ECA Group awarded a new contract with the Thai Armed Forces for the supply of several units of Cobra E.
https://www.ecagroup.com/en/business/eca-group-supplies-its-cobra-ugvs-for-counter-iedeod-to-thai-armed-forces
Army Military Intelligence, Royal Thai Army Mini UAV(Unmanned Aerial Vehicle)(My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/defense-security-2017.html
Elbit Systems Hermes 450 Unmanned Aerial Vehicles of 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army was delivered since 2017(https://www.facebook.com/กองพันบินที่-๒๑-21st-Aviation-Battalion-860667027402830/)
http://aagth1.blogspot.com/2018/06/hermes-450-uav.html
บริษัท ECA Group ฝรั่งเศสได้รับสัญญาจัดหาจากกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) สำหรับการส่งมอบยานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) แบบ Cobra MK2 E จำนวนหลายระบบ
ECA Group ฝรั่งเศส ได้ประสบความสำเร็จใหม่ในการร่วมมือหุ้นส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศไทย บริษัท Apple Scientific Co., Ltd.
กองทัพไทยได้มองหาระบบที่จะสามารถช่วยพวกเขาในการปกป้องฐานทัพ เช่นเดียวพื้นที่โดยรอบ รวมถึงประชาชนจากภัยคุกคามของระเบิดแสวงเครื่อง(IED: Improvised Explosive Device) ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
การเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด(EOD: Explosive Ordnance Disposal) ในพื้นที่อ่อนไหวเช่นฐานทัพและสถานที่สำคัญจำเป็นต้องใช้ระบบหุ่นยนต์ที่แม่นยำสามารถเข้าไปขัดขวางได้รวดเร็วโดยปราศจากการนำกำลังคนเข้าไปเสี่ยง
UGV น้ำหนักเบาได้เสนอทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อเผชิญหน้าตอบโต้ภัยคุกคามเหล่านี้ ตามที่พวกมันมีขีดความสามารถในการตรวจจับและปลดชนวนถอดทำลายระเบิดแสวงเครื่องได้ในระยะเวลาสั้นที่สุดที่เป็นไปได้
การที่ ECA Group ได้รับเลือจากกองทัพไทยต้องขอบคุณสมรรถนะของ Cobra MK2 E UGV และระบบ plug and play อันเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถเสียบอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานได้ในทันที
Cobra MK2 E เป็น UGV หนัก 5kg ที่ได้รับการพิสูจน์ในสงครามแล้วที่พัฒนาโดย ECA Group ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิดโดยเฉพาะ พร้อมกับน้ำหนักที่เบามากๆ และระบบควบคุม(Operator Control Unit) ที่ใช้งานง่ายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ปฏิบัติการเดินเท้า
สถาปัตยกรรมแบบ Modular และระบบ plug and play สามารถทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้หลายชนิด ตั้งแต่ระบบค้นหาเพื่อถอดทำลาย, เครื่องยิงน้ำแรงดันสูงหลายแบบ หรือการบูรณาการติดตั้งระบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า
