วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่สอง เรือหลวงตรัง กองทัพเรือไทย







Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction with still two Ship's Block remaining to complete at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, late August 2018



FAC-312 HTMS Hanhak Sudtru, FAC-321 HTMS Ratcharit and PC-521 HTMS Sattahip patrol gun boat
HTMS Hanhak Sudtru is the last Prabbrorapak-class Fast Attack Craft that to be decommission in October 2018 same as HTMS Ratcharit is last Ratcharit-class Fast Attack Craft that to be decommission soon

ข่าวสาร วันละนิด
เหลืออีก 2 Block กับ ร.ล.ตรัง ก็จะครบเป็นลำเรือโดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ Block ที่เป็นส่วนของปล่องควัน และ ปลายเสากระโดงเรือโดย Block ล่าสุดที่ลงไปติดตั้ง ก็คือเสากระโดงเรือ ที่ผลิตมาจากแดนอีสาน โรงงานจังหวัดขอนแก่น ครับ
ในระหว่างที่ ร.ล.ตรัง กำลังประกอบ Block ภายนอก ช่างก็กำลังเร่งมือในการติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งภายในต่างๆ ที่สำคัญ
ความร่วมมือของ บริษัท อู่ กรุงเทพ จำกัด , อู่ราชนาวีมหิดล และ Supplier ต่างๆ มากมาย ทำให้เรือลำนี้ใกล้จะสมบูรณ์ครับ และเรือเกือบทั้งลำนี้ต่อโดยคนไทย นั่นคือสิ่งที่ที่ทุกคนควรภูมิใจ
สำหรับเรือพี่ อย่าง ร.ล.กระบี่ กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการ ในการเดินทางร่วมกับ ร.ล.ตากสิน เพื่อร่วมงานสวนสนามทางเรือ ณ ประเทศเกาหลีใต้ ครับ
ร.ล.ท่าจีน ตอนนี้กำลังพลชุดรับเรือ ได้เดินทางเพื่อไปอบรมขั้นสุดท้าย ก่อนจะนำเรือกลับประเทศไทย ณ บริษัท DSME ประเทศเกาหลีใต้ อีกไม่นานคงได้ต้อนรับกันที่ประเทศไทย

By Admin
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1849366648434554
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1849663571738195

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ ลำที่๒ เรือหลวงตรัง ของกองทัพเรือไทย ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช กรมอู่ทหารเรือ อำสัตหีบ จังหวัดชลบุรี นี้นับเป็นความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมทางเรือภายในของไทยอย่างมาก
โดยการสร้าง ร.ล.ตรังนี้เป็นคั้งแรกที่มีการสร้างชิ้นส่วนกระโดงเรือ จาก บริษัท ช.ทวี จำกัด มหาชน(CHO Thavee PLC.) ที่ขอนแก่น และมีการลำเลียงชิ้นส่วนทางรถยนต์บรรทุกทางบกมาที่ อู่มหิดล(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_28.html)
วิธีการกระจายงานลักษณะนี้ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่จะลดระยะเวลาในการดำเนินและกระจายความเสี่ยงเช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมทางเรือชั้นนำของต่างประเทศ โดยความร่วมมือของบริษัท อู่กรุงเทพฯ(Bangkok Dock) และผู้รับเหมารายอื่นๆ กับอู่ราชนาวีมหิดลฯ

แม้ว่าโครงสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ตรัง จะมีความล่าช้ากว่ากำหนดการที่ตั้งไว้เดิมราว ๑ปี แต่การจัดการงานต่างๆจากประสบการในการต่อเรือลำแรกของชุดคือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.กระบี่
ก็ทำให้งานประกอบสร้างเรือจาก Block ต่างๆที่มีการสร้างเตรียมไว้แล้วทำได้รวดเร็วลดเวลาไปได้มาก โดยในอนาคตอู่มหิดลฯ และบริษัทอู่เรือที่เกี่ยวข้องก็น่าจะจำเป็นต้องพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในอู่เรือเพื่อให้มีศักยภาพรองรับการสร้างเรือที่มีวิทยาการสูงซับซ้อนขึ้นกว่านี้ด้วย
ตามที่สิทธิบัตรแบบเรือ 90m OPV ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัท อู่กรุงเทพ ซื้อมาได้หมดอายุตามสัญญา ๑๐ปีนั้น ทางกองทัพเรือไทยยังมีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพิ่มอีก ๒ลำ ซึ่งคงต้องมีการพิจารณามองหาแบบเรือใหม่ตามที่มีบริษัทต่างๆมาเสนอข้อมูล

ปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งประจำการแล้วสองชุดรวม ๔ลำคือ ชุด ร.ล.ปัตตานี ๒ลำ คือ ร.ล.ปัตตานี 511 และ ร.ล.นราธิวาส 512 และชุด ร.ล.กระบี่ ๒ลำคือ ร.ล.กระบี่ 551 และ ร.ล.ตรัง 552 ที่กำลังสร้างในข้างต้น ยังมีความต้องการอีก ๒ลำให้ครบ ๖ลำ
ทั้งนี้กองเรือตรวจอ่าว กำลังอยู่ในระหว่างการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีสองชุดที่มีอายุการใช้งานมานานกว่า ๔๐ปีคือ ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ๓ลำ และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ๓ลำ ตามแผนที่มีออกมาก่อนหน้า(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html)
ร.ล.ปราบปรปักษ์ 311, ร.ล.สู้ไพรินทร์ 313, ร.ล.วิทยาคม 322 และ ร.ล.อุดมเดช 323 ถูกปลดประจำการแล้ว ร.ล.หาญหักศัตรู 312 จะปลดประจำการในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑(2018) โดย ร.ล.ราชฤทธิ์ 321 จะถูกปลดตามไปในอนาคต เป็นการปิดฉากเรือ รจอ.สองชุดแรกของกองทัพเรือไทยครับ