Airbus Helicopters H225M(EC725) 203rd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force with Electro-Optical/Infrared at nose has spotted over Marseille Provence Airport, Marignane, France: Photo Marignane by Lionel Bourdet 13 September 2018
https://www.facebook.com/1208232602621600/photos/a.1208899155888278/1662005453910977/
https://www.facebook.com/Aéroport-de-Marseille-Provence-Marignane-Spotter-1208232602621600/
ภาพถ่ายที่เผยแพร่โดยช่างภาพอากาศยานในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ได้เปิดเผยถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปพหุบทบาท Airbus Helicopters H225M หรือเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725 ของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ที่สังเกตุได้ชัดเจนจากภาพที่ถ่ายเหนือสนามบิน Marseille ใน Marignane ฝรั่งเศสว่า เฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725 กองทัพอากาศไทยเครื่องนี้ได้รับการติดตั้งกล้อง Electro-Optical/Infrared(EO/IR) ที่ใต้หัวเครื่องแล้ว
ฮ.๑๑ EC725 ซึ่งทำสีพรางและเครื่องหมายกองทัพอากาศไทยนี้น่าจะมีหมายเลขเครื่อง 20303 ซึ่งถูกติด Sticker ทับไว้ เป็นเครื่องในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๑ ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012)
โดย ฮ.๑๑ EC725 ชุดแรก ๔เครื่อง (20301, 20302, 20303 และ 20304) ได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) หรือน่าจะเป็นหมายเลขเครื่อง 20308 ที่จัดหาในระยะที่๓ ๒เครื่อง(20307 และ 20308) ที่จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และรับมอบในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ปัจจุบัน ฮ.๑๑ EC725 เข้าประจำการใน ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ แล้ว ๖เครื่อง คือโครงการจัดหาระยะที่๑ ๔เครื่องแรก และระยะที่๒ จำนวน ๒เครื่อง ที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) และรับมอบเครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(หมายเลขเครื่อง 20305 และ 20306)
ซึ่งล่าสุดมีการสั่งจัดหาเครื่องระยะที่๔ อีก ๔เครื่อเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) รวมทั้งหมด ๑๒เครื่องที่จะมีประจำการภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(http://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html)
ท่าอากาศยานนาชาติ Marseille เป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัท Airbus Helicopters สาขาฝรั่งเศส จะเห็นได้จากภาพว่า ฮ.๑๑ EC725 มีการขึ้นทะเบียนอากาศยาน F-ZWDF ที่ตัวเครื่องสำหรับการบินทดสอบภายในฝรั่งเศสโดยนักบินทดลองเครื่องของบริษัทที่ใส่ชุดนักบินสีส้ม
ตามภารกิจของเครื่องคือการค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ(CSAR:Combat Search and Rescue) ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ทั้ง ทุ่นลอยที่ฐานล้อสำหรับการลงจอดฉุกเฉินบนน้ำ(emergency flotation gear), รอกกว้านและเชือกโรยตัว(hoist and fast roping), สายยึดขนส่งสัมภาระ และไฟฉายค้นหา
กล้อง EO/IR ที่ปรากฎติดตั้งกับฮ.๑๑ EC725 กองทัพอากาศไทย เข้าใจว่าน่าจะเป็นกล้องตรวจจับแบบ Star SAFIRE III ของบริษัท FLIR Systems สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการติดตั้งกับ ฮ.H225M ของกองทัพบราซิล(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/airbus-helicopters-h225m-exocet.html)
โดยกล้อง Electro-Optical ที่ เฮลิคอปเตอร์ H225M รองรับการติดตั้งยังรวมถึง กล้อง MX-15 ของ L3 WESCAM แคนาดา ที่มีหลายประเทศจัดหาไปใช้ และกล้อง Euroflir ของ Safran Electronics & Defense ฝรั่งเศส ที่กองทัพฝรั่งเศสเองใช้งานและส่งออกอีกหลายประเทศเช่นกัน
นอกจากกองทัพอากาศไทยแล้วในกลุ่มชาติ ASEAN ที่จัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M(EC725) เข้าประจำการก็มี กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) จำนวน ๑๒เครื่อง
และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) จำนวน ๖เครื่อง โดยพบว่า ฮ.ของทั้งสองประเทศการติดตั้งกล้อง EO/IR ที่น่าจะเป็นแบบ FLIR Star SAFIRE III เช่นกัน รวมถึงกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ที่กำลังสั่งจัดหาจำนวน ๑๖เครื่อง
บริษัท Safran Helicopter Engines ฝรั่งเศส และบริษัท Airbus Helicopters ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงกับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ไทยในการสนับสนุนการใช้งานและซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์และเครื่องยนต์ที่ประจำการในสี่เหล่าทัพของไทย(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/safran-tai.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/02/airbus-helicopters-tai.html)
ซึ่งการติดตั้งกล้อง EO/IR สำหรับ ฮ.๑๑ EC725 นี้จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆของกองทัพอากาศไทยได้เป็นอย่างมาก เช่น ภารกิจค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยเรือประสบอุบัติเหตุอับปางในทะเลที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาครับ