วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๒-๗

Boeing AH-6 light attack/armed reconnaissance helicopter
https://aagth1.blogspot.com/2019/07/boeing-ah-6i.html

MD Helicopters MD 530G Light Scout Attack Helicopter
https://aagth1.blogspot.com/2019/07/md-helicopters-fms.html

ตามที่กองทัพบกไทยได้ยกเลิกการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธจำนวน ๘ เครื่อง วงเงิน ๔,๐๓๖,๕๒๗,๖๐๐บาท($131,439,430) จากบริษัท Euro Intertrade Pte Ltd. สิงคโปร์ ผู้แทนจำหน่ายของบริษัท MD Helicopters สหรัฐฯผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์
เพื่อเปลี่ยนเป็นการจัดซื้อโดยวิธี FMS(Foreign Military Sales) ที่เป็นโครงการช่วยเหลือทางทหารของรัฐบาลสหรัฐฯต่อมิตรประเทศ ที่จะมาประจำการ่วมกับ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 Fennec(Airbus Helicopters H125M) ที่ประจำการใน กองพันบินที่๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ. ๘เครื่อง
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการตั้งโครงการจัดหาใหม่ตามขั้นตอนนั้น ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธใหม่น่าจะเป็น ฮ.ลว./อว.MD Helicopters MD 530G หรือ ฮ.ลว./อว.Boeing AH-6i นั้นยังเป็นเพียงการคาดเดาถึงความเป็นไปได้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขรูปแบบการจัดซื้อเท่านั้นครับ

Eurocopter AS550 C3 Fennec(Airbus Helicopters H125M) armed scout helicopter of 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army with FN Herstal HMP400 .50cal gun pod in Children's Day 2019(unknow photo source)

Royal Thai Army has displayed Airbus Helicopters H145 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photo)

แม้ว่าอากาศยานปีกหมุนของกองทัพบกไทย เช่นที่ประจำการในส่วน ศูนย์การบินทหารบก จะถูกมองว่ามีเฮลิคอปเตอร์หลายแบบจากหลายบริษัทหลายประเทศ เช่นสหรัฐฯอย่าง Sikorsky และ Bell, ยุโรปคือ Airbus Helicopters และ Leonardo(AgustaWestland) และรัสเซียคือ Mil เป็นต้น
แต่ปัจจุบันความพร้อมของเฮลิคอปเตอร์ในสังกัดกองทัพบกไทยนั้นยังจัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คือมีเครื่องพร้อมการใช้งานปฏิบัติภารกิจต่างๆตลอด ถึงในส่วนการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่ในประเภทต่างๆทดแทนของเก่าที่ใช้งานมานานตามความจำเป็นจะมีข้อจำกัดจากงบประมาณที่จำกัดก็ตาม
รวมถึงที่บริษัท Airbus Helicopters และบริษัท Safran ฝรั่งเศส กับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries)(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/safran-tai.html) ในการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของตนแก่กองทัพไทยและตำรวจไทยครับ

Second Royal Thai Army's Airbus C295W was spotted at San Pablo, Seville, Spain in 30 Aprill 2019(https://www.jetphotos.com/photo/9296600)

ภาพถ่ายจากสนามบิน San Pablo ที่ Seville สเปน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอากาศยานบริษัท Airbus Defence and Space สาขาสเปนเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ได้แสดงภาพถึงเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ใบพัด บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W เครื่องที่สองของกองทัพบกไทย
กองทัพบกไทยได้จัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C295W จำนวน ๑เครื่องเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) เข้าประจำการใน ฝูงเครื่องบิน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก ปัจจุบันเข้าใจว่าถูกโอยย้ายไปประจำการ ณ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ.
โครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ บ.ล.๒๙๕ C295W มีวงเงินที่๑,๖๑๙,๙๙๙,๙๖๘.๘๘บาท(43,199,999.17 Euros) เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยอาจจะจัดหาเครื่องที่๓ และ๔ ถ้ามีงบประมาณเพียงพอครับในอนาคตครับ(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/c-295w.html)


Airbus Helicopters EC725(H225M) serial 20307, 203 Squadron, Wing2, Royal Thai Air Force passed 100 flight hour inspection 1-5 July 2019.

พิธีแสดงความยินดีในการตรวจซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๑ (EC725)
นาวาอากาศเอก วสันต์ บัณฑิตศักดิ์สกุล ผู้บังคับการกองบิน ๒ เป็นประธานในพิธีแสดงความยินดีในการตรวจซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๑ (EC725) ที่แผนกช่างอากาศ และแผนกสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ กองเทคนิค กองบิน ๒ ได้ดำเนินการตรวจซ่อมเฮลิคอปเตอร์ระดับกลาง โดยเริ่มซ่อมเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๑ (EC725) หมายเลขเครื่อง (20307) ซึ่งเข้าตรวจซ่อม ๑๐๐ ชั่วโมงบิน ตั้งแต่วันที่ ๑ - ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เสร็จเรียบร้อยเป็นเครื่องแรก ณ ฝูงบิน ๒๐๓ กองบิน ๒ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒

ฮ.๑๑ EC725(H225M) หมายเลข 20307 เป็นเครื่องในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๓ ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ที่ได้รับมอบไปเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/ec725.html)
โดยเป็นเครื่องชุดได้รับการติดตั้งกล้อง Electro-Optical/Infrared(EO/IR)(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/ec725-eoir.html) และตั้งแต่ได้รับมอบถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการภารกิจต่างมาแล้วหลายครั้งครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t-50th-s-92a-ec725.html)


Sikorsky MH-60M 160th Special Operations Aviation Regiment (Airborne) US Army in Thailand 2019(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/permalink/3069087676442602/)

Clip: Opertion Tempest Wind 2019 Thailand's Royal Thai Navy SEAL with 1st Special Forces Group US Army and 353rd Special Operations Group US Air Force Special Operations Command
Partnership and interoperability are critical when needed during a crisis response. U.S. and Thai naval special operations forces demonstrate their ability to operate together while reponding to a simulated crisis during Operation Tempest Wind 2019.
Partnership in Action

ความร่วมมือระหว่างกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพสหรัฐฯ(USSOCOM: US Special Operations Command) ประกอบด้วยกลุ่มรบพิเศษที่1 กองทัพบกสหรัฐ และกลุ่มปฏิบัติการการพิเศษที่1 กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศสหรัฐฯ
และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ(RTN SEAL) ในการฝึกร่วมผสมปฏิบัติการ Tempest Wind 2019 เป็นการแสดงความความเป็นมืออาชีพและความสัมพันธ์การทหารที่แนบแน่นระหว่างหน่วยรบพิเศษไทยและหน่วยรบพิเศษสหรัฐฯครับ

Model of Tor 994-class Coastal Patrol Boat T.994 that builded by Thonburi Naval Dockyard, Royal Thai Naval Dockyard Department, Royal Thai Navy.(My Own Photo)


พลเรือโท วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ รองเสนาธิการทหารเรือ และประธานบริหารโครงการฯ และคุณลัดดาวัลย์ จงวิศาล กรรมการบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะนายทหารจากกองทัพเรือ และคณะผู้บริหารบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) 
ร่วมพิธีลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ ณ ห้องรับรองชั้น 2 กองบัญชาการกองทัพเรือ (วังนันทอุทยาน) เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2562
https://www.facebook.com/marsunthailand/posts/2593911323987437

บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) ไทยได้รับเลือกจากกองทัพเรือไทยให้เป็นผู้ชนะในโครงการจ้างสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งใหม่จำนวน ๒ลำ สำหรับ กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/marsun.html)
เป็นการพิสูจน์ถึงการให้ความสำคัญของกองทัพเรือไทยต่อการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งบริษัท Marsun ไทยนับเป็นภาคธุรกิจอู่ต่อเรือเอกชนที่มีประสบการณ์และได้รับความไว้วางใจจากกองทัพ-ตำรวจไทย และหน่วยงานภาครัฐของไทยมายาวนานอย่างต่อเนื่องครับ
ที่น่าสนใจอย่างมากคือเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ๒ลำนี้มีเอกสารระบุว่าจะติดตั้งปืนกลหกลำกล้องหมุน AK306 30mm รัสเซีย นับเป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือไทยจัดหาอาวุธประจำเรือจากรัสเซียมาใช้บนเรือรบครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/ak-306-30mm.html)


Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan the second Krabi class Offshore Patrol Vessel was conduct sea trial with Leonardo(AgustaWestland) Super Lynx 300 helicotper Deck Landing Qualification on ship's flight deck in July 2019. 

