วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

ปากีสถานทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกที่จีน

Pakistan Navy launches first Hangor-class submarine in China


Chief of the Pakistan Navy along with the Pakistani and Chinese officials at the launching ceremony of the first Hangor-class submarine (Pakistan Navy photo)

Pakistan Navy's first Hangor-class submarine (Credit: by78/SDF)


On April 26, 2024, the Pakistan Navy launched the first Hangor-class submarine with a ceremony hosted by Wuchang Shipbuilding in Shuangliu Base in Wuhan, China.



กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกเรือดำน้ำ PNS Hangor ณ อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Company Ltd(WSIG) ใน Shuangliu นคร Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2024
หัวหน้าคณะเสนาธิการทหารเรือ(ผู้บัญชาการกองทัพเรือปากีสถาน) พลเรือเอก Naveed Ashraf ได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีปล่อยเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกลงน้ำในฐานะหัวหน้าฝ่ายแขกจากรัฐบาลและกองทัพปากีสถาน

ขณะที่กล่าวปราศรัยในพิธี พลเรือเอก Naveed Ashraf เน้นย้ำความสำคัญของความมั่นคงทางทะเลภายใต้สภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เหนือกว่าในภูมิภาคและความมุ่งมั่นของกองทัพเรือที่เสริมความแข็งแกร่งเพื่อสร้างความมั่นใจความปลอดภัย
และนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมทางทะเลสำหรับทุกฝ่าย เขาเสริมว่าเรือดำน้ำชั้น Hangor ด้วยระบบอาวุธและระบบตรวจจับต่างๆอันล้ำยุคจะมีบทบาทเป็นจุดสำคัญในการดำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

ขณะที่ตอบรับความพยายามที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของ China Shipbuilding & Offshore International Company Ltd(CSOC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน 
เขาแสดงความพึงพอใจกับความคืบหน้าของโครงการ เขายังเน้นย้ำว่าโครงการเรือดำน้ำชั้น Hangor จะเพิ่มเติมมิติใหม่อย่างแน่นอนต่อมิตรภาพที่ได้รับการทดสอบแล้วของปากีสถาน-จีน

รัฐบาลปากีถานได้ลงนามข้อตกลงกับ CSOC จีนเพื่อจะจัดหาเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำ ระหว่างการเดินทางเยือนปากีสถานของประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ภายใต้สัญญาเรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างในจีน 
ขณะที่เรือดำน้ำ 4ลำหลังจะถูกสร้างในปากีสถาน ณ อู่เรือ Karachi Shipyard & Engineering Works Ltd(KS&EW) ภายใต้การถ่ายทอดวิทยาการ(ToT: Transfer of Technology)(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/hangor.html)

เรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง 8ลำเหล่านี้จะได้รับการติดตั้งด้วยระบบอาวุธและระบบตรวจจับต่างๆอันล้ำสมัยที่จะโจมตีเป้าหมายต่างๆที่พิสัยไกลเกินการตอบโต้ของข้าศึก(standoff)
พิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกได้เชิญเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากปากีสถานและจีนรวมถึงตัวแทนจากอู่เรือ Wuchang Shipbuilding และ CSOC จีน(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/hangor-pns-tasnim.html)

เรือดำน้ำชั้น Hangor กองทัพเรือปากีสถานเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) 
ปากีสถานยอมรับการจัดซื้อเรือดำน้ำ 8ลำจากจีนในเดือนเมษายน 2015 ตามข้อตกลงเรือดำน้ำ 4ลำหลังจะถูกสร้างในอู่เรือ KS&EW ปากีสถาน ในเวลาเดียวกับที่เรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างในจีน

แผนเริ่มแรกจะมีการส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำระหว่างปี 2022-2028 หัวหน้าผู้อำนวยการของโครงการเปิดเผยในเดือนสิงหาคม 2016 ว่าเรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกส่งมอบในช่วงปี 2022-2023 โดยเรือ 4ลำสุดท้ายจะส่งมอบตามมาในปี 2028
แต่ดูเหมือนว่าโครงการจะดำเนินการล่าช้าไปสักเล็กน้อยตามที่เรือลำแรกถูกปล่อยลงน้ำในเดือนเมษายน 2024 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html)

กองทัพเรือปากีสถานไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับระบบย่อยหรือระบบอาวุธเฉพาะของเรือดำน้ำชั้น Hangor ระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) แบบวัฏจักร Stirling ถูกใช้ในแบบเรือดำน้ำ S26T ของ CSOC จีน 
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายรายสันนิษฐานว่าเรือดำน้ำชั้น Hangor มีพื้นฐานมา(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/s26t.html) แต่ทางการปากีสถานไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนของเรือดำน้ำชั้น Hangor

ตามข้อมูลจาก blog ด้านความมั่นคงของปากีสถาน Quwa เรือดำน้ำชั้น Hangor มีความยาวเรือ 76m และมีระวางขับน้ำที่ 2800tons ทำให้เรือมีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย และมีระวางขับน้ำหนักกว่าแบบเรือดำน้ำ S26T เดิม
ปัจจุบันกองทัพเรือปากีสถานมีประจำการด้วยเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Khalid(Agosta 90B) ทีมีระบบ AIP จำนวน 3ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/khalid.html) และเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hashmat(Agosta 70) จำนวน 2ลำ

เรือดำน้ำแบบ Agosta 90B 3ลำได้รับการปรับปรุงครึ่งอายุภายใต้สัญญาที่ลงนามในปี 2016 กับบริษัท STM ตุรกีในฐานะผู้รับสัญญาหลัก STM ได้ส่งมอบเรือลำแรกที่ได้รับการปรับปรุงแล้วเรือดำน้ำ S139 PNS Hamza ในปี 2020 
ขอบเขตของการปรับปรุงความทันสมัยของเรือดำน้ำคือการเปลี่ยนระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), ชุด Sonar, ระบบสงคราม electronic(EWS: Electronic Warfare System), Radar และระบบกล้องตาเรือ(นำร่องและโจมตี)

เรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง 8ลำจะสร้างความแข็งแกร่งอย่างมีนัยสำคัญแก่กองทัพเรือปากีสถาน ปากีสถานน่าจะที่จะเพิ่มขีดความสามารถต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธการใช้พื้นที่(A2/AD: Anti-Access/Area Denial) ในภูมิภาคหลังโครงการเสร็จสมบูรณ์
ตามที่ยังไม่มีการยืนยันเป็นทางการว่าเรือมีระบบอาวุธอะไรบ้าง เป็นที่ชัดเจนว่าปากีสถานจะได้รับขีดความสามารถการโจมตีทางลึกถ้าเรือดำน้ำชั้น Hangor ได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำ Babur-3 (SLCM: Submarine-Launched Cruise Missile) ครับ