วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

จีนทำพิธีตัดเหล็กเรือดำน้ำ S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทย

China cuts steel for Thailand’s first S26T submarine
China’s Wuchang Shipbuilding has held a first steel cutting ceremony for the Royal Thai Navy’s (RTN’s) first S26T (Thailand) diesel-electric submarine (SSK).
https://www.janes.com/article/82745/china-cuts-steel-for-thailand-s-first-s26t-submarine



https://www.facebook.com/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ-222887361082619/

อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบ(SSK)แบบ S26T ลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
พิธีตัดแผ่นเหล็กได้จัดขึ้นในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' ณ Wuhan จีนโดยมี พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน รวมถึง พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ว่าที่ ผบ.ทร.ท่านใหม่ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือหลายท่านร่วมพิธี

กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($410 million) ระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๖ปี กับบริษัท China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีนเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T รวม ๓ลำ วงเงินงบประมาณ ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.09 billion) ภายในระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๑๑ปี(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html,http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)

CSOC ที่เป็นภาคส่วนการค้ายุทโธปกรณ์นานาชาติของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของรัฐบาลจีนได้ให้ข้อมูลต่อสื่อว่า เรือดำน้ำแบบ S26T ที่ลำแรกจะส่งมอบใเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) นั้น
มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B (NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เป็นเรือรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html)

ซึ่งการลงนามสัญญาความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์ทางทหารและ Technology ระหว่างกันระหว่าง CSIC และกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด(Detail Design) และการออกแบบทางเทคนิค(Technical Design)ของเรือดำน้ำ S26T สำหรับกองทัพเรือไทย ที่จะมีระยะเวลาราว ๑ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐-๒๕๖๑(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/blog-post_16.html)

และมีการเปิดเผยจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทยว่าเรือดำน้ำ S26T ทั้ง ๓ลำจะมีคุณสมบัติการผสมผสานอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และอาวุธจากผู้ผลิตของจีนและตะวันตก(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html)
แต่ทั้งกองทัพเรือไทย และ CSOC จีนต่างไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมใดของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ S26T ซึ่งการสร้างเรือรวมถึงการฝึกกำลังพลชุดรับเรือจะใช้ระยะเวลาหลังจากนี้รวมราว ๕ปีตามกำหนดการส่งมอบเรือ

นอกจากโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีนแล้ว กองทัพเรือไทยยังมี โครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยคณะรัฐมนตรี รัฐบาลไทย ได้อนุมัติงบประมาณราว ๑๙๓ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระยะเวลา ๔ปีครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_20.html)