มากไปกว่านั้นทุกส่วนของระบบเป็นแบบพกพาได้และสามารถพร้อมใช้ปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วตามที่พวกมันสามารถบรรทุกไปกับเครื่องสนามสะพายหลังและวางกำลังได้ในเวลาไม่กี่นาที
ECA Group ได้ส่งมอบยานยนต์ไร้คนขับ Cobra MK2 E จำนวน ๒ระบบให้กองทัพไทยแล้วในครึ่งแรกของปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
กองวิทยาการ กรมการทหารสื่อ กองทัพบกไทยได้ออกเอกสารคุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ชั่วคราวสายสื่อสาร อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กมาก(Mini UAV) หน่วยทหารราบ สนับสนุนศูนย์การทหารราบ จำนวน ๑รายการ
รายละเอียดข้อมูลของอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กมาก(Mini UAV)
๑.วัตถุประสงค์การใช้งาน
-ใช้ในการบินเฝ้าตรวจ ลาดตระเวนทางอากาศ ตรวจสอบและติดตามเป้าหมายโดยการส่งสัญญาณภาพในขณะบินมายังหน่วยภาคพื้นดิน
๒.คุณลักษณะในทางเทคนิค
๒.๑.อากาศยานไร้นักบิน
๒.๑.๑.ขับเคลื่อนด้วย Electric Motor
๒.๑.๒.นำร่องด้วย GPS หรือดีกว่า
๒.๑.๓.รัศมีการบินไกลสุดไม่น้อยกว่า 10km
๒.๑.๔.ความเร็วในการบินต่ำสุด 13.7m/s หรือน้อยกว่า
๒.๑.๕.ความเร็วในการบินสูงสุด 21m/s หรือมากกว่า
๒.๑.๖.ระยะเวลาในการบินสูงสุดไม่น้อยกว่า ๙๐นาที
๒.๑.๗.ระดับเพดานการบินสูงสุดไม่น้อยกว่า 5km เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
๒.๑.๘.สามารถทนต่อแรงลมความเร็วสูงสุด 20m/s หรือมากกว่า
๒.๑.๙.ใช้เวลาเตรียมการบินไม่เกิน ๕นาที
๒.๒.ระบบการรับส่งสัญญาณ
๒.๒.๑.การรับส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Data Link(DDL) แบบ Full Duplex
๒.๒.๒.ย่านความถี่ใช้งาน 2.20-2.29GHz หรือ 2.31-2.39GHz หรือย่านความถี่ L-Band หรือความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง
๒.๒.๓.มีการเข้ารหัสการส่งสัญญาณภาพแบบ AES 128-bits หรือดีกว่า
๒.๓.กล้องถ่ายภาพ
๒.๓.๑.เป็นกล้องภาพสีและ Infrared ในชุดเดียวกัน
๒.๓.๒.มีระบบรักษาเสถียรภาพแบบ Duel-axis Gyro-stabilized
๒.๓.๓.มีระบบติดตามเป้าหมายโดยอัตตโนมัติ(Auto-Tracking)
๒.๓.๔.ระบบกล้องภาพสีมีความคมชัดสูงสุด 5 megapixels(2,592x1944 pixels) หรือมากกว่า พร้อมทั้ง Zoom ได้ไม่น้อยกว่า ๔ระดับ
๒.๓.๕.ระบบกล้อง Infrared มีความคมชัดสูงสุด 640x480 pixels หรือมากกว่า พร้อมทั้ง Zoom ได้ไม่น้อยกว่า ๓ระดับ
๒.๓.๖.มี Laser illuminator สำหรับส่องเป้าหมาย
๒.๔.ชุดควบคุมภาคพื้นดิน
๒.๔.๑.สามารถแสดงภาพและข้อมูลการบินได้แบบ Real Time
๒.๔.๒.ผู้ใช้สามารถทำการวางแผนบินล่วงหน้า เรียกดูข้อมูลการบิน บังคับการทำงานของอากาศยานทั้งในระบบอัตโนมัติ และระบบ Manual
๒.๔.๓.สามารถโอนการบังคับอากาศยานจากชุดการควบคุมหนึ่งให้ไปอยู่ภายใต้การควบคุมของอีกชุดควบคุมหนึ่งในขณะทำการบินได้
๒.๔.๔.อุปกรณ์ภาคพื้นดินชุดที่สอง(Remote Video Terminal: RVT) สามารถนำมาเป็นอุปกรณ์เพื่อรับภาพอย่างเดียวได้ ซึ่งสามารถมองเห็นภาพแบบ Real Time เช่นเดียวกับผู้บังคับอากาศยาน
๒.๔.๕.สามารถบันทึกภาพและข้อมูลการบินและสามารถเรียกดูย้อนหลังได้
๒.๔.๖.มีระบบการบินแบบอัตโนมัติ(Auto Pilot)
๒.๔.๗.มีระบบการลงจอดแบบอัตตโนมัติ(Auto Landing)
๓.คุณลักษณะในการออกแบบ
๓.๑.เป็นอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กควบคุมระยะใกล้ที่สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
๓.๒.สามารถปล่อยขึ้นจากการขว้างและสามารถลงจอดได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม
๓.๓.สามารถถอดประกอบตัวอากาศยานเป็นชิ้นส่วนได้
๓.๔.ขนาดความกว้างปีกไม่เกิน 2.8m
๓.๕.ขนาดความยาวลำตัวไม่รวมกล้องไม่เกิน 1.4m
๓.๖.น้ำหนักอากาศยานรวม Battery ไม่เกิน 6.3kg
๓.๗.ออกแบบให้สามารถเคลื่อนย้ายและใช้งานได้โดยผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๒คน
๓.๘.ใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Battery
กองวิทยาการ กรมการทหารสื่อ กองทัพบกไทยได้ออกเอกสารคุณลักษณะเฉพาะสิ่งอุปกรณ์ชั่วคราวสายสื่อสาร อากาศยานไร้นักบินขนาดกลางระยะปฏิบัติการไกล(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) สนับสนุน ศูนย์การบินทหารบก ๑รายการ
รายละเอียดข้อมูลของอากาศยานไร้นักบินขนาดกลางระยะปฏิบัติการไกล(MALE UAV)
๑.วัตถุประสงค์การใช้งาน
-ใช้ในการบินเฝ้าตรวจการลาดตระเวนทางอากาศ ตรวจสอบและติดตามเป้าหมาย
๒.คุณลักษณะในทางเทคนิค
๒.๑.อากาศยานไร้นักบิน
๒.๑.๑.เครื่องยนต์
๒.๑.๑.๑.ใช้เครื่องยนต์แบบ Single Rotor Wankel-Type หรือดีกว่า
๒.๑.๑.๒.ให้กำลังงานได้ไม่น้อยกว่า 69HP หรือดีกว่า
๒.๑.๑.๓.อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ต่ำกว่า 0.55lb/hr/bhp ที่ 70% cruise power at sea level
๒.๑.๑.๔.น้ำหนักเฉพาะเครื่องยนต์ไม่เกิน 25kg
๒.๑.๑.๕.มีระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ Electronic Fuel Injector(EFI) มีระบบจุดระเบิดด้วยกล่อง Engine Control Unit(ECU) ๒ชุดหรือดีกว่า
๒.๑.๑.๖.มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Alternator) ขนาดไม่น้อยกว่า 2.2kW
๒.๑.๑.๗.ใช้ได้กับน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีในราชการ
๒.๑.๒.ระบบอิเล็กทรอนิกส์การบิน(Avionics System)
๒.๑.๒.๑.ระบบ Avionics มี Computer ๒ชุดหรือมากกว่าสำหรับการบิน(Flight) จำนวน ๑ชุด และควบคุมภารกิจ(Mission Control) จำนวน ๑ชุด เพื่อรองรับ Payload แบบใหม่ในอนาคต โดยไม่กระทบกับระบบการบินของอากาศยาน
๒.๑.๒.๒.อุปกรณ์ Avionic ที่สำคัญต้องเป็นแบบ Redundant มีหลายชุดทำงานสำรองกัน ในกรณีตัวใดตัวหนึ่งชำรุดตัวที่เหลือยังสามารถทำงานทดแทนได้
๒.๑.๒.๓.มีระบบ Navigation สำรอง เมื่อข้อมูล GPS ใช้งานไม่ได้ คือใช้ข้อมูลจากระบบ data link (Pointing Azimuth and Range) และ Dead Reckoning หรือดีกว่า
๒.๑.๒.๔.มีวิทยุ VHF/UHF ติดตั้งบนอากาศยานสำหรับติดต่อหอควบคุมการบิน
๒.๑.๒.๕.มีวิทยุ Tactical Multi-Band VHF/UHF 710 MB เพื่อติดต่อกับกองกำลังภาคพื้นดินในแบบ Clear และ Encrypted หรือดีกว่า
๒.๑.๒.๖.อากาศยานไร้นักบินต้องติดตั้งระบบ IFF Mode 3/A และ C หรือดีกว่า
๒.๑.๒.๗.มีระบบบินกลับอัตโนมัติเมื่อขาดการติดต่อกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน
๒.๒.กล้องตรวจการณ์ EO/IR Payload
๒.๒.๑.เป็นกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวันและกลางคืน ประกอบไปด้วย กล้อง FLIR ทำงานในช่วง 3-5 micrometre และกล้องภาพสี ZOOM TV CCD หรือดีกว่า
๒.๒.๒.เป็นกล้องขนาดกะทัดรัดถอดเปลี่ยนได้ มีระบบรักษาการทรงตัว(Stabilization) หรือดีกว่า
๒.๒.๓.กล้องติดตั้ง Tactical Laser Marker/Pointer ที่สามารถมองเห็นได้จากกล้อง NGV ของกองกำลังภาคพื้นดินหรือดีกว่า
๒.๒.๔.กล้องติดตั้ง IMU แบบ On-Gimbal IMU หรือดีกว่า เพื่อให้ได้ตำแหน่งของเป้าหมายที่มีความแม่นยำสูง
๒.๒.๕.มีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวกล้อง(BIT)
๒.๒.๖.กล้องหมุนได้ต่อเนื่องในแนว Azimuth N x 360degree และก้ม-เงยได้ในแนว Elevation +10degree ถึง -89degree หรือดีกว่า
๒.๒.๗.ความเร็วการหมุนของกล้อง 60degree/sec (Azimuth and Elevation) หรือดีกว่า
๒.๒.๘.ขนาดของเป้าหมายต่ำสุดสำหรับการติดตาม คือ 3x3 pixels หรือดีกว่า
๒.๒.๙.Search Mode หมุนทิศทางของกล้องได้โดยการควบคุม
๒.๒.๑๐.Tracking Mode ติดตามเป้าหมายอยู่กับที่ หรือเป้าหมายเคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ
๒.๒.๑๑.สามารถหมุนทิศทางของกล้องไปตำแหน่งที่กำหนดได้ล่วงหน้า
๒.๒.๑๒.กล้องภาพสี ZOOM TV CCD
๒.๒.๑๒.๑.เป็นกล้องกลางวันภาพสีหรือดีกว่า
๒.๒.๑๒.๒.เป็นกล้อง CCD มีความคมชัดสูงมีกำลังขยายแบบต่อเนื่องหรือดีกว่า
๒.๒.๑๒.๓.มีความละเอียด 1280x960 pixels array หรือดีกว่า
๒.๒.๑๒.๔.ทำงานในช่วงความยาวคลื่น 400-700 nanometre หรือดีกว่า
๒.๒.๑๓.กล้อง FLIR
๒.๒.๑๓.๑.ทำงานในช่วงความยาวคลื่น 3-5 micrometre หรือดีกว่า
๒.๒.๑๓.๒.มีกำลังขยายแบบต่อเนื่อง 30X (Optical) หรือดีกว่า
๒.๒.๑๓.๓.มีความละเอียด 640x512 image samples หรือดีกว่า
๒.๒.๑๓.๔.เป็นกล้องแบบ Closed cycle Sterling Cooler integral หรือดีกว่า
๓.คุณลักษณะในการออกแบบ
๓.๑.อากาศยาน(Air Vehicle)
-ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 6.1m ความกว้างปีกไม่น้อกว่า 10.5m ขนาดลำตัว(Fuselsge diameter) ไม่น้อยกว่า 0.5m ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบา
ก่อนหน้านี้กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)ได้จัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ MALE UAV แบบ Hermes 450 จากบริษัท Elbit Systems อิสราเอล เข้าประจำการ ณ กองร้อยบินอากาศยานไร้คนขับ กองพันบินที่๒๑(กองบินเบา หรือ กองบินปีกติดลำตัว เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ Mini UAV แบบ RQ-11B Raven จากบริษัท AeroVironment สหรัฐฯ และการพัฒนาอากาศยานตรวจการณ์ไร้คนขับขนาดเล็ก Mini UAV โดย หน่วยข่าวกรองทางทหารกองทัพบก ซึ่งได้มีการนำระบบ UAV เหล่านี้ไปใช้งานในพื้นที่จริง เช่น ชายแดนภาคใต้แล้วครับ