Royal Thai Navy Submarine Maintenance and Shipbuilding Facilities project at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard for support Chinese's S26T
Potential of Mahidol Adulyadej Naval Dockyard to building second new Tachin class Frigate by Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering South Korea's technology transfer in Thailand
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตรวจเยี่ยมหน่วยงานของกองทัพเรือ สายงานด้านการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อใช้ในราชการและการพาณิชย์
วันนี้ (6 มีนาคม 2560) เวลา 08.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยงานของกองทัพเรือ สายงานด้านการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือให้การต้อนรับ
การเดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยงานกองทัพเรือ สายงานด้านการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความก้าวหน้าในการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพเรือด้านการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์
โดยเฉพาะขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง/ผลิต วิจัยและพัฒนาของกองทัพเรือ ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมกับภาคเอกชน และ กระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ เพื่อไปสู่การพึ่งพาตนเอง และเพื่อการพาณิชย์ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรงวงกลาโหม
โดยในวันนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้นำรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชมการดำเนินการของกองทัพเรือ ในสายงานด้านการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ประกอบด้วย การซ่อมเรือ การซ่อม อากาศยาน การซ่อมสรรพาวุธ และการซ่อมรถยนต์สงครามชนิดรบ
รวมถึง การเตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำ ที่จะมีเข้าประจำการในอนาคต ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา ที่ กองทัพเรือได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ เพื่อนำมาใช้งานใน กองทัพเรือ และแก้ปัญหาให้กับหน่วยในลักษณะพึ่งพาตนเอง ลดภาระการนำเข้าจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะวัสดุที่ใช้งานมาก มีความสิ้นเปลือง และมีราคาสูงได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากพันธมิตรด้านการวิจัยทั้งภาครัฐและ เอกชน
ซึ่งในวันนี้กองทัพเรือได้นำโครงการวิจัยที่เตรียมเข้าสู่สายการผลิตเพื่อนำมาใช้งานในกองทัพเรือที่สำคัญมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและคณะ ได้ชมการสาธิตประกอบด้วย
โครงการเครื่องบินทะเลขนาด ๒ ที่นั่ง ซึ่งได้รับทุนวิจัย ๒ แบบ คือ แบบปีกชั้นเดียวและปีก ๒ ชั้น ซึ่งแบบปีกชั้นเดียวได้ผ่านการทดสอบการบินประมาณ ๒๐๐ ชั่วโมง โดยขณะนี้ได้รับงบประมาณ ในการสร้างเพื่อเข้ากระบวนการรับรองมาตรฐานร่วมกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และอากาศยานไร้นักบินปีกนิ่งขึ้น-ลงทางดิ่ง แบบ FUVEC (Fixed-wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยเพื่อนำมาใช้ในการตรวจการณ์ทางอากาศ และ พิสูจน์ทราบเป้าหมายระยะไกล
สำหรับโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่สำคัญได้แก่
โครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก, โครงการวิจัยเรือปฏิบัติการผิวน้ำไร้คนขับ, จรวดหลายลำกล้องนำวิถีแบบติดตามเป้าหมายสำหรับภารกิจต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และยานเกราะล้อยางสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของนาวิกโยธิน
ทั้งนี้ กองทัพเรือมีความพร้อม ในการดำเนินการตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับ ภาคเอกชน และกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และเพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มที่ทั้งนี้
เพื่อดำเนินการตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1449072565144095
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยนั้นคือการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเรือดำน้ำที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ประกอบด้วย
พื้นที่ระบบยกเรือทางดิ่ง(Shiplift area) 50x125m ยืนไปในทะเลmที่มีน้ำลึก 13.5m, พื้นที่สำหรับซ่อมบำรุงเรือดำน้ำขนาด ๔๐.๗๘ไร่ และโรงซ่อมเรือดำน้ำขนาด 50x100x25m,