ความคืบหน้าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) จะเห็นว่าการก่อสร้างตัวเรือ การติดตั้งอุปกรณ์-อาวุธ การทำสีและทาเครื่องหมายบนเรือเสร็จไปมากแล้ว
จะเห็นได้ว่าท้ายเรือหน้าลานจอดเฮลิคอปเตอร์มีการติดตั้งสองแท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing Harpoon Block II จำนวน ๘นัด รวมถึงปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Super Rapid Multifeed และปืนใหญ่กล DS30MR 30mm ๒กระบอก
ซึ่ง ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ทำการทดลองเรือในทะเลร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300 กองการบินทหารเรือ แล้ว และมีกำหนดจะทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ นี้ครับ



Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros 411th Squadron, Wing 41, Royal Thai Air Force was crash during training flight at Ban Padeat, Hang Dong district, Chiang Mai province in 11 July 2019.

โฆษกกองทัพอากาศ ยืนยันเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) ของกองทัพอากาศ ประสบอุบัติเหตุขณะทำการฝึกบิน

พลอากาศโท พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ในฐานะโฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) สังกัดฝูงบิน ๔๑๑ กองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่ 
ประสบอุบัติเหตุบริเวณพื้นที่บ้านป่าแดด อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากนักบินได้ทำการฝึกบินในพื้นที่การฝึก ในขณะที่นำเครื่องกลับที่ตั้ง นักบินได้รายงานอากาศยานมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับเครื่องยนต์ และได้ทำการแก้ไข ซึ่งต่อมานักบินทั้งคู่ได้ทำการสละอากาศยาน

สำหรับนักบินที่ทำการบิน ได้แก่
๑. เรืออากาศโท ธีรวัฒน์ คูณขุนทด (นักบินที่ ๑) บาดเจ็บเล็กน้อย
๒. นาวาอากาศตรี ณฤพล เลิศกุศล (นักบินที่ ๒ ซึ่งเป็นครูการบิน) เสียชีวิต

โดยในขณะนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศได้รับรายงานแล้ว และได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้สั่งการให้คณะกรรมการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุของกองทัพอากาศลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจสอบต่อไป 
พร้อมทั้งกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้านสิทธิกำลังพลให้แก่ญาติและครอบครัวของนักบินผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่

กองประชาสัมพันธ์ สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒

Defence Technology Institute(DTI) and Naval Research & Development Office's Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle in trial serviced at Marines Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps Division, Royal Thai Navy

Clip: เรามาชมยานเกราะ AAPC ว่ายน้ำในทะเลระหว่างการทดสอบร่วมกับ นย. เมื่อเร็วๆนี้กันครับ

ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. และ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.
โดยได้ส่งมอบให้ กองพันรถถัง นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ไปทดลองใช้งาน ๑คันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc_22.html) ได้มีการทดสอบการเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำในทะเลเปิดตามวีดิทัศน์ที่ DTI ไทยเผยแพร่
ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC เคลื่อนที่ในทะเลด้วยความเร็ว 10km/h ยกแผ่นชายน้ำกันคลื่นหน้าตัวรถ พับกระจกมองข้าง ซึ่งการทดสอบรถต้นแบบยังคงมีต่อไปเพื่อให้นาวิกโยธินไทยประเมินค่าว่าจะสั่งจัดหาเข้าประจำการเป็นจำนวนมากหรือไม่ครับ

U.S. Soldiers with the Pennsylvania Army National prepare their Stryker Assault Vehicles for a joint training mission with Lithuanian Land Forces in support of Operation Saber Rattle.(PHOTO: Sgt. Jason Lay, 145th Mobile Public Affairs Detachment)
https://www.dvidshub.net/image/1394985/us-soldiers-with-c-troop-2nd-squadron-104th-cavalry-regiment-56th-stryker-brigade-combat-team-lithuania-with-thier
Spc. John Symanski a vehicle commander, and Spc. Joseph Knepp, Stryker driver, both for Recon Platoon, Headquarters and Headquarters Company, 2nd Battalion, 112th Infantry Regiment, a Danville, and Lewistown, Pa.
native respectively, prep their vehicle and themselves for the live fire part of their Stryker Gunnery qualification. The 112th Inf. Regt. part of the Pennsylvania Army National Guard, participated in STEADFAST WARRIOR a cross-training mission with Canadian forces.
https://www.dvidshub.net/image/655374/pa-national-guard-stryker-gunners-test-skills-canada
https://aagth1.blogspot.com/2019/07/stryker-icv.html

US approves Thailand Stryker deal
https://www.janes.com/article/90141/us-approves-thailand-stryker-deal

