึกก็เข้าใจได้ว่าเพราะไม่ถูกเชิญ และอาจจะคาดเดาคำตอบได้ว่าสหรัฐฯจะอนุมัติการขาย F-35A ให้ไทยหรือไม่ด้วย?
เห็นได้จากการจัดแสดงของบริษัท Lockheed Martin ในงาน Defense & Security 2022 ล่าสุดที่แสดงแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 72 Viper ที่ปรับปรุงจาก บ.ข.๑๙ F-16A Block 15 OCU หมายเลข 10308 ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช และเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules

ตามที่กองทัพอากาศไทยได้ทำการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ จำนวน ๑๘เครื่อง ซึ่งหนึ่งเครื่องเป็นเครื่องที่โอนย้ายมาจากฝูงบิน๑๐๓ การปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ในฝูงบิน๑๐๓ ให้เป็นมาตรฐาน F-16V น่าจะสามารถทำได้
อย่างไรก็ตามหลังการโอนย้ายเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ไปรวมที่ฝูงบิน๑๐๓ ตามแผนสมุดปกขาว 2020 กองทัพอากาศมีแนวทางที่จะทดแทน F-16A/B ในกองบิน๑ ด้วยเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ มากกว่าจะปรับปรุงเครื่องเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานไม่คุ้มค่าพอที่จะทำ
จากที่ผู้เขียนได้พูดคุยกับตัวแทน Lockheed Martin สหรัฐฯ แม้ว่าบริษัทอยากจะขาย F-35 รวมถึง C-130J ทดแทน บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ให้กองทัพอากาศไทย แต่ก็ต้องรอการตัดสินใจจากรัฐบาลสหรัฐฯก่อน ทว่าการให้สหรัฐฯบอกปฏิเสธว่าไม่ขายให้แน่ๆ ยังดีกว่าคนไทยมาขัดขวางกันเองครับ




Textron Aviation Defense was displayed model of Beechcraft AT-6TH Wolverine for Royal Thai Air Force at Defense and Security 2022.(My Own Photos) 8 of AT-6TH should be delivered to RTAF 411st Squadron, Wing 41 Chiang Mai in 2024
August 1st 2022 a T-6H Texan II built for the Royal Thai Air Force made a round trip from the Beachcraft factory to Amarillo Texas. The Royal Thai Air Force has a contract to buy 12 T-6H Texan II's and should be delivered between late 2022 and early 20223. 

ความคืบหน้าของการจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH Texan II ทดแทนเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9 โรงเรียนการบิน คือการพบภาพเครื่องหมายเลข 09 กำลังทำการทดสอบ ณ โรงงานอากาศยานของ Beachcraft ในเครือบริษัท Textron Aviation Defense ที่ Amarillo มลรัฐ Texas สหรัฐฯ 
ก่อนกำหนดการส่งมอบระหว่างปลายปี ๒๕๖๕ ถึงต้นปี ๒๕๖๖(2022-2023) เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH จะมีความทันสมัยพอสำหรับการฝึกศิษย์การบินให้พร้อมไปทำการบินกับเครื่องบินสมัยใหม่ที่รวมถึงเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ อย่าง F-35A ถ้าสภา Congress สหรัฐฯอนุมัติขายให้ไทย
แม้ว่าจะมีแบบแผนร่วมกับเครื่องบินโจมตีและฝึก บ.จฝ.๒๒ AT-6TH Wolverine และจัดซื้อตามนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในไทย แต่ก็ยังมีผู้ไม่หวังดีออกมาชี้นำอยู่ดีว่าสีเครื่อง T-6TH ไม่สวยเหมือนประเทศอื่น ทั้งๆที่ก็เป็นรูปแบบที่ใช้สำหรับเครื่องบินฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศ
(กรณีคัดค้านการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯยังพออ้างได้ว่าไม่สนับสนุนเพราะใช้เงินมากไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและยังไม่ทราบว่าสหรัฐฯจะขายให้หรือไม่ แต่เรื่องสีเครื่องบินฝึก T-6TH นี่เป็นการหาเรื่องกันชัดๆ ซึ่งพวกนี้ไม่ได้หวังดีหรอกแต่อยากให้ทหารอากาศไทยไปตายต่างหาก)