ทางเลื่อนเรือความยาว 340m, เครน, รถยกสำหรับซ่อมทำตัวเรือแนวใต้น้ำ, เครื่องแล่นประสานท่อต่างๆ, เครื่องมือทำความสะอาดและทาสีตัวเรือ, อุปกรณ์เกี่ยวกับ Bettery และ ฯลฯ ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงราว ๓ปี
ทั้งหมดนี้น่าจะรวมถึงการรองรับโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก ที่เป็นโครงการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กแบบใหม่ต่อจากโครงการสร้างยานใต้น้ำที่เคยพัฒนาทดสอบมาแล้วตามที่ได้เคยนำเสนอไปก่อน
กองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือดำน้ำจำนวน ๓ลำ เพื่อใช้ในการปฎิบัติการในทะเลอ่าวไทย ๑ลำ ปฏิบัติการในทะเลอันดามัน ๑ลำ และซ่อมบำรุงตามวงรอบ ๑ลำ
โดยนอกจากอู่ซ่อมบำรุงเรือดำน้ำที่อู่มหิดล ๑แห่งแล้ว ยังมีแผนที่จะสร้างอู่ซ่อมบำรุงเรือดำน้ำอีก ๒แห่ง คืออู่ในอ่าวที่มีภูเขากำบังพื้นที่อำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรีเพื่อรักษาความลับ
และอู่เรือดำน้ำทีฝั่งทะเลอันดามันที่จังหวัดพังงา หรือจังหวัดกระบี่ เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการในเขตกองทัพเรือภาคที่๓ รวมอู่ซ่อมบำรุงเรือดำน้ำในไทยทั้งหมด ๓แห่ง
ตามข้อมูล่าสุดกองทัพเรือได้จัดทำเอกสารของอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำเสร็จแล้ว มีการเจรจาหาข้อยุติข้อตกลงกับ CSOC (China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.) สาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
มีการผ่านการอนุมัติงบประมาณโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช. ไปแล้ว เหลือแต่เพียงเสนอให้กระทรวงกลาโหมและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนต่อไป
แต่ทั้งนี้ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ ๗ มีนาคมที่ผ่านมายังไม่มีการเสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๔๘๑,๘๖๓,๘๐๐บาท($379 millon) แต่อย่างใด
โดยถ้ายังไม่มีการอนุมัติโครงการเรือดำน้ำภายในเดือนมีนาคมนี้ ก็เป็นไปได้มากว่าจะไม่ทันการใช้วงรบการใช้เงินงบประมาณใน งป.๒๕๖๐(2017) และอาจจะทำให้กองทัพเรือต้องพักโครงการรอต่อไปอีกนาน จากแผนที่จะได้รับมอบลำแรกภายใน ๖ปี
โครงการพัฒนาพื้นที่ของอู่มหิดลฯใหม่นี้ยังมีแผนที่จะขยายขีดความสามารถในการรองรับซ่อมบำรุงเรือที่มีอยู่และการสร้างเรือใหม่เพิ่มขึ้นอีก
โดยเฉพาะโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒ ต่อจาก ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ที่จะสร้างในไทย โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีอีกด้วย
โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ระยะที่๑ คือ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) นั้นเพิ่งจะถูกปล่อยลงน้ำไปเมื่อ ๒๓ มกราคม ที่ผ่านมาที่อู่ DSME เกาหลีใต้ตามที่ได้รายงานไป (aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_23.html)
ซึ่งโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ระยะที่๑ ที่จะดำเนินการสร้างในไทยนั้นอาจจะได้รับพระราชทานนามชื่อเรือว่า ร.ล.ประแส(ลำที่๓) หรือ ร.ล.แม่กลอง(ลำที่๒) อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นการต่อยอดการพัฒนาสร้างเรือรบในประเทศที่มีสมรรถนะสูงกว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.กระบี่ ที่เข้าประจำการแล้ว และ ร.ล.ตรัง (BAE Systems 90m Offshore Patrol Vessel)ที่กำลังดำเนินการสร้างอยู่ไปอีกขั้น
นอกจากนี้กองงทัพเรือยังมีโครงการวิจัยพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนเองอื่นๆอีกมาก เช่น
โครงการเครื่องบินทะเล, อากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบปีกหมุนสี่ใบพัดนารายณ์, แปดใบพัดองคต, DTI RTN KSM150 และปีกตรึงขึ้นลงทางดิ่ง FUVEC และยานผิวน้ำไร้คนขับ(USV: Unmanned Surface Vehicle)
โครงการที่พัฒนาร่วมร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท.(DTI: Defence Technology Institute) เช่น
จรวดหลายลำกล้องนำวิถีสำหรับหน่วยต่อสู้อากาศยานรักษาฝั่ง สอ.รฝ.ที่พัฒนาจาก DTI-1G และรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกสำหรับหน่วยนาวิกโยธิน นย.ที่พัฒนาจาก Black Widow Spider 8x8
ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ากองทัพเรือไทยเป็นเหล่าทัพที่มีศักยภาพและองค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์พึ่งพาตนเองภายในประเทศไทยอย่างก้าวหน้ามั่นคงสูงสุด ลบล้างข้อครหาที่ไร้เหตุผลสิ้นเชิงว่ากองทัพเรือซื้ออาวุธอย่างเดียวไม่สร้างเองใช้เองครับ