วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กองทัพบกไทยใกล้บรรลุผลการเจรจาข้อตกลงการสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในประเทศกับยูเครน

Thailand closer to BTR-3E1 production deal with Ukraine
Thailand is looking to produce the BTR-3E1 locally under an agreement with Ukraine. Source: Ukrspecexport
http://www.janes.com/article/55716/thailand-closer-to-btr-3e1-production-deal-with-ukraine

นอกจากการเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง Black Widow Spider ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน Defense & Security 2015 แล้ว
Jane's ยังได้รายงานข่าวล่าสุดว่าไทยและยูเครนกำลังใกล้จะเสร็จสิ้นการเจรจาในข้อตกลงการสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 แบบ BTR-3E1 เองในประเทศไทย

เจ้าหน้าที่อาวุโสของ Ukroboronprom หน่วยงานรัฐวิสาหกิจของยูเครนที่รับผิดชอบด้านการผลิตและส่งยุทโธปกรณ์ได้กล่าวต่อ Jane's ว่า
กองทัพบกไทยมีแผนที่จะจัดหารถเกราะล้อยาง BTR-3E1 อีกเป็นจำนวนมากหลังจากที่ได้จัดหาไปแล้วหลายร้อยคันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
โดยทางยูเครนได้เสนอแผนระยะยาวเป็นสามขั้นตอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้ไทยสามารถเปิดสายการผลิตรถเกราะ BTR-3E1 ได้เองในประเทศอย่างสมบูรณ์
และพร้อมที่จะให้ไทยสามารถส่งออกรถเกราะ BTR-3E1 ให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย

รถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ออกแบบโดย KMDB(Kharkov Morozov Machine Design Bureau) และผลิตที่โรงงาน Kyiv Armor Factory
เฉพาะในส่วนของกองทัพไทยนั้นได้สั่งจัดหารถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ทั้งรุ่นรถรบทหารราบ และรุ่นอื่นๆ สองระยะในปี 2008(พ.ศ.๒๕๕๑) และปี 2011(พ.ศ.๒๕๕๔) รวมมากกว่า ๒๒๐คัน
ซึ่งรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ได้ถูกนำเข้าประจำการใน กองพันทหารราบที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์
เพื่อแปรสภาพของสองกรมทหารราบที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ให้เป็นกองพลทหารราบยานเกราะเต็มสมบูรณ์ทั้งกองพล
เช่นเดียวกับกรมทหารราบที่๑๒ รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นกรมทหารราบยานเกราะที่ใช้รถสายพานลำเลียง M113 เป็นยุทโธปกรณ์หลัก

แต่ทว่าเนื่องจากสถานการณ์สงครามภายในยูเครนหลังจากที่รัสเซียผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass ตั้งแต่ปี 2014
ทำให้อุตสาหกรรมอาวุธของยูเครนได้รับผลกระทบที่จะต้องผลิตและซ่อมคืนสภาพอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กองกำลังความมั่นคงของยูเครนที่สูญเสียจากการรบเป็นหลัก
จึงเป็นผลให้การผลิตอาวุธเพื่อส่งออกต่างประเทศทั้งรถเกราะ BTR-3E1 และ รถถังหลัก Oplot ของกองทัพบกไทยนั้นมีความล้าช้าขึ้นมาก
การที่ยูเครนได้เสนอที่จะถ่ายทอด Technology เพื่อเปิดสายการผลิตรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ให้ไทยจึงนับเป็นแนวทางแก้ปัญหาของทั้งยูเครนและกองทัพบกไทย
เริ่มจากขั้นแรกเป็นการประกอบด้วยชุดประกอบ Kit ที่ผลิตจากโรงงานในยูเครนจัดส่งมามาทำการประกอบในไทย เมื่อประสบความสำเร็จก็จะให้ไทยสร้างส่วนประกอบและการประกอบย่อยของรถเองเพิ่มเติม
และขั้นสุดท้ายคือการสร้างและประกอบรถใหม่ได้ทั้งคันในไทย ยกเว้นบางชิ้นส่วนที่ต้องนำเข้าเช่น เกราะ ระบบอาวุธ และเครื่องยนต์ MTU จากเยอรมนีเป็นต้น
"เราหวังว่าจะมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือในเร็วๆนี้" เจ้าหน้าที่ของ Ukroboronprom กล่าว

อย่างไรก็ตามภายในก่อนสิ้นปี 2015(พ.ศ.๒๕๕๘) นี้ มีข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวของยูเครนที่ไม่ระบุตัวตนว่า กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถเกราะ BTR-3E1 ชุดใหม่เพิ่มแล้ว
อีกทั้งในโครงการเปิดสายการผลิตรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในไทยเองนั้นก็ไม่ได้มีแนวทางที่จะเชิญภาคเอกชนของไทยเข้าร่วมโครงการด้วย
โดยหลักจะเป็นการที่ยูเครนจะให้สนับสนุนการฝึกอมรบและถ่ายทอด Technology ให้เจ้าหน้าที่ของกองทัพบกไทยในการผลิตรถได้ด้วยตนเองเป็นหลักครับ