An F-15 jet takes off from a Self-Defense Forces base in Ibaraki Prefecture. Japan's oldest F-15s began service in the early 1980s.
Washington considers reselling the used jets to Southeast Asian governments
https://asia.nikkei.com/Politics/Japan-wants-to-sell-old-F-15s-to-US-to-fund-F-35-purchases
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการขายเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-15J/DJ Eagle บางส่วนให้สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มงบประมาณสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) เพิ่มเติมของตน(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/izumo-f-35.html)
ตามที่ Nikkei ได้ทราบ โดยในทางกลับกันรัฐบาลสหรัฐฯกำลังชั่งน้ำหนักที่จะขายเครื่องบินขับไล่ F-15J ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ที่ล้าสมัยเหล่านี้ให้กลุ่มชาติ ASEAN ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่นหลายรายได้เปิดเผยว่าการหารือกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับการขายอาวุธยุทโธปกรณ์กลาโหมที่ผ่านการใช้งานแล้วของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self Defense Forces) ให้สหรัฐฯเป็นครั้งแรก
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังดูท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯในความเป็นไปได้ของการขายดังกล่าว ในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจาจัดซื้อเครื่องบิน F-35 เพิ่มรวม 105เครื่องจากสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศกำลังพยายามที่จะหาข้อสรุปรายละเอียดของจำนวน F-15J ที่จะขายและราคาของพวกมัน
จากที่ญี่ปุ่นสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) ไปก่อนแล้ว 42เครื่อง การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A 63เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) 42เครื่อง
จะทำให้ญี่ปุ่นมีเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II รวมเป็นจำนวนถึง 147เครื่อง นับเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่อันดับสามของโลก รองจากอันดับหนึ่งสหรัฐฯ และอันดับสองสหราชอาณาจักร
โดยรูปแบบการขายเช่นนี้กับรัฐบาลสหรัฐฯ รัฐบาลญี่ปุ่นหวังที่จะระงับการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนเกี่ยวกับการขยายงบประมาณด้านกลาโหม ท่ามกลางความพยายามในการรวมงบประมาณให้มั่นคงขึ้น
ในทางด้านรัฐบาลสหรัฐฯก็ควรน่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่น ในฐานะที่ญี่ปุ่นเองขาดประสบการณ์ในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนส่งออกให้ประเทศที่สาม
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีเครื่องบินขับไล่ F-15J/DJ อยู่ราว 200เครื่อง เป็นกำลังหลักในด้านขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศของญี่ปุ่น ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-15C/D Eagle สหรัฐฯ
โดยมีเครื่องบินขับไล่ F-15J รุ่นที่นั่งเดียว 139เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-15DJ รุ่นสองที่นั่ง 25เครื่อง ถูกทำการผลิตในประเทศภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท McDonnell Douglas(ปัจจุบัน Boeing) โดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นที่เปิดสายการผลิตในช่วงปี 1981-1997
ประมาณครึ่งหนึ่งของฝูงเครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแบบยกเครื่องใหม่ รวมถึงการปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่มีเครื่องจำนวน 100เครื่องหรือมากว่านั้นที่จะถูกขายต่อเนื่องจากเป็นเครื่องแบบเก่าที่ไม่สามารถรองรับการปรับปรุงระบบไฟฟ้าได้
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจในการประชุมคณะรัฐมนตรีล่าสุดเมื่อ 18 ธันวาคม 2018 ว่า จะทยอยทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-15J รุ่นเก่าเหล่านี้ด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่มีขีดความสามารถสูงกว่า
แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ F-15J เครื่องที่เก่าที่สุดจะเข้าประจำการครั้งแรกในปี 1981 แต่ก็ยังคงอยู่ในสภาพปฏิบัติการได้ถ้าชิ้นส่วนได้รับการเปลี่ยนใหม่ตามที่จำเป็น ซึ่งสหรัฐฯบอกกับฝ่ายญี่ปุ่นว่าตนจะพิจารณาขาย F-15J/DJ เหล่านี้ให้กับประเทศที่มีกองทัพอากาศที่อ่อนแอ
การเตรียมการดังกล่าวจะทำให้สหรัฐฯสามารถส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นให้กลุ่มชาติ ASEAN ในราคาตัดลดเป็นพิเศษ ตามที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ขยายการแสดงตนทางทหารในทะเลจีนใต้
แผนการจัดซื้อ F-35 ของญี่ปุ่นเป็นผลมาจากความพยายามกดดันอย่างหนักจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump เพื่อลดระยะห่างของความไม่สมดุลด้านการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศให้แคบลง โดยการที่จะให้ญี่ปุ่นซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯให้มากขึ้น
รัฐบาลญี่ปุ่นหวังที่จะเอาใจประธานาธิบดีสหรัฐฯ Trump โดยการใช้การขาย F-15J เพื่อที่จะให้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะจัดซื้อจากสหรัฐฯ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-35 มีราคาที่ถูกลง
รัฐบาลญี่ปุ่นยังถูกตัดสินว่าขาดประสบการณ์ในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงจะเป็นการรอบคอบมากกว่าที่จะทำงานนี้ทางอ้อมโดยผ่านสหรัฐฯซึ่งประสบความสำเร็จในการขายอาวุธส่งออกประเทศต่างๆทั่วโลก แทนที่ญี่ปุ่นจะพยายามขายเครื่องบินขับไล่ด้วยตนเองโดยตรงให้ประเทศที่สาม
ภายใต้รัฐธรรมนูญสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นถูกห้ามการส่งออกอาวุธเป็นเวลาหลายทศวรรษจนถึงปี 2014 เมื่อคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักการให้สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ โดยยังคงห้ามส่งออกยุทโธปกรณ์ให้ประเทศที่มีการใช้กำลังในความขัดแย้ง แต่ก็อนุญาตให้ส่งออกประเทศเหล่านั้นได้ต่อเมื่อมีส่วนช่วยเพื่อให้ญี่ปุ่นเกิดความมั่นคงเป็นต้นครับ