Japan to spend more than USD240 billion on defence over next five years
Japanese helicopter carrier JS Izumo (DDH-183). Tokyo formally approved plans on 18 December to convert the country's two Izumo-class vessels into multirole aircraft carriers from which F-35Bs can be operated. Source: JMSDF
Tokyo will also buy an additional 63 conventional take-off and landing (CTOL) F-35As and 42 short take-off and vertical landing (STOVL) F-35Bs over the coming decade.
https://www.janes.com/article/85299/japan-to-spend-more-than-usd240-billion-on-defence-over-next-five-years
คณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Shinzo Abe ได้อนุมัติแผนงบประมาณกลาโหมวงเงิน 27.47 trillion Yen ในอีก 5ปีข้างหน้าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2018 แต่ก็หวังว่าวงเงินดังกล่าวจะสามารถลดลงได้ประมาณ 1.97 trillion Yen ผ่านการใช้มาตรการลดค่าใช้จ่าย
โครงร่างนโยบายกลาโหมใหม่ของรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งจะดำเนินการจากปีงบประมาณ 2019-2023 เนื้อหาสำคัญเหนือทุกเรื่องคือการปรับเปลี่ยนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพหุบทบาท
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ทั้งสองลำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) คือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/f-35b-izumo.html)
จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพหุบทบาท ซึ่งเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) สหรัฐฯสามารถปฏิบัติการได้
แนวทางโครงการกลาโหมแห่งชาติ(NDPG: National Defense Program Guidelines) ที่ได้รับการการอนุมัติในวันที่ 18 ธันวาคม และสมทบด้วยแผนกลาโหมกลางวาระ(MTDP: Mid-Term Defense Plan) ยังเน้นความแข็งแกร่งในขอบเขตด้านกลาโหมใหม่
คือ Cyber, อวกาศ และสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) ซึ่งคาดว่าจะถูกจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของ "กองกำลังป้องกันหลากมิติแบบบูรณาการ"(Multidimensional Integrated Defence Force) ใหม่ของญี่ปุ่น
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมองที่ดำเนินการ "ยุทธศาสตร์ข้ามขอบเขต"(cross-domain strategy) โดยมุ่งไปที่การสร้างความเหนือกว่าในอากาศ, ทะเล, พื้นดิน และนอกอวกาศ เช่นเดียวกับในขอบเขตสงคราม Electronic และ Cyberspace
รัฐบาลญี่ปุ่นได้กล่าวในการสรุปต่อสื่อว่ากระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นว่าจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) เพิ่มเติม และเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL รวม 105เครื่อง
เครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 63เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 42เครื่องที่ญี่ปุ่นจะจัดหาในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ Boeing-Mitsubishi F-15J/DJ Eagle จำนวน 99เครื่องจากทั้งหมด 201เครื่องของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force)
เครื่องบินขับไล่ F-35 ใหม่เหล่านี้จะถูกนำมาเสริมกับ F-35A จำนวน 42เครื่องที่กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้จัดหามาก่อนหน้าเพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas-Mitsubishi F-4EJ Kai Phantom II ที่มีอายุการใช้งานมานาน
ทางการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังได้ชี้ให้เห็นอีกว่า ญี่ปุ่นจะหยุดการใช้สายการผลิต FACO( Final Assembly and Check Out ) สำหรับการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35A ในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
โดยโรงงานบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) จะยุติการผลิต F-35A ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2019 และเริ่มการจัดซื้อ F-35A และ F-35B ที่สร้างสมบูรณ์ทั้งเครื่องจากสหรัฐฯเพื่อลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการจัดหา(ผลิตเครื่องบินเองในประเทศราคาแพงกว่าซื้อจากต่างประเทศ)ครับ