วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ข้อตกลงกลาโหมญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ส่งสัญญาณการมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งใน ASEAN

Japan, Singapore deal signals Tokyo's deeper ASEAN engagement







Both Japan and Singapore plan to acquire the Lockheed Martin F-35B short take-off and vertical landing (STOVL) aircraft. (Lockheed Martin Aeronautics)

ข้อตกลงการค้ากลาโหมใหม่ของญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ที่ลงนามในต้นเดือนมิถุนายน 2023 เป็นการบ่งชี้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นใน Tokyo กำลังพยายามที่จะขยายความสัมพันธ์ด้านยุทโธปกรณ์และวิทยาการกลาโหม กับกลุ่มประเทศทั่วภูมิภาค ASEAN เอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ยืนยันว่า ข้อตกลงใหม่ของญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ซึ่งมีชื่อว่าข้อตกลงการถ่ายทอดยุทโธปกรณ์และวิทยาการกลาโหม(Transfer of Defense Equipment and Technology Agreement) นั้น

ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาการสำรวจโอกาสที่จะร่วมมือเกี่ยวกับการวิจัย, การพัฒนา และการผลิตของขีดความสามารถการป้องกันประเทศ โฆษกของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นไม่ได้เปิดเผยภาคส่วนที่น่าจะมีความร่วมมือภายใต้ข้อตกลง
อย่างก็ตามส่วนเหล่านี้น่าจะรวมถึงวิทยาการต่างๆที่ไม่ใช่อาวุธเพื่อการสังหาร(non-lethal) ที่เกี่ยวกับ การรักษาความปลอดภัยทางทะเล, การลาดตระเวน, การตรวจการณ์, การสื่อสาร, การนำร่อง และการส่งกำลังบำรุง

ยังมีความเป็นควมร่วมมือจะมีคุณสมบัติขีดความสามารถการซ่อมบำรุง, ซ่อมแก้ และซ่อมใหญ่(MRO: Maintenance, Repair and Overhaul) เครื่องบินขับไล่
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) วางแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II จำนวน 147เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/f-15j-f-35b.html)

F-35 ของญี่ปุ่นมีผสมกันด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing) และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Take-Off Vertical Landing)(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35b-izumo.html
สิงคโปร์วางแผนจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/f-35b-stovl.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35b-8.html)

ข้อตกลงทวิภาคีใหม่ระบุว่าญี่ปุ่นและสิงคโปร์จะสร้างความพร้อมต่อแต่ละฝ่ายในด้านยุทโธปกรณ์และวิทยาการกลาโหมที่ "มีความจำเป็นในการดำเนินการ" ในโครงการร่วมต่างๆ
เสริมว่า "โครงการดังกล่าวเหล่านั้นอาจจะเป็นเพื่อการส่งเสริมต่อสันติภาพและความมั่นคงนานาชาติ, โครงการวิจัย พัฒนา และผลิตร่วม หรือการเพิ่มขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ"

ภายใต้ข้อตกลงทั้งสองประเทศจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อจะกำหนดโครงการความร่วมมือต่างๆ ข้อตกลงซึ่งดำเนินการขั้นต้นเป็นระยะเวลา 5ปีก่อนที่จะมีตัวเลือการขยายเวลาออกไป ยังห้ามประเทศต่างๆจากการแบ่งวิทยาการที่พัฒนาร่วมกันใดๆกับบุคคลที่สาม(third party) ด้วย
ข้อตกลงนี้ทำให้กองทัพสิงคโปร์(SAF: Singapore Armed Forces) มีตัวเลือกมากขึ้นที่จะตรงความต้องการฝึกและการปฏิบัติการของตน หลายประเทศใน ASEAN รวมถึงไทยยังได้ลงนามข้อตกลงนี้กับญี่ปุ่นด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/blog-post.html)