Malaysia begins conversion of CN235-220M to Maritime Surveillance Aircraft
RMAF CN235-220M before its conversion to a Maritime Surveillance Aircraft (Credit : RMAF)
กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้เริ่มต้นการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ใบพัด CN235-220M หมายเลข M44-05 ของตน
เปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล CN235-220M MSA(Maritime Surveillance Aircraft) ภายใต้โครงการการริเริ่มความมั่นคงทางทะเล(MSI: Maritime Security Initiative) ของรัฐบาลสหรัฐฯ
เครื่องบินลำเลียง CN235-220M หมายเลข M44-05 กองทัพอากาศมาเลเซียได้ถูกส่งมอบให้กับ PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซีย ผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEM: Original Equipment Manufacturer)
เครื่องบินลำเลียง CN235-220M มาเลเซียได้เดินทางมาถึงท่าอากาศยาน Hussein Sastranegara ใน Bandung อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2020 โดยมาเลเซียมีความต้องการจะดัดแปลง CN235 จำนวน 3เครื่องเป็นรุ่น MSA จากที่มีทั้งหมด 7เครื่อง
การปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง CN235-220M เป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล CN235-220M MSA จะมี "ผลกระทบอย่างมหาศาลต่ออธิปไตยและความมั่นคงของน่านน้ำของชาติ
ด้วยขีคความสามารถของอากาศยานในสายวิทยาการล่าสุดจะถูกนำมาใช้ภายหลัง เช่นเดียวกับร่างแผนทางยุทธศาสตร์โดยกองทัพอากาศมาเลเซียในอนาคต" PTDI อินโดนีเซียกล่าว
วงเงินที่ออกโดยสหรัฐฯผ่านโครงการ MSI ระบบอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับเครื่องจะมาจากบริษัทต่างๆของสหรัฐฯ Naval News เข้าใจว่าการเปลี่ยนแบบอากาศยานจะได้รับดำเนินการโดย
บริษัท Science and Engineering Services International(SES International) สหรัฐฯ และบริษัท Integrated Surveillance and Defence Inc. สหรัฐฯ โดย PTDI อินโดนีเซียในฐานะผู้ผลิตเครื่องบินดั้งเดิม
มีรายงานก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ว่างานการเปลี่ยนแบบอากาศยานดังกล่าวจะเริ่มต้นในเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา
แต่แหล่งข่าวยืนยันกับ Naval News ว่ากำหนดเวลาได้ถูกเลื่อนออกไปจากสถานการณ์ระบาด coronavirus Covid-19 ในมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อการจำกัดการเดินทางในทั้งสามประเทศ
การเปลี่ยนแบบเครื่องบินลำเลียง CN235-220M กองทัพอากาศมาเลเซียเป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลจะเป็นสัญญาที่สองที่ถูกดำเนินการสำหรับมาเลเซียภายใต้โครงการ MSI สหรัฐฯ
ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มความมั่นคงทางทะเลและการหยั่งรู้สถานการณ์ในภาคส่วนทางทะเลของมิตรประเทศตลอดทั้งทะเลจีนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเดือนพฤษภาคม 2020 กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) ได้รับมอบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Boeing Insitu ScanEagle ชุดแรก 6เครื่องจาก 12เครื่อง
โดยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯภายใต้โครงการ MSI ที่จะถูกใช้งานโดยฝูงบินที่601(601 Squadron) กองทัพเรือมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/scaneagle-uav.html)
ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม 2020 PTDI อินโดนีเซียได้เปิดตัวเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล CN235 MPA(Maritime Patrol Aircraft) เครื่องแรกของกองทัพอากาศเซเนกัล(Senegal Air Force)
กองทัพอากาศมาเลเซียมีความต้องการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลใหม่โดยมีตัวเลือกจากบริษัทต่างๆสี่แบบ(https://aagth1.blogspot.com/2018/08/blog-post_14.html) อย่างไรก็ตามยังไม่มีการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลใหม่จนถึงตอนนี้ครับ