การที่สหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker ICV ๖๐คัน อยู่ในแผนของกองทัพบกไทยที่จะปรับรูปแบบการจัดกำลังหน่วยระดับกรมโดยใช้รูปแบบกองพลน้อยชุดรบ(Brigade Combat Team)ของกองทัพบกสหรัฐฯมาปรับใช้ เช่น กองพลน้อยชุดรบ Stryker BCT
ในสมัยช่วงการปราบปรามผู้ก่อการร้าย Communist และกองกำลังต่างชาติที่รุนรานชายแดนไทย กองทัพบกไทยเคยมีการจัดกำลังในรูปแบบ กรมผสม(Combine Regiment) ที่รวมหน่วยรบหลายเหล่า เช่น ทหารราบ ทหารม้า และทหารปืนใหญ่ เข้ามาไว้ในกรมเดียวทั้งแบบชั่วคราวและกึ่งถาวร
อย่างไรก็ตามการปรับโครงสร้างกำลังรบที่เริ่มจากในส่วนกองพลทหารราบเป็นกรมรบผสม(Combined Arms Regiment) ที่มีการศึกษาระยะเวลา ๕ปีตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔(2017-2021) จะเป็นการปรับการฝึกและจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่เป็นหลัก ไม่ได้มีการจัดตั้งหน่วยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดครับ

Ukrainian "Ukroboronprom" has already delivered first licensed assembly kit of command-and-control vehicle BTR-3KSH(BTR-3CS) to Thailand for launch serial production in Thailand by Cooperation with Royal Thai Army and Defence Technology Institute(DTI)
https://aagth1.blogspot.com/2019/07/dti-btr-3ksh.html

Ukraine partners Thailand on production of BTR-3KSH AFV
https://www.janes.com/article/90156/ukraine-partners-thailand-on-production-of-btr-3ksh-afv

ความร่วมมือระหว่าง Ukroboronprom กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI ในการส่งชุดประกอบ Kit ของยานเกราะล้อยางที่บังคับการ BTR-3KSH 8x8 ชุดแรกสำหรับกองทัพบกไทยมาประกอบสร้างภายใต้สิทธิบัตรในไทยนั้น
มีรายงานเพิ่มเติมว่ายานเกราะที่บังคับการที่มีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 นี้อาจจะกำหนดแบบเป็น BTR-3CS โดยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาติดตั้งระบบสื่อสาร Digital และบริหารจัดการสนามรบ(BMS: Battle Management System) ระหว่าง DTI ไทยกับบริษัท Thales ยุโรปครับ

ทั้งนี้ประเด็นที่มีผู้ไม่หวังดีต่อชาติโจมตีว่ากองทัพบกไทยจัดหายานเกราะล้อยางจากต่างประเทศมากแบบในราคาที่แพงแต่ไม่สนับสนุนของไทยนั้น ก็ต้องดูความเป็นจริงด้วยยานเกราะล้อยาง 8x8 แต่ละแบบที่มีการพัฒนาในไทยนั้นทุกแบบยังอยู่ในขั้นการพัฒนารถต้นแบบยังไม่เปิดสายการผลิตจริง
ไม่ว่าจะทั้งโครงการยานเกราะล้อยางของ DTI ไทย คือ Black Widow Spider 8x8 สำหรับกองทัพบกไทย กับยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 รวมถึงโครงการของบริษัทเอกชนเช่น PANUS R600 8x8 ก็มีเพียงรถต้นแบบที่ยังต้องได้รับการทดสอบอีกมากกว่าจะเปิดสายการผลิตได้

ขณะที่ยานเกราะล้อยาง Stryker ICV ๖๐คันวงเงิน $175 million(ราว ๕,๓๙๒ ล้านบาท) นั้นเป็นการจัดซื้อแบบ FMS ที่รวมทั้งรถและสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดผ่านรัฐบาลสหรัฐฯโดยตรงมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นระบบที่มีสายผลิตจำนวนมากและผ่านการพิสูจน์การใช้งานในสนามรบจริงมาแล้ว
และการจัดหาอาวุธของกองทัพบกไทยในหลายปีมานี้มักจะแบ่งเป็นหลายชุดในแต่ละปีงบประมาณ เช่นยานเกราะ Stryker ICV อาจจะแบ่งการจัดหาเป็นสองชุด ชุดแรก ๓๗คัน $94 million(๒,๙๖๐ล้านบาท) ชุดที่สอง ๒๓คัน $81 million(๒,๔๙๕ล้านบาท) รวม ๖๐คัน $175 million พอดีครับ