ในงาน Defense & Security 2022 ล่าสุด บริษัท Textron สหรัฐฯได้จัดแสดงแบบจำลองขนาดเล็กของเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ Beechcraft AT-6TH Wolverine กองทัพอากาศไทยติดตั้งกระเปาะปืนใหญ่อากาศ .50cal ระเบิดนำวิถี Laser และกระเปาะจรวดนำวิถีอากาศสู่พื้น laser
จากการพูดคุยกับตัวแทนของ Textron รูปแบบลายพรางโทนสีเทาที่เห็นบนตัวแบบจำลองนี้จะใกล้เคียงกับเครื่องจริง โดยได้เลือกรูปแบบลายนี้ว่าเหมาะสมกับกองทัพอากาศไทยมากกว่าของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่เป็นสีโทนเขียว(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/aeronet-at-6th.html)
บ.จฝ.๒๒ AT-6TH จำนวน ๘เครื่องที่สั่งจัดหาในปี ๒๕๖๔ จะเข้าประจำการใน ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ทดแทนเครื่องขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ปลดประจำการแล้วที่ใช้ลายโทนสีเทาเช่นกันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html)




Modernized Dornier Alpha Jet TH attack aircraft serial 23114 and 23112 of 231st Squadron, Wing 23 Udon Thani, Royal Thai Air Force was displayed on 9 August 2022.

กองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ และคณะหลักสูตร The Media รุ่นที่ ๒ เยี่ยมชมกิจการกองบิน ๒๓
พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ นำคณะคณะหลักสูตร The Media รุ่นที่ ๒ เยี่ยมชมกิจการกองบิน ๒๓ 
โดยมี นาวาอากาศเอก วิศรุต จันทประดิษฐ์ ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ และคุณประภาสิริ จันทประดิษฐ์ ประธานชมรมแม่บ้านทหารอากาศ กองบิน ๒๓ พร้อมด้วย รองผู้บังคับการกองบิน ๒๓ และเสนาธิการกองบิน ๒๓ ร่วมให้การต้อนรับ 
ในโอกาสนี้ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ร่วมเป็นเกียรติกล่าวต้อนรับคณะในนามจังหวัดอุดรธานี ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕




Multilateral partnerships!
The Royal Thai Air Force came to Japan to perform their own multilateral trainings. 
Thailand is part of the United Nations and Yokota Air Base is one of seven U.S. bases designated for joint United Nations Command - Rear use. (U.S. Air Force photo by Staff Sgt. Jessica Avallone)
สวัสดีตอนบ่ายและยินดีต้อนรับสู่ประเทศญี่ปุ่น! 
เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H หมายเลข 60108 ฝูงบิน๖๐๑ กองทัพอากาศไทยเดินทางถึงฐานทัพอากาศ Yokota ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อทำการฝึกร่วมกับมิตรประเทศในกองบัญชาการสหประชาชาติทั้ง ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ตุรกี และสหรัฐฯ








Closing ceremony of Exercise BALANCE TEAK/TORCH 2022 between Royal Thai Air Force (RTAF) and US Air Force (USAF) Security Forces and Special Opeartion Forces at Wing 23 Udon Thani RTAFB, Thailand during 16 July-5 August 2022.

