Sikorsky SH-60B Seahawk of 2 HTMS Chakri Naruebet Flying Squadron, Royal Thai
Naval Air Division conducted operation on flight deck and hangar of CVH-911
HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier during Royal Thai Fleet, Royal Thai
Navy exercise 2020.
Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy exercise 2020 include FF-433 HTMS Makut
Rajakumarn, OPV-511 HTMS Pattani, OPV-512 HTMS Naratiwat, FFG-422 HTMS Taksin,
FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej, CVH-911 HTMS Chakri Naruebet and AOR-871 HTMS
Similan.
พล.ร.อ.ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ผบ.กร.)
ในฐานะเป็นผู้บัญชาการกองเรือฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ ประจำปี งป.63
ได้เดินทางไปกับหมู่เรือฝึกฯ พักค้างแรมร่วมกับกำลังพลบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร
เพื่อออกฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ
การฝึกครั้งนี้เป็นการฝึกปฏิบัติตามสาขาแบบรวมการ/บูรณาการร่วมระหว่างกองเรือตามภารกิจและกองการบินทหารเรือ
และตรวจเยี่ยมหน่วยฝึกต่างๆ
โดยมีหัวข้อที่สำคัญ คือการฝึกประลองยุทธ์(โดยแบ่งกองเรือออกเป็น ๒ ฝ่าย)
การฝึกป้องภัยทั้ง ๓ มิติ(การป้องกันภัยผิวน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ
และการป้องกันภัยใต้น้ำ) การฝึกปฏิบัติการทุ่นระเบิด เป็นต้น
โดยมีเรือรบเข้าร่วมการฝึก จำนวน 17 ลำ และอากาศยานเข้าร่วมการฝึก จำนวน 5 ลำ
ในระหว่างวันที่ 29-30 ก.ค.63ที่ผ่านมา โดยมีนาวาเอกจรัญ วทัญญู
ผู้บังคับการเรือหลวงจักรีนฤเบศร ให้การต้อนรับและรับรอง
ชมภาพสวยๆ ของการฝึกร่วมกองเรือยุทธการประจำปี 63 ที่ผ่านมาครับ
ซึ่งตามปกติจะฝึกกันไปแล้ว แต่ในปีนี้ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19
ทำให้กองเรือยุทธการ มีความจำเป็นต้องเลื่อนการฝึกออกมา
จนสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย และปลอดภัยเพียงพอ จึงมาฝึกกันอีกครั้ง
ภาพจาก น้องเต้เนวี่
ป.ล.มีเรืออะไรดูกันเองนะครับ
ช่วงนี้เรือหลวงจักรีนฤเบศร งดเยี่ยมชม ชมภาพให้หายคิดถึงกันไปพลางๆ ก่อนครับ
แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของ Coronavirus Covid-19
จะทำให้กองทัพเรือไทยต้องยกเลิกกำหนดการเดิมของการฝึกร่วมกองทัพเรือประจำปี
พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ออกไป(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_26.html)
แต่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๖๓
กองเรือยุทธการก็ได้กลับมาจัดกองเรือฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการฝึก
ทร.๖๓ แสดงถึงความพร้อมของกองทัพเรือไทย โดยมีเรือและอากาศยานเข้าร่วมเช่น
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร,
เรือฟริเกตเรือหลวงมกุฎราชกุมาร,
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเรือหลวงปัตตานีและเรือหลวงนราธิวาส,
เรือฟริเกตติดอาวุธนำวิถี เรือหลวงนเรศวร, เรือหลวงตากสิน
และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่เรือหลวงสิมิลัน
และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ Sikorsky SH-60B Seahawk
กองการบินทหารเรือครับ
(แต่ก็แย่ที่ว่าไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ปีผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณก็มักจะใช้ข่าวเท็จเดิมๆโจมตีว่า
ร.ล.จักรีนฤเบศร จอดเทียบท่าทุกวันไม่เคยออกเรือไปไหนในทะเล
แต่ชุดภาพการฝึกล่าสุดและที่ Blog
นี้รายงานมาต่อเนื่องหลายครั้งย่อมเป็นข้อพิสูจน์ที่หักล้างข่าวปลอมดังกล่าวเป็นอย่างดี)
Royal Thai Navy's FFG-555 HTMS Chao Phraya and FFG-556 HTMS Bangpakong, the
first and second Chao Phraya-class guided missile frigate.
