วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

อู่กรุงเทพ Bangkok Dock และ DTI ไทยมองจะเสนอเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV ให้ฟิลิปปินส์

Thai partnership looks to meet Philippine OPV requirement


Thailand’s Bangkok Dock and Defence Technology Institute (DTI) have teamed up to offer the Philippines a 90 m offshore patrol vessel (OPV), with a design similar to the Royal Thai Navy’s HTMS Krabi (pictured here). Source: BAE Systems
https://www.janes.com/article/94185/thai-partnership-looks-to-meet-philippine-opv-requirement


บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของไทย และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมไทย
ได้ลงนามข้อตกลงที่จะมีความร่วมมือเพื่อให้ตรงความต้องการในโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) ของฟิลิปปินส์ ตามที่ Jane's ได้ทราบ

ภายใต้บันทึกข้อตกลง(MOA: Memorandum of Agreement) ซึ่งได้สะท้อนการเติบโตของความพยายามในการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกลาโหมตลอดทั่วทั้งชาติ ASEAN ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หุ้นส่วนไทยระหว่าง Bangkok Dock และ DTI จะมองที่จะวางตำแหน่งสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) ในการเสนอรุ่นดัดแปลงของแบบเรือ ตกก. 90m OPV ที่อู่กรุงเทพสร้างสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ทั้ง ๒ลำของกองทัพเรือไทยมีพื้นฐานจากแบบเรือ 90m OPV ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับการจัดหาสิทธิบัตรการออกแบบเรือในปี พ.ศ.๒๕๕๒(2009)
ร.ล.กระบี่ ซึ่งเป็นเรือลำแรกของชุดเรือเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ที่เป็นเรือลำที่สองของชุดเข้าประจำการในเดือนกันยายนปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/blog-post_28.html)

ตามการแถลงที่ส่งให้ Jane's บันทึกข้อตกลง Bangkok Dock-DTI ไทยจะสนับสนุนการดำเนินการของโครงการเรือ OPV โดยกองทัพเรือฟิลิปปินส์จะทำหน้าที่ในฐานะผู้บริหารโครงการ
บันทึกข้อตกลงได้ลงนามในกรุงเทพฯในเดือนมกราคมโดย พลอากาศเอก Dr.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ DTI และ พลเรือตรี เอก สารสาส กรรมการผู้จัดการบริษัทอู่กรุงเทพ Bangkok Dock

ด้วยการดำเนินการ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ ใน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่เป็นสถานที่ต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ทั้ง ๒ลำ สัญญาสร้างเรือเพิ่มสำหรับกองทัพเรือไทยคาดว่าจะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
แบบเรือ 90m OPV เข้าประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ในชื่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น River และกองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil) ในชื่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Amazonas

กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ร่างเค้าโครงความต้องการเพื่อการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน ๖ลำ แม้ว่าการสั่งจัดหาคาดว่าจะมีขึ้นในเวลาผ่านไปจากนี้ก็ตาม
การจัดหาเรือ ตกก.OPV ได้รับการอนุมัติโดยประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte ในเดือนมิถุนายน 2018 ด้วยงบประมาณราว 30 billion philippine peso($577 million หรือ ๑๘,๐๓๒ล้านบาท)

เพื่อให้ตรงความต้องการกองทัพเรือฟิลิปปินส์ Bangkok Dock และ DTI ไทยกำลังเสนอแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV แบบเดียวกับที่ได้รับการจัดหาโดยกองทัพเรือไทย
ก่อนหน้านี้ในปี 2018 บริษัท Bangkok Dock ไทยได้เสนอโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน ๓ลำ วงเงิน ๑๒,๐๐๐ล้านบาท($362.61 million) ให้กับกองทัพเรือศรีลังกา(Sri Lanka Navy) ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bangkok-dock-opv.html)