วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือไทยอาจจะอยู่ระหว่างการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางอัตตาจร FK-3 จีน



China Aerospace Science & Industry Corporation Limited (CASIC) FK-3 is export version of HQ-22 new generation medium-range surface-to-air missile that serviced in China People's Liberation Army.






At Knowledge Management (KM) sharing day 2020 in 8-12 June 2020, 1st Air Defense Regiment (ADR1), Naval Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) display stand presentation was shown 'guidelines for operation of Mobile Medium-Range Surface-to-Air Missile' classified secret manual and deployment plan with Chinese FK-3 SAM photos.

การจัดแสดงนิทรรศการ KM (สอ.๑ สอ.รฝ.)
นาวาเอก ธวัชชัย พิมพ์เมือง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ผู้แทนผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เยี่ยมชมผลงานการจัดแสดงนิทรรศการการจัดการความรู้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ 
ณ กองพันต่อสู้อากาศยานที่ ๑๑ กรมต่อสู้อากาศยานที่ ๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๓

น.อ.สรายุธ สุขรมย์ ผบ.กรม สอ.๑ สอ.รฝ. เป็นประธาน ในพิธีเปิดงานการจัดแสดงนิทรรศการการจัดการองค์ความรู้ กรม สอ.๑ฯ ประจำปี ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม บก.พัน.สอ.๑๑ กรม สอ.๑ฯ เมื่อ ๙ มิ.ย.๖๓
น.อ.สรายุธ สุขรมย์ ผบ.กรม สอ.๑ สอ.รฝ. ให้การต้อนรับ รอง ผบ.สอ.รฝ. และคณะฯ เยี่ยมชมในการจัดแสดงนิทรรศการการจัดการองค์ความรู้ กรม สอ.๑ฯ ประจำปี ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม บก.พัน.สอ.๑๑ กรม สอ.๑ฯ เมื่อ ๑๑ มิ.ย.๖๓

ในงานนิทรรศการวันแลกแปลี่ยนความรู้ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่จัดขึ้น ณ กองพันต่อสู้อากาศยานที่๑๑ กรมต่อสู้อากาศยานที่๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. กองทัพเรือไทย ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
ที่ได้เผยแพร่ใน Facebook ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง มาสามเดือนก่อนหน้าแล้ว ได้เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพเรือไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางอัตตาจร FK-3 จีน
จากภาพส่วนจัดแสดงในงานที่แสดงภาพระบบป้องกันภัยทางอากาศอัตตาจร FK-3 จีนประกอบข้อมูลแผนการวางกำลังระบบป้องกันภัยทางอากาศ และสิ่งพิมพ์ 'คู่มือแนวทางการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่' ที่เป็นเอกสารที่จัดอยู่ในชั้น 'ลับ'

เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(Naval Acquisition Management Office) ได้ออกเอกสารประกาศราคากลางสำหรับโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่(Mobile Medium-Range Surface-to-Air Missile) ระยะที่๑
วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ๑,๙๗๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($63,982,850) แหล่งที่มาของราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/blog-post_8.html) ตามการจัดกำลังใหม่ที่แต่ละ กรม สอ.จะมีหน่วยขึ้นตรงสอง พัน.สอ.
คือ กรม สอ.๑ มีหน่วยขึ้นตรง พัน.สอ.๑๑ และกองพันต่อสู้อากาศยานที่๑๒ และกรมต่อสู้อากาศยานที่๒ มี กองพันต่อสู้อากาศยานที่๒๑ และกองพันต่อสู้อากาศยานที่๒๒ รวมแล้ว ๒กรม สอ.จะมีความต้องการทั้งสิ้น ๔ระบบ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html)

ก่อนหน้านั้น สอ.รฝ.เคยมีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ลากจูง PL-9(DK-9) จีนซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะใกล้นำวิถีด้วย Infrared มีระยะยิงเพียง 8km โดยแท่นยิงลากจูงจะมีจรวดติดตั้งในรางพร้อมยิง ๔นัด แต่เป็นที่เข้าใจว่าปัจจุบันน่าจะเลิกใช้งานแล้ว
ซึ่งปัจจุบัน สอ.รฝ.มีอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ประทับบ่ายิง QW-18 จีนใช้งานซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุดระยะใกล้มากนำวิถีด้วย Infrared มีระยะยิงเพียง 5km และชุดยิงแบบพกพาเคลื่อนย้ายได้ด้วยบุคคลมีน้ำหนักทั้งระบบรวม 18kg
การจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ จึงน่าจะเป็นความต้องการทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะใกล้แบบลากจูง PL-9 จีนเดิม ซึ่งการจัดหาในระยะที่๑ น่าจะมีจำนวนอย่างน้อย ๑ระบบสำหรับหนึ่งกองพันต่อสู้อากาศยานของ กรม สอ.

FK-3 เป็นรุ่นส่งออกของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ HQ-22 ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ที่พัฒนาต่อยอดจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศตระกูล KS-1 ที่พัฒนามาทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ HQ-2 เก่า(ลอก S-75 รัสเซีย)
ตามข้อมูลจาก China Aerospace Science & Industry Corporation Limited(CASIC) รัฐวิสาหกิจผู้ออกแบบและผลิตระบบจรวดและอาวุธปล่อยนำวิถีของสาธารณรัฐประชาชนจีน FK-3 เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง-ไกลที่ทำงานได้ทุกกาลอากาศ
นำวิถีแบบผสม command+semi-active radar homing ถูกออกแบบมาสำหรับการป้องกันภัยทางอากาศระดับพื้นที่, การป้องกันสถานที่สำคัญในสนามรบภายใต้สภาพแวดล้อมการก่อกวนทางสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ซับซ้อน และสามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศได้หลากหลายรูปแบบ 

ตั้งแต่อากาศยานปีกตรึง รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน, ขีปนาวุธทางยุทธวิธี, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น และอากาศยานปีกหมุนรวมเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ มีพิสัยยิงระหว่าง 5-100km และเพดานยิงสูงระหว่าง 0.05-27km
FK-3 หนึ่งระบบจะประกอบด้วยรถที่บังคับการ ๑คัน, รถฐาน Radar ๑คัน และรถฐานแท่นยิงแบบยกตั้งอัตตาจร(TEL: Transporter-Erector-Launcher) ๓คัน แต่ละแท่นยิงมีชุดบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีทรงกระบอก ๔นัด รวมทั้งระบบจะมีอาวุธปล่อยนำวิถีรวม ๑๒นัด
FK-3 มีขีดความสามารถในควบคุมการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีได้พร้อมกัน ๑๒นัดเพื่อโจมตี ๖เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นถ้าการจัดหานี้ได้รับการยืนยันจริง FK-3 จากจีนจะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่มีประจำการในกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) ครับ