กองทัพเรือไทยมีแนวคิดที่ปรับเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา
๒ลำแรกคือเรือหลวงเจ้าพระยา และเรือหลวงบางปะกง
โดยการเปลี่ยนระบบอุปกรณ์และอาวุธที่ล้าสมัยหมดอายุการใช้งานด้วยระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการณ์ใหม่ที่รองรับเครือข่ายยุทธวิธี(TDL:
Tacical Data Link)
รวมถึงระบบมาตรการตรวจจับคลื่นไฟฟ้า ESM(Electronic Support Measures)
ถอดปืนเรือ Type 79A 100mm แท่นคู่ ๑แท่นที่หัวเรือออกเปลี่ยนเป็นปืนเรือ
Leonardo OTO Melara 76mm ๑แท่น เปลี่ยนปืนรองปืนกล Type 76 37mm แท่นคู่ ๔แท่น
เป็นปืนกล MSI-DS 30mm ๔แท่น
และถอดปืนเรือ 100mm แท่นคู่ ๑แท่นที่ท้ายเรือปรับเป็นพื้นที่ใช้งานในแบบ
Module ภารกิจ(Mission Module Payload) แนวทางนี้จะทำให้ ร.ล.เจ้าพระยา และ
ร.ล.บางปะกง ที่ประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991)
สามารถใช้งานได้อย่างน้อยถึงอายุเรือ ๔๐ปีหรือราว พ.ศ.๒๕๗๔(2031)
ขณะที่กองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒ กร. มีเรือฟริเกตที่จัดหาจากจีนรวมทั้งหมด
๖ลำซึ่งอายุการใช้งานเฉลี่ยเกือบ ๓๐ปี และกองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑
กร.ปัจจุบันยังมีเรือรบผิวน้ำในสังกัดที่อายุการใช้งานกำลังจะเกิน
๕๐ปีอยู่หลายลำ
ทั้งเรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปีทั้ง ๒ลำ คือ ร.ล.ตาปี และเรือหลวงคีรีรัฐ
ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๑๔(1971) และ พ.ศ.๒๕๑๗(1974) ตามลำดับ
รวมเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๑๖(1973)
ก็ใกล้จะประจำการครบ ๕๐ปีแล้ว
รวมถึงเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๒ลำคือ
ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_30.html) และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย(https://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html) ที่ปลดประจำการไปหมดแล้ว
ในขณะกองทัพเรือชาติอื่นในกลุ่ม ASEAN
กำลังเพิ่มจำนวนเรือฟริเกตของตนใหม่อย่างน้อยราว ๖ลำในปี 2030s
แต่ดูเหมือนกองทัพเรือไทยจะตรงกันข้ามคือเหลือเพียง
๓ลำเท่านั้นถ้าไม่มีโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ทดแทนที่ได้รับการสนับสนุนเป็นรูปเป็นร่าง
กองเรือฟริเกตที่๑ สามารถจัดหาเรือฟริเกตใหม่ทดแทนได้เพียงลำเดียวคือ
เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html)
ซึ่งอาจจะเป็นการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงครั้งสุดท้ายของกองทัพเรือไทยในรอบ
๑๐ปีต่อจากนี้
อีกทั้งการระบาดของ Covid-19
ที่มีการตัดงบประมาณกลาโหมลงยังส่งผลต่อแผนการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๓
เช่นจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Exocet MM38
จากเรือหลวงราชฤทธิ์ครั้งสุดท้ายก่อนจะปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีลำสุดท้ายของไทย
รวมถึงความชัดเจนในการจัดหาเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นร่อนที่ลือว่าจะเป็นเรือฟริเกตชั้น
Project 11356 รัสเซีย, การแลกซากเรือฟริเกตที่ปลดประจำการแล้ว
๒ลำกับเรือฟริเกต Type 053H3 Jiangwei II จีน๒ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/type-053h3-2.html)
และการปรับปรุงเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี
และเรือหลวงนราธิวาส ติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Exocet MM40 Block 3
และปืนรอง 40mm ๒แท่นใหม่แทนปืนกล 20mm
๒แท่นเดิม ที่ทั้งสามโครงการยังไม่มีความแน่นอนในดำเนินการว่าจะเป็นจริงหรือไม่
ทำให้ในอนาคตอีก ๑๐ปีข้างหน้ากองเรือยุทธการ
กองทัพเรือไทยอาจจะต้องยุบรวมกองเรือฟริเกตที่๑ และกองเรือฟริเกตที่๒
เหลือเพียง กองเรือฟริเกต กฟก.กร.
กองเรือเดียวเหมือยกับยุบรวมกองเรือยกพลขึ้นบก และ กองเรือยุทธบริการ เป็น
กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ. ก่อนหน้า
อัตราจัดกำลัง กองเรือฟริเกตที่๑ และ กองเรือฟริเกตที่๒ ปัจจุบัน(2020)
กองเรือฟริเกตที่๑ กฟก.๑
หมวดเรือที่๑: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ๑ลำ,
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปี ๒ลำ(ร.ล.ตาปี และ ร.ล.คีรีรัฐ)
และเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ๒ลำ(ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย)
หมวดเรือที่๒: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ๑ลำ
หมวดเรือที่๓: เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุดเรือหลวงคำรณสินธุ
๓ลำ(ร.ล.คำรณสินธุ, ร.ล.ทะยานชล และ ร.ล.ล่องลม)
กองเรือฟริเกตที่๒ กฟก.๒
หมวดเรือที่๑: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ๒ลำ(ร.ล.เจ้าพระยา และ
ร.ล.บางปะกง)
หมวดเรือที่๒: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงกระบุรี ๒ลำ(ร.ล.กระบุรี และ
ร.ล.สายบุรี)
หมวดเรือที่๓: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำ(ร.ล.นเรศวร และ
ร.ล.ตากสิน)
เรือในอัตราจัด กองเรือฟริเกต กฟก.ยุคปี 2030s
คาดการณ์ว่าน่าเหลือแค่นี้ถ้าไม่มีการจัดหาเรือฟริเกตใหม่
กองเรือฟริเกต กฟก.(2030s)
หมวดเรือที่๑: เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
๑ลำ(ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช) และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำ(ร.ล.นเรศวร และ
ร.ล.ตากสิน)
หมวดเรือที่๒: เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ๒ลำ(ร.ล.รัตนโกสินทร์
และ ร.ล.สุโขทัย)
หมวดเรือที่๓: เรือ ตปด.ชุดเรือหลวงคำรณสินธุ ๓ลำ(ร.ล.คำรณสินธุ,
ร.ล.ทะยานชล และ ร.ล.ล่องลม)
ซึ่ง มว.เรือที่๒ และ มว.เรือที่๓ นี้อาจจะว่างลงถ้าเรือ คว.ชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์
และเรือ ตปด.ชุด ร.ล.คำรณสินธุ ทั้งสองชุดดังกล่าวปลดประจำการลงครับ
LIVE: Royal Thai Navy's press conference statement on three S26T
Submarines procurement program from China in 24 August 2020.
China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of
2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in
Thailand.
Clip: Why Royal Thai Navy need Submarines.
ทำไม? กองทัพเรือไทยจึงต้องมีเรือดำน้ำ...
ความจริงของการจัดหาเรือดำน้ำ...โครงการเรือดำน้ำใหม่ชุดนี้ของกองทัพเรือมีการศึกษาและหาข้อมูลมาตั้งแต่ปี
2558
โดยกองทัพเรือได้พิจารณาอู่เรือดำน้ำที่มีขีดความสามารถต่อเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า
6 แห่งจากทั่วโลก
และได้บทสรุปเป็นของ บริษัท CSOC จากประเทศจีน
ซึ่งมีข้อเสนอดีที่สุดและมีราคาพอสมควร
อีกทั้งรวมไปถึงระบบอาวุธและระบบสนับสนุนต่าง ๆ
รวมทั้งการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับกำลังพล
...เรือดำน้ำ ชั้น Yuan S26T
เป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดที่กองทัพเรือจีนใช้มาเป็นระยะเวลากว่า
14 ปี มีจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 13 ลำ และจะสร้างให้ได้ถึง 20 ลำ
ไม่เคยประสบปัญหาในด้านความไม่ปลอดภัย และด้านการใช้งาน
จนในปัจจุบันมีหลายประเทศให้ความสนใจและสั่งซื้อเรือดำน้ำรุ่นนี้เพื่อนำไปใช้ด้วยเช่นเดียวกัน
รวมทั้งศักยภาพของกองเรือดำน้ำจีนจัดได้ว่าเป็นกองเรือดำน้ำที่ยิ่งใหญ่ในระดับต้น
ๆ ของโลก และมีการออกปฏิบัติการจริงในทะเลมากที่สุดในโลก
ซึ่งทำให้เชื่อมั่นได้ว่า เรือดำน้ำ S26T
เป็นเรือที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีสายการผลิต
และอะไหล่มากพอที่จะรองรับการปรนนิบัติบำรุงตลอดอายุการใช้งานของเรือดำน้ำได้
กองทัพเรือต้องการเรือดำน้ำ อย่างน้อยจำนวน 3 ลำ
โดยแนวทางการใช้จะใช้ปฏิบัติการ 1 ลำ เตรียมพร้อมหมุนเวียน 1 ลำ
และซ่อมตามวงรอบ 1 ลำ การจัดหาครั้งนี้อยู่ในวงเงิน 36,000
ล้านบาท
...ในปี 2560 กองทัพเรือได้มีการลงนามการสั่งซื้อเรือดำน้ำ S26T
ในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลโดยกองทัพเรือเป็นตัวแทนของไทยและบริษัท CSOC
เป็นตัวแทนของจีน
เป็นการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 1 วงเงิน 13,500ล้านบาท (ตัวเรือ 12,000
ล้านบาท ) โดยแบ่งผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยแบ่งจ่ายเงินเป็นงวด ๆ
ตามความก้าวหน้าในการสร้างเรือ โดยชำระในปี 60 จำนวน 700 ล้านบาท ส่วนปี
61-66 เฉลี่ยปีละ 2,100 ล้านบาท
….ในส่วนโครงการจัดหาเรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ งบประมาณ 22,500 ล้านบาทนี้
การจ่ายเงินจะแบ่งเป็น 7 งวด ระยะเวลา 7 ปี โดยงวดแรก วงเงิน 3,375 ล้านบาท
ในปี 63
ซึ่งกองทัพเรือได้คืนเงินให้รัฐบาลไปเพราะสถานการณ์โควิท
และได้ปรับใหม่เป็นปี 64 วงเงิน 3,925 ล้านบาท ปี 65 วงเงิน 2,640 ล้านบาท
ปี 66 วงเงิน 2,500 ล้านบาท ปี 67 วงเงิน 3,060 ล้านบาท ปี 68 วงเงิน 3,500
ล้านบาท ปี 69 วงเงิน 3,500 ล้านบาท และปี 70 วงเงิน 3,375
ล้านบาท
ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการผ่อนจ่ายระยะยาวที่ในแต่ละปีใช้เงินไม่มาก
โดยเงินเหล่านี้เป็นงบประมาณในกรอบของกองทัพเรือที่พึงจะมีตามปกติ
ไม่ได้มีของป.พิเศษแต่อย่างใด
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติให้งป.ผ่าน
เงินงวดแรกจำนวนนี้กองทัพเรือจะต้องส่งคืนให้แก่รัฐบาล
โดยไม่สามารถโยกย้ายเอาไปซื้ออาวุธอื่นได้
...มันไม่ยุติธรรมต่อกองทัพเรือเลย.....การจัดหาในระยะที่ 2 นี้
ทร.สามารถเจรจาสามารถจัดหาได้ในราคาลำละ 11,250 ล้านบาท
ซึ่งมีราคาต่อลำต่ำกว่า ลำที่ 1(12,000 ล้านบาท เฉพาะตัวเรือ)
รวมถึงจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมประกอบด้วย แผ่นยางลดเสียงสะท้อน
ซึ่งช่วยลดการตรวจจับเรือดำน้ำ ระบบสื่อสารดาวเทียม (SATCOM)
ระบบสื่อสารข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link - V3)
และระบบอาวุธ เช่นอาวุธปล่อยนำวิถี, ทุ่นระเบิด, ตอร์ปิโดโดยมีมูลค่ากว่า
2,100 ล้านบาท โดยไม่เพิ่มวงเงิน และมีผลครอบคลุมเรือดำน้ำลำที่ 1
ด้วย
….จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าโครงการจัดหามีทั้งหมด 3 ลำ
ถึงแม้ว่าจะแบ่งเป็น 2 ช่วงสัญญาก็ตาม แต่มันเป็นโครงการต่อเนื่อง
ถ้าเราจะเลื่อนการจัดหาเรือดำน้ำ 2 ลำหลังนี้ไปอีก
แม้จะทำได้โดยไม่เสียค่าปรับ แต่การชะลอโครงการฯ
อาจจะทำให้ราคาของเรือดำน้ำสูงขึ้น
เนื่องจากจีนไม่ได้ยืนราคาไว้ในกรณีที่ไม่ทำสัญญา
วัสดุอุปกรณ์สำหรับการสร้างมีราคาสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาด้านแรงงาน
ไม่ได้รับอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ เพิ่มเติมโดยไม่เพิ่มวงเงิน จำนวน 4 รายการ
