วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เกาหลีใต้ทำพิธีปล่อยเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado ใหม่ลงน้ำ

South Korea's HHIC Launched V-22 Capable LPH Marado for ROK Navy


Launch ceremony for the second Landing Platform Helicopter (LPH) amphibious assault ship 'Marado' of the ROK Navy. DAPA picture
http://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/may-2018-navy-naval-defense-news/6219-south-korea-s-hhic-launched-v-22-capable-lph-marado-for-rok-navy.html









DAPA press for LPH-6112 Marado
https://www.facebook.com/dapa.Korea/posts/1763144190411752

สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration), กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) และบริษัทอู่ต่อเรือ Hanjin Heavy Industries and Construction(HHIC) ใน Yeongdo, Busan สาธารณรัฐเกาหลี
ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LPH: Landing Platform Helicopter) ลำใหม่ LPH-6112 Marado เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา

เมื่อเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado เข้าประจำการในปี 2020 จะเป็นเรือ LPH ชั้น Dokdo ลำที่สองของกองทัพเรือเกาหลีใต้ต่อจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6111 Dokdo ที่เป็นลำแรกของชั้น
โดยพิธีปล่อยเรือลงน้ำนั้นได้มีแขกผู้มีเกียรติร่วมงานเช่น รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Song Young-moo และ พลเรือเอก Um Hyun-seong ผู้บัญชาการทหารเรือกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี

ในเดือนตุลาคม 2010 รัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลีใต้ตัดสินใจอนมัติการสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ลำที่สอง
ต่อมาหลังจากที่มีการชะลอการตัดสินใจของรัฐบาลเกาหลีใต้มาหลายครั้ง เมื่อ 23 ธันวาคม 2014 DAPA เกาหลีใต้ได้ลงนามสัญญากับบริษัท HHIC วงเงิน 417.5 billion Korean Won($380 million) เพื่อการสร้างเรือ LPH ลำที่สองนี้

HHIC เกาหลีใต้ได้เสร็จสิ้นการทบทวนการออกแบบทางเทคนิคของเรือในเดือนมีนาคม 2016 และทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในเดือนพฤศจิกายน 2016 เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado ได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2017
โดยอู่เรือ HHIC เป็นผู้ออกแบบและสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6111 Dokdo ที่เข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2007

LPH-6112 Marado มีพื้นฐานจากเรือ LPH ชั้น Dokdo โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาคุณสมบัติหลายประการของเรือให้สูงยิ่งขึ้น "Marado มีพื้นฐานที่เหมือนกับ Dokdo แต่ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้น" เจ้าหน้าที่ของ DAPA เกาหลีใต้กล่าว
ตามข้อมูลจาก DAPA เรือ LPH Marado ติดตั้ง Radar นำร่องใหม่, อุปกรณ์ตรวจจับ Infrared และ Radar ตรวจการณ์ 3D(ในตำแหน่งของ Radar แบบ Thales SMART-L บนเรือ LPH Dokdo) ซึ่งทั้งหมดพัฒนาในเกาหลีใต้

กองทัพเรือเกาหลีใต้ยังได้กล่าวถึงระบบป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำบนเรือด้วย "ระบบอาวุธยุทโธปกรณที่พัฒนาในประเทศ เช่น Radar นำร่อง, ระบบป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถี และระบบอำนวยการรบที่พัฒนาขึ้นจะได้รับการติดตั้งในเกาหลี
ขีดความสามารถด้านการตรวจจับเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศยังได้เพิ่มขึ้นโดยการติดตั้ง Radar ป้องกับภัยทางอากาศแบบตรึง นอกจากนี้อุปกรณ์และส่วนประกอบหลักเช่น ใบจักรและ lift ยังถูกผลิตในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้มาก" เอกสารประชาสัมพันธ์กล่าว

ดาดฟ้าบินของเรือ LPH-6112 Marado ยังถูกปรับแต่งให้สามารถรองรับการปฏิบัติการของอากาศยานใบพัดกระดก Bell Boeing V-22 Osprey สหรัฐฯ ซึ่งภาพวาดประชาสัมพันธ์จาก DAPA แสดงถึงภาพเรือที่มี V-22 Osprey บนดาดฟ้าเรือ
ระบบอาวุธของเรือ LPH Marado ที่ปรากฎจะมีระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน  Raytheon Phalanx 20mm 2ระบบที่หัวเรือ 1ระบบ และท้ายเรือ 1ระบบ

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado มีความยาวตัวเรือ 199m กว้าง 31m ระวางขับน้ำ 14,500tons มีความเร็วสูงสุด 23knots พิสัยทำการไกลสุด 10,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots และมีกำลังพลประจำเรือ 300นาย
สามารถบรรทุกทหารราบนาวิกโยธินพร้อมเครื่องสนามเต็มอัตราได้ 720นาย, รถถังหลัก 10คัน, รถยนต์บรรทุก 10คัน, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7 7คัน และปืนใหญ่อัตตาจร 3ระบบ

อู่ลอย(Well-Deck)ในตัวเรือ รองรับเรือระบายพลขนาดใหญ่ LCU(Landing Craft Utility) 2ลำ หรือยานเบาะอากาศ LCAC(Landing Craft Air Cushion) 2ลำ สำหรับการบรรทุกทหารและยานพาหนะทุกประเภทออกจากอู่ลอยท้ายเรือเพื่อยกพลขึ้นสู่ฝั่ง
โรงเก็บอากาศยานใต้ดาดฟ้าเรือสามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ 15เครื่อง รวมถึง V-22 จำนวนหนึ่ง ดาดฟ้าบินบนเรือสามารถรองรับปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ที่มีประจำการในกลุ่มชาติสมาชิก NATO ได้ทุกแบบพร้อมกันสูงสุด 5เครื่อง

จะเห็นได้ว่า LPH-6112 Marado มีคุณสมบัติเรือใกล้เคียงกับ LPH-6111 Dokdo เดิม ยกเว้นระบบอุปกรณ์และระบบอาวุธเช่นเรือ LPH Dokdo ติดปืนใหญ่กลเจ็ดลำกล้องหมุน Goalkeeper CIWS 30mm และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ RIM-116 RAM ความจุ 21นัด
"เรือ Marado ได้สะท้อนถึงการพัฒนาของ Technology ทางทหารของเกาหลีใต้ ด้วยการใช้ Technology ของเกาหลีใต้สำหรับอุปกรณ์บนเรือที่มากที่สุด เราคาดว่านี่จะยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลง" กองทัพเรือเกาหลีใต้และ DAPA แถลงครับ