วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2566

กองทัพอากาศไทย-สหรัฐฯ-สิงคโปร์ทำพิธีปิดการฝึกผสม COPE TIGER 2023

























Today marks the successful completion of Exercise Cope Tiger (XCT) 2023!
The closing ceremony was officiated by Chief of Air Force, Major-General Kelvin Khong, Commander-in-Chief of the RTAF Air Chief Marshal Alongkorn Vannarot and Mobilisation Assistant to the Commander of the Pacific Air Forces Major-General Erich Novak. 
Special thanks to all exercise participants for their dedication and hard work put into XCT this year and the กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force for graciously hosting us. 
See you next year!
: Sarah R Stanley and LCP Dylan Wong

Check out some more memorable Exercise Cope Tiger (XCT) 2023 moments captured on camera and stay tuned for our Highlights video - a wrap-up of this large-scale trilateral exercise
: Sarah R Stanley and LCP Dylan Wong



พิธีปิดการฝึกผสม COPE TIGER 2023 ณ กองบิน 1 จว.นครราชสีมา วันที่ 31 มี.ค.66

พิธีปิดการฝึกผสม COPE TIGER 2023 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 10.30 น. พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย Major General Kelvin Khong ผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ 
และ Major General Erich Novak ผู้ช่วยฝ่ายเตรียมความพร้อม ประจำผู้บัญชาการทหารอากาศสหรัฐอเมริกา ภาคแปซิฟิก ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสม COPE TIGER 2023 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการนำกำลังทางอากาศ จาก 3 ชาติ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก 
โดยพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน ได้แก่ การสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น 
การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธี โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน หน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึก และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม 
อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2023 ในครั้งนี้ เป็นการฝึกครั้งที่ 27 โดยมี นาวาอากาศเอก อนุรักษ์  รมณารักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2023 ฝ่ายไทย 
Colonel Maxmillion Goh เป็นผู้อำนวยการ กองอำนวยการฝึกผสม Cope Tiger 2023 ฝ่ายสาธารณรัฐสิงคโปร์ 
และ Colonel Paul Davidson เป็นผู้อำนวยการ กองอำนวยการฝึกผสม Cope Tiger 2023 ฝ่ายสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นแปซิฟิก 
และในการฝึกฯ ครั้งนี้ นอกจากกำลังพลและยุทโธปกรณ์จากกองทัพอากาศแล้ว ยังมีกำลังพลจากกองทัพบก กองทัพเรือ ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่จาก บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการฝึกฯ 

สำหรับกิจกรรมที่สำคัญในระหว่างห้วงการฝึกฯ มีดังนี้
- การประชุมวางแผนขั้นต้น (Initial Planning Conference : IPC) เมื่อวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2565 ณ จังหวัดนครราชสีมา 
- การประชุมวางแผนขั้นสุดท้าย (Final Planning Conference : FPC) เมื่อวันที่ 12 - 15 ธันวาคม 2565 ณ MOEC ฐานทัพเรือ Changi สาธารณรัฐสิงคโปร์ 
- พิธีเปิดการฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2023 ณ ฐานทัพอากาศ Paya Lebar สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 โดยมี พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานร่วมในพิธี
- การฝึกบินเพื่อทำความคุ้นเคยระหว่าง กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศสิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 - 15 มีนาคม 2566
- การฝึกแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์จำลอง (Table Top Exercise : TTX) เมื่อวันที่ 16 - 17 มีนาคม 2566 ณ กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี และกองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
- การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) ของการฝึกผสมโคปไทเกอร์ ประจำปี 2566 (Cope Tiger 2023) เมื่อวันที่ 20 – 30 มีนาคม 2566 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา 
กองบิน 2 สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล สนามฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก จังหวัดลพบุรี และกองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี

นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าร่วมการฝึกทั้ง 3 ประเทศ และประชาชนในพื้นที่การฝึกฯ ได้แก่ การจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ รวมถึงจัดให้มีการบริการด้านการแพทย์ 
โดยคณะแพทย์จากทั้ง 3 ประเทศ ในการตรวจรักษาโรคทั่วไป การบริการตรวจทันตกรรม การบริการตรวจวัดสายตา อีกทั้งยังมีนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มาช่วยในการซักประวัติคนไข้ รวมถึงการแปลภาษาอีกด้วย 
นอกจากนี้ยังมีการแสดงเครื่องบินบังคับวิทยุ การแสดงดนตรีของวงดุริยางค์ทหารอากาศ รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมระหว่างนักเรียนและผู้เข้าร่วมการฝึกจากกองทัพอากาศสิงคโปร์และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ภาคแปซิฟิก 
โดยมีกิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความวัฒนธรรมไทย ณ โรงเรียนบ้านหนองเป็ดน้ำ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 23  มีนาคม 2566
และโรงเรียนบ้านพุม่วง ตำบลวังเพลิง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 28  มีนาคม 2566

ระยะเวลากว่า 20 ปี การฝึกผสม COPE TIGER ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความพร้อมรบและการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธาณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา 
ความร่วมมือ ความไว้วางใจ และความเข้าใจซึ่งกัน ทำให้เพิ่มความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศที่แข็งแกร่งและมีส่วนสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค

การฝึกร่วมผสมทางอากาศ Cope Tiger 2023 ระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force), กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) อันเป็นการฝึกไตรภาคีทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ASEAN
ก็ได้เสร็จสิ้นลงตามพิธีปิดที่มีขึ้นเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ณ กองบิน๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมา(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/ftx-cope-tiger-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/03/f-15sg-f-16d-f-16cd-cope-tiger-2023.html)

โดยรวมการฝึกบูรณาการกับ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ.(Air Defense Command) กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
กองทัพอากาศไทยได้นำอากาศยานจำนวนมากเข้าร่วมเช่น เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU และ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช, เครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี,

เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northorp F-5/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี, เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี, 
เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW(Airborne Early Warning) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ และเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ Airbus Helicopters H225M(EC725) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม 

กองทัพอากาศสิงคโปร์นำเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle ฝูงบิน142(142 Squadron) และฝูงบิน149(149 Squadron), เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52 และ F-16D Block 52+ Fighting Falcon ฝูงบิน145(145 Squadron),
เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ Gulfstream G550 AEW ฝูงบิน111(111 Squadron), เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT(Multi Role Tanker Transport) ฝูงบิน112(112 Squadron) และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47F Chinook ฝูงบิน127(127 Squadron)

กองทัพอากาศสหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 40 ฝูงบินขับไล่ที่36(36th Fighter Squadron) กองทัพอากาศแปซิฟิก(PACAF: Pacific Air Forces) จากฐานทัพอากาศ Osan สาธารณรัฐเกาหลี ที่วางกำลังที่กองบิน๑ มาตั้งแต่การฝึก Cobra Gold 2023 ครับ