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านบาท
ซึ่งอาจต้องมีการเจรจากันใหม่
...ส่วนความคืบหน้าของเรือดำน้ำ S26T ลำแรกนั้น บริษัท CSOC
รายงานความก้าวหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ลำที่ 1 ประจำเดือน ก.ค. 2563
มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 56.41 ทร. ได้จ่ายเงินให้กับจีน แล้ว จำนวน 4
งวดงาน คิดเป็นร้อยละ 54.63
อู่ต่อเรืออู่ฮั่นได้เปิดให้กำลังพลเข้าทำงานที่อู่ต่อเรือ ตั้งแต่ 13
มิ.ย. 2563
...ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศรอบบ้านเราในกลุ่มอาเชี่ยนได้มีการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการไปแล้วรวม
18 ลำ และกำลังมีจัดหาเพิ่มเติมอีก 12 ลำ
ส่วนของกองทัพเรือไทยกว่าจะมีได้ก็ในราวปี 2567
การมีเรือดำน้ำเป็นศักยภาพกำลังรบทางเรือที่สำคัญที่สุดของกองทัพเรือ
จะช่วยการรักษาความมั่นคงทางทะเลของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ....
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
สภาผู้แทนราษฎรที่ลงมติออกเสียงให้ชะลอโครงการจัดหาเรือดำน้ำลำที่สองและลำที่สามแก่กองทัพเรือไทยวงเงินประมาณ
๒๒,๕๐๐,๐๐๐บาท($688,284,000) ที่ควรจะได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027)
สำหรับเรือดำน้ำแบบ S26T จีนระยะที่๒ และระยะที่๓ ต่อเนื่องจากระยะที่๑
ลำแรกวงเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($410 million) ที่ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่
๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) และมีกำหนดส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยที่ผ่านมาถูกคัดค้านกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณอย่างต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีที่ให้ชะลอโครงการใน งป.๒๕๖๔ ก็เป็นอีกครั้งที่การโจมตีประสบผลสำเร็จ ซึ่งหวังผลให้เกิดความเสียหายแก่กองทัพเรือไทยให้มากที่สุด
ตั้งแต่ที่กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ กดน.กร.ทร. ยกสถานะจาก
สำนักงานกองเรือดำน้ำ ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) นี่ก็เป็นเวลากว่า ๙ปี ที่
กดน.กร.ยังมีสถานะเป็น 'กองเรือที่ไม่มีเรือสักลำ' พร้อมกับการมี
ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ ดำรงตำแหน่งมาแล้ว ๗ท่าน
กองเรือดำน้ำจะเป็น กองเรือ หรือ หมวดเรือ
ที่เป็นกำลังรบที่แท้จริงได้ก็จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำจริง และก็ควรจะต้องมี
๒-๓ลำจึงเพียงพอต่อการใช้ปฏิบัติการตามหลักความเป็นจริง
ขณะที่กองทัพเรือประเทศกลุ่ม ASEAN
มีเรือดำน้ำประจำการและมีแผนจะจัดหาเพิ่มเติมมากขึ้นกันหลายประเทศแล้ว
เช่น อินโดนีเซียมี ๕ลำ และกำลังจัดหาเพิ่ม ๓ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/nagapasa.html), เวียดนามมี ๖ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/5-5-kilo-6.html), มาเลเซียมี ๒ลำและต้องการจัดหาเพิ่ม ๒ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/34-2040.html)
สิงค์โปร์มี ๔ลำและกำลังจัดหา ๔ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/rss-invincible-h225m-ch-47f-covid-19.html) และพม่ามี ๑ลำแและมีแผนจะจัดหาอีก ๔ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/kilo.html,
https://aagth1.blogspot.com/2020/02/kilo-yangon.html)
ในแถลงข่าวเหตุผลความจำเป็นในการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยเมื่อวันที่
๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ โฆษกกองทัพเรือไทยและคณะได้เปิดเผยครั้งแรกว่าที่ผ่านมาเราตรวจพบเรือดำน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านแอบเข้ามาในน่านน้ำไทยหลายครั้งตามที่เรือดำน้ำไม่ได้มีไว้ใช้ในน่านน้ำของตนเอง
แต่ปัญหาที่มีผู้คัดค้านการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยนั่นดูไม่ใช่ประเด็นความจำเป็นทางยุทธศาสตร์
แต่เป็นจากประเด็นสภาวะเศรษฐกิจและความไม่พอใจของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่า
ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายขีดความสามารถด้านเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยมาตลอดครับ
(ที่ว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องเลื่อนโครงการไปนั้น
ในความเป็นจริงมีหลายกรณีที่คำว่า 'เลื่อน' หรือ 'ชะลอ'
มีความหมายไม่ต่างกับคำว่า 'ระงับ' หรือ 'ยกเลิก' โครงการสักเท่าไร
เลื่อนออกไป ๑-๒ปี
พอถึงเวลาดังกล่าวนั้นก็จะหาเหตุให้เลื่อนออกไปอีกเรื่อยๆหลายๆปี
จนต้องยกเลิกโครงการไปในที่สุด
ซึ่งถ้าตั้งเป้าหมายว่ากองทัพเรือไทยจะไม่สามารถจัดหาเรือฟริเกตหรือเรือดำน้ำได้แม้แต่ลำเดียวเช่นนั้น
ก็คงต้องกลับไปมีสภาพเป็น 'หน่วยยามฝั่ง(Coast Guard) โดยพฤตินัย'
เหมือนในอดีตก็ได้
ยิ่งกำลังรบทางเรืออ่อนแอลงเท่าไรผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของไทยเราก็ยิ่งถูกคุกคามง่ายมากขึ้น
และถ้าว่ากันตรงๆ สื่อไร้จรรยาบรรณที่เรียกตนเองว่า 'สื่อทหาร'
หลายรายที่เสนอบทความโจมตีการจัดหาเรือดำน้ำกองทัพเรือมาตลอดไม่ได้หวังดีที่จะให้เกิดความโปร่งใสหรือช่วยประชาชนอะไรหรอก
มันอยากให้ทหารเรือไทยตาย!(ในหลายๆความหมาย)ต่างหาก!
(ใคร?)จะได้ยึดทะเลไทยได้ง่ายๆ)
Royal Thai Navy Naval Research & Development Office's NAX Amphibious
Aircraft Seaplane.
“ชลากาศยาน”
ผลงานสร้างเครื่องบินทะเลของคนไทยนำไปสู่การสร้างในประเทศเพื่อใช้งานในกองทัพเรือ
...เครื่องบินทะเล ผลงานการวิจัยและสร้างของกองทัพเรือ ล่าสุดพลเอกหญิง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทาน นามเรียกขาน”เครื่องบินทะเล” นี้ ว่า “ชลากาศยาน”
ซึ่งเป็นอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบก หัวหน้าคณะทำงานโครงการคือ พล.ร.ท.
สมหมาย ปราการสมุทร
อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษากองทัพเรือและผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ
“ชลากาศยาน” มีขีดความสามารถพิเศษในการปฏิบัติการบนพื้นน้ำได้
ทำให้มีความอ่อนตัวและคล่องตัวสูง
ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆได้ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด ในเรื่องของสนามบินบนบก
สามารถใช้งานทางทหารและความมั่นคง
เช่น การบินตรวจการณ์ชายฝั่ง การบินลาดตระเวนหาข่าว
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลเป็นต้น “ชลากาศยาน” เป็นอากาศยานแบบ 2 ที่นั่ง
สร้างด้วยวัสดุคอมโพสิต มีความแข็งแรงทนทาน สามารถขึ้นลงได้ทั้งบนบกและในน้ำ
บินไกลสุดได้ 200 ไมล์ทะเล บินปฏิบัติการได้ราว 2.5 ชั่วโมง
...ด้วยงบประมาณที่จำกัดในการจัดหาเครื่องบินจากต่างประเทศนั้นมีราคาแพงซึ่งทำได้ยาก
จึงเกิดแนวความคิดพึ่งพาตนเองด้วยการสร้างในประเทศ
โดยโครงการนี้เริ่มในงบประมาณปี 2551
ซึ่งกองทัพเรือได้เริ่มวิจัยและพัฒนาพร้อมกับสร้างเครื่องบินต้นแบบโดยมีบริษัทมาทคอมไฟเบอร์จำกัด
เข้ามาร่วมทำการวิจัยด้วย
ตลอดระยะเวลา 10
ปีที่ผ่านมาได้มีการสร้างเครื่องบินต้นแบบและปรับปรุงแก้ไขพัฒนาเรื่อยมา
จนได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานนวัตกรรม
กลุ่มวิศวกรรมยานรบและอากาศยาน เมื่อปี พ.ศ.2559
ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตสร้างเพื่อใช้งานให้กับกองทัพเรือต่อไป …..Photo Sompong
Nondhasa
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องบินทะเล NAX ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก
พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามเรียกขานว่า "ชลากาศยาน" นั้น
เป็นโครงการที่ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.
วิจัยพัฒนามานานหลายปีแล้ว เจ้าของโครงการคือ พลเรือโท สมหมาย ปราการสมุทร
ได้ออกแบบพัฒนาต้นแบบมาแสดงสมรรถนะหลายครั้ง ตั้งแต่เครื่องต้นแบบ NAX-1 ถึง
NAX-4
โดยเป็นเครื่องบินสะเทินสะเทินบกสร้างจากวัสดุผสม Composite
ขึ้นลงได้ทั้งบนบกและในน้ำ บินได้ไกลสุด 200nmi บินได้นาน 2.5hours
ถ้ามีการผลักดันเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังทั้งทางกองทัพเรือและภาคเอกชน
ก็หวังว่าเครื่องบินทะเล ชลากาศยาน จะสามารถเข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากได้ครับ
102 Air Squadron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet,
Royal Thai Navy's F-27 Mk 200 (Serial 1202) landing without front landing
gear at Narathiwat Airport in 11 August 2020.(https://www.facebook.com/MilAvReachout/)
การฝึกอย่างหนักเเละการตัดสินใจอย่างกล้าหาญในเสี้ยววินาที
ทำให้นักบินเเห่งราชนาวีสามารถรักษาชีวิตของผู้โดยสารเเละยุทโธปกรณ์จากเงินภาษีของประชาชนเอาไว้ได้อย่างปลอดภัย
วันนี้ (11 ส.ค.63) พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รอง เสนาธิการ ทหารเรือ
และ โฆษกกองทัพเรือ ได้เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 13.59 น.
ได้เกิดเหตุเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ แบบที่ 1 บ.ตผ.1 (F-27 MK 200)
หมายเลข 1202 ประสบเหตุล้อไม่กาง ขณะกำลังเตรียมลงจอด
ณ สนามบินนราธิวาส อ.เมือง จว.นราธิวาส โดยขณะลงจอด
เครื่องบินมีอาการขัดข้องล้อหน้าไม่กาง แต่นักบินทหารเรือ
สามารถประคองเครื่อง นำลงจอดได้อย่างปลอดภัย
นักบินที่ 1 คือ นาวาโท ชัชวาล ประสิทธิ์เวช ผู้บังคับฝูงบิน 102 กองบิน 1
กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ นักบินที่ 2 เรือเอก กอบกิจ สันติกุล
ได้บังคับอากาศยานเดินทาง จากสนามบินอู่ตะเภา สัตหีบ มาปฏิบัติภารกิจ ณ
จว.นราธิวาส มีผู้โดยสารภายในเครื่องรวม 12 คน
ในระหว่างเตรียมลงจอด พบว่าเครื่องบิน มีอาการขัดข้อง ล้อหน้าไม่กาง
โดยได้พยายามแก้ไขข้อขัดข้องในเบื้องต้นแล้ว
ยังคงไม่สามารถแก้ไขอาการดังกล่าวได้ จึงดำเนินการตามขั้นตอน
เพื่อลงจอดฉุกเฉิน และสามารถนำเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัยในที่สุด
ทั้งนี้ เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ แบบที่ 1 บ.ตผ.1 ( F-27 MK 200)
ผลิตโดย บริษัท Fokker Aerospace Group ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยเครื่องบิน หมายเลข 1202 นี้ ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือ มาแล้ว 36 ปี
ตั้งแต่ 2 ต.ค.2527
ภารกิจในยามปกติ ใช้เป็นเครื่องบินลำเลียง ช่วยเหลืออพยพประชาชน
รวมทั้งลาดตระเวน ตรวจการณ์ ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
และพิสูจน์ทราบเป้าหมายทางทะเล
ภารกิจทางทหาร ใช้เป็นเครื่องบินปราบเรือดำน้ำ สามารถติดตั้ง
อาวุธได้หลายประเภท ทั้งอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำ
รวมไปถึงอาวุธปล่อยต่อสู้เรือผิวน้ำ แบบนำวิถีฮาร์พูน
กองทัพเรือ ขอแสดงความชื่นชมต่อนักบินทหารเรือ นาวาโท ชัชวาล ประสิทธิ์เวช
และ เรือเอก กอบกิจ สันติกุล ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ
และใช้สติควบคุมอากาศยานในสถานการณ์ฉุกเฉิน
สามารถบังคับเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย
ยังผลให้ผู้โดยสารทั้งหมดปลอดภัย และ
เครื่องบินซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการ ไม่ได้รับความเสียหายมากนัก
BAE Systems L119 (M119A1) 105mm towed howitzer of 31st Artillery Battalion
Royal Guard, 1st Artillery Regiment Royal Guard, Royal Thai Army in field
exercise.
“ต่อเนื่อง แม่นยำ ทันเวลา สมญานามข้า ราชาแห่งสนามรบ”
ทหารปืนใหญ่สนาม มีหน้าที่สนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์
โดยทำการยิงสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และทันเวลา
ด้วยอำนาจการยิงทั้งสิ้นที่มีอยู่และโยกย้ายการยิงได้ตามต้องการ
ประกาศ กรมสรรพาวุธทหารบก เรื่อง เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด
๑๐๕ มิลลิเมตร แบบที่ ๑ และระบบอำนวยการยิงและควบคุมการยิงอัตโนมัติ จำนวน
๒ รายการ
๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ กรมสรรพาวุธทหารบก(Royal Thai Army Ordnance Department)
กองทัพบกไทยได้เผยแพร่เอกสารแผนการจัดหา ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูงขนาด
105mm แบบที่๑ จำนวน ๑๒กระบอก พร้อมระบบชี้ทิศทางอัตโนมัติ,
อุปกรณ์และเครื่องมือประจำปืน,
ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำรองเบื้องต้น, ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระดับภาคสนาม
และชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระดับโรงงาน
และระบบอำนวยการยิงและควบคุมการยิงอัตโนมัติ จำนวน ๒รายการ
งบประมาณผูกพันข้ามปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕(2020-2022) วงเงิน ๘๓๔,๔๐๐,๐๐๐บาท($26,722,194)
แหล่งที่มาราคากลางบริษัท ยูไนเต็ด ดีเฟนซ์ เทคโนโลยี จำกัด(UNITED DEFENSE
TECHNOLOGY Co., Ltd.) แม้จะยังไม่ทราบว่าเป็นปืนใหญ่ลากจูง 105mm แบบใด
แต่กองทัพบกไทยมีความจำเป็นต้องจัดหาทดแทนของเก่า
ถึงจะถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณมาตลอด
ปัจจุบันกองทัพบกไทยมีปืนใหญ่ลากจูงขนาด 105mm เช่น ปบค.๔๙ M119 จำนวน
๒๒กระบอกที่บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรให้สิทธิบัตร
ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.
ทำการประกอบรวมในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙(2006)
ก่อนหน้านั้นกองทัพบกไทยก็ได้จัดหา ป.ลากจูง 105mm เช่น ปบค.๓๙ LG1 MkII
จากบริษัท GIAT Industries(ปัจจุบันคือ Nexter group) ฝรั่งเศส จำนวน
๒๔กระบอกที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๕(1996-2012) และ ปบค.๕๔ LG1 MkI
เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
รวมถึง ปบค.๙๕ M101A1 จำนวน ๒๘๕กระบอก ที่ได้รับการปรับปรุงโดย ศอว.ศอพท.
แต่ก็ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕(1952) และ ปบค.M425 จำนวน ๑๒กระบอก และ
ปบค.M618A2 จำนวน ๓๒กระบอก ที่ ศอว.ศอพท.สร้างเองในไทยทั้งกระบอก
ก็มีอายุการใช้งานมานานเช่นกันครับ
Thailand's Defence Technology Institute demonstrated test firing domestic
DTI-2 122mm on Type 85 tracked APC chassis and SR4 wheeled self-propelled
Multiple Launch Rocket System at Royal Thai Army Artillery Center Range,
Lopburi province, 19 August 2020.
การยิงทดสอบจรวดขนาด 122 มม. (ไม่นำวิถี)
ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดสมรรถนะสูงแบบ DTI-2
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ทำการยิงทดสอบจรวดขนาด 122 มม.
(ไม่นำวิถี) ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดสมรรถนะสูงแบบ DTI-2
เพื่อทดสอบและประเมินผลทดสอบลูกจรวด DTI-2 ระยะยิง 10 กม.
(จรวดฝึกแบบลดระยะยิง)
ให้กับคณะกรรมการทดสอบประเมินผลโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้อง
(จลก.) ขนาด 122 มม. แบบอัตตาจร ของ กองทัพบก (ทบ.),
ทดสอบลูกจรวด DTI-2 ระยะยิง 40 กม. ที่ สทป. ผลิตส่งมอบ ทบ.,
ทดสอบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้อง แบบ 31 (จลก. 31) ติดตั้งแท่นยิงจรวด 122
มม., ทดสอบโปรแกรมอำนวยการยิง และทดสอบยิงลูกจรวดของ สทป. จากรถ ฐานยิง SR4
ของ ทบ.
ระหว่างวันที่ 17-20 ส.ค. 63 ณ สนามยิงปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
ค่ายภูมิพล จ.ลพบุรี
โดยในวันที่ 19 ส.ค. 63 พล.อ. พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป.
พร้อมด้วย พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป.
ให้เกียรติเข้าร่วมสังเกตุการณ์การยิงทดสอบร่วมกับนักวิจัย
และเจ้าหน้าที่โครงการฯ
ผลของการยิงทดสอบในครั้งนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ
การทดสอบการยิงจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122mm ระยะยิง 40km ซึ่งรู้จักในชื่อ DTI-2
จากรถแคร่ฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรแบบ๓๑ จลก.๓๑
บนพื้นฐานรถสายพานลำเลียงแบบ๓๐ รสพ.๓๐ Type 85(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/dti-black-widow-spider-8x8.html)
และระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 กองทัพบกไทย
นับเป็นความก้าวหน้าของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดสมรรถนะสูง DTI-2
ที่ประสบความสำเร็จอีกครั้งต่อเนื่องจากการทดสอบที่มีมาก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/dti-dti-2-122mm.html)
ซึ่งจรวด DTI-2 122mm
นั้นเป็นการพัฒนาระบบจรวดพื้นสู่พื้นที่พัฒนาด้วยตนเองในไทยทั้งหมดของ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI
โดยมีความร่วมมือจากทั้งกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทยที่ให้ใช้สถานที่ทดสอบยิงและระบบอาวุธฐานยิงของตนครับ
Thailand's domestic M Solar-X Unmanned Aerial Vehicle developed by The
Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Thai Air Force Academy (NKRAFA).
“M Solar-X UAV….ไทยทำ!!!”
