วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565

อินเดียขึ้นระวางประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ที่สร้างในประเทศลำแรก

India commissions Indigenous Aircraft Carrier



The Indian Navy's Indigenous Aircraft Carrier was commissioned as INS Vikrant on 2 September 2022. (Indian Navy)





กองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่สร้างในประเทศโครงการ Indigenous Aircraft Carrier(IAC) ในชื่อเรือบรรทุกเครื่องบิน R11 INS Vikrant
พิธีขึ้นระวางประจำการมีขึ้นในวันที่ 2 กันยายน 2022 โดยนายกรัฐมนตรีอินเดีย Narendra Modi ซึ่งยังมีการเปิดตัวธงนาวี(naval ensign) ใหม่ของกองทัพเรืออินเดียที่จัดขึ้น ณ สถานที่ของผู้สร้างเรือของโครงการอู่เรือ Cochin Shipyard Limited(CSL) อินเดีย

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ถูกวางกระดูกงูเรือโดยอู่เรือ CSL ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 และถูกปล่อยลงน้ำในเดือนมิถุนายน 2015 ถูกส่งมอบให้กองทัพเรืออินเดียในเดือนกรกฎาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/ins-vikrant.html)
หลังจากผ่าน "การทดลองเรือโดยผู็ใช้งานอย่างเข้มงวด" ที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/ins-vikrant.html) กล่าวโดยรัฐมนตรีกลาโหมอินเดียในสื่อที่เผยแพร่แสดงถึงการส่งมอบเรือ ซึ่งวันส่งมอบเรือช้ากว่ากำหนดการที่ตั้งไว้อย่างน้อย 6ปี

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant มีความยาวเรือรวม 262m โดยมีระวางขับน้ำปกติที่ราว 40,000tonnes ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ gas turbine แบบ General Electric GE LM2500 สี่เครื่อง 
และสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 28 knots เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant สมารถทำระยะการปฏิบัติการปกติได้ที่ 7,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ที่ 18knots

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ได้รับการออกแบบโดยมีระบบส่งอากาศยานขึ้นบินและทางวิ่ง ski-jump และถูกติดตั้งสำหรับการปฏิบัติการรับส่งอากาศยานแบบ STOBAR(Short Takeoff But Arrested Recovery)
INS Vikrant สามารถรองรับกองบินอากาศนาวีที่ประกอบด้วยอากาศยานถึง 30เครื่อง รวมถึงเครื่องบินขับไล่ MiG-29K และเฮลิคอปเตอร์อย่างเช่น เฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-31 และเฮลิคอปเตอร์ MH-60R

เพื่อปกป้องเรือจากภัยคุกคามระยะประชิด INS Vikrant ได้รับการติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนกลหกลำกล้องหมุน AK-630 ขนาด 30mm สี่แท่นยิง
และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Barak-8 ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างองค์การวิจัยและพัฒนากลาโหมอินเดีย(DRDO: Defence Research and Development Organisation) และบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอลครับ