India, Thailand step up military cooperation, trilateral exercise this year, advanced talk on Brahmos
https://economictimes.indiatimes.com/news/defence/india-thailand-step-up-military-cooperation-trilateral-exercise-this-year-advanced-talk-on-brahmos/articleshow/70476913.cms
BrahMos missiles of the Indian Army, mounted on Tatra 816-based[63] Mobile Autonomous Launchers (MAL).(wikipedia.org)
Indian Brahmos anti-ship missile at the International Maritime Defence show (IMDS) in St.Petersburg, Russia, 10 - 14 July 2019(https://twitter.com/brahmosmissile)
Dornier Do 228 maritime surveillance aircraft of 101st Squadron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy in Children's Day 2018 at U-Tapao RTN Airfield, 13 January 2018(https://www.facebook.com/ball.kittidej)
อินเดียและไทยกำลังเดินหน้าเพิ่มความร่วมมือทางทหารระหว่างกับโดยวางแผนการฝึกผสมไตรภาคีระหว่างกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) กองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) และกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) ภายในปี 2019 นี้
และมีความก้าวหน้าในการเจรจาสำหรับความเป็นไปได้ในการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASCM: Anti-Ship Cruise Missile) แบบ Brahmos และระบบอาวุธอื่นๆที่อินเดียพัฒนาในประเทศ
การฝึกผสมทางทะเลไตรภาคีที่ประกอบด้วยอินเดีย, สิงคโปร์ และไทยมีแผนจะจัดขึ้นในทะเลอันดามันภายในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) นี้โดยทางการอินเดียกล่าวว่าการฝึกผสมนี้จะมีการจัดขึ้นประจำทุกปีเพื่อเพิ่มการทำงานร่วมกันระหว่างเหล่าชาติพันธมิตร
ก่อนหน้านี้อินเดียได้ทำการฝึกผสมปกติกับไทยชาติเพื่อนบ้านของตนมาหลายระดับ เช่น การลาดตระเวนทางทะเลร่วมระหว่างอินเดีย-ไทย(CORPAT: Indo-Thai Coordinated Patrol) นั้นจะถูกเสริมด้วยการฝึกผสมไตรภาคีใหม่
กองทัพเรือไทยยังได้แสดงความสนใจในระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน BrahMos อินเดียที่สามารถใช้ในการโจมตีเป้าหมายเรือผิวน้ำ, เป้าหมายภาคพื้นดิน และกาารรักษาฝั่งในระหว่าการประชุมล่าสุด
แหล่งข่าวกล่าวว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos ถูกระบุว่ามีความเป็นไปได้ในการส่งออกระหว่างการเยือนอินเดียโดยผู้บัญชาการทหารเรือไทย พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2019) และการหารือทางเทคนิคปัจจุบันกำลังเดินหน้าโครงการ
ตามมาด้วยการเยือนไทยของผู้บัญชาการกองทัพเรืออินเดีย พลเรือเอก Sunil Lanba เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ได้มีการหารือระหว่างกันเพื่อ "สำรวจแนวทางใหม่ของความร่วมมือด้านกลาโหม"
อินเดียได้ระบุกลุ่มลูกค้าสำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียงของตนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการเจรจากับเวียดนามที่อินเดียได้เปิดวงเงินสินเชื่อสำหรับระบบอาวุธป้องกันชายฝั่งนี้(https://aagth1.blogspot.com/2016/05/brahmos.html)
BrahMos เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Machine-Building Research and Development Consortium รัสเซีย และ Defense Research and Development Organization(DRDO)อินเดีย ที่จัดกลุ่มร่วมทุนในปี 1998 นำชื่อมาจากแม่น้ำ Brahmaputra(พรมหบุตร)อินเดีย และแม่น้ำ Moscow รัสเซีย
มีระยะยิง 290km และติดตั้งหัวรบขนาด 200-300kg มีทั้งรุ่นฐานยิงบนชายฝั่ง รุ่นยิงจากเรือรบผิวน้ำ รุ่นอากาศสู่พื้นติดกับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/su-30mki-brahmos.html) และรุ่นยิงจากท่อยิงแนวดิ่ง VLS ในเรือดำน้ำ
กองทัพเรือไทยมีแผนการปรับอัตราและโครงสร้างของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ใหม่ โดยในส่วน กรมรักษาฝั่งที่๑ จะมีหน่วยขึ้นตรงคือ กองพันรักษาฝั่งที่๑ และกองพันรักษาฝั่งที่๒(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html)
โดยในแต่ละ พัน.รฝ. กรม รฝ. ได้เพิ่มความต้องการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำระยะปานกลาง-ไกล(Medium-to-Long-Range Anti-Ship Missile)ฐานยิงบนฝั่ง กองพันละ ๑ ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2015/12/blog-post_4.html)
แหล่งข่าวกล่าวว่าท่ามกลางการริเริ่มเพื่อเดินหน้าความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย-อินเดีย ได้มีข้อตกลงที่จะส่งเครื่องบินลาดตระเวนแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย ไปทำการให้บริการและปรับปรุงความทันสมัยที่อินเดีย
บ.ลว.๑ Do 228 ทั้ง ๗เครื่องของกองทัพเรือไทยซึ่งจะได้รับปรับปรุงโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินเดีย โดยติดตั้งห้องนักบิน Glass Cockpit และระบบ Avionic ขั้นก้าวหน้าปัจจุบันกำลังถูกส่งมอบให้กองทัพเรืออินเดียและกองทัพอากาศอินเดีย
ก่อนหน้านี้ภายใต้แผนของรัฐบาลสหรัฐฯจะได้ให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อการปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวน Dornier Do 228 กองทัพเรือไทยที่จะรวมถึงการติดตั้งระบบตรวจจับและระบบภารกิจใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/do-228.html)
การหารือระหว่างอินเดียและไทยยังร่วมถึงการให้บริการและปรับปรุงระบบตรวจการณ์ชายฝั่งของกองทัพเรือไทยด้วยระบบที่พัฒนาโดยบริษัทของอินเดีย
ตามรายงานจาก Economic Times ก่อนหน้า อินเดียกำลังมองที่จะเพิ่มความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มชาติ ASEAN โดยก้าวย่างล่าสุดคือแผนการส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Kilo (Project 877EKM รัสเซีย) ของตนแก่กองทัพเรือพม่า(MN: Myanmar Navy, Tatmadaw Yei)
เรือดำน้ำชั้น Sindhughosh คือ S58 INS Sindhuvir ที่ประจำการในกองทัพเรืออินเดีย จะเป็นเรือดำน้ำลำแรกที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรือพม่าซึ่งกำลังมองที่จะจัดตั้งกองเรือดำน้ำของตนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kilo.html)