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราต้องเชื่อมั่นในฝีมือคนไทย
เชื่อมั่นในความสามารถของคนไทย
ทุกการเปลี่ยนแปลง ทุกการพัฒนาต้องเริ่มต้นจากความเชื่อ และทัศนคติว่า
“เราทำได้…และทุกอย่างสามารถเป็นไปได้”
เพราะทรัพยากรของประเทศนับวันมีแต่น้อยลง หากแต่ปัญญาของบุคลากรในประเทศ
เราต้องผลักดัน สนับสนุนเพิ่มพูน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม
ให้เป็นที่ประจักษ์
M Solar-X UAV เกิดจากความร่วมมือระหว่าง อาจารย์และ นักเรียนนายเรืออากาศ
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชเพื่อตอบสนองภารกิจของกองทัพอากาศใน
การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย ในพื้นที่ภัยพิบัติ
และถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม
การผลิตและออกแบบด้วยฝีมือคนไทยในทุกขั้นตอนการผลิต
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตที่คนไทยจะผลิตอากาศยาน
เพื่อนำมาใช้เองต่อไป
“จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ถูกต้องจะนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่”
M Solar-X UAV “สถาบันปัญญาแห่งอนาคต”
ทีมงานวิจัยของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ และนักเรียนนายเรืออากาศ
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
ซึ่งเป็นการนำความรู้ในชั้นเรียนนำมาสู่การปฏิบัติจริง
และมีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
เพื่อตอบสนองภารกิจของกองทัพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ครบทุกมิติ
องค์ประกอบด้านภารกิจความมั่นคง โดยเฉพาะแนวคิด การพึ่งพาตนเอง
และให้เป็นมาตรฐานสากล
“เราพร้อมที่จะใช้ศักยภาพของพวกเรา ในการออกแบบ สร้าง
และทดสอบอากาศยานไร้คนขับ เพื่อใช้งานได้จริงในระดับกองทัพ
และระดับประเทศได้”
อากาศยานไร้คนขับ M Solar-X UAV เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยล่าสุดของ
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช กองทัพอากาศไทย
จากผลงานพัฒนาก่อนหน้าเช่น อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก TEagle Eyes II(https://aagth1.blogspot.com/2015/11/defense-security-2015_0.html)
การนำ Solar Cell
มาติดตั้งบนปีกของอากาศยานไร้คนขับเป็นแนวทางแก้ไขปัญหนึ่งของข้อจำกัดด้านพลังงาน
UAV ที่ทำให้เครื่องทำการบินได้ในเวลาจำกัด
แม้ว่าจะไม่ใช่แนวคิดใหม่ในระดับนานาชาติ
แต่ก็นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าโครงการพัฒนายุทโธปกรณ์ภายในประเทศไทย
กองทัพอากาศไทยได้มีการออกแบบพัฒนาและนำ UAV
ของตนเข้าประจำการจริงมาแล้วหลายแบบ เช่น
อากาศยานไร้นักบินต้นแบบประเภทยุทธวิธีขนาดกลาง บร.ทอ.๑ Tiger Shark II
ก็คาดหวังว่าในอนาคต M Solar-X UAV จะได้สามารถนำเข้าประจำการจริงได้ต่อไปครับ
Air Chief Marshal Manat Wongwat Commander-in-Chief of Royal Thai Air
Force's presentation show named T-6TH and A-6TH that likely be Thai
variants of Textron Aviation Beechcraft T-6C Texan II trainer aircraft and
AT-6 Wolverine light attack aircraft respectively at RTAF Defence
Industrial Cooperation Conferrence 2020 in 20 august 2020.
Clip: ถ่ายทอดสด
การประชุมสัมมนาด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการศึกษากองทัพอากาศ
วันพฤหัสบดี ที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
Clip: ถ่ายทอดสด เสวนาวิชาการกองทัพอากาศ หัวข้อเรื่อง P&D
Promote Thai Defence Industry วันพฤหัสบดี ที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ดอนเมือง
การบรรยายของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์
ในการประชุมสัมมนาด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการศึกษากองทัพอากาศ ณ
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓
ที่ได้แสดงนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development
ส่วนหนึ่งภาพการนำเสนอแสดงรายชื่อเครื่องบินฝึกใหม่
๑๒เครื่องทดแทนเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 โรงเรียนการบินกำแพงแสน
และเครื่องบินโจมตีเบาใหม่ ๑๒เครื่องทดแทนครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero
Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่
ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ระบุว่าเป็นเครื่องบินฝึก T-6TH และเครื่องบินโจมตี A-6TH
ที่น่าจะเป็นรุ่นสำหรับไทยของเครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6C Texan II
และเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6E Wolverine ตามลำดับ
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย
ได้ประกาศราคากลางของโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทน บ.ฝ.๑๙ PC-9 จำนวน
๑๒เครื่อง วงเงิน ๕,๑๙๔,๙๙๔,๒๑๖.๔๐บาท($165,996,000)
ส่วนโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา ๑๒เครื่อง มีวงเงินราว
๔,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($143,910,000)
โดยมีผู้เสนอราคาสามบริษัทคือบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI)
สาธารณรัฐเกาหลีที่น่าจะเสนอเครื่องบินฝึก KT-1, บริษัท Pilatus Aircraft
Ltd สวิตเซอร์แลนด์ที่น่าจะเสนอเครื่องบินฝึก PC-21 และบริษัท Textron
Aviation Defense LLC สหรัฐฯที่น่าจะเสนอเครื่องบินฝึก T-6C Texan II
โดยที่โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน
๑๒เครื่องมีข้อกำหนดว่าต้องมีแบบแผนพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึก ๑๒เครื่อง
แผนภาพการนำเสนอในงานประชุมล่าสุดอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ที่เป็นไปได้ว่า Textron
Aviation สหรัฐฯน่าจะเป็นผู้ชนะในสองโครงการของกองทัพอากาศไทย
แผนภาพการนำเสนอของผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์
ยังแสดงถึงการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยและความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทการบินและทางทหารชั้นนำของต่างประเทศในโครงการอากาศยานต่างๆของกองทัพอากาศไทย
โดยในส่วนเครื่องบินฝึก T-6TH และเครื่องบินโจมตี A-6TH
ได้แสดงการมีส่วนร่วมของบริษัท RV Connex ไทย, บริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai
Aviation Industries(TAI) ไทย, บริษัท CMC Electronics แคนาดา, บริษัท
Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Textron สหรัฐฯ
ตามนโยบาย Common Fleet เครื่องบินโจมตี A-6TH
ใหม่ของกองทัพอากาศไทยจะสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Diehl IRIS-T
เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/iris-t.html) และระบบอาวุธความแม่นยำสูง Smart Weapons ต่างๆครับ