พิธีปิดการฝึกผสม BALANCE TEAK/TORCH 2022 ระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
นาวาอากาศเอก ณัฏฐวุธ ดวงสูงเนิน ผู้อำนวยการกองการฝึกร่วมและผสม สำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการฝึกผสม BALANCE TEAK/TORCH 2022 ในส่วนของกองทัพอากาศไทย 
และ Colonel Mark Johnson ผู้ช่วยทูตทหารอากาศสหรัฐ/กรุงเทพฯ เป็นประธานร่วมในพิธีการฝึกผสม BALANCE TEAK/TORCH 2022 ระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา 
ระหว่างวันที่ ๑๖ กรกฎาคม - ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ หอประชุม กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี โดยมีเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไทย และเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมพิธีฯ
สำหรับการฝึกผสม BALANCE TEAK/TORCH 2022 เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยกำลังภาคพื้นในการป้องกันฐานบิน และการปฏิบัติการพิเศษ 
โดยมีการอบรมภาควิชาการการฝึกภาคพื้น และการฝึกภาคอากาศ




Members of the Australian Army’s 1 Brigade and members of the 2nd Infantry Battalion, 4th Infantry Regiment of the Royal Thai Army, participated in Exercise CHAPEL GOLD from 31 July – 10 August 2022. 
Exercise CHAPEL GOLD is an annual activity which builds military interoperability between the Australian Army and the Royal Thai Army. The bilateral training activity focuses on jungle warfare techniques and tactical procedures including close quarter battle training.






25th Exercise Land Ex Thamal 2022 between 5th Infantry Division, 4th Army Area, Royal Thai Army (RTA) and 5th Rejimen Sempadan Battalion, Malaysian Army at Kedah, Malaysia on 4-14 August 2022

ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5/ผู้บัญชาการกองกำลังเทพสตรี ตรวจเยี่ยมการฝึกผสมทางบก ไทย–มาเลเซีย และร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสมทางบก ไทย–มาเลเซีย ครั้งที่ 25
พลตรีวรเดช  เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5/ผู้บัญชาการกองกำลังเทพสตรีได้เดินทางพบปะพูดคุยสานสัมพันธไมตรีทางการทหารของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย พร้อมทั้งเดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกผสมทางบก ไทย–มาเลเซีย และมอบโอวาทให้กับกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกฯ
โดยการฝึกผสมทางบก  ไทย-มาเลเซีย ได้มีการกำหนดให้จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพระหว่างไทยกับมาเลเซีย เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการรบ รวมทั้งสานสัมพันธไมตรีทางการทหารของทั้ง 2 ประเทศซึ่งมีมายาวนาน กว่า 50 ปี
จากนั้นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5/ผู้บัญชาการกองกำลังเทพสตรี ได้ร่วมเป็นประธานฝ่ายไทย และ พล.ต.ดาโต๊ะ มูฮัมหมัด ฮูไซมี ซับบรี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 ฝ่ายมาเลเซียเป็นประธานร่วม  
ในพิธีปิดการฝึกผสมทางบก ไทย–มาเลเซีย ครั้งที่ 25 ประจำปี 2565 รหัส Land Ex Thamal  25/2022 ณ พื้นที่การฝึกฯ พัน.ชด.5 บูกิตกายูอิตัม ประเทศมาเลเซีย

Last week, Rear Adm. Jeff Jablon, Commander, Submarine Force U.S. Pacific Fleet, welcomed Adm. Somprasong Nilsamai, the Commander in Chief for the Royal Thai Navy, for a tour of USS Topeka (SSN 754) at Joint Base Pearl Harbor-Hickham.



GROTON, Conn (11AUG22). Congratulations to the International students for successful completion of the International Diesel Submarine Training Program. 
The Training program involves learning how to deal with casualty’s onboard submarines where they’re placed in situations and need to perform under stress to assess how they will perform under extreme pressure. 
These casualties include FIRE and FLOODING which are the two most likely events that will occur while onboard a submarine! Fantastic Job done by all! 
And a Special Thanks to LT Campbell for his part in leading this training and being an integral part of the success of the international students!
Fantastic job!!!




