วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินโจมตี Alpha Jet ที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถ








The merit making ceremony for establishment day of 231st Squadron in 23 September 2021.
The Modernized Dornier Alpha Jet A of 231st Squadron, Wing 23, Royal Thai Air Force was First Flight in 31 August 2021.






Last Solo Class 32, Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23, Royal Thai Air Force









RTAF โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินรบ Alpha Jet ด้วยฝีมือคนไทย
โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินรบ Alpha Jet
วีดิทัศน์การบิน First Flight ของเครื่องบิน A - Jet ต้นแบบโดยคนไทยเพื่อคนไทย เมื่อ 31 สิงหาคม 2564 

พิธีทำบุญเนื่องในโอกาส ระลึกวันสถาปนาฝูงบิน ๒๓๑ และครบรอบปีที่ ๒๑ การประจำการ บ.จ.๗ (ALPHA JET)
นาวาอากาศเอก สุระศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เป็นประธานพิธีทำบุญเนื่องในโอกาส ระลึกวันสถาปนาฝูงบิน ๒๓๑ และครบรอบปีที่ ๒๑ การประจำการ บ.จ.๗ (ALPHA JET) 
ในการนี้ ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหน่วยขึ้นตรง กองบิน ๒๓ และข้าราชการ ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ เข้าร่วมพิธี ณ โรงเก็บฝ่ายการช่าง ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔

สื่อมวลชนจังหวัดอุดรธานี เข้าสัมภาษณ์ภารกิจ ผู้บังคับการกองบิน ๒๓
นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ นายสมศักดิ์ ถนัดช่าง บรรณาธิการบริหาร/สื่อมวลชนอาวุโส และทีมงาน รายการเจาะสถานการณ์ จังหวัดอุดรธานี 
ได้บันทึกเทปสัมภาษณ์ ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งในปีที่ผ่านมา ของผู้บังคับการกองบิน ๒๓ 
หัวข้อการสัมภาษณ์ ประวัติและผลงานในการทำงาน,การบริหารองค์กร สวัสดิการต่างๆ ของข้าราชการ ทหารกองประจำการ กองบิน ๒๓,ศูนย์เรียนรู้ของเศรษฐกิจพอเพียง,
โครงการ โคก หนอง นา โมเดล,การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการฉีดวัคซีนและภารกิจด้านการบินของเครื่องบิน Alpha Jet ณ โรงเก็บฝูงฝ่ายการช่าง ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔

กองบิน ๒๓ จัดพิธีปล่อยบินเดี่ยวนักบินเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Last Solo Class 32)
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๔ นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก กษิดิ์เดช แม้นสงวน รองผู้บังคับการกองบิน ๒๓ เป็นประธานในพิธีปล่อยบินเดี่ยวนักบินเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗  (Class 32) 
เพื่อเป็นการแสดงความยินดีแก่นักบินปล่อยเดี่ยว และเป็นขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเอง สำหรับการฝึกขั้นต่อไป โดยมีหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง ข้าราชการ และ จนท.ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ เข้าร่วมพิธีฯ ณ โรงเก็บฝ่ายการช่าง ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี
การฝึก แบ่งเป็นการฝึกภาคอบรมวิชาการ ๗๗ ชั่วโมง และการฝึกบินภาคอากาศ รวม ๑๐ เที่ยวบิน ๑๒ ชั่วโมงบิน 
โดยมีนักบินที่จบการฝึกอบรมตามขั้นตอนการฝึกเปลี่ยนแบบ นักบินปล่อยเดี่ยว กับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ จำนวน ๒ นาย คือ เรืออากาศโท ธเนศ จินตนามณีรัตน์ และ เรืออากาศโท จิรพนธ์ โพธิจักร
- ผู้รับผิดชอบ : น.ท.จีรพงศ์ ทองโคตร หน.ผกร.บก.บน.๒๓
- ภาพข่าว : พ.อ.อ.ประเยาว์ คุณาคม จนท.กรป.ผกร.บก.บน.๒๓
- จัดทำข่าว : พ.อ.ต.กมล โสภา จนท.กภ.ผกร.บก.บน.๒๓
- โทร.๔๕๒๔๔

ช่อง Youtube ของ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศท่านที่๒๔ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑(2016-2018) ได้เผยแพร่วิดีทัศน์ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A
เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี เครื่องแรกจาก ๑๔เครื่อง ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยตามโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ได้ทำการบินครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
โดยโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.จ.๗ Alpha Jet จำนวน ๑ งาน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงิน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,998,781) ได้รับการประกาศโดย กรมช่างอากาศ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html)

แม้ว่าวิดีทัศน์จะมีรายละเอียดต่ำแต่ก็เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของ บ.จ.๗ Alpha Jet ที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถโดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย ตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development
ห้องนักบินได้ถูกเปลี่ยนเป็นแบบ Glass Cockpit ด้วยจอแสดงผลสีสามจอ และจอภาพตรงหน้า(HUD: Head-Up Display) และแผงควบคุมพร้อมระบบ Avionics ต่างๆใหม่จากบริษัท CMC Electronics แคนาดา(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/alpha-jet.html)
รวมคันบังคับ HOTAS(Hands on Throttle-and-Stick) ลักษณะเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 ซึ่งยังถูกใช้ในเครื่องบินโจมตี A-6TH(AT-6E Wolverine) ที่กำลังจัดหาตามนโยบาย Commom Fleet ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html)

แผงควบคุมตรงหน้า(UFCP: Up-Front Control Panel) ยังแสดงข้อมูลถึงระบบเครือข่าย Datalink Link-TH ที่ได้รับการพัฒนาในไทย ซึ่งมีขีดความสามารถเชื่อมโยงกับอากาศยานแบบอื่นๆเช่น เครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D และเครื่องบินขับไล่ F-5TH Super Tigris และระบบอื่นๆในเครือข่าย
การปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน ระบบ Avionics และระบบอาวุธในชื่อเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH จำนวน ๑๔เครื่อง วงเงิน ๓,๓๘๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($108,519,334) นี้จึงนับว่ามีความคุ้มค่าเหมาะสมมาก ทั้งยังสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและความมั่นคงของไทยอีกด้วย
ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ กองบิน๒๓ ได้มีการเผยแพร่กิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆของตน ซึ่งมีภาพการจัดแสดง บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ เครื่องแรกที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยในสีรองพื้น(Color Primer) สีเหลือง เป็นที่เข้าใจว่าเครื่องจะได้รับการทำสีพรางใหม่ต่อไปครับ