วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562
กองทัพเรือไทยจะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางอัตตาจรใหม่
KS-1CM Surface to Air Missile Royal Thai Air Force Security Force, Air Defence Battalion Wing 7 Surat Thani RTAFB display in Children's Day(https://www.facebook.com/wing7RTAF/)
ประกาศราคากลาง จัดหาอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ ระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่ ๑
http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf2/37781.pdf
สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(Naval Acquisition Management Office) ได้ออกเอกสารประกาศราคากลางเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) สำหรับโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ระยะที่๑(Mobile Medium-Range Surface-to-Air Missile)
วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ๑,๙๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($63,982,850) แหล่งที่มาของราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดข้อกำหนดคุณสมบัติของระบบและจำนวนที่จะจัดหา
เป็นที่เข้าใจว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ใหม่ดังกล่าวจะถูกนำเข้าประจำการใน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ตามแผนการปรับอัตราและโครงสร้างหน่วยใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html)
โดยในส่วนกรมต่อสู้อากาศยานที่๑ และกรมต่อสู้อากาศยานที่๒ จะมีหน่วยขึ้นตรง ๒กองพันต่อสู้อากาศยาน แต่ละ พัน.สอ.มีความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางกองพันละ ๑ระบบ รวมแล้ว ๒กรม สอ. จะมีความต้องการทั้งสิ้น ๔ระบบ
ก่อนหน้านั้น สอ.รฝ.เคยมีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ลากจูง PL-9(DK-9) จีนซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะใกล้นำวิถีด้วย Infrared มีระยะยิงเพียง 8km โดยแท่นยิงลากจูงจะมีจรวดติดตั้งในรางพร้อมยิง ๔นัด แต่เป็นที่เข้าใจว่าปัจจุบันน่าจะเลิกใช้งานแล้ว
ซึ่งปัจจุบัน สอ.รฝ.มีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ประทับบ่ายิง QW-18 จีนใช้งานซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุดระยะใกล้มากนำวิถีด้วย Infrared มีระยะยิงเพียง 5km และชุดยิงแบบพกพาเคลื่อนย้ายได้ด้วยบุคคลมีน้ำหนักทั้งระบบรวม 18kg
การจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ จึงน่าจะเป็นความต้องการทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะใกล้แบบลากจูง PL-9 จีนเดิม ซึ่งการจัดหาในระยะที่๑ น่าจะมีจำนวนอย่างน้อย ๑ระบบสำหรับหนึ่งกองพันต่อสู้อากาศยานของ กรม สอ. ใน สอ.รฝ.
อย่างไรก็ตามราคากลางที่กำหนดไว้เพียงราว $64 million เป็นวงเงินที่ค่อนข้างน้อยเกินไปสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางจากตะวันตก ที่หนึ่งระบบจะประกอบด้วยรถที่บังคับการ(Command Post), ฐาน Radar ตรวจการณ์/ควบคุมการยิงอัตตาจร และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจร
นั่นทำให้มีการคาดการณ์ว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ ที่กองทัพเรือไทยจะจัดหาอาจจะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางราคาย่อมเยาที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้มากว่าน่าจะเป็นระบบจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นเดียวกับระบบที่จัดหามาก่อนหน้า
ระบบหนึ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นตัวเลือกของกองทัพเรือไทยคืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะกลางแบบ KS-1CM จีน โดยหนึ่งแท่นยิงอัตตาจรมีจรวด ๒นัดระยะยิง 70km ที่กองทัพอากาศไทยได้จัดหาเข้าประจำการใน กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๗ สุราษฏร์ธานีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
แผนการปรับอัตราและโครงสร้างของ สอ.รฝ. ยังรวมถึงในส่วนกรมรักษาฝั่งที่๑ ที่มีหน่วยขึ้นตรง ๒กองพันรักษาฝั่ง โดยแต่ละ พัน.รฝ.มีความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล(Medium-to-Long-Range Anti-Ship Missile)ฐานยิงบนฝั่ง กองพันละ ๑ ระบบ
สื่ออินเดียได้รายงานว่ามีการเสนออาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ Brahmos แก่กองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/brahmos.html) โดยคู่แข่งแบบอื่นเชื่อว่าน่าจะเป็นระบบจากจีน เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A รุ่นฐานยิงอัตตาจรบนฝั่งครับ