Royal Thai Navy (RTN) demonstrated Boeing Insitu RQ-21 Blackjack Unmanned Aerial System (UAS) to Admiral Samuel J.Paparo, Commander of the U.S. Pacific Fleet (COMPACFLT), U.S. Navy (USN) during visited Thailand on 20 August 2022.

โฆษกกองทัพเรือชี้แจงความคืบหน้ากรณีเครื่องยนต์เรือดำน้ำ

เมื่อวานนี้ (9 สิงหาคม 2565 ) เวลา 19.00 น. พลเรือโท ปกครอง  มนธาตุผลิน  โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยถึงความคืบหน้า การเจรจาระหว่างกองทัพเรือ กับ บริษัท CSOC เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องยนต์ประจำเรือดำน้ำ ตามโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ว่า   
ก่อนหน้านี้ทางกองทัพเรือได้เชิญบริษัท CSOC มาชี้แจงเครื่องยนต์ที่จะติดตั้งในเรือดำน้ำ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งการประชุมในครั้งนั้นทางบริษัทได้เสนอการติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 แทนเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 396 ของเยอรมันโดยทางบริษัทได้นำรายละเอียดของเครื่องยนต์ดังกล่าวมาเสนอให้กองทัพเรือพิจารณา ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น กองทัพเริอ ได้มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นข้อสงสัยในรายละเอียดของเครื่องยนต์ดังกล่าว 
โดยได้ขอให้ทางบริษัทกลับไปดำเนินการส่งข้อมูลตามที่กองทัพเรือ ต้องการภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2565  ซึ่งขณะนี้ทางบริษัท CSOC ได้ส่งข้อมูลดังกล่าวให้แล้ว และยังคงยืนยันที่จะเสนอเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 
โดยบริษัทได้ส่งข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตอบคำถามในประเด็นที่กองทัพเรือ ต้องการ รวมถึงได้เสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องยนต์ดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดด้านเทคนิคค่อนข้างเยอะ 
กองทัพเรือ จึงได้มอบหมายให้คณะทำงานด้านเทคนิคของ กองทัพเรือ ไปพิจารณาในรายละเอียดด้านเทคนิค โดยกำหนดให้ส่งข้อมูลการพิจารณาให้ทราบภายในวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อนำผลการพิจารณามาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจต่อไป

โฆษกกองทัพเรือ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเครื่องยนต์ MTU 396 ที่ระบุไว้ว่าจะติดตั้งในเรือดำน้ำตามข้อตกลงการจ้างสร้างเรือดำน้ำระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนนั้น เป็นเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อนำไปประจุไว้ในแบตเตอรี่ 
โดยเครื่องยนต์ดีเซลดังกล่าว จะเดินเครื่องในขณะที่เรือดำน้ำอยู่ในความลึกกล้องตาเรือหรือในขณะที่เรือดำน้ำอยู่บนผิวน้ำเท่านั้น โดยจะไม่มีการเดินเครื่องยนต์ดีเซลในขณะที่เรือดำน้ำกำลังดำอยู่ใต้น้ำที่ความลึกแต่อย่างใด 
กระแสไฟฟ้าที่ผลิตและเก็บไว้ในแบตเตอรี่นั้น จะนำไปใช้สำหรับเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเรือดำน้ำในขณะปฏิบัติการใต้น้ำ  รวมทั้งยังจะสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานสำหรับอุปกรณ์ และเครื่องจักรช่วยอื่นๆ ภายในเรือได้อีกด้วยเช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ เครื่องผลิตออกซิเจน เป็นต้น 

ในช่วงท้าย โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า "กองทัพเรือขอยืนยันต่อพี่น้องประชาชนอีกครั้ง ว่างบประมาณที่กองทัพเรือได้รับจะถูกใช้อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ 
แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำอาจจะมีอุปสรรคบ้างแต่ก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด และขอยืนยันว่าทุกโครงการที่กองทัพเรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ตามนโยบายของ พลเรือเอก สมประสงค์  นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ"

