วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ยูเครนยังคงเสนอยานเกราะล้อยาง BTR-4E และส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ครบในปี 2018 แก่กองทัพบกไทย

Defence & Security 2017: Ukraine still ‘actively engaged’ with Thai army over sale of BTR-4E APCs
http://www.janes.com/article/75563/defence-security-2017-ukraine-still-actively-engaged-with-thai-army-over-sale-of-btr-4e-apcs







UkrOboronProm has displayed BTR-4E 8x8 Armoured Personnel Carrier for first time in Thailand at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok on 6-9 November.(My Own Photos)

Model of BM Oplot Main Battle Tank and BTR-3E1 Armoured Personnel Carrier at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photo)


UkrOboronProm has showcased various types of Ukrainian Military Products include SKIF Anti-Tank Guided Missile and Model of EA10 APU, 3TD diesel engine, BARS-8 4x4 Armored Vehicle and Delfin Patrol Aircraft
at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos)

UkrOboronProm รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนยังคงหารือกับกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) อย่างแข็งขันต่อเนื่องในการเสนอขายยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-4E 8x8 พร้อมสิทธิบัตรสายการผลิตในไทย
เช่นเดียวกับการยืนยันที่จะส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T ให้กองทัพบกไทยตามสัญญาจนครบ ๔๙คันภายในปีหน้า พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

BTR-4E และรถรบทหาราบ/ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 8x8 ของ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรถสองแบบที่ถูกเลือกว่ามีคุณสมบัติตรงความต้องการในโครงการจัดหายานเกราะล้อยางใหม่ของกองทัพบกไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ต่อมาช่วงเดือนมิถุนายนกองทัพบกไทยและรัฐบาลไทยได้ยืนยันว่าเลือกจัดหายานเกราะล้อยาง NORINCO VN1 ระยะที่๑ จำนวน ๓๔คันวงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm พร้อมการจัดหากระสุน

อย่างไรก็ตามการลงนามสัญญาจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 ระหว่างกองทัพบกไทยและ Norinco จีนยังไม่ได้มีขึ้น เจ้าหน้าที่ UkrOboronProm ยูเครนจึงเน้นย้ำว่าหน่วยงานยังคงมุ่งมั่นอย่างแข็งขันที่จะนำเสนอความเป็นได้ในการรับการสั่งจัดหา BTR-4E จากไทย
โดยยูเครนได้แสดงความมุ่งมั่นที่จริงจังนี้ด้วยการนำยานเกราะล้อยาง BTR-4E คันจริงของตนมาจัดแสดงในงาน Defense and Security 2017 ที่ไทยเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่สองของงาน

(จะเห็นได้จากชุดภาพนี้ว่า BTR-4E ยูเครนดูแข็งแรงมากก็จริง แต่งานประกอบเชื่อมดูหยาบตามรูปแบบงานรัสเซีย-ยูเครน เช่นเดียวกับยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 และรถถังหลัก Oplot-T ที่กองทัพบกไทยมีประจำการ
ซึ่งถ้าเทียบกับยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ของ DTI ไทยแล้ว รถของไทยเรามีความประณีตในงานการสร้างประกอบเชื่อมกว่ายานเกราะยูเครนมาก)

BTR-4E ออกแบบโดย KMDB(Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau) ยูเครน มีน้ำหนักรถ 22.4tons ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Deutz EBPO III กำลัง 500-600HP ทำความเร็วได้สูงสุดบนบก 110km/km ความเร็วขณะลอยตัวในน้ำ 10km/h พิสัยทำการ 700km
มีพลประจำรถ ๓นาย ผู้บังคับการรถกับพลขับที่สถานีด้านหน้ารถ และพลยิงที่สถานีหลังห้องเครื่องยนต์กลางรถ บรรทุกทหารราบได้ ๗นาย ติดตั้งป้อมปืนแบบ BM-3 Shturm ประกอบด้วยปืนใหญ่กล ZTM-1 30mm ปืนกลร่วมแกน KT-7.62 7.62mm เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ KBA-117 30mm และรางติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Barrier ๒นัด

BTR-4E นอกจากจะประจำการในกองทัพยูเครนและกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครน ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในปฏิบัติการรบกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbrass หลังจากที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea ตั้งแต่ปี 2014แล้ว
BTR-4E ยังประสบความสำเร็จในการส่งออกให้กองทัพบกอิรักซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในสงครามต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย แม้ว่าจะมีปัญหาไม่รับมอบรถเพิ่มเนื่องจากอ้างว่ารถด้อยคุณภาพ และมีการสอบสวนคดีทุจริตก็ตาม


และในภูมิภาค ASEAN นั้น BTR-4M ได้ถูกจัดหาและทดสอบโดยนาวิกโยธินอินโดนีเซีย(KORMAR: Korps Marinir) จำนวน ๕คัน พร้อมเสนอสิทธิบัตรการผลิตในอินโดนีเซีย แต่นาวิกโยธินอินโดนีเซียจะไม่จัดหาเพิ่มเนื่องประสิทธิภาพการเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำไม่เป็นที่น่าพอใจ(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/btr-4.html)
และกองทัพบกพม่า(Myanmar Army)ที่จัดหาพร้อมสิทธิบัตรการประกอบ BTR-4U ในประเทศเช่นเดียวกับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3U ที่จัดหามาก่อนหน้า(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/btr-4u-2s1u.html)

ทั้งนี้ในส่วนความคืบหน้าของโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T ที่ลงนามสัญญาจัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) จำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) ซึ่งส่งมอบเข้าประจำการที่กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ๒๕คันแล้วนั้น
ทาง UkrOboronProm ยูเครนยืนยันว่าการผลิต การตรวจรับ และการส่งมอบ ถ.หลัก Oplot-T ให้กองทัพบกไทยนั้นจะเสร็จสิ้นครบตามจำนวนที่สัญญาไว้ภายในปีหน้าคือ พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

(รายงานชุดภาพสายการผลิตรถถังหลัก Oplot-T ที่โรงงาน Malyshev ใน Kharkiv ยูเครนตลอดปีนี้
http://aagth1.blogspot.com/2017/09/oplot-t.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/06/oplot-t.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/oplot-t-bm-oplot.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/oplot-t-145.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/02/oplot-t.html)

ตามข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน ล่าสุดกองทัพบกไทยได้รับมอบรถถังหลัก Oplot ชุดใหม่ ๖คัน รวมเป็น ๓๑คันแล้ว อีก ๕คันมีการตรวจรับที่ยูเครนแล้วจะขนส่งลงเรือมาเร็วๆนี้ และมีอีก ๗คันที่เพิ่งสร้างเสร็จจากสายการผลิตรอการตรวจรับ และชุดสุดท้าย ๖คันกำลังผลิตที่โรงงาน Malyshev
แม้ว่ากองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก VT4 จาก NORINCO จีน ระยะที่๑ ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท($147 million) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และได้รับมอบรถเพื่อเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ในเดือนตุลาคมนี้(2017) แล้วก็ตามครับ