วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ความยุ่งยากในการดำรงสภาพเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ F-35 ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินสูงกว่าที่คาดไว้

Difficult F-35 engine sustainment contributing to higher than expected cost per flight hour





A F-35B accelerates on the ski ramp aboard HMS Queen Elizabeth on 8 June. 
Difficulty sustaining the F-35's engine is contributing to a higher cost per flying hour than originally anticipated, according to a former programme official and a government auditor. (3rd Marine Aircraft Wing)

ความยุ่งยากในการดำรงสภาพเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF)(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-35.html)
ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่เดิม อดีตเจ้าหน้าที่โครงการและผู้ตรวจสอบบัญชีรัฐบาลได้เน้นย้ำ(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/lockheed-martin-f-35.html)

เจ้าหน้าที่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯบอกผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2021 ณ โรงงานอากาศยานสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ใน Fort Worth มลรัฐ Texas ว่า
ค่าใช้จ่ายชั่วโมงบินของเครื่องบินขับไล่ F-35 อยู่ที่ $33,000 ในค่าเงินปี 2012 เท่ากับ $38,655 ในค่าเงินปี 2021(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/lockheed-martin-f-35-134-2019.html)

อดีตเจ้าหน้าที่โครงการ F-35 ซึ่งปกปิดชื่อตนเองเพื่อให้พูดได้อย่างอิสระ กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2021 ว่า แนวคิดเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าเครื่องบินควรจะมีค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินระหว่าง $25,000-30,000 ในค่าเงินปี 2021 
เมื่อโครงการเข้าสู่ระยะปัจจุบันระหว่างความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) และความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operational Capability)

ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินนี้ควรจะเปรียบเทียบได้บ้างกับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon ที่ใหม่กว่า "คุณมีเพียงแค่วงเงินที่มีจำนวนจำกัด และคุณสามารถใช้จ่ายเงินของคุณซื้อเครื่องบินใหม่ 
(แต่ตอนนี้)คุณไม่มีมีเงินเหลือเลยที่จะบินพวกมัน หรือคุณสามารถใช้จ่าย(เงิน) ซื้อเครื่องบินใหม่ที่น้อยลง เพราะว่ามันมีค่าใช้จ่ายมากว่าที่จะบินพวกมัน" อดีตเจ้าหน้าที่โครงการ F-35 กล่าว

F-35 แบ่งเป็นรุ่นต่างๆประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing), เครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off and Vertical Landing)
และเครื่องบินขับไล่ F-35C รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน CV(Carrier Variant) สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force), นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) และกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ตามลำดับ

F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบเดียวที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกปัจจุบัน โดยมีผู้ใช้งานที่สั่งจัดหารวมถึง สหราชอาณาจักร, อิตาลี, เบลเยียม, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, 
ออสเตรเลีย, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐเกาหลี และสิงคโปร์ รวมจำนวนเครื่องในสายการผลิตมากกว่า 625เครื่องในเดือนเมษายนปี 2021 ครับ