Delivery Ceremony of Royal Thai Navy's new Frigate FFG-471 HTMS Tachin at Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Busan, Republic of Korea, 14 December 2018
the best frigate I've ever seen. @ Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2172928839438886&id=100001653746791
https://www.facebook.com/tik.smile/posts/2162567397115589
https://www.facebook.com/9yaud/posts/10214397978000193
วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้ทำพิธีรับมอบเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) ณ อู่ต่อเรือ Okpo-Dong บริษัท DSME(Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ใน Busan สาธารณรัฐเกาหลี
โดยมีนายทหารระดับสูงและคณะของกองทัพเรือไทย กำลังพลชุดรับเรือฟริเกตใหม่ เจ้าหน้าที่บริษัท DSME และภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของสาธารณรัฐเกาหลี และฝ่ายไทยร่วมงาน เป็นที่เข้าใจว่า ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) มีกำหนดจะออกเดินเรือจากเกาหลีใต้มายังไทยในอีกไม่นานนี้
กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่๑ คือ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) จากบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013) วงเงินประมาณ ๑๔,๙๙๗ล้านบาท($396 million) ตามการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ณ อู่เรือบริษัท DSME โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_23.html)
เรือหลวงท่าจีน(ลำที่๓) มีพื้นฐานจากแบบเรือฟริเกต DW3000H ของ DSME เกาหลีใต้ ที่พัฒนาจากแบบเรือพิฆาตชั้น Gwanggaeto the Great(โครงการ KDX-I) ที่ประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy)
ร.ล.ท่าจีนได้รับการติดตั้งอุปกรณ์และอาวุธประจำเรือที่ทันสมัยมีสมรรถนะสูงและผ่านการทดลองเรือในทะเลในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๑ ที่เดิมมีกำหนดจะส่งมอบเรือในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๑(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/dsme-hhi.html) แต่ถูกเลื่อนมาเป็นเดือนธันวาคม ๒๕๖๑ นี้
ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700tons ความเร็วสูงสุด 30knots ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000nmi กำลังพล ๑๓๖นาย ตัวเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology ลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือและแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและสหรัฐฯ
เช่น ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 ทรง Stealth, ปืนใหญ่กล MSI SEAHAWK(DS30MR) 30mm, ระบบป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Raytheon Phalanx 20mm CIWS อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84L Harpoon Block II(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/harpoon-block-ii.html)
แท่นยิง Torpedo แฝดสาม SEA(Systems Engineering & Assessment Ltd.) TLS(Torpedo Launcher Systems) สำหรับ Torpedo เบา Mk54 Mod 0 ขนาด 324mm(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/sea-torpedo-launcher-systems.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/09/torpedo-mk54-mod-0.html)
แท่นยิงแนวดิ่ง Lockheed Martin Mk41 VLS(Vertical Launching System) แปดท่อยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Raytheon RIM-162 ESSM รวมถึง Radar ตรวจการณ์ 3D AESA แบบ Saab Sea Giraffe 4A, Radar อำนวยการรบ Saab Sea Giraffe และระบบอำนวยการรบ Saab 9LV Mk4
ทั้งนี้ DSME เกาหลีใต้ยังมุ่งหวังที่จะได้รับการลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ท่าจีน ลำที่๒ จากกองทัพเรือไทย ที่จะมีการถ่ายทอด Technology ในการสร้างที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ โดยเร็ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/03/blog-post_8.html)
ซึ่งโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ระยะที่๒ ที่จะดำเนินการสร้างในไทยนั้นอาจจะได้รับพระราชทานนามชื่อเรือว่า ร.ล.ประแส(ลำที่๓) หรือ ร.ล.แม่กลอง(ลำที่๒) อย่างใดอย่างหนึ่งครับ