นายทหารจากกองทัพเรือไทยหนึ่งนายคือ นาวาโท พงศกร สมหมาย ได้สำเร็จการฝึกหลักสูตรเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้านานาชาติ(International Diesel Submarine course) ร่วมกับมิตรประเทศคือ โคลอมเบีย, เอกวาดอร์, สาธารณรัฐเกาหลี และอินโดนีเซีย ณ โรงเรียนเรือดำน้ำ กองทัพเรือสหรัฐฯ
กองทัพเรือไทยเป็นชาติเดียวในการฝึกที่ยังไม่มีเรือดำน้ำประจำการ ขณะที่ทั้งสี่ชาติต่างมีเรือดำน้ำประจำการแล้ว(Type 209 เยอรมนีเป็นส่วนใหญ่) และบางชาติคือสาธารณรัฐเกาหลีสามารถสร้างและออกแบบเรือดำน้ำในประเทศได้ ส่วนอินโดนีเซียสามารถประกอบเรือดำน้ำในประเทศได้
ด้านปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเรือดำน้ำ S26T นั้น CSOC จีนได้ขอเลื่อนที่จะให้คำตอบแก่กองทัพเรือไทยเป็นวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งดูจะไม่มีทางเลือกที่ต้องยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนเสนอมาแทน MTU 396 ไม่เช่นนั้นกองทัพเรือไทยจะไม่มีเรือดำน้ำสักลำ

ปัญหาที่เกิดเช่นเดียวกับปากีสถานดูจะหนักกว่าไทย โดยที่เยอรมนีไม่อนุญาตส่งมอบเครื่องยนต์ MTU 396 ให้เช่นกัน เพราะถ้ากองทัพเรือไทยไม่ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนเสนอมาแทน ก็คงต้องยกเลิกโครงการแค่เรือดำน้ำ S26T ลำเดียวแล้วก็กลับไปไปกองทัพเรือไม่มีเรือดำน้ำประจำการ
แต่สำหรับปากีสถานที่สั่งจัดหาเรือดำน้ำชั้น Hangor ๘ลำที่ ๔ลำแรกต่อในจีนและ ๔ลำหลังต่อที่ Karachi ปากีสถาน ถ้าปากีสถานไม่ยอมรับ ย.CHD 620 จีน กองเรือดำน้ำกองทัพเรือปากีสถานทั้งกองเรือจะหายไปเลย โดยหาเรือดำน้ำใหม่มาแทนได้ยากด้วยเพราะกำลังมีมีปัญหากับทางตะวันตก
กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทย อร.ทร. จะได้รับมอบเครื่องยนต์ CHD 620 ต้นแบบเพื่อทำการทดสอบรับรองว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งไม่ว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดหรือไม่ ถ้าผ่านและยอมรับเข้าสู่ขั้นตอนต่างๆจะทำให้การส่งมอบเรือดำน้ำ S26T ลำแรกล่าช้าเป็นปี พ.ศ.๒๕๖๘(2025) อยู่ดี

ในช่วงที่ผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบันดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔ และจะหมดวาระในสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ นี้จะเห็นได้ว่ากองทัพเรือไทยมีความร่วมมือกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่สำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากที่ก่อนหน้าถูกมองว่าหันไปให้ใกล้ชิดกับจีนและรัสเซีย
ตั้งแต่การรับมอบอากาศยานไร้คนขับ RQ-21A Blackjack อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/rq-21a-blackjack.html), การเดินทางเยือนไทยของรัฐมนตรีทบวงทหารเรือสหรัฐฯ Carlos Del Toro ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ การฝึกเรือดำน้ำดีเซล
ล่าสุด พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร.เดินทางเยือนสหรัฐฯและเยี่ยมชมเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Los Angeles ชื่อ SSN-754 USS Topeka และพลเรือเอก Samuel J. Paparo ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐภาคพื้นแปซิฟิก(COMPACFLT) เดินทางเยือนไทยเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ ครับ




Thailand's Shipbuilding company Marsun Public Company Limited was displayed model of its products include PGB-561 HTMS Laemsing patrol gun boat, M18 Fast Assault Boat, M36 Mk I Partrol Boat and M10 Riverine Patrol Boat 
at Defense and Security 2022. (My Own Photos)
new 2 Coastal Patrol Craft T.997-class (T.997 and T.998) for Royal Thai Navy still at Marsun shipyard due waiting for weapon fitting.

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ทั้งสองลำคือ เรือ ต.997 และเรือ ต.998 ที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/997.html) นั้นเดิมมีกำหนดการส่งมอบเรือแก่กองทัพเรือไทยภายในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔
อย่างไรก็ตามชุดภาพการทำงานที่อู่เรือบริษัท Marsun ไทยที่เผยแพร่ล่าสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ที่เห็นเรือ ต.997 และ เรือ ต.998 ทั้งสองลำถูกวางไว้ที่อู่แห้ง จะเห็นได้ตัวงาน fitting ตัวเรือหลักๆน่าจะเสร็จเกือบหมดแล้วยกเว้นแต่ยังไม่มีการติดตั้งอาวุธหลักเท่านั้น
ตามแผนเดิมเรือ ตกฝ.ชุดเรือ ต.997 ทั้ง ๒ลำจะเป็นเรือรบชุดแรกของกองทัพเรือไทยที่ติดตั้งปืนกล AK-306 30mm รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html) แต่จนถึงตอนนี้รัสเซียยังไม่มีการส่งมอบตัวปืนและระบบควบคุมการยิงให้กองทัพเรือไทยเพื่อนำมาติดตั้ง

จากการพูดคุยกับตัวแทนผู้บริหารของบริษัท Marsun ในงาน Defense & Security 2022 ผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ส่งผลทำให้งบประมาณกลาโหมของไทยถูกตัดลงลงมาต่อเนื่องหลายปีแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/covid-19.html)
ตามนโยบายกองทัพเรือไทยที่เน้นการซ่อมทำเรือที่มีอยู่ อู่เรือ Marsun ยังได้รับงานจากกองทัพเรือเช่นโครงการสร้างเรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำใหม่ ๔ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/marsun.html) และจากหน่วยงานรัฐอื่นเช่น ตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมประมง กรมเจ้าท่า เป็นต้น
สำหรับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 ทั้ง ๒ลำนั้น จากการพูดคุยกับ Marsun เพื่อให้เรือสามารถส่งมอบเข้าประจำการได้ กองทัพเรืออาจจะเปลี่ยนแบบปืนเรือจาก AK-306 ไปใช้ปืนแบบอื่นที่มีเก็บในคลังกรมสรรพาวุธทหารเรือมาติดตั้งแทน ซึ่งการดำเนินการยังบอกไม่ได้ว่าจะเสร็จเมื่อไรครับ




Special Operation Teams of Special Operations Craft Flotilla, Naval Special Warfare Command (NSWC), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy at RTN Third Naval Area Command (3rd NAC) on exercise SEACAT 2022 with U.S. Navy (USN) in Andaman sea and southern of Phuket, Thailand on 22 August 2022.
The Royal Thai Navy, will participate in the 21st iteration of the Southeast Asia Cooperation and Training (SEACAT) Exercise with 20 other countries.




Fleet Training Command (FTC), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) Surface warfare officer course for Fiscal Year 2022 on 23 August 2022 involved FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej and FFG-421 HTMS Naresuan guided missile frigates.

"The only easy day was yesterday"
วันเดียวที่ง่าย ก็คือเมื่อวาน
ทีมตรวจค้นเรือต้องสงสัย พร้อม !!  กับภาพของชุดปฏิบัติการพิเศษ กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 3 หรือ Navy Seal กำลังวางแผนเตรียมการขึ้นตรวจค้นเรือสินค้าต้องสงสัยในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อการฝึก SEACAT 2022